ดาวเฮาเมอา

เฮาเมอา (การตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย: 136108 เฮาเมอา; อังกฤษ: Haumea, IPA: ; สัญลักษณ์: ) เป็นดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งในแถบไคเปอร์ มีมวลขนาดหนึ่งในสามของดาวพลูโต ถูกค้นพบในปี พ.ศ.

2547">พ.ศ. 2547 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) และทีมค้นหาจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) และหอดูดาวเมานาเคอาในสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2548 โดยโฆเซ ลุยส์ ออร์ติซ โมเรโน (José Luis Ortiz Moreno) และทีมค้นหาจากหอดูดาวซิเอร์ราเนบาดาในประเทศสเปน (แต่การอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบของฝ่ายหลังถูกโต้แย้ง) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้จัดดาวดวงนี้ให้อยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ และตั้งชื่อตามเฮาเมอา เทพีแห่งการให้กำเนิดของชาวฮาวาย

เฮาเมอา  🝻
ดาวเฮาเมอา
ดาวเฮาเมอาพร้อมกับ
ดวงจันทร์ฮีอีอากาและดวงจันทร์นามากา
การค้นพบ
ค้นพบโดย:บราวน์และคณะ;
ออร์ติซและคณะ
(ยังไม่เป็นทางการทั้งคู่)
ค้นพบเมื่อ:28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (บราวน์) ;
กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (ออร์ติซ)
ชื่ออื่น ๆ:2003 EL61
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย:ดาวเคราะห์แคระ, พลูตอยด์,
วัตถุพ้นดาวเนปจูน
ลักษณะของวงโคจร
ต้นยุคอ้างอิง (JD 2,453,600.5)
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
7,708 จิกะเมตร
(51.526 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
5,260 จิกะเมตร
(35.164 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก:6,484 จิกะเมตร
(43.335 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.18874
คาบดาราคติ:104,234 วัน (285.4 ปีจูเลียน)
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
4.484 กิโลเมตร/วินาที
มุมกวาดเฉลี่ย:198.07°
ความเอียง:28.19°
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
121.90°
มุมของจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
239.51°
ดาวบริวารของ:ดวงอาทิตย์
จำนวนดาวบริวาร:2
ลักษณะทางกายภาพ
มิติ:~1960 × 1518 × 996 กิโลเมตร
(~1400 กิโลเมตร)
1150 +250
−100
กม.
มวล:(4.2 ± 0.1)×1021 กิโลกรัม
ความหนาแน่นเฉลี่ย:2.6–3.3 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
0.44 เมตร/วินาที²
ความเร็วหลุดพ้น:0.84 กิโลเมตร/วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
0.16314 ± 0.00001 วัน
(3.9154 ± 0.0002 ชั่วโมง)
อัตราส่วนสะท้อน:0.7 ± 0.1
อุณหภูมิ:<50 เคลวิน
อุณหภูมิพื้นผิว:
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
ลักษณะของบรรยากาศ

เฮาเมอามีลักษณะพิเศษต่างจากวัตถุพ้นดาวเนปจูนเท่าที่ค้นพบแล้วดวงอื่น ๆ เนื่องจากทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์กว้างมาก แม้ว่ายังจะไม่มีการสำรวจรูปร่างของมันโดยตรง แต่จากการคำนวณจากเส้นความสว่าง (light curve) ทำให้สันนิษฐานได้ว่าดาวเคราะห์แคระดวงนี้เป็นวัตถุทรงรี มีแกนหลักยาวเป็นสองเท่าของแกนรอง แต่กระนั้นก็เชื่อว่ามันมีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะดึงดูดตัวเองให้อยู่ในภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ได้ ดังนั้นดาวดวงนี้จึงมีลักษณะตรงตามคำจำกัดความของดาวเคราะห์แคระ สันนิษฐานว่าการทำมุมเช่นนี้ รวมทั้งลักษณะอื่น ๆ เช่น การหมุนรอบตัวเองเร็วผิดปกติ ความหนาแน่นสูง และอัตราส่วนสะท้อน (albedo) สูง (ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะชั้นน้ำแข็งบนพื้นผิว) เป็นผลมาจากการชนกันครั้งใหญ่ซึ่งทำให้เฮาเมอากลายเป็นสมาชิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตระกูลวัตถุที่เกิดจากการชนกัน (collisional family) ของมันเองซึ่งรวมดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 2 ดวงของมันไว้ด้วย

