สมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย 26–27 ตุลาคม 2563

ระหว่างวันที่ 26–27 ตุลาคม 2563 สภาผู้แทนราษฎรไทยเปิดสมัยประชุมวิสามัญเนื่องจากสถานการณ์การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ.

2563">การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ตามมติของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นสมัยประชุมที่ไม่มีการออกเสียงลงมติ มีกำหนดระยะเวลา 25 ชั่วโมง แต่ฝ่ายค้านมองว่าเป็นความพยายามฟอกขาวรัฐบาล และป้ายสีผู้ชุมนุม

ในที่ประชุมได้ข้อเสนอ 2 เรื่อง คือ การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญและการตั้งคณะกรรมการหลายฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาการเมือง ซึ่งประยุทธ์ จันทร์โอชาก็เห็นด้วย

ก่อนสมัยประชุม

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2563 เผยแพร่วันที่ 21 ตุลาคม 2563 โดยระบุเหตุผลว่าต้องการทราบความเห็นของสมาชิกรัฐสภา 3 เรื่อง ได้แก่

  1. ความเสี่ยงของการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง
  2. เหตุขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลกในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร
  3. การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 และความกังวลสถานการณ์บานปลายเป็นการจลาจล ญัตติทั้งสามข้อไม่มีข้อใดตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม อันได้แก่ นายกรัฐมนตรีลาออก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีไปตรงกับข้อเรียกร้องของพรรคก้าวไกลบ้างตรงที่ต้องการอภิปรายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ

ในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 พรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงว่าญัตติของคณะรัฐมนตรีเป็นการใส่ร้ายผู้ชุมนุม ต้องการใช้เวทีรัฐสภาฟอกขาวให้รัฐบาล และไม่ใช่ทางออกของปัญหา พรรคก้าวไกลเตรียมเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อบกพร่องการกำหนดเส้นทางเสด็จฯ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ด้านพรรคเพื่อไทยระบุว่าเตรียมผู้อภิปรายไว้ 20 คนเกี่ยวกับการประท้วง แต่เห็นว่าไม่ควรอภิปรายเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่ประชุม และให้ขึ้นอยู่กับประธานวิปรัฐบาล ส่วนพรรคพลังประชารัฐจัดตัวผู้อภิปรายไว้ 5 คน ได้แก่ วิรัช รัตนเศรษฐ, ไพบูลย์ นิติตะวัน, ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์, ปารีณา ไกรคุปต์ และสิระ เจนจาคะ โดยส่วนใหญ่จะอภิปรายในเรื่องเหตุการณ์ขบวนเสด็จฯ

สมัยประชุมดังกล่าวจัดเวลาอภิปรายไว้ 25 ชั่วโมง แบ่งเป็น ส.ส.ฝ่ายค้าน 8 ชั่วโมง, ส.ส.รัฐบาล 5 ชั่วโมง, คณะรัฐมนตรี 5 ชั่วโมง และสมาชิกวุฒิสภา 5 ชั่วโมง และชวน หลีกภัยในฐานะประธานรัฐสภา 2 ชั่วโมง กลุ่มประชาชนปลดแอกมองว่าการประชุมดังกล่าวเวลาส่วนใหญ่เป็นของฝั่งรัฐบาล และขอให้ประชาชนร่วมกันจับตาว่ารัฐบาลจะใช้วิธีฟอกขาวตนเองอย่างไร และเชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น ผู้คุมเสียงในสภาฝ่ายรัฐบาลเชื่อว่าสมาชิกรัฐสภามีวุฒิภาวะมากพอไม่อภิปรายถึงประเด็นอ่อนไหว คือ เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และกล่าวว่า หากสมาชิกคนใดอภิปรายจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากเอกสิทธิ์ตามกฎหมาย

ตำรวจเตรียมรถคุมขังและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงดูแลความปลอดภัยโดยรอบที่ประชุม

กลุ่มผู้ชุมนุมศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (ศปปส.) ชุมนุมข้ามคืนวันที่ 25–26 ตุลาคม 2563 รอบสัปปายะสภาสถาน เพื่อเตรียมยื่นคัดค้านการตั้งคณะกรรมาธิการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีสุวิทย์ ทองประเสริฐ (อดีตพระพุทธะอิสระ) เข้าร่วมด้วย โดยพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง​ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​อำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มดังกล่าวโดยจัดหารถสุขาและรถขยะให้

การประชุม

ในวันที่ 26 ตุลาคม มีสมาชิกรัฐสภา 450 คนจาก 731 คนลงชื่อเข้าประชุม ในครึ่งเช้า พรรคร่วมรัฐบาลเสนอให้คณะกรรมการสมานฉันท์ซึ่งประกอบขึ้นจากผู้แทนทุกฝ่าย และให้รัฐบาลกำหนดขอบเขตระยะเวลาการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน ส่วนพรรคร่วมฝ่ายค้านยืนยันว่าให้นายกรัฐมนตรีลาออก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา​ อภิปรายว่า รัฐบาลต้องจัดการกับการชุมนุมตามกฎหมาย ต้องรักษาสิทธิของคนไทยทุกคน และฝากถึงผู้ประท้วงว่าประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนาน แม้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แต่คนไทย "หลายสิบล้านคน" ไม่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงที่วุ่นวาย ด้านตัวแทนพรรคก้าวไกล อภิปรายว่า การชุมนุมของผู้ประท้วงไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และกล่าวว่าการอารักขาขบวนเสด็จฯ เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่โยนความผิดให้ผู้ชุมนุม ด้านไพบูลย์ นิติตะวัน​ในฐานะ ส.ส. พรรครัฐบาล อภิปรายโจมตีขบวนการผู้ชุมนุมว่ามีจุดประสงค์แอบแฝงเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบสาธารณรัฐ และข้อเรียกร้องสามข้อของผู้ประท้วงนั้นมีจุดประสงค์ขั้นสุดท้ายเพื่อการนี้เพียงข้อเดียว

