นครของประเทศญี่ปุ่น

นคร (ญี่ปุ่น: 市; โรมาจิ: shi) ในประเทศญี่ปุ่น เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่ง นครจะอยู่ในระดับเดียวกับเมือง (ญี่ปุ่น: 町; โรมาจิ: machi) และหมู่บ้าน (ญี่ปุ่น: 村; โรมาจิ: mura) แต่จะต่างจากเมืองและหมู่บ้านคือ นครไม่เป็นส่วนของอำเภอ (ญี่ปุ่น: 郡; โรมาจิ: gun) แต่ละนคร เมือง และหมู่บ้านจะมีการพื้นที่และการบริหารงานแยกส่วนกันอย่างเป็นเอกเทศ ไม่ขึ้นต่อกัน ซึ่งการปกครองในลักษณะนี้ถูกกำหนดขึ้นโดยกฎหมายจัดการตนเองของท้องถิ่น ค.ศ.

1947

นครของประเทศญี่ปุ่น
แผนที่แสดงที่ตั้งของนครต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น (ไม่ได้แสดงฮกไกโดและโอกินาวะ)

สถานะของนคร

มาตรา 8 ของกฎหมายจัดการตนเองของท้องถิ่นได้ตั้งเงื่อนไขดังต่อไปนี้ในการกำหนดให้เทศบาลมีฐานะเป็นนคร

  • ต้องมีประชากรโดยทั่วไปเท่ากับ 50,000 คนหรือมากกว่า
  • อย่างน้อย 60% ของครัวเรือนจะต้องอยู่ในใจกลางพื้นที่เขตเมือง
  • อย่างน้อย 60% ของครัวเรือนจะต้องได้รับการว่าจ้างในการพาณิชย์ อุตสาหกรรม หรืออาชีพอื่น ๆ ภายในเมือง
  • ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอื่นที่กำหนดในข้อบัญญัติของจังหวัด

การยกฐานะเทศบาลจะได้รับการอนุมัติโดยผู้ว่าราชการจังหวัดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร

ในทางทฤษฎี นครสามารถถูกลดฐานะเป็นเมืองหรือหมู่บ้านได้หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่การลดฐานะยังไม่เคยเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน นครที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ อูตาชิไน จังหวัดฮกไกโด มีประชากรเพียงสามพันคน ในขณะที่เมืองในจังหวัดเดียวกัน โอโตฟูเกะ มีประชากรกว่าสี่หมื่นคน

ภายใต้พระราชบัญญัติบทบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบรวมเทศบาล (ญี่ปุ่น: 市町村の合併の特例等に関する法律) เกณฑ์จำนวนประชากรสำหรับการยกฐานะเป็นนคร 50,000 คน ได้รับการผ่อนปรนลงมาเหลือ 30,000 คน ในกรณีที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากการควบรวมเมืองและ/หรือหมู่บ้านเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกเทศบาลในการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ทำให้เทศบาลจำนวนมากได้รับการยกฐานะเป็นนครอันเนื่องมาจากเกณฑ์ที่ผ่อนปรนนี้ แต่ก็ยังมีเทศบาลที่ได้รับการยกฐานะเป็นนครอันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในเขตเทศบาลนั้นเอง ไม่ได้มาจากการควบรวมกับเทศบาลอื่น เช่น โนโนอิจิ จังหวัดอิชิกาวะ ที่ได้รับการยกฐานะเป็นนครไปเมื่อ ค.ศ. 2011

การจำแนกประเภทสำหรับนครขนาดใหญ่

คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นสามารถกำหนดให้นครที่มีประชากรอย่างน้อย 200,000 คนมีสถานะเป็นนครศูนย์กลางได้ หรือนครใหญ่ที่ตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติรัฐบาล หากมีประชากรเกินกว่า 500,000 คน สถานะของนครขนาดใหญ่เหล่านี้จะเป็นการเพิ่มขอบเขตอำนาจการบริหารบางประการ จากที่เดิมเป็นของจังหวัดก็จะมอบให้เทศบาลนคร

สถานะของโตเกียว

โตเกียว เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น เคยมีสถานะเป็นนครโตเกียวจนถึง ค.ศ. 1943 ในปัจจุบันกฎหมายได้จัดประเภทให้เป็นจังหวัดพิเศษที่เรียกว่า "มหานคร" (ญี่ปุ่น: โรมาจิtoทับศัพท์โทะ) โดยมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัดโตเกียวเดิม อาณาบริเวณที่เคยเป็นนครโตเกียวได้รับการจัดตั้งใหม่เป็นเขตพิเศษของโตเกียวจำนวน 23 เขต แต่ละเขตจะมีสถานะการบริหารคล้ายคลึงกับเทศบาลนคร นอกจากนี้ มหานครโตเกียวยังมีนคร เมือง และหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตน

ประวัติศาสตร์

มีการริเริ่ม "ระบบนคร" (市制 shisei, ชิเซ) ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1888 และนำมาใช้ครั้งแรกในช่วงของ "การควบรวมครั้งใหญ่เมจิ" (明治の大合併 Meiji no daigappei, เมจิโนะไดงัปเป) ค.ศ. 1889 "นคร" หรือ -ชิ ได้นำมาแทนที่ "เขต" หรืออำเภอในเมือง ( -ku, -คุ) ที่มีอยู่เดิมก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นเขตการปกครองระดับเดียวกับอำเภอ หรืออำเภอในชนบท (-gun) มาตั้งแต่ ค.ศ. 1878 เริ่มแรกเดิมทีมีนครเพียง 39 แห่งเท่านั้นใน ค.ศ. 1889 จังหวัดส่วนใหญ่มีเพียงนครแห่งเดียว บางจังหวัดมีนคร 2 แห่ง (ได้แก่ จังหวัดยามางาตะ โทยามะ โอซากะ เฮียวโงะ และฟูกูโอกะ) และบางจังหวัดไม่มีนครเลย โดยจังหวัดมิยาซากิเป็นจังหวัดสุดท้ายที่มีนครแห่งแรกเมื่อ ค.ศ. 1924 ในโอกินาวะและฮกไกโดซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้มีสถานะเทียบเท่ากับจังหวัดอย่างสมบูรณ์ในจักรวรรดิ เขตเมืองใหญ่ยังคงถูกจัดให้เป็น "เขต" จนกระทั่งทศวรรษ 1920 เขตนาฮะและเขตชูริ เขตในโอกินาวะ ก็ได้เปลี่ยนเป็นนครนาฮะและนครชูริเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1921 และ 6 เขตในฮกไกโดก็ได้เปลี่ยนมาเป็นนครที่เป็นอิสระจากอำเภอเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1922

มาจนถึง ค.ศ. 1945 จำนวนของนครทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 205 แห่ง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนนครก็ได้เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงของ "การควบรวมครั้งใหญ่โชวะ" ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแซงหน้าจำนวนเมือง () ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ณ วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2018 ประเทศญี่ปุ่นมีนคร 792 แห่ง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Tags:

นครของประเทศญี่ปุ่น สถานะของนครนครของประเทศญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์นครของประเทศญี่ปุ่น ดูเพิ่มนครของประเทศญี่ปุ่น อ้างอิงนครของประเทศญี่ปุ่นการบริหารรัฐกิจประเทศญี่ปุ่นภาษาญี่ปุ่นรายชื่อหมู่บ้านในประเทศญี่ปุ่นรายชื่อเมืองในประเทศญี่ปุ่นอำเภอของประเทศญี่ปุ่นโรมาจิ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดเลยมุฮัมมัดบรรดาศักดิ์อังกฤษเมืองพัทยาบางระจันมยุรา เศวตศิลาเปรูเอ็กซูม่ายอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์สามก๊กพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรกรมการปกครองมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)อุรัสยา เสปอร์บันด์ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอักษรไทยรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31ฟุตซอลโลก 2021ซิลลี่ ฟูลส์หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตสกีบีดีทอยเล็ตธนาคารไทยพาณิชย์พม่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยพริสตีนาภาสวิชญ์ บูรณนัติรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)เซี่ยงไฮ้อินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนสหรัฐอเมริกาพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคลุค อิชิกาวะ พลาวเดนฟุตบอลโลก 2022ศุภวุฒิ เถื่อนกลางเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยวิดีโอพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรราณี แคมเปนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเอลวิส เพรสลีย์ลิขิตกามเทพรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญเซเว่น อีเลฟเว่นไตรลักษณ์จังหวัดบุรีรัมย์จิรภพ ภูริเดชราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กยศทหารและตำรวจไทยเข็มทิศแพทองธาร ชินวัตรองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยประเทศไต้หวันพระราชวังต้องห้ามพันธุวิศวกรรมธงประจำพระองค์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์จังหวัดลพบุรีภาษาในประเทศไทยรายนามรองประธานาธิบดีสหรัฐถนนเยาวราชคอมมิวนิสต์วชิรวิชญ์ ชีวอารีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ลิโอเนล เมสซิกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐจังหวัดบึงกาฬรายชื่อธนาคารในประเทศไทยเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชครหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศจังหวัดเชียงรายสวิตเซอร์แลนด์🡆 More