ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย (อังกฤษ: Late Pleistocene) เป็นช่วงอายุอย่างไม่เป็นทางการในธรณีกาลสากลในการลำดับชั้นหินตามอายุกาล หรือรู้จักในชื่อ ไพลสโตซีนบน (อังกฤษ: Upper Pleistocene) ในแง่ของการลำดับชั้นหิน การแบ่งช่วงอายุนี้มีจุดหมายเพื่อเป็นส่วนที่สี่ของสมัยไพลสโตซีนอันเป็นสมัยหนึ่งของยุคควอเทอร์นารีที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบัน ในปัจจุบันได้กำหนดช่วงเวลาของช่วงอายุนี้ไว้ระหว่างประมาณ 129,000 ปี ถึง ประมาณ 11,700 ปีก่อน ช่วงอายุนี้เทียบเท่ากับช่วงอายุทารันเทียน (อังกฤษ: Tarantian) ที่เสนอขึ้นไว้ของธรณีกาล เพื่อให้เป็นช่วงอายุถัดจากช่วงอายุชิบาเนียน (เดิมชื่อช่วงอายุไพลสโตซีนตอนกลาง) ที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการไว้แล้ว และเป็นช่วงอายุก่อนหน้าช่วงอายุกรีนแลนเดียนที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการไว้แล้วเช่นกัน จุดเริ่มต้นโดยประมาณของช่วงอายุนี้คือจุดเริ่มต้นของช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งเอเมียน หรือหินกึ่งช่วงอายุไอโซโทปทะเล 5อี (Marine Isotope Stage 5) และดำรงอยู่ต่อเนื่องไปจนถึงการสิ้นสุดของยังเกอร์ดรายแอส เมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อนเริ่มสมัยโฮโลซีน

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย
0.129 – 0.0117 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อไม่เป็นทางการ
ชื่อที่เสนอทารันเทียน (Tarantian)
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างไม่ได้กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
แคนดิเดตคำนิยามขอบล่างหินกึ่งช่วงอายุไอโซโทปทะเล 5อี
การอนุมัติ GSSPไม่มี
คำนิยามขอบบนจุดสิ้นสุดของธารน้ำแข็งถอยกลับยังเกอร์ดรายแอส
ขอบบน GSSPแกนน้ำแข็งของ NGRIP2 กรีนแลนด์
75°06′00″N 42°19′12″W / 75.1000°N 42.3200°W / 75.1000; -42.3200
การอนุมัติ GSSP14 มิถุนายน 2561 (ในฐานะฐานของช่วงอายุกรีนแลนเดียน)
ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย
สีม่วง: การขยายของพืดน้ำแข็งแอลป์ในการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเวือร์ม สีน้ำเงิน: การขยายในยุคน้ำแข็งครั้งก่อนหน้า

ปัจจุบัน คำว่า ไพลสโตซีนตอนปลาย ถูกใช้เป็นชื่อชั่วคราวหรือ "กึ่งทางการ" โดยสหภาพธรณีวิทยาสากล (IUGS) แม้ว่าสามช่วงอายุที่เก่าที่สุดของสมัยไพลสโตซีน (ได้แก่ ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน และช่วงอายุชิบาเนียน) จะได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายนั้นยังไม่ได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการ ซึ่งอยู่ในคราวเดียวกันกับการพิจารณาการแบ่งย่อยแอนโทรโปซีนของสมัยโฮโลซีน

ลักษณะสำคัญของช่วงอายุนี้ คือ ยุคธารน้ำแข็ง เช่น ยุคธารน้ำแข็งเวือร์มในเทือกเขาแอลป์ของทวีปยุโรปจนถึง 14 ka (1.4 หมื่นปีก่อน) และยังเกอร์ดรายแอสที่เกิดขึ้นตามมาในภายหลัง มหาสัตวชาติหรือสัตว์ขนาดใหญ่จำนวนมากสูญพันธุ์ไปในช่วงอายุนี้ โดยเป็นกระแสที่ต่อเนื่องไปจนถึงสมัยโฮโลซีน ในแง่บรรพมานุษยวิทยา จะตรงกับระยะยุคหินเก่าบน (Upper Palaeolithic stage) ของพัฒนาการมนุษย์ ซึ่งรวมไปถึงการอพยพย้ายถิ่นและการสูญพันธุ์ของสปีชีส์มนุษย์โบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ในช่วงดังกล่าว

