นางพญาเสือโคร่ง: สปีชีส์ของพืช

นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides) เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ความสูง 1,200-2,400เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา ดอยมณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน, ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์, ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย

นางพญาเสือโคร่ง
นางพญาเสือโคร่ง: ชื่อท้องถิ่น, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, นางพญาเสือโคร่งและซากูระ
นก Indian white-eye บนกิ่งนางพญาเสือโคร่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: กุหลาบ
สกุล: สกุลพรุน
สกุลย่อย: Prunus subg. Cerasus
D.Don
สปีชีส์: Prunus cerasoides
ชื่อทวินาม
Prunus cerasoides
D.Don
ชื่อพ้อง
  • Cerasus carmesina (H.Hara) H.Ohba
  • Cerasus cerasoides (Buch.-Ham. ex D. Don) S.Y. Sokolov
  • Cerasus majestica (Koehne) H.Ohba
  • Cerasus pectinata Spach
  • Cerasus phoshia Buch.-Ham. ex D.Don
  • Cerasus puddum Roxb. ex DC.
  • Cerasus puddum Ser.
  • Cerasus puddum Wall.
  • Maddenia pedicellata Hook.fil.
  • Microcerasus pectinata M.Roem.
  • Microcerasus phoshia M.Roem.
  • Prunus carmesina Hara
  • Prunus hosseusii Diels
  • Prunus majestica Koehne
  • Prunus pectinata Walp.
  • Prunus puddum Franch.
  • Prunus silvatica Roxb.
  • Prunus sylvatica Hook.fil.

ในต่างประเทศ พบในประเทศพม่า รัฐชานและรัฐกะชีน, ประเทศอินเดียพบบนเทือกเขาหิมาลัย ในรัฐอรุณาจัลประเทศยาวไปจนถึงรัฐหิมาจัลประเทศทางตอนเหนือของอินเดีย หรือที่เรียกว่าHimalayas, ประเทศภูฏาน, ประเทศเนปาล และประเทศจีนพบในมณฑลยูนนาน

นางพญาเสือโคร่งถูกนิยมเรียกว่า "ซากูระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะคล้ายซากูระในประเทศญี่ปุ่น แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม

ชื่อท้องถิ่น

ชื่อท้องถิ่นของนางพญาเสือโคร่ง เช่น ฉวีวรรณ, ชมพูภูพิงค์ (เหนือ) เส่คาแว่, เส่แผ่, แส่ลาแหล (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) ซากูระดอย (เชียงใหม่) และได้รับฉายาว่า "ซากูระเมืองไทย" ในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกดอกไม้พันธุ์นี้ว่า ヒマラヤザクラ (หิมาลายาซากูระ) หมายถึงซากูระจากหิมาลัย หรือนิยมเรียกกันโดยทั่วไปในชื่อ เชอร์รี่หิมาลัยป่า (wild Himalayan cherry) หรือ เชอร์รี่เปรี้ยว (sour cherry)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

นางพญาเสือโคร่ง: ชื่อท้องถิ่น, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, นางพญาเสือโคร่งและซากูระ 
นางพญาเสือโคร่ง บนขุนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่

นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือแดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง ระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก

ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม

การปลูกเลี้ยง ได้มีการปลูกนางพญาเสือโคร่งบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

นางพญาเสือโคร่งและซากูระ

นางพญาเสือโคร่ง: ชื่อท้องถิ่น, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์, นางพญาเสือโคร่งและซากูระ 
ซากูระในจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น

คำว่า ซากูระกล่าวถึงพืชที่อยู่ในสกุล Prunus โดยนางพญาเสือโคร่งเป็นหนึ่งในสกุลนั้น โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus cerasoides ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นมีซากูระอยู่หลากหลายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่พบมากสุดคือ โซะเมโยะชิโนะ (ญี่ปุ่น: 染井吉野โรมาจิsomei-yoshino) ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus × yedoensis

นางพญาเสือโคร่งแตกต่างจากซะกุระญี่ปุ่นคือมีช่วงเวลาการออกดอกต่างกันคือ นางพญาเสือโคร่งออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซากูระในญี่ปุ่นออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น และมีการสันนิษฐานว่า นางพญาเสือโคร่งและซากูระมีบรรพบุรุษร่วมกันทางตอนใต้ของจีน และวิวัฒนาการออกไปจนมีสายพันธุ์มากมาย มีสีที่หลากหลาย

การจำแนกสายพันธุ์อย่างกว้าง นางพญาเสือโคร่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Wild Himalayan Cherry หมายถึงPrunusที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียทางตอนใต้ ตั้งแต่ประเทศไทยไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยในประเทศอินเดีย ส่วนซากูระถูกจำแนกเป็น Cherry blossom หมายถึง Prunusที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียทางตอนเหนือ ตั้งแต่ประเทศจีน, เกาหลี ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่นและรัสเซียในเขตไซบีเรีย

รูปภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • แม่แบบ:PFAF

Tags:

นางพญาเสือโคร่ง ชื่อท้องถิ่นนางพญาเสือโคร่ง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์นางพญาเสือโคร่ง และซากูระนางพญาเสือโคร่ง รูปภาพนางพญาเสือโคร่ง อ้างอิงนางพญาเสือโคร่ง แหล่งข้อมูลอื่นนางพญาเสือโคร่ง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อชิรญา นิติพนนามสกุลพระราชทานรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)ปวีณ พงศ์สิรินทร์วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยโดราเอมอนโรนัลโดณัฐธิชา นามวงษ์เอฟเอคัพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรทวี ไกรคุปต์พรรษา วอสเบียนจังหวัดมหาสารคามจตุคามรามเทพเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาตาลดาจังหวัดปราจีนบุรีรัฐกะเหรี่ยงสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่รายชื่อโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยลาลิกามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระโคตมพุทธเจ้ากีบ (สกุลเงิน)กูเกิล แปลภาษาภาษาเกาหลีแวมไพร์ ทไวไลท์อลิชา หิรัญพฤกษ์ไฟเยอโนร์ดญีนา ซาลาสสินจัย เปล่งพานิชพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์อินสตาแกรมอริยสัจ 4เด็กหอต้นตะวัน ตันติเวชกุลปฏิจจสมุปบาทธนินท์ เจียรวนนท์บุญบั้งไฟเพลงประเทศคาซัคสถานพระพุทธเจ้าอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์ประเทศตุรกีภูมิธรรม เวชยชัยจ๊ะ นงผณีเกาะกูดชวลิต ยงใจยุทธอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)เมาริซิโอ โปเชติโนอำเภอพระประแดงสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดพิศวาสฆาตเกมส์มหาวิทยาลัยรังสิตร่างทรง (ภาพยนตร์)พระไตรปิฎกประเทศซาอุดีอาระเบียพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาชาวกะเหรี่ยงเซี่ยงไฮ้อาลิง โฮลันรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยกรมที่ดินวรินทร ปัญหกาญจน์ท้องที่ตำรวจจำนวนเฉพาะ1วินัย ทองสองพรหมลิขิตองศาเซลเซียสประเทศอิหร่านฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024สุภาพบุรุษชาวดินรณิดา เตชสิทธิ์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์🡆 More