การตั้งชื่อ

ก่อนที่จะมีชื่อเรียกถาวร ทีมค้นหาของแคลเทคตั้งชื่อเล่นให้กับดาวดวงนี้ว่า ซานตา (Santa) เนื่องจากพวกเขาค้นพบดาวดวงนี้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 หลังวันคริสต์มาส เมื่อทีมค้นหาชาวสเปนประกาศการค้นพบต่อศูนย์ดาวเคราะห์น้อย (MPC) ในปี พ.ศ. 2548 ดาวดวงนี้จึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกว่า (136108) 2003 EL61 โดยตัวเลข "2003" มาจากช่วงเวลาบนภาพถ่ายการค้นพบของทีมค้นหาชาวสเปน

จากแนวทางกว้าง ๆ ซึ่งสหภาพดาราศาสตร์นานาชาติเป็นผู้กำหนดขึ้นว่า วัตถุชั้นเอกในแถบไคเปอร์จะมีชื่อเรียกตามบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง (creation) ในเทวตำนานต่าง ๆ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ทีมค้นหาจากแคลเทคจึงได้ส่งชื่อทางการสำหรับทั้งดาว 2003 EL61 และดวงจันทร์ที่ค้นพบทั้งสองดวงโดยนำชื่อมาจากเทวตำนานของฮาวายเพื่อที่จะ "แสดงความเคารพต่อสถานที่ที่ดาวบริวารเหล่านั้นถูกค้นพบ" ชื่อเหล่านั้นได้รับการเสนอจากเดวิด ราบิโนวิตซ์ หนึ่งในทีมค้นหาของแคลเทค เฮาเมอาเป็นเทพีผู้ปกป้องคุ้มครองเกาะฮาวายซึ่งเป็นที่ตั้งของหอดูดาวเมานาเคอา นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นเทพีของโลก พระองค์จึงเป็นตัวแทนของหิน ซึ่งก็มีความเหมาะสม เพราะสันนิษฐานกันว่าดาว 2003 EL61 มีโครงสร้างเป็นหินแข็งเกือบทั้งหมด ไม่ได้เป็นชั้นน้ำแข็งหนาที่ห่อหุ้มแก่นหินเล็ก ๆ ไว้ (ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของวัตถุในแถบไคเปอร์ดวงอื่น ๆ ) ประการสุดท้าย เฮาเมอาเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และการให้กำเนิด ตามตำนานกล่าวว่ามีเด็กหลายคนเกิดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของพระองค์ สอดคล้องกับกลุ่มของก้อนน้ำแข็งที่เชื่อว่าแตกออกมาจากดาว 2003 EL61 ระหว่างเหตุการณ์การชนกันในอดีตครั้งหนึ่ง ดวงจันทร์บริวารทั้งสองซึ่งสันนิษฐานกันว่าเกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์นี้เช่นกันจึงได้รับการตั้งชื่อตามธิดาของเฮาเมอาด้วย นั่นคือ ฮีอีอากา (Hiʻiaka) และนามากา (Namaka)

ดวงจันทร์

เฮาเมอามีดวงจันทร์บริวารเท่าที่ค้นพบแล้ว 2 ดวง คือ (136108) ฮีอีอากา (Hiʻiaka) และ (136108) นามากา (Namaka) ดวงจันทร์ทั้งสองถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548 เพียงไม่กี่ปีหลังจากที่มีการบังดาวเฮาเมอาของฮีอีอากาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งการบังของฮีอีอากาจะไม่เกิดขึ้นอีกจนกว่าจะถึงปี พ.ศ. 2681 แต่นามากามีการบัง 5 ครั้งระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2551 ทีมของไมก์ บราวน์ได้คำนวณการโคจรและคาดว่าการบังของนามากาอาจเกิดขึ้นอีก 2-3 ปี