ยุคน้ำแข็งสุดท้าย

จุดเริ่มต้นของช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายที่ถูกเสนอไว้ คือ จุดสิ้นสุดของยุคธารน้ำแข็งก่อนลำดับหลังสุด (Penultimate Glacial Period หรือ PGP) เมื่อ 126 ka (1.26 แสนปีก่อน) เมื่อการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งริส (เทือกเขาแอลป์) ถูกสืบต่อด้วยช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งอีเมียน (ริส-เวือร์ม) โดยการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งริส-เวือร์มสิ้นสุดลงเมื่อ 115 ka (1.15 แสนปีก่อน) ด้วยการเริ่มต้นของยุคธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย (LGP) ซึ่งในทวีปยุโรปรู้จักในชื่อการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเวือร์ม (แอลป์) หรือการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเดเวนเซียน (บริเตนใหญ่) หรือการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งไวช์เซเลียน (ยุโรปเหนือ) ซึ่งคำเหล่านี้เทียบเท่ากันอย่างกว้าง ๆ ได้กับการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งวิสคอนซิน (อเมริกาเหนือ) แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วจะเริ่มต้นขึ้นภายหลังก็ตาม

จุดสูงสุดธารน้ำแข็งสุดท้ายได้ดำเนินมาถึงช่วงพันปีต่อมาหลังจากเวือร์ม/ไวช์เซเลียน โดยประมาณระหว่าง 26 ka (2.6 หมื่นปีก่อน) ถึง 19 ka (1.9 หมื่นปีก่อน) เมื่อการละลายของธารน้ำแข็งเริ่มต้นขึ้นในซีกโลกเหนือ เวือร์ม/ไวช์เซเลียนนั้นอยู่มาจนถึง 16 ka (1.6 หมื่นปีก่อน) ในทวีปยุโรปเหนือ รวมไปถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของบริเตนใหญ่ ซึ่งถูกปกคลุมด้วยพืดน้ำแข็ง โดยธารน้ำแข็งนั้นกว้างไปจนถึงเกรตเลกส์ในทวีปอเมริกาเหนือ ระดับน้ำทะเลลดลงและได้เกิดสะพานแผ่นดินขึ้นชั่วคราวสองแห่งอันมีความสำคัญต่อการอพยพของมนุษย์ ได้แก่ ด็อกเกอร์แลนด์ ซึ่งเชื่อมบริเตนใหญ่เข้ากับยุโรปแผ่นดินใหญ่ และ สะพานแผ่นดินเบริง ซึ่งเชื่อมพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐอะแลสกาเข้ากับไซบีเรีย

ยุคน้ำแข็งสุดท้ายนั้นตามด้วยระหว่างธารน้ำแข็งถอยกลับสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะโลกร้อนจนถึง 12.9 ka (1.29 หมื่นปีก่อน) และยังเกอร์ดรายแอส ซึ่งเป็นการกลับคืนสู่สภาพธารน้ำแข็งจนถึง 11.7 ka (1.17 หมื่นปีก่อน) ทางภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาถือว่าการเกิดต่อเนื่องกันของสตาเดียลและอินเตอร์สตาเดียลนั้นเกิดขึ้นจากประมาณ 16 ka (1.6 หมื่นปีก่อน) ไปจนถึงสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน โดยการเกิดต่อเนื่องกัน ได้แก่ ดรายแอสเก่าที่สุด (สตาเดียล), ความผันผวนบือล์ลิง (อินเตอร์สตาเดียล), ดรายแอสเก่า (สตาเดียล), ความผันผวนเอลเลอโรด (อินเตอร์สตาเดียล) และท้ายที่สุด นั่นคือ ดรายแอสใหม่

จุดสิ้นสุดของยังเกอร์ดรายแอสนั้นเป็นขอบเขตระหว่างสมัยไพลสโตซีนและสมัยโฮโลซีน มนุษย์ในทุกส่วนของโลกยังคงมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีอยู่ในยุคหินเก่า เครื่องมือและอาวุธเป็นอุปกรณ์ที่ทำขึ้นด้วยหินหรือเครื่องไม้ ชนร่อนเร่เคลื่อนย้ายไปตามฝูงสัตว์ ขณะที่ชนไม่ร่อนเร่ออกหาอาหารมาในลักษณะของการเก็บของป่าล่าสัตว์

ทวีปแอฟริกา

ในประเทศอียิปต์ ยุคหินเก่าตอนปลาย (หรือบน) เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากปี 30,000 ก่อน ค.ศ. ผู้คนในแอฟริกาเหนือได้มีการย้ายถิ่นฐานไปยังหุบเขาแม่น้ำไนล์ เนื่องจากพื้นที่สะฮาราเปลี่ยนสภาพจากทุ่งหญ้าเป็นทะเลทราย โครงกระดูกที่พบในแหล่งโบราณคดีนัซเลต คาเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2523 ได้ถูกนำมาหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี พบว่ามีอายุระหว่าง 30,360 ถึง 35,100 ปีก่อน

