ชายแดนพม่า–ไทย

พรมแดนพม่า–ไทย เป็นพรมแดนระหว่างประเทศ ซึ่งมีทั้งทั้งบนบก และทางทะเล มีความยาวประมาณ 2,401 – 2,416 กิโลเมตร โดยประเทศไทยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเส้นเขตแดน ส่วนประเทศพม่าอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของเส้นเขตแดน

ชายแดนพม่า–ไทย
ชายแดนพม่า–ไทย
จุดชมวิวฐานปฏิบัติการดอยช้างมูบ จ.เชียงราย ชายแดนไทย-พม่า
ข้อมูลจำเพาะ
พรมแดนระหว่างธงของประเทศพม่า พม่า ชายแดนพม่า–ไทย ไทย
ความยาว2,401–2,416 กิโลเมตร
ประวัติ
มีผลตั้งแต่8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411
การเข้าปกครองพม่าของอังกฤษ
พรมแดนปัจจุบันพ.ศ. 2534
สนธิสัญญา • อนุสัญญาสยาม-อังกฤษ พ.ศ. 2411
 • สนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ พ.ศ. 2426
 • พิธีสาร พ.ศ. 2437
 • หนังสือความตกลงว่าด้วย เขตแดนระหว่างพม่า (เชียงตุง) กับสยาม พ.ศ. 2474
 • หนังสือแลกเปลี่ยน พ.ศ. 2477
 • บันทึกความเข้าใจ พ.ศ. 2534

จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับพรมแดนพม่าประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง

ความเป็นมา

ในอดีตนั้นประเทศไทยและพม่ามีอาณาเขตที่ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากยังไม่มีการกำหนดเส้นเขตแดนตามรูปแบบสมัยใหม่ จึงมีการกำหนดเขตแดนกันในรูปแบบของการต่อสู้ระหว่างอาณาจักรเพื่อครอบครองพื้นที่ดินแดนต่าง ๆ บนเขตแดนไทยและพม่าในปัจจุบัน จนกระทั้งการเข้ามาของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่ต้องการดินแดนอาณานิคมต่อจากอินเดียในปี พ.ศ. 2367 ทำให้พม่าเกิดสงครามติดพันกับอังกฤษ สงครามและการแย่งชิงดินแดนระหว่างไทยและพม่าจึงยุติไปโดยปริยาย

ในปี พ.ศ. 2411 หลังจากที่อังกฤษเข้าปกครองประเทศพม่า อังกฤษได้ลงนามในอนุสัญญาสยาม - อังกฤษ กำหนดแนวเขตแดนระหว่างกันตั้งแต่สบเมย คือแม่น้ำเมยไหลลงแม่น้ำสาละวิน ลงไปจนถึงปากแม่น้ำกระบุรีที่จรดทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 กำหนดเป็นหลักเขตที่ทำจากกองหินหรือบากรอยบนต้นไม้ใหญ่ไว้เป็นหลักสังเกต

สำหรับเส้นเขตแดนเหนือตั้งแต่สบเมยขึ้นไป แต่เดิมอังกฤษได้เคยทำหนังสือสัญญาเมื่อปี พ.ศ. 2377 กับเจ้าเมืองเชียงใหม่ และได้ปักปันเขตแดนตามลำน้ำสาละวินเมื่อปี พ.ศ. 2392 แต่หนังสือสัญญาดังกล่าวไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาลไทยขณะนั้น จึงได้มีการทำอนุสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมา เรียกกันว่า สัญญาเชียงใหม่ หรือหนังสือสัญญากัลกัตตา เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2417 เพื่อยอมรับระหว่างไทยและอังกฤษว่าแม่น้ำสาละวินเป็นเขตแดนระหว่างกัน และมีการทำอนุสัญญาอีกครั้งฉบับที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2426 โดยข้อตกลงยังคงเหมือนเดิม คือแม่น้ำสาละวินเป็นเส้นเขตแดน

หลังจากนั้นอังกฤษได้มีกรณีพิพาทและอ้างสิทธิ์เหนือเมืองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เพื่อเก็บผลประโยชน์ในส่วนของภาษีและทรัพยากรป่าไม้ ในช่วงปี พ.ศ. 2428 - 2438