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ เครืองาม ชี้แจงว่า จะมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม โดยจะมีการเตรียมเสนอร่างพระราชบัญญัติประชามติในสัปดาห์หน้า และอาจมีความเป็นไปได้ที่ประยุทธ์ลาออกและนายกรัฐมนตรีคนใหม่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกรัฐสภาจำนวนกึ่งหนึ่ง คือ 366 เสียง โดยใช้บุคคลในบัญชีผู้เสนอเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562

พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย​ เดินออกจากที่ประชุมหลังไม่ยอมถอนคำพูด "ไอเฮียร์ทู" (I hear too) ซึ่งประธานรัฐสภา ชวน หลีกภัย ระบุว่าเป็นการเสียดสีนายกรัฐมนตรี สื่อแพร่ภาพประยุทธ์ถ่ายภาพ ส.ส. พรรคก้าวไกลคนหนึ่งขณะอภิปรายด้วย

วันที่ 27 ตุลาคม มีข่าว วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย​ กรีดร่างกายตนเองเพื่อประท้วงนายกรัฐมนตรี ก่อนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ด้านสิระ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐออกความเห็นว่า "สมน้ำหน้า" ปารีณา ไกรคุปต์​ เรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ส่วนประยุทธ์กล่าวว่าได้รับข่าวว่ามีการเตรียมการล่วงหน้า ขณะที่ ส.ว. หลายคนอภิปรายสนับสนุนประยุทธ์

ส.ส. พรรคพลังประชารัฐยังอภิปรายโจมตีผู้ประท้วงต่อไปโดยกล่าวหาว่ามีผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการนักศึกษา จากกรณีการชุมนุมหน้าสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยในวันที่ 26 ตุลาคม มีการ "ชักศึกเข้าบ้าน" ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า "ปราศรัย 1 ชั่วโมง โจมตีรัฐบาล 10 นาที อีก 50 นาทีโจมตีสิ่งที่อยู่เหนือกว่ารัฐบาล... มีการกล่าวหาว่ารัฐบาลเป็นหมา บอกถ้าหมาข้างบ้านเห่า เขาจะไม่ไปพูดกับหมา ไม่ทะเลาะกับหมา เขาจะทะเลาะกับเจ้าของหมา" พร้อมกับเสนอให้ทวงคืน "อธิปไตย" ของไทยบนสื่อสังคม

ปฏิกิริยา

ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ว่าตนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และตั้งคณะกรรมการหาทางออก แต่จะไม่ลาออก

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ให้สัมภาษณ์หลังจบการประชุมว่า การประชุมนี้ไม่เสียเปล่าเพราะได้ข้อสรุปคือจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ และมีการตั้งคณะกรรมการทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาการเมือง แต่กรอบเวลาจะขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภา ส่วน รศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล เห็นว่า การประชุมนี้มีแนวทางอภิปรายเพียง 2 เรื่อง คือ พยายามกล่าวหานักศึกษาว่ามีเบื้องหลัง และขัดขวางข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และกังวลว่าหากประชาชนไม่เชื่อมั่นในกระบวนการรัฐสภาก็จะกลับสู่วังวนการประท้วงบนถนนอีก

อ้างอิง

Tags:

สมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย 26–27 ตุลาคม 2563 ก่อนสมัยประชุมสมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย 26–27 ตุลาคม 2563 การประชุมสมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย 26–27 ตุลาคม 2563 ปฏิกิริยาสมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย 26–27 ตุลาคม 2563 อ้างอิงสมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย 26–27 ตุลาคม 2563การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดอุดรธานีลิซ่า (แร็ปเปอร์)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศรัสเซียมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพิจักขณา วงศารัตนศิลป์ฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกประวัติศาสนาคริสต์งูกะปะอารยา เอ ฮาร์เก็ตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประเทศออสเตรเลียบรูนู ฟือร์นังดึชผู้หญิง 5 บาปรายชื่อตอนในเป็นต่อจังหวัดนครสวรรค์รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววรันธร เปานิลก็อตซิลลาจังหวัดสกลนครอักษรลาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอิษยา ฮอสุวรรณ69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)ณฐพร เตมีรักษ์จังหวัดนนทบุรีพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเปป กวาร์ดิโอลาอินเทอร์เน็ตอนาคามีโชกุนเครื่องคิดเลขเขตการปกครองของประเทศพม่าไพ่แคงหมาหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยพรรคเพื่อไทยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอมีนา พินิจทวิตเตอร์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)เบบีมอนสเตอร์พระไตรปิฎกเมตาแฮร์รี แมไกวร์พระเจ้าบุเรงนองธนินท์ เจียรวนนท์สูตรลับตำรับดันเจียนดาบพิฆาตอสูรกัญญาวีร์ สองเมืองวอลเลย์บอลแวมไพร์ ทไวไลท์โชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)ราชสกุลอีเอฟแอลคัพยุทธการที่เซกิงาฮาระจังหวัดหนองคายสถานีกลางบางซื่อจังหวัดขอนแก่นจังหวัดปทุมธานีธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญเมษายนรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31เอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนโอลิมปิกฤดูร้อน 2024ผ่าพิภพไททันปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์สุชาติ ภิญโญกระทรวงในประเทศไทยชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชจังหวัดสมุทรปราการธนาคารแห่งประเทศไทยรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันสุภาพร มะลิซ้อนรายชื่อตัวละครในวันพีซ🡆 More