สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ชื่น ราชสกุลนพวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ.

2488 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 14 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 สิริพระชันษา 85 ปี 354 วัน

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระสังฆราชไทย พระองค์ที่ 13
ดำรงพระยศ31 มกราคม พ.ศ. 2488 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (13 ปี 284 วัน)
สถาปนา31 มกราคม พ.ศ. 2488
ก่อนหน้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)
ถัดไปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ)
สถิตวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
นิกายธรรมยุติกนิกาย
ประสูติ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415
วังกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ
หม่อมราชวงศ์ชื่น
สิ้นพระชนม์11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (85 ปี)
พระบิดาหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์
พระมารดาหม่อมเอม (คชเสนี) นพวงศ์ ณ อยุธยา
ลายพระนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

พระประวัติ

พระกำเนิด

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ชื่น เป็นโอรสในหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ และหม่อมเอม (สกุลเดิม คชเสนี) ประสูติภายในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (ต้นราชสกุลนพวงศ์) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก ส่วนหม่อมเอมพระชนนีเป็นธิดาพระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี)

ต่อมาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร โดยทำหน้าที่เป็นคะเดท ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์

ผนวชและศึกษาพระปริยัติธรรม

พระองค์บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2428 โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับอาจารย์หลายท่าน เช่น หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล พระสุทธสีลสังวร (สาย) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อปีขาล พ.ศ. 2433 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร และได้รับพระราชทานพัดเปรียญในวันที่ 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 112

ต่อมาวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2435 ได้อุปสมบท ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร โดยพระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร

ในตอนแรกทรงตั้งพระทัยจะสอบถึงเพียงเปรียญธรรม 5 ประโยคเท่านั้น แต่สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้สอบต่อ และทรงส่งพระองค์เข้าสอบในปีมะเมีย พ.ศ. 2437 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงได้อีก 2 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค

พระกรณียกิจ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ 
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2499 (ในภาพ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ทรงลาผนวชต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499)

พระองค์ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มาตั้งแต่ต้น คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่าง ๆ พระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ไปไว้ใช้ฝึกสอน ให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวง มารวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2445 ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมือง

พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. 2477 และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2480 พระองค์ก็ได้ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบต่อมา และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุตที่สำคัญหลายประการ

เมื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2494 ดังนี้

  1. การปกครองส่วนกลาง คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย
  2. การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย

พระองค์ได้เป็นพระราชอุปัชฌยาจารย์เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกผนวชในปี พ.ศ. 2499 และในงานฉลองพุทธศตวรรษในประเทศไทย รัฐบาลประเทศพม่าได้ถวายสมณศักดิ์สูงสุดของพม่าคือ อภิธชมหารัฏฐคุรุ แด่พระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2500

ตำแหน่ง

  • พ.ศ. 2445 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี
  • พ.ศ. 2467 ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา
  • พ.ศ. 2476 ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
  • พ.ศ. 2485 ทรงเป็นประธานคณะวินัยธร ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484

สมณศักดิ์

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพะย่ะค่ะ/เพคะ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ 
อักษรพระนามย่อ วญว.สจ. (วชิรญาณวงศ์ สุจิตฺโต) ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ปรากฏในพระราชฉายาบัฏของ "ภูมิพโล ภิกขุ" พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  • พ.ศ. 2439 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์
  • พ.ศ. 2446 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นเทพพิเศษที่พระญาณวราภรณ์ สุนทรศีลวิสุทธินายก ไตรปิฎกเมธา มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2451 ลาออกจากหน้าที่พระราชาคณะเพื่อเตรียมลาสิกขาบท แต่ยังทรงอาลัยในสมณเพศจึงรั้งรออยู่
  • พ.ศ. 2454 รับพระราชทานพัดยศเดิมและกลับเข้ารับราชการตามตำแหน่งเดิม
  • พ.ศ. 2455 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2464 ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษที่ พระญาณวราภรณ์ สุนทรธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิฎกธารี ธรรมวาทียติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2471 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตติกา ในพระราชทินนามพิเศษว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ปาพจนงคญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจารี ตรีปิฎกธรรมโกศล วิมลศีลขันธ์สรรพสุจิตต์ มหากิริฏราชประนับดา นพวงศวรานุวรรตน์ อุตกฤษฏรัตตัญญูกาพยปฏิภาณ คุโณธารสังฆประมุข ธรรมยุกติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
  • ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้สถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชในราชทินนามเดิม เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2488
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น

"สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วิสุทธิสงฆคุณาลังการ อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชสรณคมนาจารย์ สุจิตตาภิธานสังฆวิสุต มหามกุฎมหาราชประนัปดา นพวงศราชกุลาภิวรรธน์ สุขุมอรรถธรรมวิจารปรีชา กาพยรจนาฉันทพากยปฏิภาน ปาวจนุตตมญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภานพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณบัณฑิต สรรพคณิสสรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช

  • และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม พร้อมเฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

"สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วิสุทธิสงฆคุณาลังการ อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชหิโตปัธยาจารย์ สุจิตตาภิธานสังฆวิสุต มหามกุฎมหาราชประนัปดา นพวงศราชกุลาภิวรรธน์ สุขุมอรรถธรรมวิจารปรีชา กาพรจนาฉันทพากยปฏิภาน ปาวจนุตตมญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภานพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณบัณฑิต สรรพคณิสสรมหาปธานาธิบดี ศรีสมณุดมบรมบพิตร คชนาม"

สิ้นพระชนม์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 เวลา 01:08 น. พระศพตั้งบำเพ็ญพระกุศล ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร คณะปฏิวัติให้สถานที่ราชการทุกแห่งลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน และให้ข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วันเพื่อถวายความอาลัย และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2503 เป็นพระองค์แรกที่ใช้พระเมรุถาวร และใช้เป็นพระเมรุและเมรุ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพและงานพระราชทานเพลิงศพ พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนบุคคลสำคัญจนถึงปัจจุบัน

พระนิพนธ์

ผลงานพระนิพนธ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก พอประมวลได้ดังนี้

หนังสือที่ทรงนิพนธ์ ได้แก่ ศาสนาโดยประสงค์ พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิด ตายสูญ ทศพิธราชธรรม พร้อมทั้งเทวตาทิสนอนุโมทนากถา สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และขัตติยพละ พุทธศาสนคติ บทความต่าง ๆ รวมเล่ม ชื่อว่า ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น ทีฆาวุคำฉันท์ และพระธรรมเทศนาที่สำคัญได้แก่ ธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระธรรมเทศนาวชิรญาณวงศ์เทศนา 55 กัณฑ์

พงศาวลี

อ้างอิง

ก่อนหน้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถัดไป
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(แพ ติสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ 
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2501)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(ปลด กิตฺติโสภโณ)
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  ไฟล์:ตราบาลี.gif
แม่กองบาลีสนามหลวง
(พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2478)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(ปลด กิตฺติโสภโณ)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
(พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2501)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ 
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
(พ.ศ. 2464–พ.ศ. 2501)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)

Tags:

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระกรณียกิจสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สิ้นพระชนม์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พงศาวลีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ อ้างอิงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรวัดบวรนิเวศราชวรวิหารสมเด็จพระสังฆราชไทย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เกิดชาตินี้พี่ต้องเทพไพ่แคงเคที เพร์รีรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครGeorge W. Bushสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกราชวงศ์จักรีพ.ศ. 2553X-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)ดอนัลด์ ทรัมป์ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิโรมดาบพิฆาตอสูรอวตาร (ภาพยนตร์)ประเทศโคลอมเบียผีกะประเทศคาซัคสถานธีราทร บุญมาทันทักษอร ภักดิ์สุขเจริญชวินโรจน์ ลิขิตเจริญสกุลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนหีวัดสระเกศราชวรมหาวิหารจรินทร์พร จุนเกียรติภรภัทร ศรีขจรเดชาพชร จิราธิวัฒน์พระพุทธเจ้าหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีชาริล ชับปุยส์มหาวิทยาลัยรามคำแหงมนต์แคน แก่นคูนกรมราชเลขานุการในพระองค์กองทัพเรือไทยจังหวัดนครศรีธรรมราชเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรณัฐธิชา นามวงษ์โปรแกรมเลียนแบบเวียดนามราชมังคลากีฬาสถานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยอดนักสืบจิ๋วโคนันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกไทใหญ่สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ไดโนเสาร์ภาคใต้ (ประเทศไทย)จูด เบลลิงงัมจังหวัดพิษณุโลกหัวใจไม่มีปลอมรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากรายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ประเทศบรูไนจังหวัดกาฬสินธุ์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีคิม โก-อึนพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสิงคโปร์แอร์ไลน์นิษฐา คูหาเปรมกิจจักรภพ ภูริเดชจุลจักร จักรพงษ์ภาวะโลกร้อนท่าอากาศยานดอนเมืองเพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3)พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ประเทศรัสเซียพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคไกรศักดิ์ ชุณหะวัณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาการโฆษณาบางระจัน🡆 More