การปฏิวัติเขียว

การปฏิวัติเขียว หรือ การปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งที่สาม เป็นชุดการริเริ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างค.ศ.

1950 ถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ส่งผลให้หลายพื้นที่ในโลกมีผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งปรากฏชัดช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 การปฏิวัติเขียวนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น ธัญพืชพันธุ์ให้ผลผลิตสูง (high-yielding varieties, HYVs) โดยเฉพาะข้าวสาลีพันธุ์แคระและข้าว ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีทางการเกษตรและการใช้น้ำอย่างควบคุม (มักเกี่ยวข้องกับชลประทาน) และวิธีเพาะปลูกแบบใหม่ที่ใช้เครื่องจักร องค์ประกอบสำคัญของการปฏิวัติเขียวได้แก่ การใช้เทคโนโลยีล่าสุด, การใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของการเพาะปลูก, การใช้เมล็ดพันธุ์ให้ผลผลิตสูง, การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสม และการจัดรูปที่ดิน คำว่า "การปฏิวัติเขียว" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยวิลเลียม เอส. กอด ผู้บริหารหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐในค.ศ. 1968

การปฏิวัติเขียว
เทคโนโลยีการเกษตรหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์, ปุ๋ย และพืชผลพันธุ์ให้ผลผลิตสูง ทำให้การผลิตอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมากในเขตซีกโลกใต้ (Global South)

มูลนิธิฟอร์ดและมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาการปฏิวัติเขียวช่วงแรกในประเทศเม็กซิโก หนึ่งในผู้นำการปฏิวัติเขียวคนสำคัญคือ นอร์แมน บอร์ล็อก นักวิชาการเกษตรชาวอเมริกันผู้ได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งการปฏิวัติเขียว" และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำค.ศ. 1970 บอร์ล็อกได้รับการยกย่องว่าช่วยเหลือผู้คนกว่าพันล้านคนให้รอดพ้นจากความอดอยาก โดยการพัฒนาธัญพืชพันธุ์ให้ผลผลิตสูง, การขยายโครงสร้างพื้นฐานทางชลประทาน, การปรับเทคนิคการจัดการให้เป็นสมัยใหม่ และการกระจายเมล็ดพันธุ์ผสม ปุ๋ยสังเคราะห์และสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์สู่เกษตรกร การปฏิวัติเขียวได้รับการตอบรับแบบผสม บอร์ล็อกโทษว่าความล้มเหลวเกิดจากการเมือง ทั้งนี้เมื่อการพัฒนาพันธุ์ธัญพืชใหม่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาถึงขีดจำกัด นักวิชาการเกษตรบางส่วนจึงหันมาใช้การสร้างสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่พบในธรรมชาติเรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organism, GMO) บางครั้งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การปฏิวัติยีน (Gene Revolution)

อ้างอิง

Tags:

ข้าวข้าวสาลีชลประทานปุ๋ยหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

บางกอกอารีนาซิตี้ฮันเตอร์สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งลองของสุภาพบุรุษชาวดินศาสนาอิสลามพัชราภา ไชยเชื้อมิถุนายนเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดสงขลาจักรพรรดิยงเจิ้งจังหวัดจันทบุรีเหี้ยพระศิวะฟุตซอลโลก 2016อาณาจักรอยุธยาวัลลภ เจียรวนนท์เกาะเสม็ดกระทรวงในประเทศไทยรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยกองอาสารักษาดินแดนดาร์วิน นุญเญซบรูนู ฟือร์นังดึชมหาวิทยาลัยนเรศวรIเดนิส เจลีลชา คัปปุนนิวจีนส์ประเทศเนเธอร์แลนด์รางวัลนาฏราชเซเรียอาแอน ทองประสมสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดประเทศญี่ปุ่นแมนสรวงรามาวดี นาคฉัตรีย์ข้อมูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพศรัณยู ประชากริชไฮบ์คอร์ปอเรชันดาวิกา โฮร์เน่เฟซบุ๊กประเทศตุรกีจิราพร สินธุไพรประเทศบังกลาเทศสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยมหาวิทยาลัยศรีปทุมอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)เลือดมังกรพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567วันพีซภาคตะวันตก (ประเทศไทย)พิจิกา จิตตะปุตตะมหาเวทย์ผนึกมารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีต่อศักดิ์ สุขวิมลจ๊ะ นงผณีภักดีหาญส์ หิมะทองคำสมาคมกีฬาโรมาวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์จังหวัดสระแก้วบอดี้สแลมรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กณฐพร เตมีรักษ์หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีกูเกิลปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรวัดพระศรีรัตนศาสดารามดวงอาทิตย์ป๊อกเด้ง🡆 More