แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์

แฟรงคลิน เดลาโน โรเซอเวลต์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt; 30 มกราคม ค.ศ.

1882 – 12 เมษายน ค.ศ. 1945) มักจะเรียกเป็นคำย่อว่า เอฟดีอาร์ (FDR) เป็นรัฐบุรุษและผู้นำทางการเมืองชาวอเมริกันที่ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 32 ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1945 สมาชิกพรรคเดโมแครต เขาได้รับชนะการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถึงสี่ครั้งและกลายเป็นบุคคลสำคัญในเหตุการณ์ของโลกในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 โรเซอเวลต์ได้ชี้นำกับรัฐบาลสหรัฐในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ได้นำสัญญาใหม่ของเขามาใช้ในวาระการประชุมภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา ในฐานะที่เป็นผู้นำที่โดดเด่นของพรรคตนเอง เขาได้จัดตั้งการร่วมมือสัญญาใหม่ (New Deal Coalition) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนทางการเมืองอเมริกามาเป็นระบบห้าพรรค (Fifth Party System) และนิยามฝ่ายเสรีนิยม ชาวอเมริกันมาโดยตลอดในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ในวาระในการดำรงตำแหน่งที่สามและสี่ของเขานั้นถูกครอบงำโดยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเพิ่งจะยุติลงได้ไม่นานหลังจากที่เขาถึงแก่อสัญกรรมในที่ทำงาน เขาได้รับคำวิจารณ์ในเรื่องประเด็นต่าง ๆ เอาไว้มากมาย เขาได้รับการจัดอันดับโดยนักวิชาการว่าเป็นหนึ่งในสามประธานาธิบดีแห่งสหรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่สุด พร้อมกับจอร์จ วอชิงตันและเอบราแฮม ลิงคอล์น

แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์
แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 32
ดำรงตำแหน่ง
4 มีนาคม ค.ศ. 1933 – 12 เมษายน ค.ศ. 1945
(12 ปี 39 วัน)
รองประธานาธิบดีจอห์น แนนซ์ การ์เนอร์ (1933–1941),
เฮนรี เอ. วอลเลซ (1941–1945),
แฮร์รี เอส. ทรูแมน (1945)
ก่อนหน้าเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์
ถัดไปแฮร์รี เอส. ทรูแมน
ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก คนที่ 44
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 1929 – 31 ธันวาคม 1932
รองเฮอร์เบิร์ต เอช. เลห์แมน
ก่อนหน้าอัลเฟรด อี. สมิธ
ถัดไปเฮอร์เบิร์ต เอช. เลห์แมน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1913–1920
ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน
สมาชิกวุฒิสภา แห่งรัฐนิวยอร์ก
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 1911 – 17 มีนาคม 1913
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มกราคม ค.ศ. 1882(1882-01-30)
ไฮด์พาร์ก รัฐนิวยอร์ก
เสียชีวิต12 เมษายน ค.ศ. 1945(1945-04-12) (63 ปี)
วอร์ม สปริงส์ รัฐจอร์เจีย
ศาสนาคริสต์ เอพิสโคเพเลียน
พรรคการเมืองพรรคเดโมแครต
คู่สมรสเอเลนอร์ โรเซอเวลต์
วิชาชีพทนายความ
ลายมือชื่อแฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์

โรเซอเวลต์เกิดในไฮด์พาร์ก รัฐนิวยอร์ก ในครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 26 และวิลเลียม เฮนรี แอสปินวอลล์ (William Henry Aspinwall) แฟรงคลิน เดลาโน โรเซอเวลต์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกรอตัน วิลยาลัยฮาร์วาด์ และโรงเรียนกฎหมายโคลัมเบีย และได้ไปซักซ้อมทางด้านกฎหมายในนครนิวยอร์ก ในปี 1905 เขาได้แต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องของเขาที่ย้ายออกไปคือ เอเลนอร์ โรเซอเวลต์ พวกเขามีลูกถึงหกคน ซึ่งมีเพียงแค่ห้าคนที่รอดชีวิตจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งวุฒิสภาแห่งรัฐนิวยอร์กในปี 1910 และหลังจากนั้นได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการแห่งกองทัพเรือภายใต้การนำโดยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โรเซอเวลต์เป็นคู่หูกับเจมส์ เอ็ม ค็อกซ์ที่เข้าแข่งขันบนตั๋วแห่งชาติของพรรคเดโมแครต ปี 1920 แต่ค็อกซ์พ่ายแพ่ให้แก่ Warren G. Harding ฝ่ายพรรคริพับลิกัน ในปี 1921 โรเซอเวลต์ได้มีอาการป่วยเป็นอัมพาตครึ่งท่อนที่มีความเชื่อกันในสมัยนั้นว่าเป็นโรคโปลิโอ และขาของเขาได้กลายเป็นอัมพาตอย่างถาวร ในขณะที่เขาได้พยายามที่จะฟื้นฟูจากสภาพอย่างนั้น โรเซอเวลต์ได้ก่อตั้งศูนย์บำบัดในเมืองวอร์มสปิรงส์ รัฐจอร์เจีย สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคโปลิโอ ในสภาพที่ไม่สามารถเดินได้โดยเพียงลำพัง โรเซอเวลต์ได้เดินทางกลับไปที่สำนักงานสาธารณะด้วยการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งรับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กในปี 1928 เขาได้ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 1929 ถึง 1933 และทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการปฏิรูป ได้นำเสนอโครงการต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

ในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ค.ศ. 1932 โรเซอเวลต์ได้รับชัยชนะเหนือประธานาธิบดี เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ จากฝ่ายพรรคริพับลิกันอย่างถล่มทลาย โรเซอเวลต์ได้เข้ารับตำแหน่งในขณะที่สหรัฐอเมริกากำลังตกอยู่ในท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ วิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งได้เพียงร้อยวันในการประชุมสภาคองเกรสสหรัฐครั้งที่ 73 โรเซอเวลต์ได้กลายเป็นหัวหอกในการออกกฎหมายของสหรัฐอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและได้ออกคำสั่งแก่ฝ่ายผู้บริหารจำนวนมาก เมื่อได้จัดตั้งสัญญาใหม่ โครงการต่าง ๆ มากมายที่ถูกออกแบบมาเพื่อการบรรเทา ฟื้นฟู และการปฏิรูป เขาได้สร้างโครงการต่าง ๆ มากมายเพื่อช่วยเหลือบรรเทาแก่ผู้ว่างงานและเกษตรกร ในขณะที่กำลังหาทางการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจด้วยฝ่ายบริหารการฟื้นฟูแห่งชาติ (National Recovery Administration) และโครงการอื่น ๆ นอกจากนี้เขายังได้ทำการปฏิรูปทางด้านกฏระเบียบที่สำคัญเกี่ยวกับการเงิน การสื่อสาร และแรงงาน และปกครองในช่วงปลายของยุคต้องห้ามสุรา เขาได้กำกับควบคุมรายการวิทยุเพื่อที่จะได้พูดให้แก่ประชาชนชาวอเมริกันโดยตรง ด้วยการให้ที่อยู่ของสถานีวิทยุ"fireside chat" 30 แห่งในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และกลายเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้รับการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ เศรษฐกิจได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี 1933 ถึง 1936 โรเซอเวลต์ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งใหม่ในปี 1936 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 1937 และ 1938 ภายหลังการเลือกตั้งปี 1936 โรเซอเวลต์ได้พยายามหาทางในกระบวนการแต่งตั้งผู้พิพากษา ค.ศ. 1937 (Judicial Procedures Reform Bill 1937; "แผนการบรรจุผู้พิพากษา") ซึ่งจะมีการขยายขนาดของศาลสูงสุดสหรัฐ สองพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ร่วมมือกันที่เกิดขึ้นในปี 1937 ได้เข้าขัดขวางกระบวนการการจ่ายเงินและปิดกั้นการดำเนินงานของโครงการสัญญาใหม่และการปฏิรูปที่กำลังไปได้ไกล โครงการและกฎหมายที่สำคัญที่เหลือรอดซึ่งดำเนินการภายใต้การนำของโรเซอเวลต์ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission) กฎหมายแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติ (National Labor Relations Act) บริษัท์ค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง (Federal Deposit Insurance Corporation) และประกันสังคม (Social Security)

