การแข่งขันอวกาศ

การแข่งขันอวกาศ เป็นการแข่งขันระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตเพื่อบรรลุความก้าวหน้าด้านการสำรวจอวกาศในช่วงสงครามเย็น การแข่งขันนี้มีที่มาจากการพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์ของทั้งสองชาติหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงเป็นการโฆษณาถึงอุดมการณ์ที่แตกต่างกันของสองประเทศ การแข่งขันอวกาศนำไปสู่การคิดค้นดาวเทียม ยานสำรวจอวกาศ และการบินอวกาศของมนุษย์ในวงโคจรต่ำของโลกและดวงจันทร์

การแข่งขันอวกาศ
ดาวเทียมสปุตนิก 1 (ในภาพเป็นแบบจำลอง) ซึ่งสหภาพโซเวียตส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 1957
การแข่งขันอวกาศ
นีล อาร์มสตรอง (ในภาพ) เป็นมนุษย์คนแรกที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ในปี 1969
การแข่งขันอวกาศ
ทอมัส พี. สแตฟฟอร์ด นักบินอวกาศชาวอเมริกันจับมือกับอะเลคเซย์ เลโอนอฟ นักบินอวกาศชาวโซเวียต/รัสเซียในอวกาศ ระหว่างโครงการทดสอบอะพอลโล–โซยุซ ปี 1975

การแข่งขันอวกาศเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1955 เมื่อสหภาพโซเวียตตอบรับคำประกาศสหรัฐที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศให้ทันภายในปีแห่งธรณีฟิสิกส์สากล (1957–1958) และสหภาพโซเวียตประกาศจะส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศเช่นกัน ปี 1957 สหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 ขึ้นไปโคจรในอวกาศ ตามด้วยการส่งยูรี กาการิน ขึ้นไปเป็นมนุษย์คนแรกในอวกาศในปี 1961 และวาเลนตีนา เตเรชโควา สตรีคนแรกในอวกาศในปี 1963 ขณะที่หลักฐานฝ่ายสหรัฐระบุว่าการแข่งขันอวกาศมาถึงจุดสูงสุดในวันที่ 20 กรกฎาคม 1969 เมื่ออะพอลโล 11 ลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อมีการผ่อนคลายความตึงเครียด สหรัฐและสหภาพโซเวียตจึงร่วมมือกันในโครงการทดสอบอะพอลโล–โซยุซในปี 1975 ซึ่งบางแหล่งถือว่าโครงการนี้เป็นจุดสิ้นสุดของการแข่งขันอวกาศ

การแข่งขันอวกาศนำมาซึ่งเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก เช่น กายอุปกรณ์ เลสิก เซลล์แสงอาทิตย์ การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มีกล้องถ่ายรูป และแล็ปท็อป เป็นต้น

อ้างอิง

This article uses material from the Wikipedia ไทย article การแข่งขันอวกาศ, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

ความมั่นคงแห่งชาติดวงจันทร์ดาวเทียมยานสำรวจอวกาศวงโคจรต่ำของโลกสงครามเย็นสงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตสหรัฐ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2021สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังโรนัลโดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566รายชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยประเทศออสเตรเลียไทยลีก 2วรนุช ภิรมย์ภักดีวาทกรรมฟุตบอลโลก 2022ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดตี๋ลี่เร่อปามิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์อีลอน มัสก์พรรคเปลี่ยนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562ช่องวันจังหวัดชัยภูมิจังหวัดสุรินทร์แปลก พิบูลสงครามดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ชาติชาย ชุณหะวัณพฤษภาทมิฬทุเรียนโพแทสเซียมไซยาไนด์ธิติ มหาโยธารักษ์สฤษดิ์ ธนะรัชต์ธนินท์ เจียรวนนท์พัชราภา ไชยเชื้อเมษายนติ๊กต็อกสารหนูพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)อริยสัจ 4ลิซ่า (แร็ปเปอร์)ไทยรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยจังหวัดตากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนิวรณ์จังหวัดน่านในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยคริส โปตระนันทน์จังหวัดสุราษฎร์ธานีวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรเอเชีย 2023สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)นางงามจักรวาลรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)วรันธร เปานิลขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)พ.ศ. 2566สุรยุทธ์ จุลานนท์การ์ลัส ปุดจ์ดาโมนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลพรรคชาติไทยพัฒนารายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวันแอร์เบ ไลพ์ซิชพิมพ์จิรา เจริญลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรีอักษรไทยปรีดี พนมยงค์แซมมี่ เคาวเวลล์พรรคเพื่อไทยเมลดา สุศรีอนิสา นูกราฮาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาสถานีกลางบางซื่ออุดม ทรงแสงการเลือกตั้งในประเทศไทยสุเทพ เทือกสุบรรณ🡆 More