ฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี

ฮุจญะตุลลอฮ์ อิบน์ อัลฮะซัน อัลมะฮ์ดี (อาหรับ: حُجَّة ٱللَّٰه ٱبْن ٱلْحَسَن ٱلْمَهْدِيّ, Ḥujjat Allāh ibn al-Ḥasan al-Mahdīy) เป็นบุคคลที่ชีอะฮ์สิบสองอิมามเชื่อว่าเป็นมะฮ์ดี และเป็นอิมามคนสุดท้ายในสิบสองอิมามที่จะมาพร้อมกับอีซา (พระเยซู) เพื่อนำสันติสุขกับความยุติธรรมมายังโลก ชีอะฮ์สิบสองอิมามเชื่อว่าอัลมะฮ์ดีเกิดวันที่ 15 ชะอ์บาน ค.ศ.

869/ ฮ.ศ. 255 และเป็นอิมามะฮ์ตอนอายุเกือบ 5 ขวบหลังจาก ฮะซัน อัลอัสกะรี พ่อของเขาถูกฆ่า ในช่วงแรก เขาได้ติดต่อกับผู้ศรัทธาผ่านทางตัวแทนทั้งสี่ (The Four Deputies) สมัยนั้นถูกเรียกเป็นความลึกลับขนาดเล็ก (ٱلْغَيْبَة ٱلصُّغْرَىٰ) ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 873–941

ฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี
حُجَّة ٱللَّٰه ٱلْمَهْدِيّ

อิมามคนที่ 12 ของชีอะฮ์สิบสองอิมาม
ฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี
ชื่อมุฮัมมัด อัลมะฮ์ดีในลายวิจิตรอิสลาม
เกิด15 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 255
(ป. 28 กรกฎาคม ค.ศ. 869(869-07-28))
ซามัรรออ์, รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
สาบสูญความลึกลับขนาดเล็ก
ป. 5 มกราคม 874 (อายุ 4)
ความลึกลับขนาดใหญ่
ป. 941
สถานะหายตัว
อนุสรณ์สถานมัสยิดอัซซะฮ์ละฮ์, ประเทศอิรัก
Maqam e Ghaybat, ประเทศอิรัก
มัสยิดญัมกะรอน, ประเทศอิหร่าน
ชื่ออื่นดิลาวัร
(مُحَمَّد ٱبْن ٱلْحَسَن)
ตัวแทน
The Four Deputies
  • อุษมาน อิบน์ ซะอีด อัลอะซาดี
  • อบูญะฟัร มุฮัมมัด อิบน์ อุษมาน
  • อบูลกอซิม ฮุซัยน์ อิบน์ รูฮุลเนาบัคตี
  • อบูลฮะซัน อะลี อิบน์ มุฮัมมัด อัสซะมัรรี
มีชื่อเสียงจากอิมามคนสุดท้ายของสิบสองอิมาม
ตำแหน่ง
รายการ
  • อัลมะฮ์ดี
    (ภาษาอาหรับ:ผู้ถูกชี้นำ)
  • อัลกออิม
    (ภาษาอาหรับ:ผู้ยืนหยัด)
  • อัลฮุจญะฮ์
    (ภาษาอาหรับ:การพิสูจน์)
  • อัลมุนตะซัร
    (ภาษาอาหรับ:ผู้ที่ถูกรอคอย)
  • ฮุจญะตุลลอฮ์
    (ภาษาอาหรับ:ผู้พิสูจน์ของอัลลอฮ์)
  • อิมามุลอัสร์
    (ภาษาอาหรับ:อิมามสมัยนี้)
วาระค.ศ. 874 – ปัจจุบัน
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนฮะซัน อัลอัสกะรี
ปัจจามิตรชัยฏอน, ยะซีด อิบน์ มุอาวิยะฮ์ และอัลมะซีฮุดดัจญ์ญาล
บิดามารดาฮะซัน อัลอัสกะรี (พ่อ)
นาร์จิส (แม่)

มุสลิมซุนนีส่วนใหญ่ปฏิเสธว่าเขาเป็นมะฮ์ดี และเชื่อว่ามะฮ์ดียังไม่ถือกำเนิด โดยกล่าวว่ามีแค่อัลลอฮ์เท่านั้นที่รู้

