การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565

การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ.

2565 เป็นการประท้วงต่อเนื่องของกลุ่มผู้ประท้วงที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไปและพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีโคฐาภยะ ราชปักษะ สาเหตุมาจากความเชื่อที่ว่า [ตระกูล] ราชปักษะไม่ได้ทำงานที่ดีในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกาซึ่งทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจด้วยอัตราเงินเฟ้อรุนแรง ไฟฟ้าดับทุกวันนานถึง 10–13 ชั่วโมง การขาดแคลนเชื้อเพลิง และสิ่งอุปโภคจำเป็นมากมาย ผู้ประท้วงหลายคนต้องการให้คณะรัฐมนตรีที่ดำเนินการโดยตระกูลราชปักษะลาออก และเลือกตั้งคณะผู้ปกครองจากระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมชุดใหม่

การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตเศรษฐกิจศรีลังกา
การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565
ชาวศรีลังกาประท้วงหน้าสำนักเลขาธิการประธานาธิบดีที่เมืองโคลัมโบ 13 เมษายน พ.ศ. 2565
วันที่15 มีนาคม พ.ศ. 2565 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
(7 เดือน 4 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่ประเทศศรีลังกา
สาเหตุ
  • คณะรัฐมนตรีบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ถึงปัจจุบัน
  • ขาดแคลนเชื้อเพลิงและสิ่งของจำเป็น และไฟฟ้าดับ
  • เงินเฟ้อสูง และค่าครองชีพเพิ่มขึ้นรวดเร็ว
  • การทุจริตและความเห็นแก่ญาติของตระกูลราชปักษะ
เป้าหมาย
  • โคฐาภยะ ราชปักษะ และผู้บริหารจากตระกูลราชปักษะ ลาออก
  • ร่างรัฐธรรมนูญใหม่
วิธีการการเรียกร้องทางการเมือง, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, การจลาจล, การหยุดงาน, การประท้วง
สถานะยังดำเนินอยู่
  • ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ห้ามออกนอกเคหสถานทั่วประเทศ
  • จำกัดการเข้าถึงสื่อสังคม
  • คณะรัฐมนตรีโคฐาภยะคณะที่สองลาออก
  • อชิต นิวาฑ กพราล ลาออก และนันทลาล วีรสิงหะ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลาง
  • สมาชิกรัฐสภา 41 คนของรัฐบาลกลายเป็นฝ่ายอิสระในรัฐสภา
  • ผู้ประท้วงถูกผู้สนับสนุนราชปักษะโจมตีต่อเนื่อง ผู้ประท้วงจึงตอบโต้ด้วยการโจมตีทรัพย์สินของผู้ภักดีต่อราชปักษะและสมาชิกรัฐสภาคนอื่น ๆ
  • มหินทะ ราชปักษะ ลาออก
  • ห้ามออกนอกเคหสถานทั่วเกาะตั้งแต่ 9–11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ต่อมาขยายถึง 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 และให้ทหารเข้าประจำหน้าที่
  • แต่งตั้งรนิล วิกรมสิงหะ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • เบซิล ราชปักษะ สมาชิกรัฐสภา ลาออก
  • ผู้ประท้วงบุกที่พำนักประธานาธิบดีและเทมเพิลทรีส์ ที่พำนักนายกรัฐมนตรี
  • รนิล วิกรมสิงหะ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนต
  • โคฐาภยะ ราชปักษะ ลี้ภัยไปมัลดีฟส์
  • รนิล วิกรมสิงหะ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีรักษาการ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  • โคฐาภยะ ราชปักษะ ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม พ.ศ. 2565 และลี้ภัยไปประเทศสิงคโปร์
คู่ขัดแย้ง

ผู้ประท้วงและองค์การฝ่ายค้าน:

  • ผู้ประท้วงจำนวนมากซึ่งเป็นกลางทางการเมืองและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
  • นักศึกษา
  • ผู้ประกอบอาชีพหลายอย่าง รวมทั้งคนขับรถโดยสารส่วนตัว ชาวประมง พนักงานโรงพยาบาล ฯลฯ
  • นักบวชในศาสนาพุทธ คริสต์ มุสลิม และฮินดู
  • ทหารผ่านศึก รวมถึงบรรดาที่เป็นผู้พิการ
  • ชาวศรีลังกาพลัดถิ่นส่วนใหญ่อยู่ในออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และสหรัฐ
  • กลุ่มพรรคการเมือง
    • การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 สมคิชนพลเวคยะ
    • พันธมิตรแห่งชาติทมิฬ
    • การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 พลังประชาชาติ
    • การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 ชนตาวิมุกติเปรมุณะ
    • การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 พรรคสังคมนิยมแนวหน้า

การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 รัฐบาลศรีลังกา

  • การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 ตำรวจศรีลังกา
  • การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 กองทัพบกศรีลังกา
  • การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 ศรีลังกาโปทุชนเปรมุณะ
    • ผู้ฝักใฝ่ราชปักษะสุดโต่ง
  • พรรคสหชาติ
  • การประท้วงในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2565 พรรคประชาธิปไตยประชาชนอีแลม
  • พีเอ็มซีล้ำยุค
ผู้นำ
ส่วนใหญ่ไม่มีผู้นำอย่างเป็นระบบระเบียบและเป็นศูนย์กลาง
ความสูญเสีย
ผู้ประท้วงเสียชีวิต 10 คน,
บาดเจ็บมากกว่า 250 คน
ถูกจับมากกว่า 600 คน
อมรกีรติ อตุโกรละ (สมาชิกรัฐสภา)
และผู้อารักขาเสียชีวิต
สรัต กุมาระ เสียชีวิต
ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย
บาดเจ็บ 24 คน
ถูกจับมากกว่า 10 คน

ผู้ประท้วงมักตะโกนคำยอดนิยมของการเรียกร้อง เช่น "กลับบ้านซะโคฐา", "กลับบ้านซะราชปักษะ" และ "โคฐาปิสเส็ก" (โคฐาสติวิปลาส)

การประท้วงส่วนใหญ่เป็นการแสดงโดยประชาชนทั่วไป รวมทั้งครู นักเรียน แพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที เกษตรกร ทนายความ นักเคลื่อนไหวทางสังคม นักกีฬา วิศวกร และเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนาย

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ประธานาธิบดีโคฐาภยะ ราชปักษะ และนายกรัฐมนตรีรนิล วิกรมสิงหะ ประกาศลาออกหลังจากผู้ประท้วงบุกโจมตีบ้านในโคลัมโบ อย่างไรก็ตาม ราชปักษะสัญญาว่าจะลาออกในวันที่ 13 กรกฎาคม แต่กลับลี้ภัยออกจากประเทศไปยังมัลดีฟส์และต่อมาไปยังประเทศสิงคโปร์ ราชปักษาลาออกจากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเวลาต่อมา โดยลาออกเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม พ.ศ. 2565วันที่ 11 สิงหาคม เขาเดินทางมาถึงประเทศไทย

หมายเหตุ

อ้างอิง

Tags:

ภาวะเงินเฟ้อโคฐาภยะ ราชปักษะ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ณัฐธิชา นามวงษ์แอทลาสอาแอ็ส แซ็งเตเตียนพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระคเณศฉัตรชัย เปล่งพานิชสโมสรฟุตบอลอัลฮิลาลจังหวัดตากรายพระนามพระพุทธเจ้าสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดญาณี จงวิสุทธิ์สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)นกกะรางหัวขวานอริยบุคคลมหัพภาคHจังหวัดภูเก็ตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสหภาพโซเวียตพฤษภาคมลูซิเฟอร์ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาลอีเอฟแอลแชมเปียนชิปจนกว่าจะได้รักกันพระพุทธชินราชรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยFBลาลิการายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยจิรายุ ตั้งศรีสุขรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินสล็อตแมชชีนจำนวนเฉพาะจังหวัดพะเยาช้อปปี้จูด เบลลิงงัมสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีโหราศาสตร์ไทยประเทศนิวซีแลนด์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีอนิเมะการฆ่าตัวตายทุเรียนประเทศอิหร่านเมลดา สุศรีสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งกองทัพ พีคทิพนารี วีรวัฒโนดมหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลเกศริน ชัยเฉลิมพลยศทหารและตำรวจไทยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเกาะกูดประวัติศาสนาพุทธการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีอำเภอพระประแดงองศาเซลเซียสลิซ่า (แร็ปเปอร์)จังหวัดนครปฐมแผนที่สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลบริษัทไพรวัลย์ วรรณบุตรจังหวัดหนองบัวลำภู23 เมษายนช่องวัน 31กองอาสารักษาดินแดนจังหวัดจันทบุรีภาคกลาง (ประเทศไทย)ธงประจำพระองค์อินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนวัลลภ เจียรวนนท์มหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)🡆 More