สมัยการย้ายถิ่น

สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (อังกฤษ: Migration Period หรือ Barbarian Invasions, เยอรมัน: Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี ค.ศ.

300 ถึงปี ค.ศ. 700 ในทวีปยุโรป, ที่เป็นช่วงที่คาบระหว่างยุคโบราณตอนปลายไปจนถึงยุคกลางตอนต้น การโยกย้ายครั้งนี้มีสาเหตุมาจากทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสถานะภาพของจักรวรรดิโรมันและที่เรียกว่า “พรมแดนบาร์บาเรียน” ชนกลุ่มที่อพยพโยกย้ายในยุคนี้ก็ได้แก่ชนกอธ, แวนดัล, บัลการ์, อาลัน, ซูบิ, ฟรีเซียน และ แฟรงค์ และชนเจอร์มานิค และ ชนสลาฟบางกลุ่ม

สมัยการย้ายถิ่น
Map of Europe, with colored lines denoting migration routes
แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่าย
เวลาประมาณ ค.ศ. 375–568 หรือหลังจากนั้น
สถานที่ทวีปยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
เหตุการณ์การบุกรุกของชนเผ่าในช่วงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

การโยกย้ายถิ่นฐานของผู้คน--แม้ว่าจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของ “สมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน” โดยตรง--ก็ยังคงดำเนินต่อไปจนหลังจาก ค.ศ. 1000 โดยการรุกรานไวกิง, แมกยาร์, ชนเตอร์คิค และการรุกรานของมองโกลในยุโรปซึ่งมีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อทางตะวันออกของยุโรป

ช่วงแรก: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงแรกระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 500

สมัยนี้ได้รับการบันทึกเป็นบางส่วนโดยนักประวัติศาสตร์กรีกและโรมัน และยากต่อการยืนยันจากหลักฐานทางโบราณคดี แต่ระบุว่าชนเจอร์มานิคเป็นผู้นำของบริเวณต่างๆ เกือบทั้งหมดที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิโรมันตะวันตก

วิซิกอธเข้ารุกแรนดินแดนโรมันหลังจากการปะทะกับฮั่นในปี ค.ศ. 376 แต่สถานภาพของชนอิสระของวิซิกอธอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในปีต่อมาองค์รักษ์ของฟริติเกิร์นผู้นำของวิซิกอธก็ถูกสังหารระหว่างที่พบปะกับ ลูพิซินัสนายทหารโรมันที่มาร์เชียโนโพลิส วิซิกอธจึงลุกขึ้นแข็งข้อ และในที่สุดก็เข้ารุกรานอิตาลีและตีกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 410 ก่อนที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรไอบีเรียและก่อตั้งอาณาจักรของตนเองที่รุ่งเรืองอยู่ได้ราว 200 ปี หลังจากนั้นการตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่เป็นของโรมันก็ตามมาด้วยออสโตรกอธที่นำโดยพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชผู้ทรงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอิตาลีด้วยพระองค์เอง

ในบริเวณกอลชนแฟรงค์ผู้ซึ่งผู้นำเป็นพันธมิตรของโรมันอย่างเหนียวแน่นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนโรมันอย่างสงบในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 และโดยทั่วไปก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นประมุขของชาวโรมัน-กอล จักรวรรดิแฟรงค์ผู้ต่อต้านการรุกรานจากชนอลามานนิ, เบอร์กันดี และวิซิกอธเป็นส่วนสำคัญที่กลายมาเป็นฝรั่งเศสและเยอรมนีต่อมา

การตั้งถิ่นฐานของแองโกล-แซ็กซอนในบริเตนเริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากอิทธิพลของโรมันบริเตนสิ้นสุดลง

ช่วงที่สอง: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงที่สองระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 700

ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้ามตั้งถิ่นฐานของชนสลาฟกลุ่มต่างๆ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะในบริเวณเจอร์มาเนีย ชนบัลการ์ที่อาจจะมีรากฐานมาจากกลุ่มชนเตอร์กิคที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 พิชิตดินแดนทางตะวันตกของบอลข่านของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ส่วนชนลอมบาร์ดที่มาจากชนเจอร์มานิคก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลีในบริเวณที่ปัจจุบันคือลอมบาร์ดี

