ภูเขาไฟเมานาโลอา

ภูเขาไฟเมานาโลอา (Mauna Loa) เป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในฮาวาย สหรัฐอเมริกา จัดเป็นภูเขาไฟมีพลัง เกิดการระเบิดทุกๆ 3 ปีครึ่ง การระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ.

2527">พ.ศ. 2527

ภูเขาไฟเมานาโลอา
Mauna Loa
ภูเขาไฟเมานาโลอา
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงภาพเกาะฮาวาย เมานาโลอาคือภูเขาไฟสีเข้มที่ล้อมรอบด้วยเมฆที่ด้านล่างของภาพ
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
13,679 ฟุต (4,169 เมตร) 
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
7,079 ฟุต (2,158 เมตร) 
รายชื่อ
  • ยอดเขาที่สูงที่สุดในสหรัฐอันดับที่ 66
  • ภูเขาที่สูงที่สุดในสหรัฐอันดับที่ 38
  • ยอดเขาที่สูงที่สุดในรัฐฮาวายอันดับที่ 2
พิกัด19°28′46″N 155°36′10″W / 19.47944°N 155.60278°W / 19.47944; -155.60278
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ภูเขาไฟเมานาโลอาตั้งอยู่ในรัฐฮาวาย
ภูเขาไฟเมานาโลอา
แผนที่รัฐฮาวายแสดงตำแหน่งภูเขาไฟ
ที่ตั้งสหรัฐ รัฐฮาวาย สหรัฐ
เทือกเขาหมู่เกาะฮาวาย
แผนที่ภูมิประเทศUSGS Mauna Loa
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน700,000–1 ล้านปี
ประเภทภูเขาภูเขาไฟรูปโล่
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟสายภูเขาใต้ทะเลฮาวาย-เอ็มเพเรอร์
การปะทุครั้งล่าสุดมีนาคม–เมษายน ค.ศ. 1984
การพิชิต
พิชิตครั้งแรกยุคโบราณ
เส้นทางง่ายสุดไอนาโปเทรล (Ainapo Trail)

เมานาโลอาเป็นภาษาฮาวาย แปลว่า Long Mountain เป็นภูเขาไฟที่มีปริมาตรประมาณ 18,000 คิวบิกไมล์ (75,000 km³) เมื่อประกอบกับภูเขาไฟอีก 4 ลูกคือคีเลาเวอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไลรวมเป็นเกาะฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอามีเนื่อที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอาจะระเบิดทุก ๆ 3 ปีครึ่ง

ยอดเขาเมานาโลอามีความสูงวัดจากระดับน้ำทะเล 4,170 เมตร เป็นอันดับสองของเกาะฮาวายรองจากยอดเขาเมานาเคอาซึ่งสูงกว่าประมาณ 120 ฟุต (37 เมตร) แต่เมื่อวัดความสูงจากฐานส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในโลกคือจะสูงกว่า 9 กิโลมตรและสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์

ภูมิอากาศ

เมานาโลอามีภูมิอากาศแบบเขตร้อน ตลอดทั้งปีที่ระดับความสูงน้อยจะมีอากาศอบอุ่น แต่ที่ระดับความสูงมากขึ้นจะมีอากาศเย็นจนถึงหนาว ตารางด้านล่างแสดงอุณหภูมิที่วัดที่หอสังเกตการณ์ที่ลาดเขา ที่อยู่ที่ระดับความสูง 3,000 เมตรในเขตแอลป์ อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 85 °F (29 °C) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 และต่ำสุดคือ 18 °F (−8 °C) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505