โรเซอเวลต์ได้ประสบความสำเร็จอีกครั้งในการเลือกตั้งใหม่ในปี 1940 ด้วยชัยชนะของเขาทำให้เขากลายเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งได้มากกว่าสองวาระ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ได้ปรากฏเป็นลาง ๆ ในช่วงปี 1938 โรเซอเวลต์ได้ให้การสนับสนุนทางการทูตและการเงินที่แข็งแกร่งแก่จีน สหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดคือสหภาพโซเวียต ในขณะที่สหรัฐยังคงวางตัวเป็นกลางจากสงครามอย่างเป็นทางการ ภายหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เหตุการณ์นี้ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงจากคำกล่าวสุนทรพจน์ของเขาว่า "วันซึ่งที่จะมีชีวิตอยู่ในความอัปยศ" ("a date which will live in infamy") โรเซอเวลต์ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในรัฐสภาและอีกไม่กี่วันต่อมาก็ประกาศสงครามกับเยอรมนีและอิตาลี ด้วยความช่วยเหลือจากผู้ช่วยระดับชั้นนำของเขา แฮร์รี่ ฮอปกิ้น และด้วยการสนับสนุนแห่งชาติที่แข็งแกร่งมาก เขาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล ผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน และจอมทัพแห่งกองทัพจีน เจียง ไคเชก ในบทบาทเป็นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อสู้รบกับฝ่ายอักษะ โรเซอเวลต์ได้กำกับดูแลในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เพื่อสนับสนุนความพยายามในการทำสงคราม และยุทธ์ศาสตร์ครั้งแรกในทวีปยุโรปได้ประสบความสำเร็จซึ่งทำให้เยอรมนีต้องพ่ายแพ้ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าญี่ปุ่น นอกจากนี้เขายังได้ริเริ่มการพัฒนาระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกและทำงานร่วมกับผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรคนอื่น ๆ เพื่อวางรากฐานสำหรับองค์กรสหประชาชาติและสถาบันอื่น ๆ ในช่วงหลังสงคราม โรเซอเวลต์ได้รับชัยชนะอีกครั้งในการเลือกตั้งใหม่ในปี 1944 แต่สุขภาพร่างกายของเขาได้ถดถอยลงในช่วงสงคราม เขาได้ถึงแก่อสัญกรรมในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เขาได้ดำรงตำแหน่งได้แค่เพียง 11 สัปดาห์ในวาระที่สี่ของเขา ฝ่ายอักษะได้ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงเดือนต่อมาหลังจากที่โรเซอเวลต์ถึงแก่อสัญกรรม ในช่วงที่ตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นได้ตกเป็นของแฮร์รี เอส. ทรูแมน

อ้างอิง

ก่อนหน้า แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์ ถัดไป
เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์  แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์ 
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 32
(4 มีนาคม พ.ศ. 2476 - 12 เมษายน พ.ศ. 2488)
แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์  แฮร์รี เอส. ทรูแมน
ปีแอร์ ลาวาล แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์  บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1932)
แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์  ฮิวจ์ จอห์นสัน
ฮิวจ์ จอห์นสัน แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์  บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1934)
แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์  เฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย
วินสตัน เชอร์ชิล แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์  บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1941)
แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์  โจเซฟ สตาลิน

Tags:

จอร์จ วอชิงตันประธานาธิบดีสหรัฐพรรคเดโมแครตภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ภาษาอังกฤษสงครามโลกครั้งที่สองสัญญาใหม่เอบราแฮม ลิงคอล์น

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสภาวะโลกร้อนญีนา ซาลาสชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เยือร์เกิน คล็อพพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศเวียดนามทายาทไหทองคำรายชื่อตัวละครในวันพีซFBฮัน กา-อินประเทศฝรั่งเศสมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024นิษฐา คูหาเปรมกิจพ่อขุนรามคำแหงมหาราชบรรดาศักดิ์ไทยสกีบีดีทอยเล็ตรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยอักษรลาวมหาวิทยาลัยรังสิตนายกรัฐมนตรีไทยมิลลิ (แร็ปเปอร์)กูเกิล แผนที่วทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาอีเอฟแอลคัพข้อมูลโลจิสติกส์.comวันมูหะมัดนอร์ มะทากวนอิมชนิกานต์ ตังกบดีดาบพิฆาตอสูรฟุตซอลโลก 2024นักเรียนแอน อรดีฉัตรชัย เปล่งพานิชคือเรารักกันวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ธนาคารแห่งประเทศไทยศาสนาพุทธนภคปภา นาคประสิทธิ์บางกอกอารีนา4 KINGS 2บรรดาศักดิ์อังกฤษรถถัง จิตรเมืองนนท์วิทยุเสียงอเมริกาพระพุทธเจ้าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์รายชื่อตอนในเป็นต่อภาษาเกาหลีข้าราชการส่วนท้องถิ่นคณะองคมนตรีไทยอาณาจักรอยุธยาเกศริน ชัยเฉลิมพลบรูนู ฟือร์นังดึชเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟินวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยไพรวัลย์ วรรณบุตรละหมาดยากูซ่าจ้าว ลู่ซือพิจักขณา วงศารัตนศิลป์ฟุตซอลโลกใหม่ เจริญปุระรายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว26 เมษายนกองทัพเรือไทยสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดวีรยุทธ จันทร์สุขดอลลาร์สหรัฐต่อศักดิ์ สุขวิมลสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)สมณะโพธิรักษ์รายชื่อธนาคารในประเทศไทยผ่าพิภพไททันสมเด็จพระเอกาทศรถ🡆 More