ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน

ในวิทยาการระบาด ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน หรือ เลขสืบพันธุ์พื้นฐาน (อังกฤษ: basic reproduction number, basic reproductive ratio) หรือค่า R0 (อ่านว่า อาร์น็อต หรืออาร์ซีโร่ หรืออาร์ศูนย์) สามารถพิจารณาได้ว่า เป็นจำนวนกรณีการติดเชื้อของผู้ป่วยรายใหม่ที่คาดหมายซึ่งติดมาจากผู้ป่วยรายเดียวโดยสมมุติว่าคนในกลุ่มประชากรติดเชื้อได้ทุกคน นิยามนี้หมายเอาสถานการณ์ที่ไม่มีคนอื่นติดเชื้อหรือมีภูมิคุ้มกัน ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือโดยอาศัยวัคซีน มีนิยามบางนิยาม เช่น ของกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลีย ที่เพิ่มข้อสมมุติว่าไม่มีการแทรกแซงที่จงใจเพื่อชลอหรือยุติการแพร่เชื้อ ค่านี้ไม่ควรสับสนกับ effective reproduction number ซึ่งมีสัญลักษณ์ R และหาค่าโดยใช้สถานการณ์จริง ๆ/ปัจจุบันของกลุ่มประชากร ไม่ใช่สถานการณ์ที่ไม่มีการติดเชื้อ โดยนิยามแล้ว R0 ไม่อาจเปลี่ยนได้โดยโปรแกรมการให้วัคซีน ให้สังเกตว่า R0 ไม่มีหน่วย และไม่ใช่อัตราที่มีหน่วยเกี่ยวกับระยะเวลา

ค่า R0 ของโรคติดเชื้อที่เด่น
โรค การแพร่เชื้อ R0
หัด ละอองลอย 12–18
อีสุกอีใส ละอองลอย 10-12
คางทูม หยดน้ำทางลมหายใจ 10-12
โปลิโอ ทางอุจจาระ-ปาก 5-7[ต้องการอ้างอิง]
หัดเยอรมัน หยดน้ำทางลมหายใจ 5–7[ต้องการอ้างอิง]
ไอกรน หยดน้ำทางลมหายใจ 5.5
ฝีดาษ หยดน้ำทางลมหายใจ 3.5–6
โควิด-19 หยดน้ำทางลมหายใจ 1.4–5.7
เอชไอวี/เอดส์ น้ำของร่างกาย 2–5[ต้องการอ้างอิง]
ซาร์ส หยดน้ำทางลมหายใจ 2–5
หวัด หยดน้ำทางลมหายใจ 2–3
คอตีบ น้ำลาย 1.7–4.3
ไข้หวัดใหญ่
(สายพันธ์ที่ระบาดทั่วปี 1918)
หยดน้ำทางลมหายใจ 1.4–2.8
อีโบลา
(การระบาดในปี 2014)
น้ำของร่างกาย 1.5–1.9
ไข้หวัดใหญ่
(การระบาดในปี 2009)
หยดน้ำทางลมหายใจ 1.4–1.6
ไข้หวัดใหญ่
(ตามฤดูกาล)
หยดน้ำทางลมหายใจ 0.9–2.1
เมอร์ส หยดน้ำทางลมหายใจ 0.3–0.8

วิดีโอภาษาอังกฤษอธิบาย basic reproduction number (ประมาณ 4 นาที) และอัตราป่วยตาย (CFR) ในบริบทของการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563

R0 ไม่ใช่ค่าคงตัวทางชีวภาพของจุลชีพก่อโรค เพราะมันได้รับผลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของกลุ่มประชากร อนึ่ง ค่า R0 มักประเมินจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จึงขึ้นอยู่กับแบบจำลองและค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่ใช้ ดังนั้น ค่าที่พบในวรรณกรรมจึงเหมาะกับบริบทนั้น ๆ จึงแนะนำไม่ให้ใช้ค่าล้าสมัยหรือเปรียบเทียบค่าที่ได้จากแบบจำลองต่าง ๆ กัน ค่า R0 โดยตนเองไม่สามารถใช้ประเมินว่า การแพร่เชื้อจะเกิดเร็วขนาดไหนในกลุ่มประชากรนั้น ๆ

