อำเภอบัวเชด

บัวเชด เป็นอำเภอในจังหวัดสุรินทร์

อำเภอบัวเชด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Buachet
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
คำขวัญ: 
บัวเชดเขตธรรมชาติ ปราสาทค่าล้ำ งามถ้ำผาไทร ประทับใจเขาศาลา งดงามตาน้ำตกหลากหลาย ดื่มด่ำไวน์ผลไม้ป่า
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอบัวเชด
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอบัวเชด
พิกัด: 14°31′36″N 103°56′42″E / 14.52667°N 103.94500°E / 14.52667; 103.94500
ประเทศอำเภอบัวเชด ไทย
จังหวัดสุรินทร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด479.0 ตร.กม. (184.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด41,519 คน
 • ความหนาแน่น86.68 คน/ตร.กม. (224.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 32230
รหัสภูมิศาสตร์3213
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบัวเชด หมู่ที่ 4 ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 32230
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
อำเภอบัวเชด
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบัวเชด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

พื้นที่อำเภอบัวเชด เดิมเป็นท้องที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ประชากรอาศัยอยู่น้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าและการคมนาคมไม่สะดวกประมาณ ปี พ.ศ. 2430 มีราษฎรประมาณ 5 ครัวเรือน มีผู้นำครอบครัวคือ นายบัว ภรรยาชื่อ นางเชด จึงเรียกชื่อในระยะแรกว่าบ้านตาบัวยายเชด เป็นที่มาของบ้านบัวเชด อยู่ในการปกครองของตำบลดม อำเภอสังขะต่อมาได้แยกตำบลดมออกไปมาเป็นตำบลบัวเชด และในปี พ.ศ. 2460 ได้แยกตำบลบัวเชดออกไปตั้งเป็นตำบลสะเดา ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2472 ได้โอนหมู่บ้านของตำบลกันทรารมย์ อำเภอห้วยเหนือ ของจังหวัดศรีสะเกษ มาขึ้นกับตำบลสะเดา 1 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2483 ทางราชการได้ยุบตำบลสะเดา และแบ่งหมู่บ้านไปขึ้นกับตำบลบัวเชด และตำบลสังขะ เนื่องจากมีปริมาณงานและประชากรที่น้อย

ต่อมาเมื่อประชากรและหมู่บ้านมีมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการแบ่งหมู่บ้านจากตำบลบัวเชด 11 หมู่บ้านและตำบลสังขะ 1 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลสะเดา อีกครั้งพร้อมกับ 3 ตำบล คือ ตำบลด่าน ตำบลดม และตำบลตรวจ ในปี พ.ศ. 2514 ได้แบ่งพื้นที่ตำบลบัวเชด โดยแยก 5 หมู่บ้านตั้งเป็น ตำบลจรัส ในปี พ.ศ. 2521 เมื่อทางราชการเห็นว่าพื้นที่ทั้ง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบัวเชด ตำบลสะเดา ตำบลจรัส ของอำเภอสังขะ ห่างไกลคมนาคม เจ้าหน้าที่ของรัฐออกตรวจตราและเยี่ยมเยียนราษฎรไม่ทั่วถึง รวมทั้งเป็นชุมชนที่มีแนวโน้มว่ามีความเจริญต่อไปในอนาคต เพื่อเป็น การอำนวยความความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ สามารถแบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ จึงแยกตั้งเป็น กิ่งอำเภอบัวเชด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 กรกฎาคม โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม ปีเดียวกัน

กิ่งอำเภอบัวเชดได้ดำเนินการจัดตั้งตำบลเพิ่มอีก 2 ตำบล โดยในปี พ.ศ. 2525 ได้แยก 9 หมู่บ้านของตำบลสะเดา ตั้งเป็น ตำบลตาวัง แยก 8 หมู่บ้านในเขตตำบลบัวเชด ตั้งเป็น ตำบลอาโพน ในปี พ.ศ. 2526 เนื่องจากหลักเกณฑ์ต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 4 ตำบล (ในพื้นที่ห่างไกล) ก่อนที่จะยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบัวเชด พร้อมกับอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 โดยมีการปกครองทั้งหมด 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบัวเชด ตำบลสะเดา ตำบลจรัส ตำบลตาวัง และตำบลอาโพน