ประวัติ

ความเชื่อเกี่ยวกับมะฮ์ดีและกออิมของชีอะฮ์

ตามที่ ญาซิม ฮุเซน ได้อธิบายไว้ว่า ความหมายของ "มะฮ์ดี" ในฐานะผู้ชี้นำนั้นถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยท่านศาสดา (ศ็อลฯ)  ชาวซุนนีก็ใช้คำนี้เรียก คุละฟาอัรรอชิดีน  และชีอะฮ์ก็ใช้เรียกบรรดาอิมาม เช่น ในการลุกขึ้นต่อสู้ของ ฮุเซน บิน อา ชีอะฮ์กูฟะฮ์ได้เชิญชวนท่านในฐานะของมะฮ์ดี  และสุไลมาน บิน ศุร็อด ก็ถูกเรียกในฐานะนี้ภายหลังจากที่ถูกฆ่าเช่นกัน  แต่การใช้คำในความหมายของผู้ปลดปล่อยนั้นเกิดขึ้นในยุคของการลุกขึ้นสู้ของมุคตาร โดย มุคตาร ษะกอฟี ใช้เรียก มุฮัมหมัด ฮะนะฟียะฮ์

ตามคำกล่าวของ Saïd Amir Arjomand  และ Wilferd Madelung  ว่า ความเชื่อเกี่ยวมะฮ์ดี ผู้เร้นกายและผู้ปลดปล่อย ในหมู่มุสลิมนั้นย้อนกลับไปในยุคนิกายกัยซานียะฮ์   เป็นกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากความพ่ายแพ้ของการลุกขึ้นต่อสู้ของมุคตาร  พวกเขาเชื่อว่า มุฮัมหมัด ฮะนะฟียะฮ์ บุตรของ อาลี อิมามท่านแรกของชีอะฮ์ว่าคือ มะฮ์ดี และหลังจากที่เขาเสียชีวิตลงกลุ่มนี้ก็ประกาศว่าเขายังไม่ตาย แต่เร้นกายอยู่ในภูเขาริฎวา ในเมืองมะดีนะฮ์ และจะกลับมาปรากฏอีกครั้งในฐานะมะฮ์ดีและกออิม Wilferd Madelung กล่าว่า บรรดาชีอะฮ์เรียกลูกหลานหลายท่านของท่านศาสดาในฐานะมะฮ์ดี  เช่น มุฮัมหมัด ฮะนะฟียะฮ์ , อะบูฮาชิม บุตรของมุฮัมหมัด ฮะนะฟียะฮ์ , มุฮัมหมัด บิน มุอาวิยะฮ์ มาจากครอบครัวของ ญะอ์ฟัร อะบูฏอลิบ , มุฮัมหมัด อิบนุ อับดุลลอฮ์ , นัฟส์ ซะกียะฮ์ , ญะอ์ฟัร ซอดิก , มูซา กาซิม   นอกจากกลุ่มกัยซานียะฮ์แล้ว กลุ่มซัยดียะฮ์ ก็ใช้คำนี้เรียกบรรดาผู้ลุกขึ้นต่อสู้ของพวกเขาในฐานะมะฮ์ดี ผู้ปลดปล่อยด้วยเช่นกัน และยังมีกลุ่มย่อยของอิมามียะฮ์ เช่น นาวูซียะ วากิฟียะฮ์ ที่ใช้ชื่อนี้เรียกอิมามท่านที่หกและอิมามท่านที่เจ็ด