ทวีปยูเรเชีย

มนุษย์นีแอนเดอร์ทาล (โฮโม นีแอนเดอร์ทาเลนซิส) อาศัยอยู่ในทวีปยูเรเซียจนสูญพันธุ์ไปในระหว่างช่วง 40 ka (4 หมื่นปีก่อน) ถึง 30 ka (3 หมื่นปีก่อน) ในช่วงปลายสมัยไพลสโตซีนและอาจรวมถึงช่วงต้นของสมัยโฮโลซีน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่หลายสายพันธุ์รวมไปถึง แรดมีขน ช้างแมมมอธ แมสโตดอน และกวางไอริช ได้สูญพันธุ์ไป

พบจิตรกรรมผนังถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันเป็นภาพมือสีแดงในถ้ำมัลตราบิเอโซ จังหวัดกาเซเรส ประเทศสเปน การตรวจหาอายุด้วยวิธียูเรเนียม-ทอเรียม ระบุอายุมากกว่า 64,000 ปี และทำขึ้นโดยมนุษย์นีแอนเดอร์ทาล ที่ถ้ำลัสโกในจังหวัดดอร์ดอญ ประเทศฝรั่งเศส พบภาพซึ่งอาจมีอายุมากกว่า 17,000 ปี ภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นรูปโค กวาง และสัตว์อื่น ๆ ที่ถูกมนุษย์ล่า มีจิตรกรรมผนังถ้ำเกิดขึ้นทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปน และในอนุทวีปอินเดีย ทวีปออสเตรเลีย และพื้นที่สะฮารา

คนเก็บของป่าล่าสัตว์มักเดเลเนียนตั้งถิ่นฐานแพร่หลายในยุโรปตะวันตกเมื่อประมาณ 18,000 ปีก่อน จนถึงปลายสมัยไพลสโตซีน พวกเขาประดิษฐ์ฉมวกขึ้นทั้งแบบคมเดียวและสองคมโดยทำจากกระดูก, เขาของกวางเรนเดียร์ และงาช้าง

สัตว์เลี้ยงเพียงชนิดเดียวในสมัยไพลสโตซีน คือ หมา มีวิวัฒนาการมาจากหมาป่าสีเทาจนกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่จำนวนมาก เชื่อกันว่าหมาป่าสีเทาเข้ามามีความเกี่ยวข้องกับเผ่าคนเก็บของป่าล่าสัตว์ในช่วงประมาณ 15 ka (1.5 หมื่นปีก่อน) ส่วนพันธุ์หมาบ้านแท้เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่มีอายุประมาณ 14,200 ปีก่อน การกลายเป็นสัตว์เลี้ยงเกิดขึ้นครั้งแรกในทวีปยูเรเซีย แต่อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ตั้งแต่บริเวณยุโรปตะวันตกไปจนถึงเอเชียตะวันออก ส่วนการกลายเป็นสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น สัตว์ปศุสัตว์ แพะ หมู และแกะนั้นไม่ปรากฏว่าเกิดขึ้นจนกระทั่งสมัยโฮโลซีน ซึ่งมีการตั้งชุมชนเกษตรกรรมขึ้นในบริเวณตะวันออกใกล้ ขณะที่แมวอาจไม่เคยถูกนำมาเลี้ยงโดยมนุษย์มาก่อนกระทั่งอย่างเร็วที่สุดในประมาณ 7,500 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งเกิดขึ้นในตะวันออกใกล้เช่นเคย

พบซากกระดูกสะบ้าหมีสีน้ำตาลที่ถูกแล่ไว้ในถ้ำอลิซและกเวนโดลีนในเคาน์ตีแคลร์ ประเทศไอร์แลนด์ มีอายุประมาณ 10,860 ถึง 10,641 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งนับเป็นตัวชี้ถึงกิจกรรมของมนุษย์ครั้งแรกในประเทศไอร์แลนด์

ภูมิภาคตะวันออกไกล

ที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แห่งแรก ๆ ของหมู่เกาะญี่ปุ่นนั้นสืบเนื่องมาแต่ครั้งช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ระหว่าง 40,000 ถึง 30,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดนั้นมีอายุจากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีถึงประมาณ 35,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช หมู่เกาะญี่ปุ่นนั้นเคยเชื่อมอยู่กับเอเชียแผ่นดินใหญ่ ผ่านสะพานแผ่นดินระหว่างเกาะฮกไกโดและเกาะซาฮาลินทางทิศเหนือ แต่ไม่ได้เชื่อมกันในเวลาปัจจุบันเมื่อเกาะหลักของเกาะฮกไกโด เกาะฮนชู เกาะคีวชู และเกาะชิโกกุนั้นแยกออกจากกันทั้งหมด

ทวีปอเมริกาเหนือ

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย 
กะโหลกของไบซันออกซิเดนทาลิส ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์

