พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส (อังกฤษ: Edward the Elder; อังกฤษเก่า: Ēadweard se Ieldra) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ ประสูติเมื่อคริสต์ทศวรรษ 870 และสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.

450–1100)">Ēadweard se Ieldra) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ ประสูติเมื่อคริสต์ทศวรรษ 870 และสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 924

เอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส
จุลจิตรกรรมภาพเหมือน ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้อาวุโส จากม้วนเอกสารพงศาวลีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13
กษัตริย์แห่งชนแองโกล-แซกซอน
ครองราชย์26 ตุลาคม ค.ศ. 899 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 924
ราชาภิเษก8 มิถุนายน ค.ศ. 900 คิงส์ตันอัพพอนเทมส์
ก่อนหน้าพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช
ถัดไปพระเจ้าแอเทลสแตน
พระราชสมภพประมาณ ค.ศ. 874
สวรรคต17 กรกฎาคม ค.ศ. 924 (50 หรือ 51 พรรษา)
ฟาร์นดัน, เชสเชอร์, ราชอาณาจักรอังกฤษ
ฝังพระศพมินสเตอร์ใหม่, วินเชสเตอร์ ภายหลังย้ายไป อารามไฮด์
ชายาเอ็กวิน
เอลฟ์เฟลด
อีดกิฟู
พระราชบุตร
รายละเอียดเพิ่มเติม
พระเจ้าแอเทลสแตน
อีดจิฟู
เอลฟ์เวียร์ด
อีดจิธ
เอ็ดฮิลด์
เอ็ดวิน
พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1
พระเจ้าเอเดรด
เอ็ดเบรน
ราชวงศ์เวสเซกซ์
พระราชบิดาพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช
พระราชมารดาเอลสวิธ

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสเสด็จพระราชสมภพเมื่อประมาณปี ค.ศ. 870 ที่เวสเซ็กซ์ ในประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และ เอลสวิธ ทรงเสกสมรสกับ เอ็กกวินน์, เอลฟ์เฟลด และ อีดกิฟู และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 899 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 924 ที่ฟาร์นดัน ออน ดี, เชสเชอร์, ราชอาณาจักรอังกฤษ

เอเธลลิง

ในบรรดาพระราชโอรสธิดาห้าพระองค์ที่เกิดแก่พระเจ้าอัลเฟรดและเอลสวิธที่รอดมาจนโต เอ็ดเวิร์ดเป็นพระราชบุตรองค์แรกและพระราชโอรสองค์ที่สอง พระนามที่ได้รับเป็นพระนามใหม่ในบรรดาผู้ปกครองในแซ็กซอนตะวันตก พระขนิษฐาและอนุชาต่างก็ได้รับพระนามตามพระราชบิดาหรือพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนๆ พระนามของพระองค์อาจจะมาจาก “Eadburh” ซึ่งเป็นพระนามของพระอัยกีทางพระมารดาที่มีเชื้อสายเมอร์เซียและอาจจะมีความเกี่ยวดองกับพระเจ้าแผ่นดินเมอร์เซีย “Coenwulf of Mercia” และ “Ceolwulf I of Mercia” ก็เป็นได้ วันประสูติของพระองค์ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่สันนิษฐานกันว่าอาจจะราวคริสต์ทศวรรษ 870 และอาจจะระหว่างปี ค.ศ. 874 ถึงปี ค.ศ. 877

ใน “พระราชประวัติของพระเจ้าอัลเฟรด” แอสเซอร์บันทึกว่าเอ็ดเวิร์ดทรงได้รับการศึกษาภายในราชสำนักพร้อมกับพระขนิษฐาเอลฟริธ เคานท์เตสแห่งฟลานเดอร์ส (Ælfthryth, Countess of Flanders) พระขนิษฐาอีกพระองค์หนึ่งมีความตั้งใจที่จะใช้ชีวิตภายในศาสนามาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์อาจจะเป็นด้วยว่าพระสุขภาพพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรง ต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสที่ชาฟสบรี ส่วนพระอนุชาองค์เล็กสุด เอเธลเวียรด (Æthelweard) ทรงได้รับการศึกษาภายในราชสำนักเช่นกันโดยทรงเรียนภาษาละตินซึ่งแสดงว่าคงตั้งใจว่าจะบวช เอ็ดเวิร์ดและเอลฟริธเรียนภาษาอังกฤษเก่าพร้อมทั้งความรู้เกี่ยวกับราชสำนักซึ่งแอสเซอร์กล่าวว่าเป็นการศึกษาที่เหมาะสมกับการเป็นเจ้านาย