ทั้งมุฮัมหมัดบาเกร และ ญะอ์ฟัร ซอดิก บรรดาผู้ปฏิบัติตามท่านได้กล่าวสร้างความมั่นใจให้แก่พวกท่านไว้ในหลายกรณีว่า หากลุกขึ้นต่อสู่กับผู้ปกครองแห่งยุคก็จะให้การสนับสนุนพวกท่าน แต่ทั้งสองอิมามได้ให้คำตอบที่สร้างความสงบแก่พวกเขาลงว่า แม้ว่าอิมามทั้งหมดจะเป็นกออิมก็ตามและมีความสามารถที่จะต่อกรกับผู้ปกครองที่อธรรมได้ แต่กออิมผู้ถูกสัญญาไว้นั้นจะมาปรากฏหลังจากบัญชาของพระเจ้าเพื่อมาทำลายความอธรรมให้หมดไป  เกี่ยวกับการใช้คำว่า มะฮ์ดี ในฐานะ ผู้ปลดปล่อยนั้นก็มีทัศนะที่แตกต่างกันออกไปในหมู่ชีอะฮ์  มุดัรริซี เขียนไว้ว่า ชีอะฮ์อิมามียะฮ์รู้จักกับแนวคิดกออิมตั้งแต่ยุคของอาลี และกลุ่มกัยซานียะฮ์  กระทั่งยุคการเร้นกายระยะสั้น ความหมายของมะฮ์ดี  ไม่ใช่เป็นแนวคิดของอิมามียะฮ์ ทว่าในยุคการเร้นกายบรรดาชีอะฮ์เร่มค่อยๆให้ความหมายของมะฮ์ดีนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ไม่ใข่ชีอะฮ์ และให้ความหมายของกออิมนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกับอิมามียะฮ์ แม้ว่าในตำราต่างๆจะถือว่าอิมามท่านที่สิบสองของชีอะฮ์ก็คือกออิมมากระทั่งช่วงปลายศตวรรษที่สาม / ค.ศ. ที่ 9 ก็ตาม แต่ต้นศตวรรษต่อมาตำราต่างๆของชีอะฮ์เรียกอิมามท่านที่สิบสองว่า มะฮ์ดี Abdulaziz Sachedina  กล่าวไว้เช่นกันว่า มะฮ์ดะวียัต ของอิมามท่านที่สิสอง เป็นทฤษฎีอิมามัตของอิมามผู้เร้นกายที่ผนวกเข้ากับความเชื่อการมาปรากฏของอิมามมะฮ์ดีและการสร้างความยุติธรรม ทั้งที่ก่อนหน้านี้อิมามท่านที่สิบสองไม่ถูกเรียกว่ามะฮ์ดีผู้ถูกสัญญามาก่อน ในทางตรงกันข้ามญาวิม ฮุเซน เขียนว่า ไม่เพียงแต่มะฮ์ดี จะหมายถึงผู้ปลดปล่อย ในมุมมองของอิมามียะฮ์ที่ใช้มาตั้งแต่ยุคบรรดาอิมาม ทว่าบรรดาอิมามก็มีความเชื่อว่าพวกท่านแต่คนสามารถเป็นมะฮ์ดีกออิมได้หากสถานการณ์ตอบรับ บรรดามุสลิมเชื่อกันมานมนานแล้วว่าท่านศาสดาได้ให้ความหวังถึงการมาของบุรุษผู้หนึ่งที่มาจากเชื้อสายของฮุเซน บิน อาลี ที่จะยืนหยัดขึ้นทำลายอุตริกรรมให้หมดไปจากอิสลาม  แต่การแข่งขันกันทางการเมืองระหว่างมสุลิมเป็นเหตุให้บางกลุ่มได้ทำการบิดเบือนฮะดีษต่างๆ ของศาสดาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเวทีทางการเมือง

ตามคำกล่าวของ Saïd Amir Arjomand ว่า ส่วนใหญ่กลุ่มกัยซานีจะเป็นชาวอิหร่าน และคาดว่าชาวอิหร่านมีความรู้เกี่ยวกับผู้ปลดปล่อยจากความเชื่อของศาสนาโซโรแอสเตอร์ วีรบุรุษ อย่าวเชน โฆรชอซิบ  ที่หลังจากตื่นจากการนอนหลับอันยาวนาน พวกอะฮ์รีมันก็จะปรากฏขึ้นบนหน้าแผ่นดิน มุฮัมหมัดอะมีร มุอิซซี และ ตีมูตี ฟิรนีช ว่าส่วนใหญ่ความเชื่อเกี่ยวกับผู้ปลดปล่อย การมาปรากฏของผู้ปลดปล่อย การเร้นกาย และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันนี้ นั้นได้มาจากศาสนาก่อนหน้านี้ เช่น ศาสนามานี ศาสนาโซโรแอสเตอร์ ศาสนาวยูดาย และศาสนาคริสต์

