เดอะทรับเบิลส์

เดอะทรับเบิลส์ (อังกฤษ: The Troubles) เป็นความขัดแย้งทางชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ ในไอร์แลนด์เหนือระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ความขัดแย้งนี้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติว่า ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือ บางครั้งเดอะทรับเบิลส์ถูกอธิบายว่าเป็นสงครามไร้รูปแบบ หรือความขัดแย้งระดับต่ำ เกิดขึ้นช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และทั่วไปถือว่าจบลงด้วยความตกลงกูดฟรายเดย์ในปี ค.ศ.

1998 ถึงแม้ความขัดแย้งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในไอร์แลนด์เหนือ แต่ความรุนแรงแพร่ขยายไปยังประเทศไอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ และยุโรปภาคพื้นทวีปเป็นบางคราว

เดอะทรับเบิลส์
a map showing the outline of Ireland in the colour green with the capitals of the North and South marked on it
แผนที่รัฐศาสตร์ของไอร์แลนด์
วันที่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 – ค.ศ. 1998
สถานที่
ไอร์แลนด์เหนือ
ความรุนแรงกระจายไปยังไอร์แลนด์ อังกฤษ และยุโรปภาคพื้นทวีปเป็นครั้งคราว
ผล
  • เอาชนะกันไม่ได้
  • ความตกลงกูดฟรายเดย์ (ค.ศ. 1998)
  • ความตกลงเซนต์อันดรูว์ส (ค.ศ. 2006)
  • การถอนทหารสหราชอาณาจักรที่ร่วมปฏิบัติการแบนเนอร์
  • การปลดอาวุธกำลังกึ่งทหาร
  • ความรุนแรงประปรายดำเนินต่อไป
คู่สงคราม

กองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐ:

กำลังกึ่งทหารฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ:

  • กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์เฉพาะกาล (IRA)/Provos
  • กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติไอร์แลนด์ (INLA)
  • กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ (OIRA)
  • กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ต่อเนื่อง (CIRA)
  • กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์แท้ (RIRA)
  • องค์การปลดปล่อยประชาชนไอร์แลนด์ (IPLO)

กำลังกึ่งทหารฝ่ายภักดีอัลสเตอร์:

  • สมาคมป้องกันอัลสเตอร์ (UDA)
  • กองกำลังอาสาอัลสเตอร์ (UVF)
  • หน่วยจู่โจมเรดแฮนด์ (RHC)
  • ขบวนการต่อต้านอัลสเตอร์ (UR)
  • กองกำลังอาสาลอยัลลิสต์ (LVF)
  • อาสาสมัครโปรเตสแตนต์อัลสเตอร์ (UPV)
ความสูญเสีย

กองทัพสหราชอาณาจักร: 705
∟(รวม UDR)
RUC: 301
NIPS: 24
TA: 7
ตำรวจสหราชอาณาจักรอื่น ๆ: 6
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร: 4
ราชนาวี: 2
รวม: 1,049


กองทัพบกไอร์แลนด์: 1
Gardaí: 9
IPS: 1
รวม: 11
PIRA: 292
INLA: 38
OIRA: 27
RIRA: 2
IPLO: 9
รวม: 368
UDA: 91
UVF: 62
RHC: 4
UR: 2
LVF: 3
UPV: 1
รวม: 162
พลเรือนถูกสังหาร: 1,840
(1,935 รวมอดีตพลรบ)
เสียชีวิตรวม: 3,532
บาดเจ็บรวม: 47,500+
ความสูญเสียรวม: ~50,000

เดอะทรับเบิลส์เป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมที่ถูกกระตุ้นด้วยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ทั้งยังมีมิติด้านกลุ่มชาติพันธุ์และนิกายนิยม อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้คำ โปรเตสแตนต์ และ คาทอลิก เพื่อกล่าวถึงสองฝ่าย แต่ความขัดแย้งนี้มิใช่ความขัดแย้งทางศาสนา เดอะทรับเบิลส์มีมูลเหตุจากสถานะทางรัฐธรรมนูญของไอร์แลนด์เหนือ ฝ่ายนิยมสหภาพ (Unionists) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอัลสเตอร์ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือคงอยู่กับสหราชอาณาจักร ขณะที่ฝ่ายชาตินิยมไอร์แลนด์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไอริชที่นับถือนิกายคาทอลิกต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือแยกจากสหราชอาณาจักรไปรวมกับไอร์แลนด์

ความขัดแย้งเริ่มขึ้นระหว่างการรณรงค์ของสมาคมสิทธิพลเมืองไอร์แลนด์เหนือเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อชาวคาทอลิก/ชาตินิยมที่เป็นชนกลุ่มน้อย จากรัฐบาลโปรเตสแตนต์/นิยมสหภาพและกองกำลังตำรวจอัลสเตอร์ ผู้ประท้วงถูกเจ้าหน้าที่ปราบปรามอย่างรุนแรง และถูกฝ่ายภักดีอัลสเตอร์ (Ulster loyalists หรือ loyalists) ขบวนการทางการเมืองที่มีอุดมการณ์คล้ายฝ่ายนิยมสหภาพทำร้าย ความตึงเครียดถูกยกระดับจนนำไปสู่การจลาจลรุนแรงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1969 และสหราชอาณาจักรส่งทหารเข้ามาประจำการในไอร์แลนด์เหนือในปฏิบัติการแบนเนอร์ อันเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ยาวนานที่สุดของกองทัพบกสหราชอาณาจักร มีการตั้งแนวสันติภาพเพื่อแยกชุมชนสองฝ่ายในบางพื้นที่ ในช่วงแรกชาวคาทอลิกบางส่วนยินดีที่ทหารสหราชอาณาจักรเข้ามาดูแล ด้วยมองว่ามีความเป็นกลางกว่ากำลังตำรวจในพื้นที่ แต่หลังเกิดเหตุวันอาทิตย์ทมิฬในปี ค.ศ. 1972 มุมมองต่อทหารก็เปลี่ยนเป็นศัตรูและเอนเอียง