หลังจากนั้นทั้งสองประเทศได้จัดส่งคณะข้าหลวงออกไปสำรวจเส้นเขตแดน ซึ่งอังกฤษได้สั่งการให้รองกงสุลอังกฤษประจำเชียงใหม่นำคณะออกไปสำรวจพื้นที่เมื่อปี พ.ศ. 2433 และได้เสนอรายงานพร้อมแผนที่แนวเขตแดนต่อรัฐบาลออังกฤษเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 โดยฝ่ายไทยได้ส่งคณะข้าหลวงออกไปสำรวจในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับอังกฤษ และอังกฤษได้เสนอเส้นเขตแดนดังกล่าวให้กับรัฐบาลไทย (สยาม) ผ่านกงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ขั้นแรกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่เห็นด้วย จึงแจ้งให้ราชทูตไทยประจำลอนดอนเจรจาเรื่องดังกล่าวกับรัฐบาลอังกฤษ

ชายแดนพม่า–ไทย 
เขตแดนของไทยระหว่างปี พ.ศ. 2485 - 2489 หลังผนวกดินแดนที่เรียกว่าสหรัฐไทยเดิม (สีม่วงอ่อน) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ

ต่อมาได้มีการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษอินเดีย และมีการเจรจาอีกครั้งที่กรุงเทพฯ ในที่สุดจึงตกลงกันได้ โดยฝ่ายอังกฤษยอมยกเมืองเชียงแขงหรือเมืองสิงห์ และหัวเมืองฝั่งตะวันตกของเมืองเชียงแสนให้ฝ่ายไทย และมีการปักปันเขตแดน ประกอบด้วยหลักเขตแดนจำนวน 12 หลัก และทำแผนที่แนบไว้ 1 ชุด โดยลงนามในปฏิญญา (พิธีสาสฉบับ) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2437

จากนั้นเมื่ออังกฤษเข้าปกครองประเทศพม่า และฝรั่งเศสเข้าปกครองอินโดจีนสำเร็จ ทั้งสองประเทศจึงยอมให้ประเทศไทย (สยามในขณะนั้น) เป็นรัฐเอกราช ที่มีสถานะเป็นรัฐกันชนระหว่างดินแดนอาณานิคมทั้งสองประเทศ ในปฏิญญาอังกฤษ - ฝรั่งเศส (Anglo-French Declaration 1896) ในปี พ.ศ. 2439

เมื่อเวลาผ่านไป ได้เกิดปัญหาอุทกภัยขึ้นในปี พ.ศ. 2472 ในภาคเหนือ ทำให้เส้นทางน้ำเปลี่ยนทิศทาง และเกิดเกาะแก่งต่าง ๆ จึงได้มีการเรียกเพื่อหารือกันระหว่างสองประเทศ คือข้าหลวงเมืองเชียงรายและกงสุลอังกฤษประจำเมืองเชียงตุง ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 และได้มีการเสนอให้เปลี่ยนเส้นเขตแดน จากกึ่งกลางลำน้ำให้เป็นร่องน้ำลึกของลำน้ำ และได้ทำหนังสือแลกเปลี่ยนกันเพื่อรับหลักการดังกล่าว ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2474 และ 14 มีนาคม พ.ศ. 2475 ชื่อว่าหนังสือความตกลงว่าด้วย เขตแดนระหว่างพม่า (เชียงตุง) กับสยาม ซึ่งนอกจากนี้ได้ใช้ร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดนขยายไปถึงแม่น้ำปากจั่นในปี พ.ศ. 2477 และแม่น้ำรวกในปี พ.ศ. 2483 เช่นกัน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ผนวกดินแดนของพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย คือสหรัฐไทยเดิม ในปี พ.ศ. 2485 ตามข้อตกลงกับประเทศญี่ปุ่น โดยไทยจะต้องยกกำลังเข้าไปโจมตีคืนมาเองจากประเทศอังกฤษ ซึ่งกองทัพอังกฤษได้ถอยทัพและมอบให้กองทัพจีนรักษาการณ์ ก่อนต้องคืนดินแดนดังกล่าวให้กับสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2489 หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ตามความตกลงสมบูรณ์แบบ

ในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลพม่าเกี่ยวกับแนวเขตแดนช่วงแม่น้ำสาย และแม่น้ำรวก เพื่อกำหนดแนวเส้นเขตแดนตามร่องน้ำลึกให้มีความเข้าใจตรงกัน เนื่องจากการเปลี่ยนทิศทางที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยกำหนดเป็นเขตแดนคงที่ตามการสำรวจร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2531 แม้แม่น้ำจะเปลี่ยนทิศทางอย่างไรก็ตาม ก็ให้ถือตามแนวเส้นนี้ ซึ่งลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2534

แนวพรมแดน

แนวพรมแดนพม่า–ไทยตามที่ได้มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นระหว่างสยาม (ไทย) กับอังกฤษ และตามข้อตกลงอื่น ๆ ประกอบไปด้วย

  • เริ่มต้นจากสามเหลี่ยมทองคำในจังหวัดเชียงราย ลากตามร่องน้ำลึกของแม่น้ำรวกและแม่น้ำสายไปทางตะวันตก ในจังหวัดเชียงราย ความยาว 59 กิโลเมตร
  • ต่อเนื่องด้วยสันปันน้ำของทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัยเหนือ ทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ความยาว 632 กิโลเมตร
  • จากนั้นเป็นเส้นแนวยาวตามแม่น้ำสาละวิน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ความยาว 127 กิโลเมตร
  • ต่อเนื่องด้วยแม่น้ำเมย ความยาว 345 กิโลเมตร แนวสองฝั่งของห้วยวาเลย์ ความยาว 44 กิโลเมตร ในจังหวัดตาก
  • แนวสันปันน้ำของทิวเขาถนนธงชัยกลาง ความยาว 127 กิโลเมตร และแนวเส้นตรง ความยาว 63 กิโลเมตร ในพื้นที่จังหวัดตาก และกาญจนบุรี
  • สันปันน้ำของเทือกเขาตะนาวศรี ความยาว 865 กิโลเมตร ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง
  • แนวร่องน้ำลึกของคลองกระ และแม่น้ำกระบุรี ในจังหวัดระนอง ความยาว 139 กิโลเมตร บรรจบทะเลอันดามันในจังหวัดระนอง
  • ต่อเนื่องไปยังพรมแดนทางทะเลเหนือทะเลอันดามัน ซึ่งกำหนดโดยขอตกลงในการกำหนดเขตไหล่ทวีป ไปบรรจบกับจุดสามจุดที่มีพรมแดนของประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศอินเดียซึ่งควบคุมพื้นที่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์
ภาพเทือกเขาแดนลาว มองจากเส้นเขตแดนไทยบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1149 จังหวัดเชียงราย เข้าไปยังฝั่งจังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน

เขตการปกครองที่ติดพรมแดน

ชายแดนพม่า–ไทย  พม่า ชายแดนพม่า–ไทย  ไทย
ประเทศลาว
รัฐฉาน จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รัฐกะยา
รัฐกะเหรี่ยง
จังหวัดตาก
จังหวัดกาญจนบุรี
รัฐมอญ
ภาคตะนาวศรี
จังหวัดราชบุรี
จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดชุมพร
จังหวัดระนอง
ทะเลอันดามัน

จุดผ่านแดน

จุดผ่านแดนถาวร

ประเทศไทยและพม่ามีจุดผ่านแดนถาวรจำนวน 6 แห่ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบไปด้วย