ตามที่ญาวิม ฮุเซน ได้เขียนไว้ว่า ที่มาของทัศนะเกี่ยวกับมะฮ์ดีในฐานะผู้ปลดปล่อยนั้นมีอยู๋ในฮะดีษของท่านศาสดา ที่บรรดาสาวกจำนวน 26 ท่านได้รายงานไว้ซึ่งมีอยู่ในหนังสือฮะดีษของพี่น้องซุนนี ซัยดียะฮ์และอิมามียะฮ์  เขาปฏิเสธความฎออีฟของฮะดีษ โดยกล่าวว่า ฮะดีษเหล่านี้ก็แพร่หลายในยุคราชวงศ์อุมัยะฮ์ และก็มีอยู่ในหนังสือ สุลัยม์ บิน เกส ซึ่งอ้างถึงสุลัยม์ บิน เกส ฮิลาลี (ประมาณ ฮ.ศ. 80-90 / ค.ศ. 699-708)  อีกด้านหนึ่งนักประวัติศาสตร์ และนักเทววิทยาของชีอะฮ์ เช่น ซัยยิดมุรตะฎอ อัสกะรี และมุฮัมหมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอี  ย้ำถึงจุดร่วมระหว่างศาสนาเกี่ยวกับความหวังการมาของมะฮ์ดี และสร้างความยุติธรรมขึ้นบนหน้าแผ่นดิน โดยถือว่าเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตลาดต่างๆ กลุ่มนี้เริ่มจากการกล่าวถึงมะฮ์ดีในฮะดีษต่างๆ ของศาสดาแห่งอิสลามที่ทั้งชีอะฮ์และซุนนีรายไว้ และเชื่อว่าการมีอยู่ของมะฮ์ดีนั้นเป็นสิ่งจำเป็นหนึ่งที่จะต้องเกิดขึ้นตามสัญญาที่มีอยู่ในอิสลามและกุรอานเพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในหน้าแผ่นดิน

สถานการณ์ทางการเมืองและความเชื่อในช่วงปลายศตวรรษที่สามและสี่

ฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี 
ฮะรัม (สุสาน)อิมามฮะซันอัสการี

ในยุคการปกครองของ มุตะวักกิล อับบาซี (ฮ.ศ. 232-247/ค.ศ. 847-861) การเมืองที่ประนีประนอมของมะมูน (ฮ.ศ. 198-218 /ค.ศ. 813-833) และบรรดาคอลีฟะฮ์ภายหลังจากเขามีท่าทีที่ที่แข็งกร้าวต่อชีอะฮ์ ในยุคของมุตะวักกิลเขาสั่งให้ทำลายสุสานของ ฮุเซน บิน อาลี  เขาได้เรียกตัวอิมามท่านท่านที่สิบของชีอะอ์ อิมามฮาดีย์ กับบุตรของท่าน อิมามฮะซันอัสการี จากเมืองมะดีนะฮ์มายังเมืองซามัรรอ เพื่ออยู่ในการควบคุมของคอลีฟะฮ์  มุตะวักกิลทำทุกวิถีทางในการกลั่นแกล้งและไม่เกียรติต่ออิมาม มีรายงานมากมายบ่งบอกว่าผู้ปกครองได้กดดันบรรดาอิมามในเมืองซามัรรออย่างหนัก บรรดาชีอะฮ์ในอิรักและฮิญาซก็ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก มุนตะซิร ผู้เป็นลูกชายและขึ้นปกครองต่อหลังจากผู้เป็นบิดาได้ยกเลิกนโยบายนี้จึงทำให้อิมามฮาดีมีเสรีภาพมากขึ้น แต่นโยบายทางการเมืองของมุตะวักกิลก็ดำเนินต่อไปในยุคของมุสตะอีน (ฮ.ศ. 862-866)  เป็นไปได้ว่าในยุคนี้เองที่อิมามท่านที่สิบของชีอะฮ์ได้ส่ง อุษมาน บินสะอีด เป็นตัวแทนไปยังอิรัก (ซึ่งตัวแทนคนนี้ก็ได้รับการรับรองในยุคของอิมามท่านที่สิบเอ็ด อิมามฮะซันอัสการี ด้วยเช่นกัน)   ยุคสุดท้ายของบรรดาชีอะฮ์ เป็นยุคของตัวแทน แต่แตกต่างจากการแต่งตั้งตัวแทนอื่นๆในยุคอะละวี (อิสมาอีลียะฮ์ ซัยดียะฮ์  ลูกหลานของฮะซัน บิน อาลี) ที่มีขึ้นเพื่อการลุกขึ้นต่อสู้ ทว่าตัวแทนในยุคปลายของบรรดาอิมามนั้นมีขึ้นเพื่อกิจด้านศาสนา เช่น การเก็บเงินคุมส์และซะกาตดี