หลักฐานแรกที่กล่าวถึงเอ็ดเวิร์ดพบในหลักฐานที่เขียนในปี ค.ศ. 892 ที่เรียกพระองค์ว่า “filius regis” ที่หมายถึงพระโอรสของกษัตริย์ในเอกสารมอบที่ดินที่นอร์ธ นิวน์ตันใกล้พิวซีย์ในวิลท์เชอร์ให้แก่เอิร์ลเอเธลเฮลม (Æthelhelm) แม้ว่าเอ็ดเวิร์ดจะเป็นพระโอรสองค์โตของกษัตริย์แต่มิได้หมายความว่าจะทรงเป็นมกุฏราชกุมาร จนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 890 ผู้ที่น่าจะได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าอัลเฟรดในขณะนั้นคือพระภาคิไนยของเอ็ดเวิร์ด เอเธลโวลด์แห่งเวสเซ็กส์ (Æthelwold of Wessex) และ เอเธลเฮลม พระราชโอรสของเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์ (Æthelred of Wessex) พระเชษฐาของพระเจ้าอัลเฟรดผู้เป็นกษัตริย์ก่อนพระองค์ เอเธลโวลด์และเอเธลเฮลมมีพระชนมายุแก่กว่าเอ็ดเวิร์ดราวสิบปี หลักฐานเกี่ยวกับเอเธลเฮลมหายไปราวคริสต์ทศวรรษ 890 คงจะเป็นเพราะเสียชีวิต แต่ใบประกาศ (charter) จากช่วงเวลานั้นแสดงหลักฐานว่าเอเธลโวลด์เป็นพยานต่อหน้าเอ็ดเวิร์ด ซึ่งเชื่อกันว่าอาจจะเกี่ยวกับตำแหน่งฐานะของทั้งสองคน เมื่อกล่าวถึงความเหมาะสมในการขึ้นครองราชย์แล้วเอเธลโวลด์ก็มีภาษีดีกว่าเอ็ดเวิร์ดตรงที่ว่ามีอายุมากกว่าและมีประสบการณ์มากกว่า และขณะที่พระมเหสีของพระเจ้าอัลเฟรดมิได้ถูกเรียกว่าพระราชินีและไม่เคยได้รับการราชาภิเษก แต่พระมารดาของเอเธลโวลด์และเอเธลเฮลมถูกเรียกว่าพระราชินี

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส ถัดไป
พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส  พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส 
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
(ราชวงศ์เวสเซ็กซ์)

(ค.ศ. 899 – ค.ศ. 924)
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส  พระเจ้าเอลฟ์เวียร์ด
หรือ
พระเจ้าแอเทลสแตน

This article uses material from the Wikipedia ไทย article พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

ภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษเก่าราชวงศ์เวสเซ็กซ์ราชอาณาจักรอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

Aชนาธิป สรงกระสินธ์มินนี่ (นักร้อง)กระทรวงในประเทศไทยบางระจัน 2 (ภาพยนตร์)สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจังหวัดนนทบุรีจิรายุ ตั้งศรีสุขสหราชอาณาจักรธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญเรโทรสเปกต์จังหวัดสงขลาพระราชวังต้องห้ามข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946)ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษมยุรา เศวตศิลาอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์แอริน ยุกตะทัตประเทศซาอุดีอาระเบียสนธิสัญญาแวร์ซายทัศน์พล วิวิธวรรธน์รายชื่อตัวละครในวันพีซไกรศักดิ์ ชุณหะวัณญี่ปุ่นจักรภพ เพ็ญแขหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ภัทรเดช สงวนความดีวิตามินซีมหาเวทย์ผนึกมารสีประจำวันในประเทศไทยพ.ศ. 2567บรรดาศักดิ์ไทยแฟกทอเรียลจักริน กังวานเกียรติชัยมังงะโรมประเทศจอร์เจียเผ่าเพชร เจริญสุขเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกท่าอากาศยานดอนเมืองไทยลีกรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์นิษฐา คูหาเปรมกิจบาปเจ็ดประการสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ก็อตซิลลาไต้หวันคาราบาวจังหวัดนครปฐมหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชศิริลักษณ์ คองรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยคงกะพัน แสงสุริยะรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สวินาศกรรม 11 กันยายนกูเกิลวรกมล ชาเตอร์ผลิตโชค อายนบุตรสล็อตแมชชีนโฟกัส จีระกุลรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยสุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรบียอนเซ่รายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกเราะมะฎอนรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรภาษาในประเทศไทยกวนอิมพระพุทธเจ้าราชมังคลากีฬาสถานสำนักพระราชวังสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)สุภาพร มะลิซ้อนสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเอลวิส เพรสลีย์🡆 More