ข้อมูลภูมิอากาศของหอสังเกตการณ์ลาดเขาเมานาโลอา (2504-2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °F (°C) 67
(19.4)
85
(29.4)
65
(18.3)
67
(19.4)
68
(20)
71
(21.7)
70
(21.1)
68
(20)
67
(19.4)
66
(18.9)
65
(18.3)
67
(19.4)
85
(29.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °F (°C) 49.8
(9.89)
49.6
(9.78)
50.2
(10.11)
51.8
(11)
53.9
(12.17)
57.2
(14)
56.4
(13.56)
56.3
(13.5)
55.8
(13.22)
54.7
(12.61)
52.6
(11.44)
50.6
(10.33)
53.24
(11.801)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °F (°C) 33.3
(0.72)
32.9
(0.5)
33.2
(0.67)
34.6
(1.44)
36.6
(2.56)
39.4
(4.11)
38.8
(3.78)
38.9
(3.83)
38.5
(3.61)
37.8
(3.22)
36.2
(2.33)
34.3
(1.28)
36.21
(2.338)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °F (°C) 19
(-7.2)
18
(-7.8)
20
(-6.7)
24
(-4.4)
27
(-2.8)
28
(-2.2)
26
(-3.3)
28
(-2.2)
29
(-1.7)
27
(-2.8)
25
(-3.9)
22
(-5.6)
18
(−7.8)
หยาดน้ำฟ้า นิ้ว (มม) 2.3
(58)
1.5
(38)
1.7
(43)
1.3
(33)
1.0
(25)
0.5
(13)
1.1
(28)
1.5
(38)
1.3
(33)
1.1
(28)
1.7
(43)
2.0
(51)
17
(432)
ปริมาณหิมะ นิ้ว (ซม) 0.0
(0)
1.0
(2.5)
0.3
(0.8)
1.3
(3.3)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
1.0
(2.5)
3.6
(9.1)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 4 5 6 5 4 3 4 5 5 5 5 4 55
แหล่งที่มา: NOAA

หอสังเกตการณ์

ภูเขาไฟเมานาโลอา 
ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่วัดที่หอสังเกตการณ์เมานาโลอา

เมานาโลอาเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการเฝ้าสังเกตชั้นบรรยากาศโดยโครงการเฝ้าติดตามบรรยากาศโลกและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์แห่งเมานาโลอา (MLSO) ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 3,400 เมตรบนลาดเขาทางทิศเหนือ มีบทบาทสำคัญในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ ขณะที่หอสังเกตการณ์เมานาโลอา โดยองค์กรการบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NOAA) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน และอยู่ห่างไกลจากกิจกรรมของมนุษย์ในท้องถิ่น ทำหน้าที่เฝ้าสังเกตชั้นบรรยากาศของโลก รวมถึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการตรวจวัดถูกปรับเปลี่ยนเพื่ออธิบายการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภูเขาไฟ และยังมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น Array for Microwave Background Anisotropy (AMIBA) ที่เริ่มสำรวจหาต้นกำเนิดจักรวาลมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 หรือหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟแห่งฮาวายที่ตรวจวัดแผ่นดินไหวและถ่ายภาพกิจกรรมบนปล่อง Mokuʻāweoweo

สมุดภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ภูเขาไฟเมานาโลอา ภูมิอากาศภูเขาไฟเมานาโลอา หอสังเกตการณ์ภูเขาไฟเมานาโลอา สมุดภาพภูเขาไฟเมานาโลอา อ้างอิงภูเขาไฟเมานาโลอา แหล่งข้อมูลอื่นภูเขาไฟเมานาโลอาพ.ศ. 2527ภูเขาไฟภูเขาไฟมีพลังสหรัฐอเมริกาฮาวาย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อัสนี-วสันต์คินน์พอร์ชภรภัทร ศรีขจรเดชาโบรูโตะธี่หยด 2ประเทศกาตาร์มหาวิทยาลัยศรีปทุมสมาคมกีฬาโรมางูเขียวพระอินทร์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแวมไพร์ ทไวไลท์ประเทศจอร์เจียพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567ราศีเมษพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคธนาคารทหารไทยธนชาตซอร์ซมิวสิกวรกมล ชาเตอร์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็อตซิลลาองศาเซลเซียสสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีสมณะโพธิรักษ์สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรมาตาลดาหลิว เจียหลิงสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์เกิดชาตินี้พี่ต้องเทพรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จังหวัดกาญจนบุรีอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์จังหวัดร้อยเอ็ดสมณศักดิ์ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟินเคลียร์หมานพเก้า เดชาพัฒนคุณปราโมทย์ ปาทานตระกูลเจียรวนนท์ทิโมธี ชาลาเมต์นริลญา กุลมงคลเพชรจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่าพิภพไททัน69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)ศุภชัย โพธิ์สุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญปีนักษัตรพิชญ์นาฏ สาขากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครแอน อรดีประเทศกัมพูชาเดนิส เจลีลชา คัปปุนICD-10พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาประเทศอิสราเอลศุกลวัฒน์ คณารศหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจีเอ็มเอ็มทีวีสุชาติ ภิญโญโหราศาสตร์ไทยช่องวัน 31กฤษดา วงษ์แก้วฟุตซอลโลกนกกะรางหัวขวานจังหวัดขอนแก่นพ่อขุนรามคำแหงมหาราช🡆 More