การใช้ค่า R0 ที่เด่นสุดก็คือเพื่อช่วยประเมินว่า โรคติดเชื้อที่กำลังระบาดจะสามารถแพร่กระจายไปได้มากแค่ไหนในประชากรที่ยังไม่มีการติดเชื้อ และประเมินว่า สัดส่วนประชากรแค่ไหนต้องได้รับวัคซีนเพื่อกำจัดโรค ในแบบจำลองการติดเชื้อที่ใช้อย่างสามัญ เมื่อ R0 > 1 เชื้อจะสามารถระบาดไปในกลุ่มประชากร แต่จะยุติเมื่อ R0 < 1 ทั่วไปแล้ว ค่า R0 ยิ่งสูงเท่าไร ก็ควบคุมการระบาดยากขึ้นเท่านั้น ในแบบจำลองง่าย ๆ สัดส่วนกลุ่มประชากรที่ต้องมีภูมิคุ้มกัน (คือไม่เสี่ยงติดเชื้อ) เพื่อป้องกันการระบาดอย่างต่อเนื่องจะต้องมากกว่า 1 − 1/R0 โดยนัยตรงกันข้าม สัดส่วนประชากรที่ยังคงเสี่ยงติดเชื้อซึ่งก่อโรคประจำก็คือ 1/R0

ค่านี้ได้รับผลจากปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งระยะการแพร่เชื้อ (infectivity) ของคนไข้, สมรรถภาพให้ติดโรคของสิ่งมีชีวิต และจำนวนคนที่สามารถติดโรคในกลุ่มประชากรที่คนไข้พบเจอ

ค่าระดับการติดเชื้อยังผล (Effective reproduction number)

ในสถานการณ์จริง กลุ่มประชากรต่าง ๆ จะมีอัตราส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหนึ่ง ๆ ไม่เหมือนกัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อประเมินสถานการณ์เช่นนี้ จึงมี ค่าระดับการติดเชื้อยังผล (Effective reproduction number) โดยใช้ตัวแปรเป็น ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน  หรือ ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน  และมีนิยามเป็นจำนวนคนเฉลี่ยที่บุคคลผู้ติดโรคคนเดียวทำให้คนอื่น ๆ ติดโรค ณ เวลา t ในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงติดโรคเป็นบางส่วน (คือบางคนจะมีภูมิค้มกัน) ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยคูณค่า ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน  กับเศษส่วน S ที่กลุ่มประชากรนั้น ๆ เสี่ยงติดโรค ถ้าเศษส่วนประชากรที่มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น (คือค่า S ลดลง) จนกระทั่งค่า ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน  เหลือน้อยกว่า 1 กลุ่มประชากรนั้นจัดว่ามี "ภูมิคุ้มกันหมู่" แล้ว และจำนวนการติดโรคในกลุ่มประชากรนั้นจะค่อย ๆ ลดลดจงเหลือศูนย์

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

การติดเชื้อคาดหมายภาษาอังกฤษภูมิคุ้มกันวัคซีนวิทยาการระบาด

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มหาเวทย์ผนึกมารผีกะจีนพิศณุ นิลกลัดโซคูลภาษาไทยมะเร็งหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีวัชรเรศร วิวัชรวงศ์จังหวัดสุพรรณบุรีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยรายชื่อเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มหาวิทยาลัยรังสิตสงครามเย็นประวัติศาสตร์ไทยกุลฑีรา ยอดช่างคิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกรดยูริกประวัติศาสตร์จีนจังหวัดขอนแก่นอัสซะลามุอะลัยกุมการแพทย์ทางเลือกไพ่แคงปลาตะพัดFBฟุตบอลทีมชาติอังกฤษความดันโลหิตสูงทาสสุดแกร่งแห่งหน่วยป้องกันอสูรท่าอากาศยานดอนเมืองดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ฟุตบอลทีมชาติไทยพลังงานนิวเคลียร์ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์เศรษฐศาสตร์อิตาลีประเทศฝรั่งเศสสงครามอ่าวเปอร์เซียจังหวัดตราดเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทยคิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสไมโครซอฟท์สิงโตเว็บไซต์หมาล่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่มอนเตเนโกรICD-10ราชกิจจานุเบกษาภาษาเกาหลีไวยาวัจกรภาษาพม่าเกมพีระมิด (ละครโทรทัศน์เกาหลีใต้)จังหวัดชุมพรจังหวัดร้อยเอ็ดยอดนักสืบจิ๋วโคนันนาฬิกาหกชั่วโมงอเล็กซานเดอร์มหาราชปรียาดา สิทธาไชยสหภาพยุโรปเทศน์ เฮนรี ไมรอนหลวงปู่ทวดอาณาจักรอยุธยาพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์บรูโน มาส์โรคหลอดเลือดหัวใจช่อง 3 เอชดีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพวงเพ็ชร ชุนละเอียดจังหวัดเชียงใหม่คอมมิวนิสต์ประเทศอินโดนีเซียประเทศเกาหลีเหนือ🡆 More