กโนม

โครงการ GNOME เป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยมีเป้าหมายคือสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาได้ง่าย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป (desktop environment - ซอฟต์แวร์ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์อื่น ทำหน้าที่จัดการกับไฟล์และระบบหน้าต่าง)

The GNOME Project
นักพัฒนาThe GNOME Project
รุ่นเสถียร
3.32.1  (10 เมษายน 2019; 4 ปีก่อน (2019-04-10))
ที่เก็บข้อมูล
ระบบปฏิบัติการหลายระบบปฏิบัติการ
ประเภทDesktop environment
สัญญาอนุญาตGPL และ LGPL
เว็บไซต์gnome.org

มีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นใต้โครงการ GNOME ซึ่งมักจะถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น ลินุกซ์ หรือ โซลาริส เป็นต้น

GNOME เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GNU และเป็นสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อปหลักของ GNU ด้วย GNOME

ประวัติ

โครงการ GNOME เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 โดย Miguel de Icaza และ Federico Mena เพื่อเป็นทางเลือกของระบบเดสก์ท็อป KDE เนื่องจากว่าโครงการ KDE ในขณะนั้นได้พัฒนาบน widget toolkit ชื่อ Qt ซึ่งขณะนั้นไม่ได้เป็นซอฟต์แวร์เสรี

GNOME เลือกใช้ widget toolkit ชื่อ GTK+ ซึ่งใช้สัญญาอนุญาตแบบ GNU Lesser Public License (LGPL) ดังนั้น GNOME จึงมีสัญญาอนุญาตใช้งาน 2 แบบคือ LGPL สำหรับไลบรารีต่างๆ และ GPL สำหรับระดับแอปพลิเคชัน

เดิมที GNOME ย่อมาจาก 'ภูติแคระ' ซึ่ง Elliot Lee ผู้คิดชื่อนี้ต้องการให้ GNOME มีลักษณะเป็นเฟรมเวิร์คแบบ distributed object เช่นเดียวกับ OLE ของไมโครซอฟท์ ปัจจุบันโครงสร้างของ GNOME ไม่ได้ใช้แนวคิดนี้แล้ว ชื่อเต็มของโครงการจึงถูกเลิกใช้ไป สมาชิกบางคนของโครงการได้เปลี่ยนวิธีเขียนชื่อจาก GNOME มาเป็น Gnome แทน

โครงสร้าง

GNOME ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่

  • GNOME desktop environment - ระบบเดสก์ท็อปที่มุ่งเน้นผู้ใช้ทั่วไป
  • GNOME development platform - เฟรมเวิร์คในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้งานบนระบบเดสก์ท็อป

เป้าหมายของโครงการ GNOME คือสร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้อย่างเสรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ สนับสนุนการใช้งานของผู้ด้อยความสามารถ และสนับสนุนภาษาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ทางด้านการจัดการโครงการนั้น มีการตั้งมูลนิธิ GNOME ขึ้นมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1998 เพื่อทำงานบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ ทางมูลนิธิจะเปิดรับสมัครคณะกรรมการใหม่เป็นประจำทุกปีในเดือนพฤศจิกายน

นักพัฒนาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ GNOME จะจัดงานประชุมขึ้นปีละครั้งชื่อว่า GUADEC เพื่อพูดคุยหาทิศทางการพัฒนา GNOME ในอนาคต

แพลตฟอร์ม

จากเดิมที่ตั้งใจให้ทำงานได้กับ GNU ปัจจุบัน GNOME สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ได้เกือบทุกชนิด และถูกนำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนา Java Desktop System ซึ่งเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ตัวใหม่ของระบบปฏิบัติการโซลาริสแทนระบบ Common Desktop Environment นอกจากนี้ GNOME ยังถูกเลือกให้เป็นระบบเดสก์ท็อปหลักของลินุกซ์หลายยี่ห้อ เช่น Fedora และ Ubuntu รายชื่อของลินุกซ์ที่ใช้ GNOME สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของ GNOME

GNOME ยังมีในแบบ LiveCD ซึ่งนำไปใช้บนคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องติดตั้ง มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้หน้าใหม่ได้สัมผัสกับ GNOME และทำความคุ้นเคยก่อนติดตั้งใช้งานจริง

ส่วนประกอบทั้งหมดของ GNOME สามารถทำงานได้บน Cygwin ซึ่งช่วยให้โปรแกรมของ GNOME ทำงานบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้