ฮีอีอากาซึ่งทีมแคลเทคตั้งชื่อเล่นว่า "รูดอล์ฟ" (Rudolph) นี้เป็นดวงจันทร์ดวงแรกที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นดวงจันทร์ดวงนอกและดวงที่ใหญ่ที่สุด (ประมาณ 310 กิโลเมตร) และใช้เวลา 49 วันในการโคจรรอบดาวเฮาเมอา

นามากาซึ่งมีชื่อเล่นว่า "บลิตเซน" (Blitzen) ตั้งโดยทีมแคลเทคเช่นกัน ได้รับการประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 นามากาเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดเล็กกว่าและอยู่รอบใน โดยโคจรรอบดาวเฮาเมอาใช้เวลาประมาณ 34 วัน สันนิษฐานว่ามีวงโคจรเป็นวงกลม ระนาบวงโคจรเอียงทำมุมประมาณ 40° จากระนาบวงโคจรของดวงจันทร์ฮีอีอากา จากการสังเกตความสว่างของมันคาดว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางร้อยละ 12 ของดาวเฮาเมอาหรือประมาณ 170 กิโลเมตร และมีองค์ประกอบของพื้นผิวคล้ายกับของดวงจันทร์ฮีอีอากา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง


Tags:

ดาวเฮาเมอา การตั้งชื่อดาวเฮาเมอา ดวงจันทร์ดาวเฮาเมอา ดูเพิ่มดาวเฮาเมอา อ้างอิงดาวเฮาเมอา17 กันยายนInternational Phonetic Alphabetการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยดาวพลูโตดาวเคราะห์แคระประเทศสเปนพ.ศ. 2547พ.ศ. 2548พ.ศ. 2551ภาษาอังกฤษสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกาสัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์หอดูดาวซิเอร์ราเนบาดาแถบไคเปอร์🝻

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองสมเด็จพระราชาคณะพระโคตมพุทธเจ้ารายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดรายชื่อตัวละครในวันพีซเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครคลิปวิดีโอไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ฟอร์ด เรนเจอร์ (T6)ธัชทร ทรัพย์อนันต์เบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)ประวิตร วงษ์สุวรรณตารางตัวหารพ.ศ. 2567การบัญชีกรมสรรพากรรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดระยองสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)จักรพรรดินโปเลียนที่ 1หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณตระกูลเจียรวนนท์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากองทัพ พีคเผ่าภูมิ โรจนสกุลสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมหาวิทยาลัยนเรศวรพิจักขณา วงศารัตนศิลป์ข้าราชการไทยกีลียาน อึมบาเปพรหมลิขิตวันพีซ18รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครปฐม2 พฤษภาคมปิยวดี มาลีนนท์ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระศรีอริยเมตไตรยหวยในประเทศไทยสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์จังหวัดสระบุรีดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เทศน์ เฮนรี ไมรอนวรนุช ภิรมย์ภักดีจังหวัดปทุมธานีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการสล็อตแมชชีนข้าราชการพลเรือนสามัญช่อง 3 เอชดีบาท (สกุลเงิน)รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่แบ่งตามอำเภออัสซะลามุอะลัยกุมภาคใต้ (ประเทศไทย)กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์เมย์เดย์ (สัญญาณ)ณัฐฐชาช์ บุญประชมเครื่องคิดเลขกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐไดโนเสาร์สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีราชกิจจานุเบกษาบอดี้สแลมสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกประเทศจอร์เจียเข็มอัปสร สิริสุขะอินสตาแกรมนริลญา กุลมงคลเพชรวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว🡆 More