กุสทัฟ มาเลอร์

กุสทัฟ มาเลอร์ (เยอรมัน: Gustav Mahler) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวโบฮีเมีย-ออสเตรีย มาเลอร์เป็นที่รู้จักในยุคของเขา ในฐานะวาทยากรชื่อดังแห่งยุค แต่ในปัจจุบัน เขากลับเป็นที่ยอมรับในฐานะคีตกวีแห่งยุคนีโอโรแมนติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากซิมโฟนี และบทเพลงในลักษณะซิมโฟนี เช่น เพลง Das Lied von der Erde (บทเพลงแห่งโลก) ที่เป็นจุดสุดยอดของบทเพลงขับร้องที่เขาประพันธ์ ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 3 ความยาว 95 นาที นับเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดที่เคยมีการเปิดแสดง และยังชื่อได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดในบรรดาซิมโฟนีทั้งหลายอีกด้วย

Middle-aged man, seated, facing towards the left but head turned towards the right. He has a high forehead, rimless glasses and is wearing a dark, crumpled suit
กุสทัฟ มาเลอร์ ในปี 1907
กุสทัฟ มาเลอร์

ประวัติ

กุสทัฟ มาเลอร์ เกิดในครอบครัวชาวยิวในเมืองคาลิชท์ แคว้นโบฮีเมีย บิดามารดาของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองจิห์ลาวาในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งมาเลอร์ได้ใช้เวลาในวัยเด็กส่วนใหญ่ที่นั่น หลังจากที่บิดามารดาของมาเลอร์ได้สังเกตเห็นความสามารถทางดนตรีของเขาตั้งแต่วัยเด็ก จึงจัดการให้เขาได้เรียนเปียโนตั้งแต่อายุหกขวบ ในปี 1875 มาเลอร์ผู้ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 15 ปี ได้รับให้เข้าศึกษาในวิทยาลัยดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ที่ซึ่งเขาได้เรียนเปียโนกับจูเลียส เอปสไตน์ สามปีต่อมา มาเลอร์ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเวียนนา ที่ซึ่งอันโตน บรูคเนอร์เป็นอาจารย์ประจำอยู่ ในระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้ทำงานเป็นครูสอนดนตรีไปด้วย และได้ลองประพันธ์เพลงเป็นครั้งแรก กับเพลงร้องที่มีชื่อว่า Das klagende Lied ซึ่งตอนหลังได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นคันตาต้า ได้ส่งเข้าประกวดแต่ประสบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ในปี 1880 มาเลอร์ได้เริ่มทำงานในตำแหน่งวาทยากร ซึ่งเป็นงานช่วงฤดูร้อนที่โรงละครแบดฮอลล์ ซึ่งในปีต่อ ๆ มาเขาได้เป็นวาทยากรในโรงอุปรากรใหญ่หลายแห่งด้วยกัน เป็นต้นว่า โรงอุปรากรเมืองลุบลานาในปี 1881 เมืองโอโลมุคในปี 1882 เมืองคาสเซลในปี 1884 กรุงปรากในปี 1885 เมืองไลพ์ซิจในปี 1886 และที่กรุงบูดาเปสต์ในปี 1888 ในปี 1887 เขาได้รับตำแหน่งเป็นวาทยกรควบคุมการบรรเลงอุปรากรชุดของริชาร์ด วากเนอร์ ที่มีชื่อว่าเดอะ ริง แทนที่อาร์ตู นิคิชที่ล้มป่วย และได้สร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนและต่อนักวิจารณ์ ในปีหลังจากที่เขาได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Die drei Pintos ที่ คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ประพันธ์ไว้ไม่จบ มาเลอร์ประสบความสำเร็จอย่างสูง อีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับเขาอย่างมาก เขาได้รับตำแหน่งงานระยะยาวตำแหน่งแรกที่โรงอุปรากรแห่งนครฮัมบวร์ค ในปี 1891 จนกระทั่งถึงปี 1897 ในช่วงเวลานั้น เขาได้ใช้เวลาในช่วงพักร้อนที่เมืองสไตน์บาค-อัม-อัทเทอร์ซีในออสเตรียตอนบน อุทิศให้แก่การประพันธ์เพลง และได้แต่งซิมโฟนีหมายเลข 1 บทเพลงส่วนใหญ่ในเพลงชุดขับร้อง และแตรวิเศษของวัยเด็ก ซึ่งเป็นการรวมเพลงที่มีชื่อเดียวกันกับบทกวีพื้นบ้าน

