ถวิล ไพรสณฑ์

ถวิล ไพรสณฑ์ อดีตที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลชวน หลีกภัย (1) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 8 สมัย (กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครศรีธรรมราช และแบบบัญชีรายชื่อ) และเป็นอดีตมือกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์

ถวิล ไพรสณฑ์
ถวิล ไพรสณฑ์
ถวิล ในปี พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้ากระแส ชนะวงศ์
ถัดไปบุญชู ตรีทอง
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537
ก่อนหน้าชุมพล ศิลปอาชา
เชาวน์วัศ สุดลาภา
ถัดไปจรัส พั้วช่วย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2480 (86 ปี)
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529–2531, 2539–2565)
ประชาชน (2531–2532)
เอกภาพ (2532–2535)
พลังธรรม (2535–2539)
ก้าวไกล (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสจันทร์จิรา ไพรสณฑ์

ประวัติ

ถวิล ไพรสณฑ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครอบครัวชาวสวนชาวนา เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านนาวา ต่อมาจึงได้เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร และเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐ

การทำงาน

ถวิล ไพรสณฑ์ เข้ารับราชการเป็นปลัดเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ต่อมาจึงได้ย้ายเข้ามาเป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าเขตพระนคร เขตบางขุนเทียน และเป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรุงเทพมหานคร

จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ถวิล ไพรสณฑ์ จึงได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 2 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และ สมัยที่สอง ปี 2529 พรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นเขาจึงย้ายมาร่วมตั้งพรรคการเมืองกับกลุ่มของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ คือ พรรคประชาชน ในปี 2531 และยุบพรรคไปรวมกับพรรคเอกภาพ ในปี 2532

ต่อมาถวิลจึงได้ย้ายมาลงสมัครในกรุงเทพมหานคร เขต 9 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคพลังธรรม และได้รับการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้งยังได้รับตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2535 และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538 ด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิมอีกครั้ง

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 39 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 นายถวิล ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ย้ายไปร่วมงานการเมืองกับพรรคก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่ามีอุดมการณ์เรื่องการกระจายอำนาจท้องถิ่นที่ตรงกัน และไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ

สภาผู้แทนราษฎร

ถวิล ไพรสณฑ์ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ถวิล ไพรสณฑ์ ประวัติถวิล ไพรสณฑ์ การทำงานถวิล ไพรสณฑ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ถวิล ไพรสณฑ์ อ้างอิงถวิล ไพรสณฑ์ แหล่งข้อมูลอื่นถวิล ไพรสณฑ์คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 50พรรคก้าวไกลรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของไทย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยอแมนด้า ออบดัมอนิเมะวัดโสธรวรารามวรวิหารพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลคดีพรหมพิรามสำนักพระราชวังทศศีลลุค อิชิกาวะ พลาวเดนจังหวัดราชบุรีปวีณ พงศ์สิรินทร์นพเก้า เดชาพัฒนคุณอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แคพิบาราเด่นคุณ งามเนตรสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจังหวัดนครสวรรค์คาร์บอนไดออกไซด์นิพัทธ์ ทองเล็กรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรประเทศฟิลิปปินส์แอนยา เทย์เลอร์-จอยดาวิกา โฮร์เน่เกาะเสม็ดอริยสัจ 4หีตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15ธนาคารกสิกรไทยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาภาพอาถรรพณ์โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทเพลงต้นตะวัน ตันติเวชกุลซอร์ซมิวสิกทวีปยุโรปประเทศปากีสถานรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเกย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสุทัตตา อุดมศิลป์เหี้ยแมวเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์หนังสือรุ่นพลอยจังหวัดมหาสารคามรัฐของสหรัฐคอมพิวเตอร์จังหวัดลพบุรีภูธเนศ หงษ์มานพฮัน กา-อินโรงเรียนเตรียมทหารจิรายุ ตั้งศรีสุขประเทศอุซเบกิสถานโบรูโตะบรูนู ฟือร์นังดึชประเทศตุรกีรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยพิจิกา จิตตะปุตตะหมาโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์มณฑลของประเทศจีนกกนกกะรางหัวขวานรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากสืบ นาคะเสถียรนาฬิกาหกชั่วโมงเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย🡆 More