เจ้านรนันทไชยชวลิต

เจ้านรนันทไชยชวลิต (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเจ้านครลำปางองค์ที่ 12 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.

2435 - 2438

เจ้านรนันทไชยชวลิต
เจ้านรนันทไชยชวลิต
เจ้าผู้ครองนครลำปาง
ครองราชย์2 มกราคม พ.ศ. 2435 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2439
รัชสมัย4 ปี
ก่อนหน้าเจ้าพรหมาภิพงษธาดา
เจ้าสุริยะจางวาง (พิพาท)
ถัดไปเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชเจ้าอุปราชบุญทวงษ์
เจ้าอุปราชนครลำปาง
ดำรงพระยศพ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2435
ก่อนหน้าเจ้าอุปราชพรหมวงศ์
ถัดไปเจ้าอุปราชบุญทวงษ์
เจ้าหลวงเจ้าพรหมาภิพงษธาดา
พิราลัย30 มีนาคม พ.ศ. 2439
พระนามเต็ม
เจ้านรนันทไชยชวลิต สามันตวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถทิพจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สัตยาทิวรางค์ ลำปางคมหานคราธิปไตย เจ้าเมืองนครลำปาง
พระบุตร23 องค์
ราชสกุลณ ลำปาง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าวรญาณรังษี
พระมารดาเจ้าสุวันไล
ศาสนาเถรวาท

ประวัติ

เจ้านรนันทไชยชวลิต มีนามเดิมว่าเจ้าน้อยธนัญไชย เป็นเจ้าโอรสในเจ้าวรญาณรังษีกับเจ้าสุวันไล ต่อมาในวันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเป็นเจ้าราชสัมพันธวงศ์เมืองนครลำปาง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าอุปราชเมืองนครลำปางตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2428

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2435 เจ้าอุปราชได้ฟ้องทางการสยามว่าเจ้าพรหมาภิพงษธาดา (บางตำราว่าเป็น เจ้าสุริยะจางวาง) เจ้านครลำปางขณะนั้น ให้เจ้าราชวงษ์ (แก้วเมืองมา) ว่าราชการแทนโดยพลการ ไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาตก่อน และเจ้าราชวงษ์นั้นก็ไม่มีความสามารถในทางราชการเพียงพอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริว่าเจ้าอุปราชซื่อสัตย์ต่อสยาม และสามารถว่าราชการให้เรียบร้อยได้ จึงมีพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2435 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2436) ให้ยกเจ้าพรหมาภิพงษธาดาเป็นเจ้าจางวาง และให้เจ้าอุปราชรับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็น เจ้านรนันทไชยชวลิต สามันตวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถทิพจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สัตยาทิวรางค์ ลำปางคมหานคราธิปไตย เจ้าเมืองนครลำปาง สืบแทน

เจ้านรนันทไชยชวลิตถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2438 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2439) ด้วยโรคหืดเรื้อรัง

โอรส-ธิดา

เจ้านรนันทไชยชวลิต มีโอรสธิดา 23 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • เจ้าหญิงหอม ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยคำแสน ณ ลำปาง
  • มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13
  • เจ้าน้อยกิ ณ ลำปาง
  • เจ้าชวลิตวงศ์วรวุฒิ (น้อยแก้วเมืองมูล เป็นเจ้าราชภาคินัยแล้วเลื่อนเป็นเจ้าราชบุตรนครลำปาง เลื่อนเป็นเจ้าชวลิต วงศ์วรวุฒิ เมื่อ 27 เมษายน 2455) ตำแหน่งที่ปฤกษาราชการเมืองนครลำปาง - พระบิดาใน "เจ้าราชสัมพันธวงศ์ คำผาย สุยะราช, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครลำปาง" ซึ่งสมรสกับ "เจ้าหญิงอุษาวดี ศีติสาร" ราชธิดาองค์ใหญ่ใน "เจ้าหลวงอินต๊ะชมภู, พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 4" เจ้านายราชวงศ์ "เชียงแสนเก่า"ภายหลังสระราชสกุลคบสามัยชนต้นสกุลปินตา
  • เจ้าน้อยพึ่ง ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยเมือง ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยหม่อม ณ ลำปาง สมรสกับเจ้าหญิงศรีนวล ธิดาเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
  • เจ้าหญิงนวล ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงซุ่ย ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงหวัน ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยแก้ว ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงหยิ่น ณ ลำปาง
  • เจ้าไชยสงคราม น้อยโท่น ณ ลำปาง, เจ้าไชยสงครามนครลำปาง (เจ้าหญิงแก้วไหลมา เป็นมารดา)
  • เจ้าหญิงบัวเกษร ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงบัวเทพ ณ ลำปาง - พระอัยยิกา (เจ้ายาย) ใน "เจ้าอินทเดชสุวรรณบท ณ ลำพูน"
  • เจ้าหญิงแก้วมาลา ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยปั๋นแก้ว ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงฟอง ณ ลำปาง
  • เจ้าน้อยอ้น ณ ลำปาง
  • เจ้าอุปราช ทิพจักร ณ ลำปาง, เจ้าอุปราชนครลำปาง - พระบิดาใน "เจ้าเทพธำรงค์ ณ ลำปาง", "เจ้าหญิงอัตถ์ ณ ลำปาง", "เจ้าหญิงต่วน ณ ลำปาง"
  • เจ้าน้อยหมวก ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงบัวทิพย์ ณ ลำปาง