ดนตรี

มรดกทางดนตรี

ผลงาน

ซิมโฟนี

  • ซิมโฟนีหมายเลข 1 ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์, "Titan" ( 1884]]- 1888]])
  • ซิมโฟนีหมายเลข 2 ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์, "Resurrection" ( 1888]]- 1894]])
  • ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ ( 1895]]- 1896]])
  • ซิมโฟนีหมายเลข 4 ในบันไดเสียง จี เมเจอร์ ( 1899]]- 1901]])
  • ซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซีชาร์ป ไมเนอร์ ( 1901]]- 1902]])
    • หมายเหตุ: ถึงแม้ว่าบทเพลงนี้จะถูกกำกับด้วยบันไดเสียง ซีชาร์ป ไมเนอร์ แต่มาเลอร์เองได้เขียนไว้ในจดหมายถึงสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์โน้ตแผ่นของเขาว่า "เป็นการยากที่จะบอกว่าเพลงนี้บันไดเสียงอะไร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ควรจะยกเว้นการเขียนบันไดเสียงกำกับไว้"
  • ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง เอ ไมเนอร์, "Tragic" ( 1903]]- 1904]])
  • ซิมโฟนีหมายเลข 7 ในบันไดเสียง อี ไมเนอร์, "Song of the Night" ( 1904]]- 1905]])
  • ซิมโฟนีหมายเลข 8 ในบันไดเสียง อีแฟลต ไมเนอร์, "Symphony of a Thousand" ( 1906]])
    • หมายเหตุ: ข้อความกำกับในซิมโฟนีหมายเลข 7 และ 8 ไม่ได้เขียนโดยมาเลอร์ ซึ่งที่จริงแล้ว เขามักจะหลีกเลี่ยงการเขียนข้อความกำกับซิมโฟนีหมายเลข 8
  • ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์ ( 1909]]- 1910]])
  • ซิมโฟนีหมายเลข 10 ในบันไดเสียง เอฟ-ชาร์ป ไมเนอร์ ( 1910]]- 1911]]) แต่งไม่จบ
    • ผู้นำบทเพลงที่มาเลอร์ประพันธ์ไม่จบมาประพันธ์ต่อ:
      • Adagio and Purgatorio สำหรับการแสดง โดย Ernst Krenek ( 1924]])
      • Deryck Cooke ( 1960]], 1964]], 1976]], 1989]])
      • Joseph Wheeler ( 1948]]- 1965]])
      • Clinton Carpenter ( 1966]])
      • Remo Mazzetti, Jr. ( 1989]])
      • Rudolf Barshai ( 2000]])
      • Nicola Samale ร่วมกับ Giuseppe Mazzucca ( 2002]])
    • หมายเหตุ: วาทยากรชื่อดังหลายคนที่เล่นงานของมาเลอร์ปฏิเสธที่จะเล่นซิมโฟนีหมายเลข 10 ฉบับสมบูรณ์ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรูโน วาลเตอร์ส และ เล็นนาร์ด เบิร์นสไตน์