คู่ขัดแย้งหลักในเดอะทรับเบิลส์ประกอบด้วยกำลังกึ่งทหารที่นิยมสาธารณรัฐ ได้แก่ กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์เฉพาะกาลและกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติไอร์แลนด์, กำลังกึ่งทหารที่เป็นฝ่ายภักดี ได้แก่ กองกำลังอาสาอัลสเตอร์และสมาคมป้องกันอัลสเตอร์ และกองกำลังรักษาความมั่นคงของสหราชอาณาจักร รวมถึงนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ขณะที่กำลังรักษาความมั่นคงของไอร์แลนด์มีบทบาทเล็กน้อยในความขัดแย้งนี้ ฝ่ายสาธารณรัฐใช้ยุทธวิธีกองโจรในการโจมตีกองกำลังสหราชอาณาจักร ตลอดจนลอบวางระเบิดโครงสร้างพื้นฐาน พาณิชย์และการปกครอง ขณะที่ฝ่ายภักดีมุ่งเป้าฝ่ายสาธารณรัฐ/ชาตินิยม และโจมตีชุมชนคาทอลิกเพื่อเป็นการแก้แค้น ระหว่างที่ความขัดแย้งดำเนินอยู่มีการตอบโต้ไปมาอย่างรุนแรงระหว่างทั้งสองฝ่ายหรือแม้แต่ในฝ่ายเดียวกัน ส่วนกองกำลังรักษาความมั่นคงของสหราชอาณาจักรทำหน้าที่ดูแลความสงบ ปราบปรามฝ่ายสาธารณรัฐเป็นหลัก และฮั้วกับฝ่ายภักดีอย่างกว้างขวาง เดอะทรับเบิลส์เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับการจลาจล การประท้วง และการดื้อแพ่งหลายหน นำไปสู่การแยกชุมชนของสองฝ่ายและจัดตั้งเขตหวงห้ามชั่วคราวในหลายพื้นที่

มีผู้เสียชีวิตในเดอะทรับเบิลส์มากกว่า 3,500 คน คิดเป็นพลเรือน 52% กองกำลังสหราชอาณาจักร 32% และกำลังกึ่งทหาร 16% ฝ่ายสาธารณรัฐมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิต 60% ตามด้วยฝ่ายภักดี 30% และกองกำลังสหราชอาณาจักร 10% ยังคงมีความรุนแรงเป็นระยะหลังมีการลงนามในความตกลงกูดฟรายเดย์ในปี ค.ศ. 1998 เช่น การโจมตีแบบการลงโทษ และการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ของฝ่ายสาธารณรัฐบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับความตกลงดังกล่าว

อ้างอิง

Tags:

ประเทศอังกฤษประเทศไอร์แลนด์ภาษาอังกฤษยุโรปภาคพื้นทวีปไอร์แลนด์เหนือ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อแมนด้า ออบดัมจังหวัดขอนแก่นถนนพระรามที่ 2เนย์มาร์อันดับของขนาด (มวล)เกาะกูดขุนพันธ์สุวัฒน์ แจ้งยอดสุขจีเมลกระทรวงในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรวชิรวิชญ์ ชีวอารีรายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดจังหวัดมหาสารคามช่อง 3 เอชดีจังหวัดสระบุรีโลโมโซนิกFBประยุทธ์ จันทร์โอชากิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ใหม่ เจริญปุระกีลียาน อึมบาเปลิขิตกามเทพแอริน ยุกตะทัตธนาคารกสิกรไทยรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรหัวใจไม่มีปลอมสังโยชน์รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์งูเขียวพระอินทร์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าโรงเรียนชลกันยานุกูลสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์กองทัพ พีครายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครหนุ่มเย็บผ้ากับสาวนักคอสเพลย์ชาริล ชับปุยส์เซี่ยงไฮ้บอดี้สแลมเอก อังสนานนท์ผู้หญิง 5 บาปคาราบาวณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์สุภาภัสสร์ ผลเจริญรัตน์อินสตาแกรมศุภชัย ใจเด็ดจังหวัดเชียงรายตราประจำพระองค์ในประเทศไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมุฮัมมัดที-อารา.comสีประจำวันในประเทศไทยบรรดาศักดิ์อังกฤษกอล์ฟ-ไมค์มหาเวทย์ผนึกมารประเทศซาอุดีอาระเบียคิม แซ-รนโหนกระแสประเทศเวียดนามสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยซามูไรจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสงขลาทวีปยุโรปจังหวัดบึงกาฬชญานิศ จ่ายเจริญอาเลฆันโดร การ์นาโชภาษาพม่ามาตาลดาชวลิต ยงใจยุทธผีเอกซ์เจแปนธนวรรธน์ วรรธนะภูติ🡆 More