ลำดับ ชายแดนพม่า–ไทย  ประเทศไทย ชายแดนพม่า–ไทย  ประเทศพม่า หมายเหตุ
ถนน จุดผ่านแดน ถนน จุดผ่านแดน เวลาทำการ
1 ชายแดนพม่า–ไทย  ถนนพหลโยธิน จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย, จังหวัดเชียงราย 4 จังหวัดท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน 06.30 - 21.00 ใช้สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายในการผ่านแดนข้ามแม่น้ำสาย
2 ชายแดนพม่า–ไทย  ทล.123 จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย 2, จังหวัดเชียงราย 06.30 - 18.30 ใช้สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2 ในการผ่านแดนข้ามแม่น้ำสาย
3 ชายแดนพม่า–ไทย  ทล.12 จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย, จังหวัดตาก จังหวัดเมียวดี, รัฐกะเหรี่ยง 05.30 - 20.30 ใช้สะพานมิตรภาพไทย-พม่าในการผ่านแดนข้ามแม่น้ำเมย
4 ชายแดนพม่า–ไทย  ทล.130 จุดผ่านแดนถาวรแม่สอด 2, จังหวัดตาก 06.30 - 18.30 ใช้สะพานมิตรภาพไทย-พม่า 2 ในการผ่านแดนข้ามแม่น้ำเมย
5 ชายแดนพม่า–ไทย  ทล.3229 จุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ำร้อน, จังหวัดกาญจนบุรี บ้านที่คี่, จังหวัดทวาย, เขตตะนาวศรี 06.00 - 20.00
6 ชายแดนพม่า–ไทย  ถนนเพชรเกษม
  • ถนนเฉลิมพระเกียรติ
  • รน.4010
  • รน.ถ. 3004
จุดผ่านแดนถาวรระนอง - เกาะสอง จำนวน 4 ช่องทาง คือ
  1. ท่าเทียบเรือสะพานปลา, ตำบลบางริ้น, อำเภอเมืองระนอง
  2. ท่าเทียบเรือบริษัทอันดามัน คลับ (ท่าเรือแกรนด์อันดามัน), อำเภอเมืองระนอง
  3. ปากน้ำระนอง, ตำบลปากน้ำ, อำเภอเมืองระนอง
  4. ท่าเทียบเรือศุลกากรระนอง, อำเภอเมืองระนอง
จังหวัดเกาะสอง, เขตตะนาวศรี 06.30 - 24.00 เรือข้ามฟากระหว่างประเทศ ประกอบไปด้วยจุดตรวจที่อยู่บริเวณท่าเรือ 4 แห่งในฝั่งไทย

จุดผ่านแดนชั่วคราว

ประเทศไทยและพม่ามีจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะต่าง ๆ อาทิ การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่จะใช้เป็นจุดผ่านแดนในอนาคต การค้าและการท่องเที่ยว ปัจจุบันมีจุดผ่านแดนชั่วคราว 1 แห่งเปิดทำการ เป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว

จุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว

ลำดับ ชายแดนพม่า–ไทย  ประเทศไทย ชายแดนพม่า–ไทย  ประเทศพม่า หมายเหตุ
พื้นที่จุดผ่านแดน พื้นที่จุดผ่านแดน เวลาทำการ
1 ด่านพระเจดีย์สามองค์, อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอพญาตองซู จังหวัดกอกาเล็ก รัฐกะเหรี่ยง เขตตะนาวศรี 08.30 - 18.00 ผ่อนผันให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกได้เฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว

จุดผ่อนปรนการค้า

จุดผ่อนปรนการค้า เป็นจุดผ่อนปรนที่ได้มีการประกาศโดยกระทรวงมหาดไทยเพื่ออนุญาตให้ทำการค้าขายระหว่างประเทศได้ ปัจจุบันมีอยู่ 13 แห่ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบไปด้วย

ลำดับ ชายแดนพม่า–ไทย  ประเทศไทย ชายแดนพม่า–ไทย  ประเทศพม่า หมายเหตุ
จังหวัด จุดผ่านแดน จังหวัด จุดผ่านแดน เวลาทำการ
1 เชียงราย จุดผ่อนปรนบ้านปางห้า ท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน เมืองท่าขี้เหล็ก 06.00 - 18.00
2 จุดผ่อนปรนบ้านสายลมจอย
3 จุดผ่อนปรนบ้านเกาะทราย
4 จุดผ่อนปรนท่าดินดำ บ้านดินดำ
5 จุดผ่อนปรนบ้านสบรวก บ้านเมืองพง
6 เชียงใหม่ จุดผ่อนปรนช่องทางกิ่วผาวอก เมืองสาด, รัฐฉาน ปิดทำการด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง
7 จุดผ่อนปรนช่องทางหลักแต่ง เมืองเต๊าะ, รัฐฉาน
8 แม่ฮ่องสอน จุดผ่อนปรนช่องทางบ้านห้วยต้นนุ่น ลอยเก่อ, รัฐกะยา บ้านน้ำมาง อำเภอแม่แจ๊ะ
9 จุดผ่อนปรนช่องทางบ้านห้วยผึ้ง รัฐฉาน บ้านหัวเมือง บ้านนามน
10 จุดผ่อนปรนช่องทางบ้านเสาหิน รัฐกะยา บ้านห้วยทราย
11 จุดผ่อนปรนบ้านสามแลบ ผาปูน, รัฐกะเหรี่ยง
12 จุดผ่อนปรนบ้านน้ำเพียงดิน รัฐกะยา อำเภอบ้านใหม่ 08.00 - 16.00
13 ระนอง จุดผ่อนปรนบ้านเขาฝาชี เกาะสอง, เขตตะนาวศรี ตำบลเจ็ดไมล์ อำเภอมะลิวัลย์