เนื่องจากนโยบายทางการเมือง การเงิน การทหารของมุตะวักกิล การเปลี่ยนเมืองหลวงไปยังเมืองซามัรรอ และการโอนเอียงทางด้านมัซฮับไปสู่กลุ่มฮะนาบิละฮ์ ทำให้อำนาจการปกครองอ่อนแอลง กระทั่งเมื่อเขาถูกลอบสังหารในปี ฮ.ศ. 247 ค.ศ. 861 โดยทาสชาวเติร์ก เป็นเหตุให้อำนาจของราชวงศ์อับบาซีเร่มเสื่อมถอยลง  เกิดสงครามขึ้นภายในแบกแดดและซามัรรอ หลังจากการตายของมุตะวักกิล ก็มีการสังหารคอลีฟะฮ์อีกสี่คน ทำให้ราชวงศ์อับบาซีแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เป็นหัวหน้ากลุ่ม (อะมีร) กระจัดกระจายในดินแดนอิสลาม เช่นกลุ่มซอฟาริยอน ที่ขัดแย้งกับผู้นำคนก่อนของกลุ่มฏอฮิรียอน เกี่ยวกับเรื่องเอกราชของตน สถานการณ์ทางการเมืองและศาสนาในช่วงปลายตำแหน่งฮะซัน อัสการี และช่วงต้นหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปนั้นอยู่ในยุคการปกครองของมุอ์ตะมิด อับบาซี (ฮ.ศ. 256-892) ที่ถือว่าวิกฤติอย่างมาก ทางด้านการเมืองที่อยู่ในยุคอ่อนแอของราชวงศ์อับบาซี  เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแข่งแย่งกันขึ้นอย่างกว้างขวาง มุอ์ตะมิด จึงควบคุมอิมามฮะซัน อัสการี ที่ถือว่าเป็นคู่แข่งที่อันตรายในการขึ้นสู่คอลีฟะฮ์ไว้ในเมืองซามัรรอ กระทั่งห้ามไม่ให้บรรชีอะฮ์เข้าพบ อีกด้านหนึ่ง มุอ์ตะมิด อับบาซี อยู่ใต้อำนาจของพี่ชาย คือ  มุวัฟฟัก บิลลาฮ์ ที่มีอำนาจทางการทหาร ในลักษณะที่ว่า ค.ศ. 882 สามารถยึดอำนาจของคอลีฟะฮ์ได้เบ็ดเสร็จ มุวัฟฟักและลูกชายของเขา มุอ์ตะฏิด (คอลีฟะฮ์ตั้งแต่ ค.ศ 892-902)และลูกๆ ของเขา มุกตะฟี (ค.ศ.902-908) และมุกตะดิร (ค.ศ. 908-932)  ประสบความสำเร็จในการกู้อำนาจคอลีฟะฮ์กลับมาอีกครั้ง แม้ว่าจะมีอำนาจปกครองเฉพาะในอิรักเท่านั้นก็ตาม แต่พวกเขาก็สามารถขยายอำนาจของตนไปยังอียิปต์ ตะวันตกและอิหร่านผ่านกองกำลังทหารและทางการทูต นับจากยุคของมุอ์ตะฎิดจากนั้นเป็นต้นมาอับบาซีก็ตกอยู่ในอำนาจของครอบครัวชีอะฮ์ชาวฟุรอตและตระกูลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม ชาวญะรอห์ การแก่งแย่งของสองตระกูลนี้ยิ่งทำให้การปกครองระบบเจ้าขุนมูลนายของอับบาซีต้องล่มสลายลง

