พระราชวังโบราณ อยุธยา

พระราชวังโบราณ อยุธยา เป็นพระราชวังหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา อันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปัจจุบันคือพื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พระราชวังโบราณ ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์

พระราชวังโบราณ
พระราชวังโบราณ อยุธยา
ซากฐานพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
พระราชวังโบราณ อยุธยาตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระราชวังโบราณ อยุธยา
ที่ตั้งของพระราชวังโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระราชวังโบราณ อยุธยาตั้งอยู่ในประเทศไทย
พระราชวังโบราณ อยุธยา
พระราชวังโบราณ อยุธยา (ประเทศไทย)
ที่ตั้งตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทพระราชวัง
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ความเป็นมา
ผู้สร้างสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
สร้างพ.ศ. 1893
ละทิ้งพ.ศ. 2310
สมัยอยุธยา
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้นพ.ศ. 2519
ผู้ขุดค้นกรมศิลปากร
สภาพซากปรักหักพัง
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
การเปิดให้เข้าชมทุกวัน 08.00-18.30 น.
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมอยุธยา
เกณฑ์วัฒนธรรม: (iii)
ขึ้นเมื่อ1991
เป็นส่วนหนึ่งของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เลขอ้างอิง576
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนพระราชวังโบราณ
ขึ้นเมื่อ8 มีนาคม พ.ศ. 2478
เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เลขอ้างอิง0000316

ประวัติ

เมื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระที่นั่ง 3 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท และ พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท ในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ในปัจจุบัน และ ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งมังคลาภิเษกมหาปราสาทและพระที่นั่งตรีมุขด้วย พระราชวังระยะแรกนี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ 7 พระองค์ เป็นเวลา 98 ปี

พระราชวังโบราณ อยุธยา 
พระที่นั่งตรีมุข

ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 1991 ทรงยกบริเวณพระราชวังเดิม ได้แก่ พระที่นั่ง 3 องค์นั้น ให้เป็นพุทธาวาส หรือก็คือวัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชวังมาสร้างใหม่ทางด้านเหนือของพระราชวังเดิม ใกล้แม่น้ำลพบุรี คูเมืองด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทและพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท เป็นพระที่นั่ง 2 องค์แรก

มีพระที่นั่งอีกองค์หนึ่งซึ่งสร้างในเขตนี้ แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างในรัชสมัยใด ก็คือ พระที่นั่งมังคลาภิเษก หรือพระที่นั่งวิหารสมเด็จพระมหาปราสาท 3 องค์นี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ 16 พระองค์ เป็นเวลา 182 ปี

ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงขยายให้วังหลวงกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม โดยให้เขตพระราชวังไปเชื่อมติดกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาปราสาทเพิ่มอีก 2 องค์ คือพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ และ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์

ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ขึ้นเป็นที่ประทับอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นวังหลวงสมัยอยุธยาตอนปลายมี พระมหาปราสาทรวมทั้งสิ้น 6 องค์ เป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ 10 พระองค์ เป็นเวลา 137 ปี จนเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310

พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานครนั้น ได้สร้างเลียนแบบพระบรมมหาราชวังในกรุงศรีอยุธยา

พื้นที่

พระบรมมหาราชวังในระยะหลังนั้น มีป้อมรอบพระราชวัง 8 ป้อม ประตูน้ำ 2 ประตู ประตูบก 20 ประตู พระราชวังหลวงแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ดังนี้

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

14°21′31″N 100°33′30″E / 14.358611°N 100.558333°E / 14.358611; 100.558333

Tags:

พระราชวังโบราณ อยุธยา ประวัติพระราชวังโบราณ อยุธยา พื้นที่พระราชวังโบราณ อยุธยา อ้างอิงพระราชวังโบราณ อยุธยา แหล่งข้อมูลอื่นพระราชวังโบราณ อยุธยากรุงศรีอยุธยาพระมหากษัตริย์ไทยอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเมืองหลวง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ประเทศเวียดนามเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)ภาสวิชญ์ บูรณนัติณฐพร เตมีรักษ์ประเทศนิวซีแลนด์รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยธนาคารกรุงไทยกรงกรรมดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)จังหวัดพระนครศรีอยุธยามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครแฮร์รี่ พอตเตอร์ปริญ สุภารัตน์จังหวัดเชียงรายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจังหวัดเชียงใหม่บาปเจ็ดประการจังหวัดบึงกาฬประเทศเกาหลีใต้ทวีปเอเชียประเทศคาซัคสถานธนาคารกสิกรไทยจังหวัดสระแก้วเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองภาษาพม่าสุภาพร มะลิซ้อนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลิโอเนล เมสซิมหัพภาคนาฬิกาหกชั่วโมงตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอลสเตรนเจอร์ ธิงส์มหาวิทยาลัยมหิดลพัชราภา ไชยเชื้อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาเบบี้เมทัลเจษฎ์ โทณะวณิกเจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรชาลี ไตรรัตน์จังหวัดชลบุรีจังหวัดนครศรีธรรมราชรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีวันศุกร์ประเสริฐมหาวิทยาลัยรังสิตภาษาญี่ปุ่นภาษาไทยเจตริน วรรธนะสินประเทศกัมพูชาโป๊กเกอร์ดวงใจเทวพรหมกูเกิล แปลภาษาเทย์เลอร์ สวิฟต์สหภาพโซเวียตพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567จังหวัดชัยภูมิบุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567ประเทศจีนสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แหลม มอริสันงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เข็มอัปสร สิริสุขะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐมุกดา นรินทร์รักษ์เดือนไทยลีกแปลก พิบูลสงครามฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ประเทศอิสราเอลพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัยช่อง 3 เอชดีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีคิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)🡆 More