ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง

เอเชียกลาง เป็นสถานที่อันเป็นที่ตั้งของประเทศคีร์กีซสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศเติร์กเมนิสถาน และทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเขตปกครองตนเองทิเบต เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน บางส่วนของประเทศมองโกเลีย และไซบีเรียตอนใต้ด้วย

ในดินแดนเอเชียกลางนี้เองที่เป็นแหล่งชุมนุมศิลปกรรมวัตถุที่เคารพบูชาในพุทธศาสนา โดยในอดีตได้เคยเป็นศูนย์กลาง และเส้นทางเผยแผ่พุทธศาสนามาหลายศตวรรษ โดยประเทศจีนเองก็ได้รับพุทธศาสนาจากอินเดียโดยผ่านมาจากเส้นทางนี้ นอกจากนี้เอเชียกลางยังเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญระหว่างจีน อินเดีย และประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรป จนเกิดตำนานเส้นทางสายไหม ฉะนั้นเอเชียกลางจึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมอันหลากหลาย โดยมีพุทธสถาน และปูชนียสถานมากมายในอดีต เช่น วัดวาอาราม ถ้ำ สถูป ภาพจิตรกรรม ประติมากรรม คัมภีร์ และเอกสารจดหมายเหตุต่าง ๆ ที่เป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาขโรษฐี และภาษาจีน เป็นต้น

ประวัติ

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่เอเชียกลางในพุทธศตวรรษที่ 2 โดยพระธรรมทูตสายพระมัชฌันติกเถระ และสายพระธรรมรักขิตเถระ ได้มาเผยแพร่ที่นี่ด้วย แต่ก็ไม่มีหลักฐานชัดเจน ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง คือ เมืองกุชา หรือ กุฉิ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 7 พุทธศาสนาก็ได้ตั้งมั่นในเอเชียกลางบนทางสายไหม ทำให้เมือง เช่น โขตาน (ปัจจุบันคือ โฮตาน) กุชา และตูร์ฟาน (บ้างว่า เตอร์ฟาน) เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง

จดหมายเหตุหลวงจีนฟาเหียน

หลวงจีนฟาเหียน ได้จาริกผ่านมาในพุทธศตวรรษที่ 9 กล่าวว่า "ยุติน เป็นเมืองที่มีความสงบ และมั่งคั่ง ชาวเมืองสดชื่น แจ่มใสกันถ้วนหน้า เนื่องจากนับถือพระพุทธศาสนา มีการเล่นดนตรีอย่างสนุกสนาน มีพระสงฆ์มหายานหลายหมื่นรูปรับภัตตาหารจากโรงทาน อาคารบ้านเรือนของชาวบ้านหนาแน่นเหมือนดาวในท้องฟ้า หน้าประตูมีจะมีพระสถูปองค์เล็ก ภายในวัดจะมีที่พักสำหรับพระอาคันตุกะ" นอกจากนี้ยังมีพระสงฆ์นิกายสรวาทสติวาทินเจริญรุ่งเรืองเคียงคู่มหายาน เพราะมีการค้นพบโบราณวัตถุหาค่ามิได้ เช่น คัมภีร์หาค่ามิได้จำนวนมาก คัมภีร์วิชาการอินเดีย และเป็นภาษาท้องถิ่นแล้ว พร้อมกันนั้นก็พบพระพุทธรูป ศิลปะกรีก-โรมัน และจีนผสมกัน

พระกุมารชีวะ

ในพุทธศตวรรษที่ 9 นี้ ก็มีพระภิกษุที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ พระกุมารชีวะ (หรือ กุมารชีพ) ท่านได้ศึกษาวรรณคดีพุทธศาสนาในกัศมีร์เป็นเวลาหลายปี จากนั้นก็กลับมาเป็นผู้มีชื่อเสียงในเมืองกุชา ในยุคนั้นก็เกิดสงครามระหว่างเมืองกุชา และจีน ทางจีนได้จับพระกุมารชีพเป็นเชลย ท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจในจีนจนมรณภาพที่นั่น เป็นเวลา 15 ปี ท่านได้สั่งสอนพุทธปรัชญา และแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเป็นอันมาก จนเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในประเทศจีน

ยุคราชวงศ์ถัง

ในพุทธศตวรรษที่ 11 สมัยราชวงศ์ถัง เอเชียกลางได้กลายเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อกันระหว่างจีน กับอินเดียอีกครั้ง เนื่องจากยุคนี้เอเชียกลางเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่บางช่วงทิเบต ก็มีอำนาจไปปกครองบ้าง เนื่องจากมีการค้นพบเอกสารมีค่า ในถ้ำตุนหวง เป็นจำนวนมากมีอายุในช่วงนี้ ในยุคนี้ชาวอุยกูร์ยังนับถือศาสนามาณีกีอยู่ และเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 14 จากนั้นก็มีการแปลคัมภีร์พุทธศาสนา จากภาษาสันสกฤต และจีน ใหเป็นภาษาอุยกูร์

ยุคพุทธศาสนาเสื่อม และในปัจจุบัน

จากนั้นมาในศตวรรษที่ 15 ชาวมุสลิมเติร์กก็ได้มีอิทธิพลเหนือชนกลุ่มเดิม ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันยังมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่ในกลุ่มชาวมองโกล ชาวจีน และชาวทิเบต อย่างมั่นคง

พุทธศาสนาในกลุ่มประเทศเอเชียกลาง
ธงชาติ ประเทศ ประชากร(2007E) เปอร์เซนต์ ชาวพุทธ
ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง  อัฟกานิสถาน 31,889,923 0.3% (approx) 95,670
ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง  คาซัคสถาน 15,422,000 0.53% 81,843
ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง  คีร์กีซสถาน 5,317,000 0.35% 18,610
ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง  ประเทศมองโกเลีย 2,874,127 94% 2,701,679
ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง  ทาจิกิสถาน 7,076,598 0.1% 7,076
ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง  เติร์กเมนิสถาน 5,097,028 0.1% 5,097
ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง  ประเทศอุซเบกิสถาน 27,780,059 0.2% 55,560
รวม 95,456,735 3.106% 2,965,535

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Tags:

ศาสนาพุทธในเอเชียกลาง ประวัติศาสนาพุทธในเอเชียกลาง จดหมายเหตุหลวงจีนฟาเหียนศาสนาพุทธในเอเชียกลาง พระกุมารชีวะศาสนาพุทธในเอเชียกลาง ยุคราชวงศ์ถังศาสนาพุทธในเอเชียกลาง ยุคพุทธศาสนาเสื่อม และในปัจจุบันศาสนาพุทธในเอเชียกลาง ดูเพิ่มศาสนาพุทธในเอเชียกลาง อ้างอิงศาสนาพุทธในเอเชียกลางประเทศคาซัคสถานประเทศคีร์กีซสถานประเทศทาจิกิสถานประเทศมองโกเลียประเทศอุซเบกิสถานประเทศเติร์กเมนิสถานสาธารณรัฐประชาชนจีนเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์เขตปกครองตนเองทิเบตไซบีเรีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดเภตรานฤมิตวริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศรตารางธาตุการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลวรกมล ชาเตอร์การโฆษณาประเทศซูดานใต้โรงเรียนเตรียมทหารXซง ฮเย-กโยกูเกิล แปลภาษาธีร์ วณิชนันทธาดาทวีพร พริ้งจำรัสขมิ้นกับปูนคริส โปตระนันทน์ฮัน โซ-ฮีมิสแกรนด์แพร่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์ศิริลักษณ์ คองพรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจห้างสรรพสินค้าโรบินสันอุดม ทรงแสงนักเรียนพลังกิฟต์ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)พัก จิน-ย็อง (นักร้อง)ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหมพิมประภา ตั้งประภาพรอาเลฆันโดร การ์นาโชศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีชาลี ไตรรัตน์เมืองพัทยาคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)อี จง-ซ็อกสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)เซลีน ดิออนก้อง ห้วยไร่อิทธิบาท 4ปิยบุตร แสงกนกกุลพัชรพร จันทรประดิษฐ์จังหวัดร้อยเอ็ดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดประยุทธ์ จันทร์โอชาราณี แคมเปนสมคิด จาตุศรีพิทักษ์เทีย ทวีพาณิชย์พันธุ์นพชัย ชัยนามอลิสา วัชรสินธุพระคเณศประเทศฟิลิปปินส์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรีหลับตาฝัน ถึงชื่อเธอสุวรรณ วลัยเสถียรจังหวัดบึงกาฬสโมสรฟุตบอลนอริชซิตีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแอทลาสหลิว อี้เฟย์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ศีรษะมารกรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยารายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยยังโอมอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอควาแมน เจ้าสมุทรอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชชาติชาย ชุณหะวัณวันพีซสงกรานต์ เตชะณรงค์พระยศเจ้านายไทยจังหวัดราชบุรีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562🡆 More