ดาดราและนครหเวลี

ดาดราและนครหเวลี (คุชราต: દાદરા અને નગર હવેલી, มราฐี: दादरा आणि नगर हवेली, ฮินดี: दादर और नगर हवेली) เป็นอดีตดินแดนสหภาพแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐอินเดีย ในปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของดินแดนสหภาพซึ่งรวมเข้ากับอีกดินแดนสหภาพหนึ่งในชื่อดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู ซึ่งนครหเวลีถือเป็นดินแดนส่วนใหญ่ที่ถูกโอบล้อมโดยรัฐมหาราษฏระกับรัฐคุชราต ส่วนดาดราเป็นเขตขนาดเล็กที่อยู่ทางตอนเหนือของนครหเวลี เป็นดินแดนส่วนแยกถูกโอบล้อมโดยพื้นที่ของรัฐคุชราตทั้งหมด บางส่วนของพื้นที่ห่างจากเมืองดามันประมาณ 10-30 กิโลเมตร มีเมืองเอกคือ เมืองสิลวัสสะ

อำเภอดาดราและนครหเวลี
แม่น้ำดามันคงคา ในสิลวัสสะ
แม่น้ำดามันคงคา ในสิลวัสสะ
ที่ตั้งของอำเภอดาดราและนครหเวลี
พิกัด: 20°16′N 73°01′E / 20.27°N 73.02°E / 20.27; 73.02
ประเทศดาดราและนครหเวลี อินเดีย
ดินแดนสหภาพดาดราและนครหเวลี ดาดราและนครหเวลีและดามันและดีอู
ที่ว่าการอำเภอสิลวัสสะ
การปกครอง
 • สมาชิกรัฐสภาโมหันภาอี สัญชีภาอี เดการ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด491 ตร.กม. (190 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 32
ความสูง16 เมตร (52 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด343,709 คน
 • อันดับที่ 33
 • ความหนาแน่น700 คน/ตร.กม. (1,800 คน/ตร.ไมล์)
ภาษา
 • ทางการภาษาฮินดี, ภาษาคุชราต
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
ทะเบียนพาหนะDD-01
HDISteady 0.663 (2018)
HDI Categorymedium
เว็บไซต์dnh.nic.in

ปัจจุบัน ดาดราและนครหเวลีได้ถูกควบรวมเข้ากับดินแดนสหภาพดามันและดีอู พร้อมกับจัดตั้งขึ้นเป็นดินแดนสหภาพใหม่ ชื่อว่า "ดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู"

ประวัติ

ดาดราและนครหเวลี 
กษัตริย์โตฟีซอนแห่งดาดรา (ค.ศ. 1780)

ในปี ค.ศ. 1783 ดาดราและนครหเวลีตกอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส เนื่องจากเป็นการชดเชยเรื่องที่ทหารของจักรวรรดิมราฐาทำให้เรือสำเภาของโปรตุเกสล่ม[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาในปี ค.ศ. 1785 ดาดราและนครหเวลีได้รับการปกครองโดยตรงจากรัฐบาลโปรตุเกสแห่งเมืองดามันจนถึงปี ค.ศ. 1954

หลังจากอินเดียได้ประกาสอิสรภาพในปี ค.ศ. 1947 ประชาชนในดาดราและนครหเวลีได้รวมตัวกัน ก่อให้เกิดองค์กรแนวร่วมแห่งกัว (UFG), องค์การปลดปล่อยแห่งชาติ (NMLO) และอาซาด โคมาตักซึ่งทำให้ดินแดนแห่งนี้เป็นอิสรภาพจากโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1954

ดาดราและนครหเวลีเริ่มเป็นที่จับตามองขององค์กรทางกฎหมาย[ต้องการอ้างอิง] ประชาชนในอดีตอาณานิคมได้เรียกร้องให้อินเดียเข้าทำการช่วยเหลือเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ด้วยการช่วยเหลือของนาย เค.จี. พัทลานี เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านการบริหารชาวอินเดียได้เซ็นสัญญาในเรื่องการบริหาร

ในช่วงปี ค.ศ. 1954-1961 ดินแดนดาดราและนครหเวลีได้รับการบริหารจากบุคคลที่เรียกว่า วริศตปัญจยัตแห่งดาดราและนครหเวลีอิสระ (Varishta Panchayat of Free Dadra and Nagar Haveli)

