พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย

พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย (ดัตช์: Volkspartij voor Vrijheid en Democratie หรือย่อเป็น VVD) เป็นพรรคการเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ฝ่ายเสรีอนุรักษ์นิยม สนับสนุนบริษัทเอกชนและเสรีภาพทางเศรษฐกิจ

พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย
Volkspartij voor Vrijheid en Democratie
ชื่อย่อVVD
หัวหน้ามาร์ก รึตเตอ
(นายกรัฐมนตรี)
ผู้นำฝ่ายหญิงคริสตียันเนอ ฟัน แดร์ วัล
ผู้นำในวุฒิสภาอันเนอมารี ยอร์ริตสมา
ผู้นำในสภาผู้แทนราษฏรกลาส ไดก์โฮฟฟ์
ผู้นำในรัฐสภายุโรปมาลิก อัซมานี
ก่อตั้ง28 มกราคม 1948; 76 ปีก่อน (1948-01-28)
รวมตัวกับพรรคเสรีภาพและกรรมการ-เอาด์
ที่ทำการMauritskade 21
เดอะเฮก
ฝ่ายเยาวชนองค์การเยาวชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย
จำนวนสมาชิก  (ปี 2020)ลดลง 23,907 คน
อุดมการณ์เสรีนิยมคลาสสิก
เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ
จุดยืนกลางขวา
สีน้ำเงินและส้ม
วุฒิสภา
12 / 75
สภาผู้แทนราษฎร
32 / 150
ข้าหลวงในพระมหากษัตริย์
2 / 12
สภาจังหวัด
80 / 570
รัฐสภายุโรป
5 / 29
เว็บไซต์
www.vvd.nl
การเมืองเนเธอร์แลนด์
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

หัวหน้าพรรคคนปัจจุบันคือ มาร์ก รึตเตอ อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 ก่อนจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2010 และอยู่ในตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน นับเป็นครั้งแรกที่พรรคได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ร่วมกับพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียนและพรรคเพื่อเสรีภาพ แต่เมื่อพรรคเพื่อเสรีภาพไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลในช่วงที่เกิดวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป เสถียรภาพรัฐบาลจึงสั่นคลอน นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 และพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยได้ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งหลังได้ไปถึง 41 ที่นั่งในสภา จัดตั้งรัฐบาลรวมกับพรรคแรงงาน จนครบวาระในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 จึงมีการเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2017 นี้ พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยได้ที่นั่งสูงสุด 33 ที่นั่ง แต่พรรคแรงงานเสียคะแนนนิยม จึงมีการเปลี่ยนมาจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ 66 สหภาพคริสเตียน และพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียนแทน ในคณะรัฐมนตรีรึตเตอ 3

ประวัติศาสตร์

ค.ศ. 1948-1971

พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1948 โดยเป็นการสานต่อพรรคเสรีภาพที่เกิดจากพรรครัฐเสรีที่มาจากสหภาพเสรีนิยมอีกทอดหนึ่ง ในช่วงก่อตั้ง สมาชิกพรรคแรงงาน (PvdA) จำนวนหนึ่งนำโดยปีเตอร์ เอาด์ มองว่าพรรคแรงงานเรียกร้องสังคมนิยมมากเกินไป จึงได้ลาออกจากพรรคแรงงานและเข้าร่วมกับพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ปีเตอร์ เอาด์ ได้เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก

ระหว่าง ค.ศ. 1948 ถึง 1952 พรรคได้เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคแรงงานและพรรคประชาชนคาทอลิกในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีวิลเลิม ดรีส รัฐบาลผสมชุดนี้ดำเนินการจัดตั้งรัฐสวัสดิการขึ้นและรับรองการประกาศเอกราชของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์และจัดตั้งเป็นประเทศอินโดนีเซีย หลังจากนั้นมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1952 แต่พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยที่ได้คะแนนเสียงเพียงเล็กน้อย จึงไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล เช่นเดียวกับการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1956 กระทั่งการเลือกตั้งในอีกสามปีต่อมา พรรคได้ที่นั่ง 19 ที่นั่ง จึงได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคประชาชนคาทอลิก พรรคต่อต้านการปฏิวัติ และสหภาพประวัติศาสตร์คริสเตียน ในรัฐบาลยัน เดอ เคา