เมื่อพื้นที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจ ไปรษณีย์โทรเลข รวมทั้งศูนย์ราชการ และเป็นที่ประชุมชนมากขึ้น จึงกำหนดเขตพื้นที่หมู่ 1 บ้านบัวเชด หมู่ 2 บ้านบัวขุนจง หมู่ 3 บ้านปราสาท หมู่ 4 บ้านหมื่นสังข์ หมู่ 5 บ้านตาบิม หมู่ 6 บ้านกะทม หมู่ 7 บ้านระมาดค้อ และหมู่ 10 บ้านโนนสังข์ รวม 8 หมู่บ้าน ตั้งเป็น สุขาภิบาลบัวเชด ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2534 หมู่ 11 บ้านสำเภาลูน ของตำบลสะเดาขอรวมกับพื้นที่ 7 หมู่บ้านใกล้เคียง ตั้งเป็น ตำบลสำเภาลูน เป็นตำบลลำดับที่ 6 ของทางอำเภอบัวเชด จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบัวเชดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 68 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บัวเชด (Buachet) 13 หมู่บ้าน
2. สะเดา (Sadao) 12 หมู่บ้าน
3. จรัส (Charat) 12 หมู่บ้าน
4. ตาวัง (Ta Wang) 10 หมู่บ้าน
5. อาโพน (A Phon) 11 หมู่บ้าน
6. สำเภาลูน (Samphao Lun) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบัวเชดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบัวเชด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบัวเชด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวเชด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบัวเชด)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจรัส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจรัสทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาวัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาวังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอาโพน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอาโพนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำเภาลูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำเภาลูนทั้งตำบล

อ้างอิง

Tags:

อำเภอบัวเชด ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอบัวเชด ประวัติอำเภอบัวเชด การแบ่งเขตการปกครองอำเภอบัวเชด อ้างอิงอำเภอบัวเชดจังหวัดสุรินทร์อำเภอ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนนท์ อัลภาชน์ประเทศอาร์เจนตินาบุพเพสันนิวาสถนนพระรามที่ 2หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินจังหวัดอุบลราชธานีใหม่ เจริญปุระคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นพรรคเพื่อไทยไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์อันดับของขนาด (มวล)ประเทศบราซิลประเทศสเปนจังหวัดสุราษฎร์ธานีก็อดซิลล่า ปะทะ คองประยุทธ์ จันทร์โอชาพ.ศ. 2567แม่นากพระโขนงธนาคารกรุงไทยทิน โชคกมลกิจนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดรุ่งนภา พงศ์ทิพย์สุคนธ์เอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนอี โด-ฮย็อนจังหวัดสุรินทร์สกีบีดีทอยเล็ตเทศน์ เฮนรี ไมรอนทัศน์พล วิวิธวรรธน์ลิโอเนล เมสซิบัวขาว บัญชาเมฆจังหวัดพิษณุโลกนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)จังหวัดบุรีรัมย์แอทลาสมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีภาษาพม่าอัลกุรอานวชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสงกรานต์ในประเทศไทยงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ภาษาไทยเอ็กซูม่าFBฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์ราชินีแห่งน้ำตาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์รายชื่อตอนในโปเกมอนก็อตซิลลาหมากรุกกรมราชเลขานุการในพระองค์สุภโชค สารชาติคงกะพัน แสงสุริยะจังหวัดระยองเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพเจนี่ อัลภาชน์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์จรินทร์พร จุนเกียรติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สหราชอาณาจักรเมลดา สุศรีไทยเอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรพ.ศ. 2565แบตเตอรี่สำนักพระราชวังAแปลก พิบูลสงครามนิภาภรณ์ ฐิติธนการไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)สุภัคชญา ชาวคูเวียงชวลิต ยงใจยุทธสติปัฏฐาน 4🡆 More