ช่วงปลายศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ชาวชีอะฮ์ประสบกับวิกฤติผู้นำ เกิดกลุ่มอิสมาอีลียะฮ์ขึ้นในดินแดนต่างๆ เช่น แอฟริกาเหนือ และซีเรียทางตอนเหนือ การเชิญชวนของกลุ่มอิสมาอีลียะฮ์เพิ่มมากขึ้น กระทั่งอะบูอับดิลลาฮ์ ชีอีย์ สามารถรวบรวมผู้ปฏิบัติตามได้ในฝั่งตะวันตกของอาหรับ ในยุคนี้มีบุคคลหนึ่งนามว่า สะอีด บิน ฮุเซน รู้จักกันในนามของ อุบัยดิลลาฮ์ มะฮ์ดี อ้างตนเป็นอิมาม และอะบูอับดิลลาฮ์ก็เป็นผู้หนึ่งที่ปฏิบัติตามเขา อะบูอับดิลลาฮ์สามารถยึดแอฟริกาได้สำเร็จในปี ฮ.ศ. 297/ค.ศ. 909  ต่อมาในปีเดียวกันนั้น ก็แต่งตั้งให้อุบัยดิลลาฮ์มะฮ์ดีขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ และจัดตั้งรัฐฟาฏิมียานขึ้น  ส่วนอิสมาอีลีที่ไม่ยอมรับคอลีฟะฮ์ ฟาติมียาน ก็จัดตั้งกลุ่มการ์มาติยานขึ้น อีด้านหนึ่ง ชีอะฮ์ซัยดี ก็เกิดกลุ่มซัยดีขึ้นในปี ฮ.ศ. 250 / ค.ศ. 864 ในฏับริสตอน และในปี ฮ.ศ. 284 / ค.ศ. 879 ก็เจัดตั้งรัฐขึ้นในเยเมน ในยุคนี้ชาวขีอะฮ์จะยึดหลักเทวะวิทยาตาม อะบูสะฮ์ล นูบัคตี (เกิด ฮ.ศ. 237 เสียขีวิต ฮ.ศ. 311) จากนั้นก็ยึดหลักเทวะวิทยาตามเชคมุฟีด

ช่วงต้นการเร้นกายระยะยาว เป็นยุคที่รู้จักกันในนามของ "ศตวรรษแห่งชีอะฮ์" ช่วงต้นศตวรรษที่สี่แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช/ศตวรรษที่สิบแห่งคริสต์ศักราช นิกายซัยดี ครอบครัวอาลิบูยะฮ์ มีอำนาจเหนือดินแดนที่สำคัญของอิหร่าน ได้แก่ ฟอร์ส เรย์ และอิศฟาฮาน ในปีฮ.ศ. 334/ค.ศ. 945 บะนีอับบาสตกอยู่ภายใต้อำนาจของชีอะฮ์อาลิบูยะฮ์  เบื้องต้นอาลิบูยะฮ์นั้นเป็นชีอะฮ์ซัยดี เมื่องขึ้นปกครองก็เปลี่ยนมาเป็นชีอะฮ์สิบสองอิมาม ในยุคอาลิบูยะฮ์ ก็มีการปกครองชีอะฮ์ในดินแดนอื่นๆ เช่น ฟาฏิมียาน ในอียิปต์และแอฟริกาเหนือ บะนีฮัมดาน ทางตอนเหนือของอิรักและซีเรีย  และการปกครองของอิดรีซิยาน ที่ปกครองดินแดนส่วนหนึ่งทางแอฟริกาเหนือ  เนื่องจากอิทธิพลของฟาฏิมียานและอาลิบูยะฮ์ในดินแดนที่เป็นจุดศูนย์กลางของอิสลามทำให้ชีอะฮ์มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านศาสนาและแนวความคิด ถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองและผลงานทางวิชาการก็เกิดขึ้นมากมายในยุคนี้ อาลิบูยะฮ์เป็นผู้เผยแผ่วิชาการของชีอะฮ์  อีกทั้งให้การสนับสนุนบรรดานักการศาสนา กระทั่งเป็นการปูทางการเข้ามาของแนวคิดด้านเทวะวิทยาของมุอ์ตะซีละฮ์สู่ชีอะฮ์