ในปี ค.ศ. 1963 ปีเตอร์ เอาด์ ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เอ็ดโซ โตกโซเปิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเข้ารับตำแหน่งแทน ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1963 แม้พรรคจะได้คะแนนเสียงลดลงแต่ก็ยังได้เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคบางส่วนเรียกร้องให้มีการปรับทิศทางเสรีนิยมของพรรคไปสู่เสรีนิยมแบบดั้งเดิม และความไม่ลงรอยนี้นำมาสู่การลาออกจากพรรคและจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ในชื่อ ประชาธิปัตย์ 66 ในปี ค.ศ. 1966

ราวปี ค.ศ. 1965 รัฐมนตรีจากพรรคเกิดข้อขัดแย้งกับรัฐมนตรีร่วมกระทรวงจากพรรคประชาชนคาทอลิกและพรรคต่อต้านการปฏิวัติในรัฐบาลมาไรเนิน จึงมีการยุบและจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยมีเพียงพรรคประชาชนคาทอลิก พรรคต่อต้านการปฏิวัติ และพรรคแรงงานร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดยมีโย กัลส์ เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีการเลือกตั้ง แต่คณะรัฐมนตรีนี้ก็ไร้เสถียรภาพและถูกยุบเช่นกันในปีต่อมา จากนั้น ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1967 พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยได้รับคะแนนเสียงคงเดิมและได้เข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งในรัฐบาลปีต เดอ โยง ในช่วงนี้ พรรคได้ลดความสัมพันธ์กับองค์กรเพื่อเสรีภาพอื่น ๆ และปรับอุดมการณ์ไปสู่ความเป็นกลางมากขึ้น

ค.ศ. 1971-1994

ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1971 พรรคร่วมรัฐบาลได้คะแนนเสียลดลง จึงได้เชิญพรรคสังคมประชาธิปไตย 70 อันเป็นสาขาของพรรคแรงงานเข้าร่วมรัฐบาล แต่อยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็มีการยุบคณะรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่โดยไม่มีพรรคสังคมประชาธิปไตย 70 มีบาเรินด์ บีสเฮอเฟิล จากพรรคต่อต้านการปฏิวัติเป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงปี ค.ศ. 1971 ฮันส์ วีเคิล นักการเมืองหนุ่มไฟแรงเริ่มได้รับความสนใจจากประชาชน ได้ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ก่อนจะได้รับตำแหน่งประธานสภาในปีนั้น ในยุคของวีเคิลนี้ พรรคได้มีการปฏิรูปสู่ค่านิยมทางการเมืองแบบใหม่ มีการปฏิรูปรัฐสวัสดิการ ส่งเสริมนโยบายลดหย่อยภาษี จึงได้รับความนิยมจากชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นอย่างมาก