บทเพลงสำหรับขับร้อง

  • Das klagende Lied, ( 1880]])
  • Drei Lieder, บทเพลงสามบทสำหรับนักร้องเสียงเทนเนอร์และเปียโน ( 1880]])
  • Lieder und Gesänge aus der Jugendzeit เพลง 14 บทพร้อมกับเปียโนประกอบ ( 1880]]- 1890]])
  • Lieder eines fahrenden Gesellen (Songs of a Wayfarer) สำหรับร้องประกอบเปียโน หรือวงดุริยางค์ ( 1883]]- 1885]])
  • Lieder aus "Des Knaben Wunderhorn" (แตรวิเศษของวัยเด็ก) สำหรับเสียงร้องและวงดุริยางค์ ( 1888]]- 1896]], อีกสองบทแต่งในปี 1899]] และ 1901]])
  • Rückert Lieder สำหรับร้องประกอบเปียโน หรือวงดุริยางค์ ( 1901]]- 1902]])
  • Kindertotenlieder (เพลงสำหรับการตายของเด็ก) สำหรับนักร้องและวงดุริยางค์ ( 1901]]- 1904]])
  • Das Lied von der Erde (The Song of the Earth) สำหรับนักร้องและวงดุริยางค์ ( 1907]]- 1909]])
    • หมายเหตุ : ผลงานนี้จัดได้เป็นทั้งประเภทซิมโฟนี และเพลงชุดขับร้อง มาเลอร์หลีกเลี่ยงที่จะตั้งชื่อเพลงนี้ว่าซิมโฟนีหมายเลข 9 ด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ และความกลัวอาถรรพ์หมายเลข 9

อ้างอิง

  • Machlis, J. and Forney, K. (1999). The Enjoyment of Music: An Introduction to Perceptive Listening (Chronological Version) (8th ed.). New York: Norton. ISBN 0-393-97299-2.
  • Sadie, S. (Ed.). (1988). The Grove Concise Dictionary of Music. London: Oxford University Press. ISBN 0-333-43236-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

กุสทัฟ มาเลอร์ ประวัติกุสทัฟ มาเลอร์ ดนตรีกุสทัฟ มาเลอร์ มรดกทางดนตรีกุสทัฟ มาเลอร์ ผลงานกุสทัฟ มาเลอร์ อ้างอิงกุสทัฟ มาเลอร์ แหล่งข้อมูลอื่นกุสทัฟ มาเลอร์คีตกวีซิมโฟนีภาษาเยอรมันวาทยกรออสเตรียโบฮีเมีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ที-อาราประเทศนิวซีแลนด์เจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรเมืองพัทยาธนพล จารุจิตรานนท์การรถไฟแห่งประเทศไทยประเทศเกาหลีเหนือสงกรานต์ในประเทศไทยปภาวดี ชาญสมอนลือชัย งามสมมุกดา นรินทร์รักษ์โรงเรียนบรรจงรัตน์ทวารวดีรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยบริษัทมหาวิทยาลัยกรุงเทพประเทศอิตาลีกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจังหวัดสุรินทร์ศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามประเทศมองโกเลียธีรศิลป์ แดงดาวิดีโอสถานีกลางบางซื่อเดือนบาปเจ็ดประการธีรเดช เมธาวรายุทธอารยา เอ ฮาร์เก็ตจังหวัดจันทบุรียูฟ่าแชมเปียนส์ลีกกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีFace Off แฝดคนละฝาโรงพยาบาลในประเทศไทยเศรษฐศาสตร์ประเทศเกาหลีศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาประเทศเนเธอร์แลนด์ทวีปอเมริกาใต้สายัณห์ สัญญาวรกมล ชาเตอร์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงชาคริต แย้มนามนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามยิ่งลักษณ์ ชินวัตรทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กน้ำอสุจิรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)เอเลียส ดอเลาะสุลักษณ์ ศิวรักษ์จริยา แอนโฟเน่รายชื่อประธานาธิบดีสหรัฐสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)จังหวัดนครราชสีมาภาคกลาง (ประเทศไทย)ภาษาอังกฤษศาสนาอิสลามราชินีแห่งน้ำตาจังหวัดระยองสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์เฟซบุ๊กธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ณเดชน์ คูกิมิยะการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนสงครามเย็นบุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่โยอาโซบิธิษะณา ชุณหะวัณราชกิจจานุเบกษาเพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3)มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์🡆 More