จุดผ่อนปรนพิเศษ

จุดผ่อนปรนพิเศษ เป็นจุดผ่อนปรนที่ปัจจุบันยังไม่มีศักยภาพที่จะยกขึ้นเป็นจุดผ่านแดนถาวร แต่มีการประเมินร่วมกันของรัฐบาลไทยและพม่าว่าสามารถเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ในอนาคต จึงเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษขึ้นมาก่อนเพื่อไม่ให้เสียโอกาส ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ต้องครบถ้วนเหมือนการเปิดจุดผ่านแดนถาวร แต่สูงกว่าจุดผ่อนปรนการค้า ปัจจุบันมีเพียง 1 แห่ง

ลำดับ ชายแดนพม่า–ไทย  ประเทศไทย ชายแดนพม่า–ไทย  ประเทศพม่า หมายเหตุ
พื้นที่จุดผ่านแดน พื้นที่จุดผ่านแดน เวลาทำการ
1 ด่านสิงขร, บ้านไร่เครา ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ้านมุด่อง เมืองมะริด เขตตะนาวศรี 06.30 - 18.30

หมายเหตุ

อ้างอิง

Tags:

ชายแดนพม่า–ไทย ความเป็นมาชายแดนพม่า–ไทย แนวพรมแดนชายแดนพม่า–ไทย จุดผ่านแดนชายแดนพม่า–ไทย หมายเหตุชายแดนพม่า–ไทย อ้างอิงชายแดนพม่า–ไทยประเทศพม่าประเทศไทย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยนาฬิกาหกชั่วโมงชลน่าน ศรีแก้วปณิธาน บุตรแก้ววทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาโชติกา วงศ์วิลาศแวมไพร์ ทไวไลท์แผนที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์มรรคมีองค์แปดอาทิตยา ตรีบุดารักษ์ศุกลวัฒน์ คณารศราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475เลเซราฟิมประเทศมัลดีฟส์เปรม ติณสูลานนท์จังหวัดนครนายกลูซิเฟอร์อินเทอร์เน็ตรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สปรียาดา สิทธาไชยบี-2 สปีริทธีรเดช เมธาวรายุทธประเทศเยอรมนีสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งลิซ่า (แร็ปเปอร์)จังหวัดสุโขทัยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีธนภพ ลีรัตนขจรสถิตย์พงษ์ สุขวิมลปานวาด เหมมณีดวงอาทิตย์คริสเตียโน โรนัลโดพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกจังหวัดหนองคายณัฐชา นีน่า เจสซิกา พาโดวัน69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะเราคู่กันพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลสงครามเวียดนามโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษารายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครระบบสุริยะจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จังหวัดปราจีนบุรีรายชื่อสัตว์มหาวิทยาลัยศิลปากรมณฑลของประเทศจีนสครับบ์ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ต้นตะวัน ตันติเวชกุลรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)วิทยาศาสตร์ประเทศออสเตรียมณฑลกวางตุ้งภาคตะวันออก (ประเทศไทย)พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระคเณศเจสัน สเตธัมมหาวิทยาลัยรามคำแหงข้าราชการไทยสุภาพร มะลิซ้อนโทกูงาวะ อิเอยาซุสหรัฐจนกว่าจะได้รักกันนักเรียนมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)พรรคเพื่อไทยสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)ธนาคารกสิกรไทยพัก มิน-ย็องยิ่งลักษณ์ ชินวัตรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค🡆 More