แนวคิดการเมืองแบบใหม่นี้นับว่าเป็นประโยชน์กับพรรค เพราะแม้พรรคจะแพ้การเลือกตั้งขาดลอยในปี ค.ศ. 1972 และไม่ได้ร่วมรัฐบาลโยป เดน เอาล์ แต่องค์กรที่เป็นกลางที่เป็นพันธมิตรกับพรรคมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่ ๆ จากนั้นในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1977 พรรคได้คะแนนไม่เพิ่มขึ้นมากนัก แต่การเจรจาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเก่า (คริสเตียนประชาธิปไตย และประชาธิปไตยสังคมนิยม) ไม่ลงตัว พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยจึงถูกเชิญเข้าร่วมรัฐบาลร่วมกับพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน โดยมีดรีส ฟัน อัคต์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1981 พรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียนเสียที่นั่งไปมาก มีการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยร่วมกับพรรคแรงงาน โดยไม่ได้เชิญพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยเข้าร่วมรัฐบาล การขาดเสถียรภาพนำมาสู่การยุบจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1982 วีเคิลลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและย้ายไปเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระราชินีประจำจังหวัดฟรีสลันด์ เอ็ด ไนเปิลส์ รับหน้าที่หัวหน้าพรรคแทน นำพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1982 ได้มา 10 ที่นั่ง จึงได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน มีรืด ลึบเบิร์ส เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้ได้เริ่มปฏิรูปพลิกโฉมระบบรัฐสวัสดิการ และพรรคยังได้รับคะแนนเสียงมากพอในการร่วมจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งในปี ค.ศ. 1986 แต่เกิดข้อขัดแย้งในรัฐบาลชุดนี้ นำมาสู่การยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1989 ที่พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยได้รับคะแนนเสียงไม่มากพอที่จะถูกเชิญไปร่วมรัฐบาล โยริส โฟร์ฮูเฟอ หัวหน้าพรรคในขณะนั้นแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และฟริตส์ โบลเกิสไตน์ เข้ารับตำแหน่งแทน

ค.ศ. 1994 ถึงปัจจุบัน

พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ภายใต้การนำของฟริตส์ โบลเกิสไตน์ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 1994 พรรคจึงได้ร่วมรัฐบาลร่วมกับพรรคแรงงานและพรรคประชาธิปัตย์ 66 โดยมีวิม โกก เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นรัฐบาลเนเธอร์แลนด์รัฐบาลแรกที่ไม่มีพรรคคริสเตียนใด ๆ ร่วมรัฐบาลเลยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1918 แนวทางการเมืองของโบลเกิสไตน์ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมากทำให้พรรคได้รับคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1998 กลายเป็นพรรคที่มีคะแนนเสียงสูงเป็นอันดับสอง จึงได้เข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้ง โบลเกิสไตน์ลาออกจากพรรคเพื่อไปรับตำแหน่งข้าหลวงประจำยุโรปในปี ค.ศ. 1999 และมีฮันส์ ไดก์สตัล นักการเมืองสังคมเสรีนิยมเป็นหัวหน้าพรรคแทน

การเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 2002 เนเธอร์แลนด์มีแนวคิดแบ่งเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน ส่งผลให้กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ ได้รับคะแนนเสียงท่วมท้นเป็นอันดับสอง ส่วนพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยได้คะแนนลดลงอย่างมากแต่ยังได้เข้าร่วมรัฐบาลที่มีพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียนเป็นแกนนำ มียัน เปเตอร์ บัลเกอเนนเดอเป็นนายกรัฐมนตรี ไดก์สตัลประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและมีแคร์ริต ซาล์ม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าพรรคแทน แต่ซาล์มกลับไปขัดแย้งกับรัฐมนตรีที่มาจากกลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน จึงมีการเลือกตั้งอีกครั้งใน ค.ศ. 2003

การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคคาดหวังว่าจะได้คะแนนนิยมเพิ่มมากเพราะนำเอาข้อเสนอเรื่องผู้อพยพของปิม ฟอร์เตาน์มาเสนอในนโยบายหาเสียง แต่ผลการเลือกตั้งกลับไม่เป็นใจ ซาล์มนำพรรคได้ที่นั่งเพียง 4 ที่นั่งเท่านั้น และได้เข้าร่วมรัฐบาลอย่างไม่เต็มใจนัก ซาล์มได้กลับมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้งและยังได้ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีโยซียัส ฟัน อาร์ตเซิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคได้ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคแทนซาล์มในปี ค.ศ. 2004

ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 พรรคเสียที่นั่งเป็นจำนวนมากในการเลือกตั้งสภาจังหวัด ฟัน อาร์ตเซิน จึงลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและให้วิลลีบรอร์ด ฟัน เบก รักษาการแทน จากนั้นพรรคได้เลือก มาร์ก รึตเตอ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคแทน อย่างไรก็ตาม พรรคได้รับคะแนนเสียงไม่มากพอในการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2006 และไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาล มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าพรรคได้เริ่มรณรงค์หาเสียงช้าและไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถดึงความสนใจจากประชาชนจากการขับเคี่ยวระหว่างหัวหน้าพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียนและหัวหน้าพรรคแรงงานได้ เกิดความไม่ลงรอยกันในพรรค โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความเป็นผู้นำของรึตเตอ โดยเฉพาะหลังจากที่รีตา แฟร์โดงก์ ตัวแทนอันดับสองจากพรรคได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากกว่ารึตเตอที่เป็นตัวแทนอันดับหนึ่ง มีการเรียกร้องให้มีการพิจารณาหัวหน้าพรรคกันใหม่ เป็นเวลานานกว่าสถานการณ์ในพรรคจะดีขึ้น และแฟร์โดงก์ได้ลาออกจากพรรคไปตั้งพรรคใหม่

ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2010 พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยภายใต้การนำของมาร์ก รึตเตอ ชนะการเลือกตั้ง ได้มาถึง 31 ที่นั่งในสภา กลายเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเป็นครั้งแรกในรอบ 92 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคมา โดยร่วมกับพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียนจัดตั้งรัฐบาลรึตเตอ 1

เมื่อพรรคเพื่อเสรีภาพไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในการประกาศตัดงบประมาณเพื่อรัดเข็มขัด ได้ลาออกจากฝ่ายรัฐบาล มาร์ก รึตเตอจึงประกาศยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 2012 และครั้งนี้ได้รับคะแนนท่วมท้นอีกครั้ง ได้มาถึง 41 ที่นั่ง (เพิ่มขึ้นมา 10 ที่นั่ง) จัดตั้งรัฐบาลรึตเตอ 2 ร่วมกับพรรคแรงงานและบริหารงานจนครบวาระ อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 2017 พรรคเสียที่นั่งไป 8 ที่นั่ง แต่ยังเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียน พรรคประชาธิปัตย์ 66 และสหภาพคริสเตียนในรัฐบาลรึตเตอ 3

อุดมการณ์

ด้านเศรษฐกิจและการเงิน

พรรคสนับสนุนหลักการรัฐบาลเล็ก (Small government) คือให้รัฐบาลมีส่วนร่วมกับนโยบายสาธารณะและเอกชนให้น้อยที่สุด และใช้นโยบายปล่อยให้ทำไป (Laissez-faire) ที่ปล่อยให้อุตสาหกรรมดำเนินการไปโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล นอกจากนี้ยังส่งเสริมการลดภาษี ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และบริหารงบประมาณแบบสมดุล

ด้านบริหารและกิจการสังคม

พรรคผลักดันการลดการออกกฎระเบียบจากภาครัฐ (Deregulation) แยกคริสตจักรกับรัฐออกจากกัน ไม่สนับสนุนการถือหลายสัญชาติของพลเมือง ส่งเสริมการปลดปล่อยทาส การแต่งงานเพศเดียวกัน การปรับตัวจากวัฒนธรรมที่หลากหลายให้กลมกลืน และให้การดูแลผู้ลี้ภัยอย่างเหมาะสม

ด้านนโยบายต่างประเทศและกฎหมาย

พรรคสนับสนุนการรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรป ส่งเสริมความร่วมมือระดับนานาชาติ สร้างภาคีระหว่างประเทศ ส่งเสริมนโยบายให้ศาลลงโทษโดยห้ามใช้ดุลพินิจในการลดโทษหรือรอการลงโทษ ต่อต้านการเข้าครอบครองพื้นที่รกร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และสนับสนุนการปฏิบัติต่อยาเสพติดแบบอ่อนและแบบรุนแรงที่แตกต่างกัน

