ประเทศเนปาล: ประเทศในเอเชียใต้

ประเทศเนปาล (เนปาล: नेपाल, ออกเสียง ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (เนปาล: सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल, สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล

सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल (เนปาล)
คำขวัญ"แผ่นดินแม่มีค่ายิ่งกว่าสวรรค์"
(สันสกฤต: जननी जन्मभूमिश्च स्वर्गादपि गरीयसी)
ที่ตั้งของเนปาล
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
กาฐมาณฑุ
28°10′N 84°15′E / 28.167°N 84.250°E / 28.167; 84.250
ภาษาราชการภาษาเนปาล
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภา
รามจันทระ เปาเฑล
• รองประธานาธิบดี
นันทกิโศร ปุน
• นายกรัฐมนตรี
ปุษปกมล ทาหาล
การรวมชาติ
• สถาปนาราชอาณาจักร
21 ธันวาคม พ.ศ. 2311
• สถาปนารัฐชั่วคราว
15 มกราคม พ.ศ. 2550
• สถาปนาสาธารณรัฐ
28 มิถุนายน พ.ศ. 2551
พื้นที่
• รวม
147,181 ตารางกิโลเมตร (56,827 ตารางไมล์) (92)
2.8
ประชากร
• สำมะโนประชากร 2554
26,494,504
180 ต่อตารางกิโลเมตร (466.2 ต่อตารางไมล์) (62)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2564 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 122,620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 84)
เพิ่มขึ้น 4,199 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 144)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2564 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 36,084 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 98)
เพิ่มขึ้น 1,236 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 158)
จีนี (2553)32.8
ปานกลาง
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.602
ปานกลาง · 142
สกุลเงินรูปี (NPR)
เขตเวลาUTC+5:45 (NPT)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์977
โดเมนบนสุด.np

ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอเรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น

ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้

ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่

ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565

ประวัติศาสตร์

ยุคโบราณ

ประเทศเนปาล: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
เสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ ลุมพินีวัน

ยุคกลาง

ราชอาณาจักร

ก่อนปีพ.ศ. 2311 หุบเขากาฐมาณฑุแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร จนกระทั่งผู้นำเผ่ากุรข่า ปฤฐวี นารายัณ ศาห์ สามารถรวบรวมอาณาจักรในหุบเขาเข้าด้วยกัน และหลังจากนั้นได้ทำสงครามขยายอาณาเขตออกไป จนในปี พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2359 เกิดสงครามอังกฤษ-เนปาล กองทัพกุรข่าพ่ายแพ้ ต้องทำสนธิสัญญาและจำกัดอาณาเขตเนปาลเหลือเท่าปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2391 ชัง พหาทุระ รานา ซึ่งเป็นขุนนางในประเทศ ยึดอำนาจจากราชวงศ์ศาห์ โดยยังคงราชวงศ์ศาห์ไว้เป็นประมุขแต่ในนาม ตระกูลรานาได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร เนปาลได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับกองทัพบริเตนในหลายสงคราม ทำให้สหราชอาณาจักรทำสนธิสัญญามิตรภาพกับเนปาลในปี พ.ศ. 2466 ซึ่งในสนธิสัญญานี้ สหราชอาณาจักรได้ยอมรับเอกราชของเนปาลอย่างชัดเจน

ในปี พ.ศ. 2494 เกิดการต่อต้านการปกครองของตระกูลรานา นำโดยพรรคเนปาลีคองเกรสและกษัตริย์ตริภุวัน ทำให้โมหัน สัมเสระ ชัง พหาทุระ รานา ผู้นำคนสุดท้ายของตระกูลรานาคืนอำนาจให้แก่กษัตริย์ศาห์ และจัดการเลือกตั้ง

หลังจากเนปาลได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในช่วงสั้น ๆ โดยจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2502 แต่กษัตริย์มเหนทระได้ยุบสภา ยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2503 และใช้ระบอบปัญจายัตแทน จนมาถึงการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ. 2533 ทำให้เปลี่ยนจากระบอบปัญจายัต ที่ห้ามมีพรรคการเมือง มาเป็นระบอบรัฐสภาแบบพหุพรรค

ในปี พ.ศ. 2539 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ได้เปิดฉากสงครามประชาชน มีเป้าหมายที่จะสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมขึ้นแทนระบอบราชาธิปไตย นำมาซึ่งสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลายาวนานถึงสิบปี ในปี พ.ศ. 2544 เกิดเหตุสังหารหมู่ในพระราชวัง โดยเจ้าชายทิเปนทระ มกุฎราชกุมารในสมัยนั้น และกษัตริย์ชญาเนนทระได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน ในปี พ.ศ. 2548 กษัตริย์ชญาเนนทระได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล นำมาซึ่งการประท้วงจากประชาชนและพรรคการเมืองในเวลาต่อมา จนต้องคืนอำนาจให้กับรัฐสภา รัฐสภาเนปาลได้จำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ และให้เนปาลเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state)

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐสภาเนปาลได้ผ่านกฎหมายที่จะเปลี่ยนเนปาลเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยมีผลหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2551

ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 รัฐบาลเนปาลประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ สถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยขึ้น โดยกำหนดให้ชญาเนนทระและอดีตพระบรมวงศานุวงศ์ต้องออกจากพระราชวังภายใน 15 วัน และกำหนดให้วันที่ 28 - 30 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ

การเมืองการปกครอง

ในปัจจุบัน เนปาลเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีนายราม วะรัณ ยาทวะ เป็นประธานาธิบดีคนแรก จากการลงคะแนนเสียงของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 308 เสียง และนายคีรีชา ปราสาท โกอีราละ อดีตรักษาการณ์ประมุขแห่งรัฐทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไป จนมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อันนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมา หรืออดีตกลุ่มกบฏลัทธิเหมา ซึ่งมีนายประจันดา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่หลังจากที่นายประจันดา ต้องการให้อดีตกลุ่มกบฏของเขาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ จึงมีกระแสกดดันมาจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเนปาล และรวมทั้งประธานาธิบดียาดัฟ นายประจันดาจึงประกาศลาออก และสภาได้เลือกนายมาดัฟ กุมาร เนปาล อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิมาร์ก-เลนิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ก่อนครบรอบ 1 ปีของการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐในเนปาล

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศเนปาล: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
แผนที่เขตการปกครองของเนปาล

ประเทศเนปาลแบ่งออกเป็น 7 รัฐ ดังนี้

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

ประเทศเนปาล: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
การทำนาแบบขั้นบันได

พื้นที่เกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 17 พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวเจ้า พื้นที่ 2 ใน 3 ปกคลุมด้วยป่าไม้ มีการตัดไม้เพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมไม้อัด โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่แปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศได้มาจากการค้าแรงงานของชาวเนปาลที่อยู่ต่างประเทศ และส่งเงินกลับมาให้กับครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเนปาล ธุรกิจการท่องเที่ยวมีจุดสนใจอยู่ที่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและวัฒนธรรม เช่นการเดินเขา ปีนเขา และล่องแก่ง ตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเนปาล เช่น เขาเอเวอเรสต์, วัดปศุปตินาถ, วัดสวยัมภูนาถ, พระราชวังกาฐมาณฑุ, เมืองโปขรา, ลุมพินีวัน เป็นต้น

ประชากร

เชื้อชาติ

ประเทศเนปาล: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
ภาษาที่พูดในเนปาล แบ่งตามจำนวนคนพูด
  • กลุ่มเนปาลีชาวเนปาลดั้งเดิมเป็นชนชาติมองโกลอยด์ ผสมกับพวกอินโด-อารยันจากอินเดีย เป็น
    • อินโด-เนปาลี 52%
    • ไมกิลิ 11%
    • โภชปุริ 8%
    • ถารู 3.6%
  • กลุ่มกิราต เช่น
    • ราอิ
    • สุนุวาร์
    • ลิมบุ
    • กุรุง
    • มอกร์
    • เนวาร์
    • ตามาง
    • เซร์ปา
    • ทากาลิ
    • ทีมาล

ศาสนา

ประเทศเนปาล: ประวัติศาสตร์, การเมืองการปกครอง, การแบ่งเขตการปกครอง 
วัดพุทธนานาชาติ ลุมพินีวัน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

    ภาษาอังกฤษ

Tags:

ประเทศเนปาล ประวัติศาสตร์ประเทศเนปาล การเมืองการปกครองประเทศเนปาล การแบ่งเขตการปกครองประเทศเนปาล เศรษฐกิจประเทศเนปาล ประชากรประเทศเนปาล อ้างอิงประเทศเนปาล แหล่งข้อมูลอื่นประเทศเนปาลกาฐมาณฑุประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลประเทศบังกลาเทศประเทศภูฏานภาษาเนปาลรัฐสิกขิมสาธารณรัฐประชาชนจีนสาธารณรัฐอินเดียเทือกเขาหิมาลัยเอเชียใต้

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจังหวัดกระบี่ประเทศญี่ปุ่นสงครามเย็นธนาคารกรุงไทยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระครัวคุณต๋อยประเทศอิสราเอลนกกะรางหัวขวานวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินฮันเตอร์ x ฮันเตอร์จังหวัดขอนแก่นจีเอ็มเอ็มทีวีหลวงปู่ทวดภาคตะวันตก (ประเทศไทย)เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกกระทรวงในประเทศไทยนิวจีนส์จังหวัดร้อยเอ็ดรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีการรถไฟแห่งประเทศไทยเศรษฐา ทวีสินพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคดวงอาทิตย์จักรพรรดิเฉียนหลงรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์คุณปู่คุณย่า ย้อนกลับวัยใสแต่หัวใจยังคงเดิมประเทศเวียดนามนูโวดวงจันทร์ถนนเยาวราชจิรภพ ภูริเดชรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดลำพูนอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งสำนักพระราชวังคลิปวิดีโอจังหวัดอำนาจเจริญจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์รายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยตะเคียนจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนารายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติสาวิกา ไชยเดชแปลก พิบูลสงครามวอลเลย์บอลเอราวัณ การ์นิเยร์หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญอินเทอร์เน็ตสาธุ (ละครโทรทัศน์)จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประวิตร วงษ์สุวรรณวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540จ้าว ลี่อิ่งประเทศซาอุดีอาระเบียภัทร เอกแสงกุลรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยมหาวิทยาลัยรามคำแหงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์วิทยาศาสตร์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอุณหภูมิอริศรา วงษ์ชาลีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยพวงเพ็ชร ชุนละเอียดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโรงพยาบาลในประเทศไทยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตระกูลจิราธิวัฒน์🡆 More