แอปพลิเคชัน

โปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาใช้กับโครงการ GNOME

รวมเป็นส่วนหนึ่งของ GNOME

โปรแกรมกลุ่มนี้จะออกพร้อมกับ GNOME desktop

  • Cheese - โปรแกรมจับภาพจากกล้องวิดีโอ
  • Ekiga – โปรแกรมโทรศัพท์และประชุมทางไกลบน voice over IP
  • Epiphanyโปรแกรมค้นดูเว็บ
  • Evince – โปรแกรมดูเอกสาร PDF และ PostScript
  • Evolution – โปรแกรมอีเมลและกรุ๊ปแวร์
  • Eye of GNOME – โปรแกรมดูรูปอย่างง่าย
  • File Roller – โปรแกรมบีบอัดข้อมูล
  • geditโปรแกรมแก้ไขข้อความ
  • gnome-dictionary – พจนานุกรมที่ใช้โพรโทคอล DICT
  • gnome-panel – พาเนลในการเรียกและแสดงโปรแกรมอื่นๆ
  • GNOME Terminal – ตัวจำลองเทอร์มินัล
  • Metacity – window manager
  • Nautilus – โปรแกรมจัดการแฟ้ม (file manager)
  • Sound Juicer – เครื่องมือดึงเพลงจากซีดี
  • Tomboy – โปรแกรมโน้ตย่อ
  • Totem – ตัวเล่นมัลติมีเดีย

ไม่ได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของ GNOME

โปรแกรมเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานของ GNOME และมักจะถูกใช้คู่กับ GNOME เช่นกัน

  • AbiWord – เวิร์ดโพรเซสเซอร์
  • Banshee – โปรแกรมจัดการและเล่นเพลง
  • F-Spot – โปรแกรมจัดการภาพถ่าย
  • Gaim – an instant messaging client.
  • The GIMP – โปรแกรมตกแต่งภาพ
  • GnomeBaker – โปรแกรมเขียนซีดี/ดีวีดี
  • Gnumeric – สเปรดชีต
  • GnuCash – โปรแกรมทำรายรับรายจ่าย
  • Inkscape – โปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์
  • Rhythmbox – โปรแกรมจัดการและเล่นเพลงแบบเดียวกับ iTunes

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

กโนม ประวัติกโนม โครงสร้างกโนม แพลตฟอร์มกโนม แอปพลิเคชันกโนม อ้างอิงกโนม แหล่งข้อมูลอื่นกโนมซอฟต์แวร์เสรีสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ไอยูรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สสงครามยุทธหัตถีกรงกรรมเครยอนชินจังหมามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี18เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีจรินทร์พร จุนเกียรติเกาะกูดพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประวัติศาสตร์ไทยประวัติศาสนาคริสต์พชร จิราธิวัฒน์มณี สิริวรสารสราลี ประสิทธิ์ดำรงพิธา ลิ้มเจริญรัตน์เดือนเมียวดีวันมูหะมัดนอร์ มะทาหมากรุกไทยโลก (ดาวเคราะห์)อาณาจักรสุโขทัยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ป๊อกเด้งโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)นริลญา กุลมงคลเพชรวัชรเรศร วิวัชรวงศ์อีเอฟแอลแชมเปียนชิปจิราพร สินธุไพรสมณศักดิ์จังหวัดสงขลาลองของจังหวัดสุราษฎร์ธานีกัญญาวีร์ สองเมืองสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจังหวัดบุรีรัมย์เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี (พระราชมนู)ฟุตซอลโลก 2024พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดตากรหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศเกศริน ชัยเฉลิมพลสถิตย์พงษ์ สุขวิมลทวีปยุโรปเทพมรณะเซเว่น อีเลฟเว่นอาลิง โฮลันทวีปเอเชียงูเขียวพระอินทร์กรมสรรพากรประยุทธ์ จันทร์โอชานารีริษยาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาประเทศกาตาร์จังหวัดนครพนมพรหมลิขิตฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยงูกะปะการบินไทยฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024ประเทศฝรั่งเศสสโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์รัฐฉานพระสุริโยทัยรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้รางวัลนาฏราชมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพระเจ้านันทบุเรงเรวัช กลิ่นเกษรดูไบพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชาอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชตัวเลขโรมัน🡆 More