ด้านสุขภาพ

พรรคพยายามผลักดันระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งเสริมงานวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด ผลักดันนโยบายการทำแท้ง และการุณยฆาต

พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยก่อตั้งขึ้นด้วยอุดมการณ์เสรีนิยม และโดยทั่วไปเป็นผู้สนับสนุนตลาดเสรี ส่งเสริมเสรีภาพทางเศรษฐกิจ เสรีนิยมแบบดั้งเดิม เสรีภาพในทางวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นด้วยกับนโยบายรัฐสวัสดิการ

แถลงการณ์เสรีภาพ

พรรคได้ออกแถลงการณ์เสรีภาพเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 โดยแบ่งเป็น 4 หมวดด้วยกัน ได้แก่

ประชาธิปไตย

  • พรรคสนับสนุนให้เปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งมาเป็นการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง
  • พรรคไม่สนับสนุนการทำประชามติ
  • นายกเทศมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
  • ส่งเสริมเสรีภาพของตลาดเดียวยุโรป

ความมั่นคง

  • สหภาพยุโรปควรมีนโยบายการป้องกันประเทศและความมั่นคงร่วมกัน

เสรีภาพ

  • หลักการการลดการกีดกันควรมีความสำคัญหลักการทางศาสนา
  • สิทธิทางสังคมที่พึงมีควรได้รับการรักษา
  • การุณยฆาตเป็นสิทธิที่บุคคลพึงมี
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเปิด โดยให้เป็นตลาดเสรีที่มีการควบคุม ส่งเสริมการจดสิทธิบัตร
  • สนับสนุนเสรีภาพของสัญญาจ้างงาน

พลเมือง

  • ลดการถือสองสัญญาติ
  • ชาวดัตช์ควรเปิดกว้างกับผู้อพยพ และผู้อพยพควรปรับตัวให้เข้ากับสังคมดัตช์หากต้องการเป็นพลเมือง

อ้างอิง

Tags:

พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ประวัติศาสตร์พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย อุดมการณ์พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย อ้างอิงพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยภาษาดัตช์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ชานน สันตินธรกุลมหาวิทยาลัยมหาสารคามณัฐฐชาช์ บุญประชมพรรคก้าวไกลสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีรายชื่อรัฐของสหรัฐเรียงตามลำดับการก่อตั้งแจ๊ส ชวนชื่นประเทศมองโกเลียกังฟูแพนด้า 4องศาเซลเซียสราชวงศ์จักรีคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ราชวงศ์ชิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสกีบีดีทอยเล็ตลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลเอสบีโอเบทรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันพรหมวิหาร 4ญีนา ซาลาสโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)ลิขิตกามเทพมิตร ชัยบัญชาอักษรไทยสีประจำวันในประเทศไทยคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายนริลญา กุลมงคลเพชรอิทธิบาท 4ปีนักษัตรโรงเรียนชลกันยานุกูลจังหวัดกำแพงเพชรชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์จังหวัดน่านจังหวัดปราจีนบุรี4 KINGS อาชีวะ ยุค 90เหตุการณ์ 14 ตุลาณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์รายการรหัสไปรษณีย์ไทยมหาวิทยาลัยขอนแก่นอี คัง-อินสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งรายชื่อเครื่องบินของการบินไทยออลเทอร์นาทิฟร็อกFร่างทรง (ภาพยนตร์)กระทรวงในประเทศไทยมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024สารัช อยู่เย็นเกาะกูดลาลิกา ฤดูกาล 2018–19อู๋ เหล่ย์ (นักแสดง)รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองจังหวัดราชบุรีซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ประเทศอิตาลีโอดะ โนบูนางะซน ฮึง-มินวรกมล ชาเตอร์ตัวเลขโรมันสุจาริณี วิวัชรวงศ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจประเทศอียิปต์หัวใจไม่มีปลอมจังหวัดกาญจนบุรีศาสนาโยอาโซบิจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นเข็มอัปสร สิริสุขะตราประจำพระองค์ในประเทศไทย🡆 More