จากประมาณ 2.8 หมื่นปีก่อน เกิดการอพยพย้ายถิ่นจากพื้นที่ไซบีเรียข้ามสะพานแผ่นดินเบริงไปยังพื้นที่อะแลสกาขึ้น ทำให้ชนดังกล่าวกลายเป็นชนพื้นเมืองอเมริกา เชื่อกันว่าชนเผ่าดั้งเดิมนั้นได้ย้ายถิ่นฐานลงไปยังอเมริกากลางและใต้ในเวลาต่อมา เนื่องจากแรงกดดันจากการอพยพมาในภายหลังนั้น

ในระดับของช่วงอายุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกอเมริกาเหนือ ช่วงแรนโชลาเบรียนนั้นกินเวลาตั้งแต่ประมาณ 240,000 จนถึงประมาณ 11,000 ปีก่อน โดยชื่อของช่วงดังกล่าวตั้งตามแหล่งซากดึกดำบรรพ์แรนโช ลา เบรในรัฐแคลิฟอร์เนีย มีลักษณะเฉพาะคือไบซันที่สูญพันธุ์ไปแล้วในสมัยไพรสโตซีนพร้อมกับสปีชีส์อื่น เช่น ช้างแมมมอธ

ไบซันออกซิเดนทาลิส และ ไบซันแอนทิคูอัส เป็นชนิดย่อยที่สูญพันธุ์ไปแล้วของไบซันปัจจุบันซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งรอดชีวิตจากช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายในระหว่างประมาณ 1.2 ถึง 1.1 หมื่นปีก่อน ชาวโคลวิสพึ่งพาไบซันเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารหลัก ขณะที่การฆ่าอูฐ ม้า และมัสโคเซนในช่วงก่อนหน้านั้นพบที่หาดวอลลี มีอายุถึง 1.31 ถึง 1.33 หมื่นปีก่อน

ภูมิภาคโอเชียเนีย

หลักฐานของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์บนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย อินโดนีเซีย นิวกินี และแทสเมเนียปรากฏตั้งแต่ประมาณ 45,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช การค้นพบนี้รวมไปถึงหินสลัก เครื่องมือหิน และหลักฐานการอาศัยในถ้ำ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

Tags:

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ยุคน้ำแข็งสุดท้ายช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ทวีปแอฟริกาช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ทวีปยูเรเชียช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ภูมิภาคตะวันออกไกลช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ทวีปอเมริกาเหนือช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ภูมิภาคโอเชียเนียช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย อ้างอิงช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย บรรณานุกรมช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายการลำดับชั้นหินควอเทอร์นารีช่วงอายุกรีนแลนเดียนช่วงอายุชิบาเนียนธรณีกาลภาษาอังกฤษสมัยโฮโลซีนสมัยไพลสโตซีน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ธีรเดช เมธาวรายุทธสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรายชื่อตัวละครในวันพีซธฤษณุ สรนันท์ไททานิค (ภาพยนตร์)จังหวัดประจวบคีรีขันธ์พงศกร เมตตาริกานนท์ประยุทธ์ จันทร์โอชารายชื่อละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆต่อศักดิ์ สุขวิมลพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัยอสมทรมิดา จีรนรภัทรจุดทิศหลักรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดพระเยซูแพทองธาร ชินวัตรประเทศออสเตรเลียนกกะรางหัวขวานมหาวิทยาลัยมหาสารคามเทศน์ เฮนรี ไมรอนอาณาจักรสุโขทัยศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาตราประจำพระองค์ในประเทศไทยรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครจิรภพ ภูริเดชพิจักขณา วงศารัตนศิลป์อารยา เอ ฮาร์เก็ตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566โทโยโตมิ ฮิเดโยชิทวีปจังหวัดกาญจนบุรีรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ชญานิศ จ่ายเจริญอินเทอร์เน็ตเขตพื้นที่การศึกษาบรูซ วิลลิสมิตร ชัยบัญชารหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจีเมลแปลก พิบูลสงครามพาทิศ พิสิฐกุลสภาผู้แทนราษฎรไทยเรโทรสเปกต์ประเทศอียิปต์27 มีนาคมอีสเตอร์อาณาจักรธนบุรีสำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)จังหวัดปราจีนบุรีศรุต วิจิตรานนท์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการเศรษฐา ทวีสินสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567จังหวัดราชบุรีเหี้ยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์บัวขาว บัญชาเมฆประเทศสวีเดนรามาวดี นาคฉัตรีย์ณปภา ตันตระกูล4 KINGS อาชีวะ ยุค 90เทศกาลเช็งเม้งผีประเทศอิตาลีทักษิณ ชินวัตรจังหวัดลพบุรีแอทลาสนิชคุณ ขจรบริรักษ์สงครามเย็นดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)รายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วโรงเรียนวัดสุทธิวราราม🡆 More