ในช่วงแรกของสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ กองทัพรอชิดีนพยายามเข้ามารุกรานยุโรปตะวันออกเฉียงใต้โดยทางเอเชียไมเนอร์ระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แต่ก็ไม่สำเร็จและในที่สุดก็พ่ายแพ้ในการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลต่อกองทัพของพันธมิตรของจักรวรรดิไบแซนไทน์และบัลการ์ระหว่างปี ค.ศ. 717 – ค.ศ. 718 ระหว่างสงครามคาซาร์–อาหรับ คาซาร์หยุดยั้งการขยายดินแดนของมุสลิมเข้ามาในยุโรปตะวันออกโดยทางคอเคซัส ในขณะเดียวกันมัวร์ (ผสมระหว่างอาหรับและเบอร์เบอร์) ก็เข้ามารุกรานยุโรปทางยิบรอลตาร์โดยอุมัยยะห์ และยึดดินแดนจากราชอาณาจักรวิซิกอธในคาบสมุทรไอบีเรียในปี ค.ศ. 711 ก่อนที่จะมาถูกหยุดยั้งโดยชนแฟรงค์ในยุทธการตูร์ในปี ค.ศ. 732 ยุทธการครั้งนี้เป็นการสร้างพรมแดนถาวรระหว่างอาณาจักรในกลุ่มคริสตจักรและอาณาจักรในดินแดนมุสลิมในช่วงหนึ่งพันปีต่อมา ในช่วงสองสามร้อยปีต่อมามุสลิมก็พิชิตดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีได้เป็นบางส่วนแต่ก็มิได้รวมตัวเข้ากับดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Tags:

สมัยการย้ายถิ่น ช่วงแรก: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงแรกระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 500สมัยการย้ายถิ่น ช่วงที่สอง: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงที่สองระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 700สมัยการย้ายถิ่น อ้างอิงสมัยการย้ายถิ่น ดูเพิ่มสมัยการย้ายถิ่นกอธจักรวรรดิโรมันทวีปยุโรปบัลการ์ฟรีเซียนภาษาอังกฤษภาษาเยอรมันยุคกลางตอนต้นยุคโบราณตอนปลายสลาฟเจอร์มานิคแฟรงค์แวนดัล

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครอวตาร (ภาพยนตร์)งูเขียวพระอินทร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคกองทัพอากาศไทยปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพสหภาพโซเวียตพิชญ์นาฏ สาขากรเผ่าภูมิ โรจนสกุลอริยบุคคลโบรูโตะกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชอำเภอจังหวัดสระแก้วจังหวัดลำปางสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาระบบการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพิชัย ชุณหวชิรเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมหาวิทยาลัยรังสิตปรีชญา พงษ์ธนานิกรพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจังหวัดตรังประเทศพม่าไฮบ์คอร์ปอเรชันมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ประเทศตุรกีเจมส์ มาร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงประวัติศาสนาคริสต์สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลนริลญา กุลมงคลเพชรแอน ทองประสมมหาวิทยาลัยขอนแก่นจักรพรรดินโปเลียนที่ 1มิเกล อาร์เตตาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียมาริโอ้ เมาเร่อเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24ปราโมทย์ ปาทานชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองเกาะเสม็ดวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารมังกี้ ดี. ลูฟี่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์เครือเจริญโภคภัณฑ์จังหวัดกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมณฑลของประเทศจีนภาษาไทยหลิว เจียหลิงเดือนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรภาษาญี่ปุ่นธนินท์ เจียรวนนท์รัฐฉานลิโอเนล เมสซิฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นรายชื่ออำเภอของประเทศไทยประเทศอิตาลีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทวิตเตอร์ธนวรรธน์ วรรธนะภูติอิษยา ฮอสุวรรณฟุตซอลวิดีโอ🡆 More