พรรคมวลชน

พรรคมวลชน (อังกฤษ: Mass Party) เป็นพรรคการเมืองในอดีตของประเทศไทย จดทะเบียนก่อตั้งพรรคอย่างเป็นทางการกับกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.

2528">พ.ศ. 2528 มีการยุบพรรคและจัดตั้งขึ้นใหม่อีก 2 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2538 และในปี พ.ศ. 2545

พรรคมวลชน
หัวหน้าการุณ รักษาสุข
เลขาธิการยงยุทธ รอดคล้ายขลิบ
โฆษกธิตติวัฒน์ นันทุ์นลิน
ประธานที่ปรึกษาพรรคร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
ก่อตั้ง13 มิถุนายน พ.ศ. 2528
ถูกยุบ27 มีนาคม พ.ศ. 2553
แยกจากพรรคกิจสังคม (พ.ศ. 2538)
พรรคความหวังใหม่ (พ.ศ. 2545)
ยุบรวมกับพรรคกิจสังคม (พ.ศ. 2536)
พรรคความหวังใหม่ (พ.ศ. 2541)
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคมวลชน ถือเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีจำนวน ส.ส.ไม่มาก มีฐานเสียงอย่างหนาแน่นในพื้นที่ฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในพื้นที่เขตบางแค, ภาษีเจริญ, บางบอน โดยมีหัวหน้าพรรคคนสำคัญ คือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

ประวัติ

พรรคมวลชน มีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

ช่วงเริ่มก่อตั้ง

พรรคมวลชน จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2528 มี นายสมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค และ พ.ต.อ.อดุล กาญจนพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ส่งผู้สมัคร ส.ส.ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้ง 3 ที่นั่ง โดยเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาส่งผู้สมัครอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้ง 5 ที่นั่ง และได้เข้าร่วมรัฐบาลโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

พรรคมวลชน ได้ยุติการดำเนินงานเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 โดยได้ยุบพรรคเข้ารวมกับพรรคกิจสังคม

ช่วงปี 2538

พรรคมวลชน ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคมวลชนขึ้นอีกครั้งในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยมีนายสมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายชิงชัย ต่อประดิษฐ์ เป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาที่ประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคมวลชน ได้มีมติยุบรวมเข้ากับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งนำโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เป็นผลให้พรรคมวลชนต้องถูกยุบเลิกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป

ช่วงปี 2545

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดตั้งพรรคมวลชนขึ้นอีกครั้ง โดยมีพลเอก วรวิทย์ พิบูลศิลป์ เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายการุณ รักษาสุข เป็นเลขาธิการพรรค โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง อดีต สส.บัญชีรายชื่อพรรคความหวังใหม่ ได้กลับมาที่พรรคมวลชนตามเดิม ในฐานะ สส.ฝ่ายค้าน โดยมีผลงานในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องสนามกอล์ฟอัลไพน์

กระทั่งในการประชุมสามัญประชุมจำ ครั้งที่ 1/2549 ได้มีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคทางเลือกใหม่" และได้ยุบเลิกพรรคไปในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552

พรรคมวลชน 
พรรคทางเลือกใหม่

รายนามหัวหน้าพรรค

  1. สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2528 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2529)
  2. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (20 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536)
  3. สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2538 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538)
  4. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541)
  5. พลเอก วรวิทย์ วิบูลศิลป์ (30 มีนาคม พ.ศ. 2545 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
  6. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
  7. พันธุ์ธัช รักษาสุข (เปลี่ยนชื่อเป็น การุณ รักษาสุข) (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552)

ผลการเลือกตั้ง

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
2529
3 / 347
พรรคมวลชน 3 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์
2531
5 / 357
พรรคมวลชน 2 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล (2531-2533) ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
ฝ่ายค้าน (2533-2534)
มี.ค. 2535
1 / 360
พรรคมวลชน 4 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน
ก.ย. 2535
4 / 360
พรรคมวลชน 3 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน
2538
3 / 391
พรรคมวลชน 1 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล
2539
2 / 393
พรรคมวลชน 1 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล (2539-2540)
ฝ่ายค้าน (2540-2541)

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2528 ชิงชัย ต่อประดิษฐ์ 12,042 พรรคมวลชน  พ่ายแพ้
2533 นิยม ปุราคำ 25,729 พรรคมวลชน  พ่ายแพ้
2547 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง 165,761 6.95% พรรคมวลชน  พ่ายแพ้


อ้างอิง

Tags:

พรรคมวลชน ประวัติพรรคมวลชน รายนามหัวหน้าพรรคพรรคมวลชน ผลการเลือกตั้งพรรคมวลชน อ้างอิงพรรคมวลชน13 มิถุนายนกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2528ภาษาอังกฤษรายชื่อพรรคการเมืองในประเทศไทย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พรหมวิหาร 4พรรคเพื่อไทยพรหมลิขิตภาษาอังกฤษพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวธนวรรธน์ วรรธนะภูติสุภาภัสสร์ ผลเจริญรัตน์ศาสนาคริสต์กรุงเทพมหานครจังหวัดนครสวรรค์อินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนเดือนฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศสธีรศิลป์ แดงดาอุณหภูมิชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองจ้าว ลู่ซือยุกต์ ส่งไพศาลรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดการ์ลัส ปุดจ์ดาโมน2สามก๊กพระศรีอริยเมตไตรยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แทททูคัลเลอร์ใหม่ เจริญปุระอินทิรา โมราเลสสุภาพบุรุษจุฑาเทพเห็ดขี้ควายรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพรีเมียร์ลีกปฏิจจสมุปบาทวชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลหลิว เต๋อหัวสงครามโลกครั้งที่สองทักษอร ภักดิ์สุขเจริญศิรพันธ์ วัฒนจินดารายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีจรูญเกียรติ ปานแก้วพิศณุ นิลกลัดพิชชาภา พันธุมจินดาโมเสสไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนยุโรปสถาบันพระบรมราชชนกรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)ถนนพระรามที่ 2สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยณปภา ตันตระกูลกฤษดา สุโกศล แคลปป์อนันต์ราชวงศ์ชิงสเตรนเจอร์ ธิงส์เศรษฐศาสตร์คิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)ลิโอเนล เมสซิรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ภาคกลาง (ประเทศไทย)ธนาคารแห่งประเทศไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหนุ่มเย็บผ้ากับสาวนักคอสเพลย์อาลิง โฮลันสินจัย เปล่งพานิชมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประเทศอาร์เจนตินาจักรทิพย์ ชัยจินดาเอเลียส ดอเลาะข้าราชการส่วนท้องถิ่นเครยอนชินจังกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์จังหวัดกาญจนบุรี🡆 More