การสร้างสะพานรัษฎาภิเศก

เจ้านรนันทไชยชวลิต 
สะพานรัษฎาภิเศก

เจ้านรนันทไชยชวลิต ได้ริเริ่มร่วมกันกับชาวจังหวัดลำปาง ในการสร้าง สะพานรัษฎาภิเศก เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437

ราชตระกูล

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
  • มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 35 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์)]
  • วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556. 428 หน้า. ISBN 978-616-220-054-0

{{จบอ้างอิง}

ก่อนหน้า เจ้านรนันทไชยชวลิต ถัดไป
เจ้าพรหมาภิพงษธาดา (บางตำราว่า เจ้าสุริยะจางวาง) เจ้านรนันทไชยชวลิต  เจ้านครลำปาง
(พ.ศ. 2435 - 2438)
เจ้านรนันทไชยชวลิต  พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

Tags:

เจ้านรนันทไชยชวลิต ประวัติเจ้านรนันทไชยชวลิต โอรส-ธิดาเจ้านรนันทไชยชวลิต การสร้างสะพานรัษฎาภิเศกเจ้านรนันทไชยชวลิต ราชตระกูลเจ้านรนันทไชยชวลิต อ้างอิงเจ้านรนันทไชยชวลิตภาษาไทยถิ่นเหนือรายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปาง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าฟุตบอลทีมชาติอังกฤษสหภาพโซเวียตชวลิต ยงใจยุทธสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์วรกมล ชาเตอร์พิมประภา ตั้งประภาพรฟุตบอลโลก 2026กรดยูริกเพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์จังหวัดนครสวรรค์วันพีซฝรั่งเศสลุกวอตยูเมดมีดูกรภพ จันทร์เจริญประเทศเม็กซิโกฟุตซอลอัลติเมทไฟต์ติงแชมเปียนชิพวัดพระศรีรัตนศาสดารามราชมังคลากีฬาสถานกองทัพอากาศไทยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมหัพภาคธงประจำพระองค์อสมทรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดศาสนาพุทธพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)สุภาพบุรุษจุฑาเทพมังงะมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสความตกลงมิวนิกเนโทลอสแอนเจลิสธีรเดช เมธาวรายุทธช้อปปี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศรีรัศมิ์ สุวะดีเฮอร์ริเคนสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีเป็นต่องานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญอิสราเอลประเทศจอร์เจียการบินไทยหลิน เกิงซินทวีปแอฟริกาพ.ศ. 2553โดราเอมอนจังหวัดตราดแอน ทองประสมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเปรูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อสุภจังหวัดอุดรธานีจังหวัดปราจีนบุรีจูด เบลลิงงัมพฤษภาคมวินาศกรรม 11 กันยายนการยอมจำนนของญี่ปุ่นจังหวัดพิษณุโลกฟุตซอลทีมชาติไทยรายการสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์พริสตีนาโหนกระแสประเทศอินเดียงูเขียวพระอินทร์พระราชวังต้องห้าม🡆 More