ในปี ค.ศ. 1961 เมื่ออินเดียได้เข้ายึดครองกัว, ดามัน และดิอูได้เพียงหนึ่งวัน นายพัทลานีผู้ที่วางแผนในการเป็นรัฐมนตรีแห่งดาดราและนครหเวลีเพื่อเป็นผู้นำแห่งรัฐ ได้เห็นด้วยกับนายชวาหระลาล เนห์รูในการที่จะรวมดาดราและนครหเวลีเข้ากับสาธารณรัฐอินเดีย ท้ายที่สุดดาดราและนครหเวลีจึงเข้าร่วมเป็นดินแดนสหภาพของอินเดียมาจนถึงปัจจุบันนี้

ประชากร

ดาดราและนครหเวลี มีประชากรรวมกันทั้งหมด 220,451 คน โดยภาษาหลักที่ประชาชนใช้เป็นภาษาหลักในปัจจุบันคือ ภาษามราฐี, ภาษาฮินดี และภาษาคุชราต ประชากรมีทั้งที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมีศาสนสถานในศาสนาฮินดูอยู่ 64 แห่ง ดาดราและนครหเวลีถือเป็นพื้นที่สำคัญของวัฒนธรรมวาร์ลีที่เป็นวัฒนธรรมผสมระหว่างคุชราตกับมราฐี นอกจากนี้ประชากรส่วนใหญ่ของเมืองสิลวัสสะยังได้รับมรดกทางวัฒนธรรมจากโปรตุเกสในเรื่องการนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก รวมไปถึงชื่อเมืองสิลวัสสะ ที่มาจากคำว่า ซิลวา ที่มาจากคำในภาษาโปรตุเกส นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนมุสลิมตั้งอยู่ด้วย

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของดาดราและนครหเวลีในปี ค.ศ. 2004 มีผลิตภัณฑ์มวลรวม 218 ล้านดอลลาร์ แต่อุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักกลับมีไม่มาก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ดาดราและนครหเวลี ประวัติดาดราและนครหเวลี ประชากรดาดราและนครหเวลี เศรษฐกิจดาดราและนครหเวลี อ้างอิงดาดราและนครหเวลี แหล่งข้อมูลอื่นดาดราและนครหเวลีดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอูดินแดนส่วนแยกประเทศอินเดียภาษาคุชราตภาษามราฐีภาษาฮินดีรัฐคุชราตรัฐมหาราษฏระ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์คาราบาวจีเมลเจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรจังหวัดฉะเชิงเทราราชกิจจานุเบกษาสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์จังหวัดปราจีนบุรีเพลงชาติไทยโชกุนเพลงจังหวัดชลบุรีมหาวิทยาลัยรามคำแหงรายชื่อรัฐของสหรัฐเรียงตามลำดับการก่อตั้งรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันจังหวัดราชบุรีเมืองพัทยาอนิเมะธีรศิลป์ แดงดาสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีประเทศออสเตรียราชวงศ์ชิงสำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)ธนาคารแห่งประเทศไทยฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ภาษาเขมรจิตวิทยาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยูทูบข้าราชการส่วนท้องถิ่นสุรสีห์ ผาธรรมประเทศมาเลเซียมรรคมีองค์แปดเจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์สุภาภัสสร์ ผลเจริญรัตน์พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)เขตพื้นที่การศึกษาจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)จุดทิศหลักข่าวช่อง 7HDรณิดา เตชสิทธิ์เปรม ติณสูลานนท์จักรภพ เพ็ญแขสังคหวัตถุ 4กองทัพบกไทยแอน ทองประสมไทยสุวัฒน์ แจ้งยอดสุขอนันต์ตารางธาตุโรงเรียนเทพศิรินทร์ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุมคุณอาเรียโต๊ะข้างๆ พูดรัสเซียหวานใส่ซะหัวใจจะวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรจนกว่าจะได้รักกันเจนี่ อัลภาชน์ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีศรุต วิจิตรานนท์สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรจังหวัดบุรีรัมย์รายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรอินทิรา โมราเลสพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ปีนักษัตรลิซ่า (แร็ปเปอร์)กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์พ.ศ. 2567ประเทศคาซัคสถานสุภาพร มะลิซ้อนเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสมหาวิทยาลัยกรุงเทพจังหวัดนครราชสีมาโฟร์อีฟเห็ดขี้ควายประเทศฟิลิปปินส์🡆 More