ศาลสูงสุดอินเดีย

ศาลสูงสุดอินเดีย (อังกฤษ: Supreme Court of India) เป็นศาลชั้นสูงสุดแห่งสาธารณรัฐอินเดีย จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญอินเดีย ภาค 5 หมวด 4 เพื่อแทนที่ศาลกลาง (Federal Court) และคณะกรรมการตุลาการในคณะองคมนตรี (Judicial Committee of the Privy Council) ออกนั่งบัลลังก์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มกราคม 1950

ศาลสูงสุดอินเดีย
Supreme Court of India
भारत का उच्चतम न्यायालय
ศาลสูงสุดอินเดีย
สถาปนา28 มกราคม 1950
ที่ตั้งติลกมรรค นิวเดลี
พิกัด28°37′20″N 77°14′23″E / 28.622237°N 77.239584°E / 28.622237; 77.239584
คติพจน์มีธรรมจึงมีชัย
यतो धर्मस्ततो जयः
Yatō Dharmastatō Jayaḥ
Whence Dharma, Thence Victory
วิธีได้มาสรรหาโดยฝ่ายบริหาร
ที่มารัฐธรรมนูญอินเดีย
ยื่นอุทธรณ์ต่อไม่มี
(แต่ประธานาธิบดีอินเดียสามารถอภัยโทษ)
วาระตุลาการจนกว่าอายุครบ 65 ปี
จำนวนตุลาการ31
(ประธาน 1 คน ตุลาการอีก 30 คน)
เว็บไซต์sci.nic.in
ประธานศาลสูงสุดแห่งอินเดีย
ปัจจุบันพี. สตศิวัม (P. Sathasivam)
ตั้งแต่19 กรกฎาคม 2013
ตำแหน่งผู้นำสิ้นสุด26 เมษายน 2014

รัฐธรรมนูญ มาตรา 124 ถึงมาตรา 147 กำหนดองค์ประกอบและเขตอำนาจของศาลไว้ ตามความในบทบัญญัติดังกล่าว ศาลมีอำนาจเบื้องต้นเป็นการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชำระข้อพิพาททางปกครองเกี่ยวกับรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ ศาลยังมีอำนาจชำระอุทธรณ์จากศาลสูง (High Court) และจากศาลอื่น ๆ ในระดับรัฐและระดับดินแดน

ตั้งแต่ปี 1937 ถึงปี 1950 บัลลังก์ของศาลอยู่ที่นเรนทรมณฑล (Chamber of Princes) ในอาคารรัฐสภา ซึ่งเคยใช้เป็นบัลลังก์ศาลกลางแห่งอินเดีย ครั้นปี 1958 จึงย้ายไปยังอาคารใหม่จนปัจจุบัน

ในระยะหลัง โดยเฉพาะในปี 2008 ศาลต้องผจญเรื่องอื้อฉาวจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อกล่าวหาว่า ตุลาการชั้นผู้ใหญ่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งยังนำภาษีประชาชนไปใช้ส่วนตัว แต่งตั้งข้าราชการตุลาการโดยวิธีลับ ไม่ยอมเปิดเผยสินทรัพย์ต่อสาธารณชน และไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชนตามความในรัฐบัญญัติสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Right to Information Act) อนึ่ง เมื่อเค. จี. พลกฤษณัน (K. G. Balakrishnan) ประธานศาล แสดงความคิดเห็นว่า ตนไม่ใช่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง แต่เป็นเจ้าหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างใหญ่หลวง ขณะเดียวกัน ฝ่ายตุลาการอินเดียเองถูกประธานาธิบดีหลายคน เช่น ประติภา ปาฏีล (Pratibha Patil) และเอ. พี. เจ. อับดุล กลาม (A. P. J. Abdul Kalam) ตำหนิอย่างหนักว่า ละเลยหน้าที่ ทั้งมานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh) นายกรัฐมนตรี ก็ระบุว่า ปัญหาหลักของฝ่ายตุลาการ คือ การฉ้อฉลโกงกิน และเสนอแนะให้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อขจัด "ภัยคุกคาม" (menace) เหล่านี้

นอกจากปัญหาข้างต้นแล้ว ศาลยังถูกติเตียนเรื่องทำหน้าที่เชื่องช้า สิ้นปี 2011 ปรากฏสถิติว่า มีคดีที่ชำระไม่เสร็จ 58,519 เรื่อง และในจำนวนนั้น คดี 37,385 เรื่องถูกดองไว้นานกว่า 1 ปี แต่ถ้าไม่นับคดีที่เกี่ยวพันกันแล้ว จะมีคดีค้างอยู่ 33,892 เรื่อง

อ้างอิง

Tags:

ภาษาอังกฤษรัฐธรรมนูญอินเดียศาลสูงสุดสาธารณรัฐอินเดีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เบบี้เมทัลจุลจักร จักรพงษ์วัชรเรศร วิวัชรวงศ์มรรคมีองค์แปดการฆ่าตัวตายฉัตรชัย เปล่งพานิชอาลิง โฮลันโจนาธาร เข็มดีบริษัทโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการกอล์ฟ-ไมค์ปภาวดี ชาญสมอนสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งฟุตซอลชญานิศ จ่ายเจริญจรูญเกียรติ ปานแก้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโรงเรียนเทพศิรินทร์อริยสัจ 4จังหวัดตากรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทย27 มีนาคมจังหวัดนนทบุรีสุลักษณ์ ศิวรักษ์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการสารัช อยู่เย็นเจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศสเอก อังสนานนท์น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีออลเทอร์นาทิฟร็อกประเทศเวียดนามเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)อิษยา ฮอสุวรรณโรงเรียนวัดสุทธิวรารามจังหวัดลำปางจังหวัดเชียงใหม่จ้าว ลี่อิ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่การสมรสเพศเดียวกันเซี่ยงไฮ้รายการรหัสไปรษณีย์ไทยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเมตาสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองทวารวดีสุธิตา ชนะชัยสุวรรณรายชื่อเครื่องบินของการบินไทยจังหวัดร้อยเอ็ดร่างทรง (ภาพยนตร์)สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดหนองคายรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)คงกะพัน แสงสุริยะพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวธนนท์ จำเริญฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาญีนา ซาลาสสุภัคชญา ชาวคูเวียงรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดจังหวัดสระแก้วสายัณห์ ดอกสะเดาแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขเครยอนชินจังพระพุทธชินราชฟุตบอลโลก 2026พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวศาสนาอิสลามนกกะรางหัวขวานประเทศอินเดียอิงฟ้า วราหะนิโคลัส มิคเกลสันพิชชาภา พันธุมจินดาลิโอเนล เมสซิเพื่อน(ไม่)สนิทสงครามเย็น🡆 More