ดูเพิ่ม

  • อิมามะฮ์ของชีอะฮ์สิบสองอิมาม
  • เทววิทยาของชีอะฮ์สิบสองอิมาม
  • ซัยยิด อะลี อัคบัร
  • สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอิสลาม (ชีอะฮ์)
  • อิสมาอีลียะฮ์
  • บุคคลที่อ้างตนเองว่าเป็นมะฮ์ดี
  • คำวิจารณ์จากชีอะฮ์สิบสองอิมาม
  • เจ้าหญิงแห่งโรม
  • ความซ่อนเร้น (อิสลาม)
  • ดุอาอัลอะฮ์ดุ
  • ดุอานุดบะฮ์
  • ดุอาอัลฟะร็อจ

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

สารานุกรม

หนังสือ

บทความ

อ่านเพิ่ม

  • al-Qarashi, Baqir Sharif (2006). The Life of Imam Al-Mahdi, translated by Syed Athar Husain S.H. Rizvi. Ansariyan Publications. ISBN 964-438-806-2.
  • al-Sadr, Muhammad Baqir (1983). Awaited Saviour. Imam Al Khoei Islamic. ISBN 0-686-90398-6.
  • Amini, Ibrahim (1996). Al-Imam Al-Mahdi: The Just Leader of Humanity, translated by Abdulaziz Abdulhussein Sachedina. Islamic Education and Information Center. ISBN 0-9680717-0-8.
  • Corbin, Henry (1993). History of Islamic Philosophy, translated by Liadain Sherrard and Philip Sherrard. Kegan Paul International in association with Islamic Publications for The Institute of Ismaili Studies. ISBN 0-7103-0416-1.
  • Hussain, Jassim M. (1986). Occultation of the Twelfth Imam: A Historical Background. Routledge. ISBN 0-7103-0158-8.
  • Nasr, Seyyed Hossein; Hamid Dabashi (1989). Expectation of the Millennium: Shiʻism in History. SUNY Press. ISBN 0-88706-843-X.
  • Tabatabae, Sayyid Mohammad Hosayn (1979). Shi'ite Islam. Seyyed Hossein Nasr (translator). Suny press. ISBN 0-87395-272-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี ประวัติฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี ดูเพิ่มฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี หมายเหตุฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี อ้างอิงฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี ข้อมูลฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี อ่านเพิ่มฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี แหล่งข้อมูลอื่นฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดีชะอ์บานชีอะฮ์สิบสองอิมามพระเยซูภาษาอาหรับมะฮ์ดีอิมามะฮ์อีซา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อสุภประเทศจีนฟุตซอลโลก 2021รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยประเทศนอร์เวย์จังหวัดฉะเชิงเทราอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะราณี แคมเปนธนวรรธน์ วรรธนะภูติ.comโรงพยาบาลในประเทศไทยจอร์จ วอชิงตันประเทศเยอรมนีทัศน์พล วิวิธวรรธน์ฟุตบอลไมเคิล เบิร์นวรกมล ชาเตอร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ฟุตซอลโลก 2024สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาประเทศเม็กซิโกกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางจังหวัดนครพนมประเทศจอร์เจียสุธิตา ชนะชัยสุวรรณภัณฑิรา พิพิธยากรกรงกรรมจีนพรหมวิหาร 4จักรทิพย์ ชัยจินดากองทัพสหรัฐสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)โหนกระแสแฮร์รี่ พอตเตอร์มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชอัมสเตอร์ดัมบาท (สกุลเงิน)สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาโปเตโต้โจ ไบเดินทองใส ทับถนนภาษาไทยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยวินัย ไกรบุตรภาคใต้ (ประเทศไทย)สุทัตตา อุดมศิลป์อินสตาแกรมพระคเณศกองทัพเรือไทยประเทศออสเตรียฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองเหี้ยปริญ สุภารัตน์กองบัญชาการตำรวจนครบาลกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์โฟร์อีฟ2สงครามเย็นไทใหญ่ประเทศตุรกีวชิรวิชญ์ ชีวอารีแพทองธาร ชินวัตรเฮอร์ริเคนบาปเจ็ดประการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดประเทศฟิลิปปินส์สุภัคชญา ชาวคูเวียงราชมังคลากีฬาสถาน🡆 More