การเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566

การเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ.

2566 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เพื่อเลือกผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ฝ่ายละ 7 คน เป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม ถือเป็นการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมครั้งแรก นับตั้งแต่การออกพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ซึ่งระบุให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันตนมาจากการเลือกตั้ง หากนับตามจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งใหญ่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม หรือเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ของ พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 20 ล้านคน อย่างไรก็ตาม มีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 949,818 คน จากที่สำนักงานประกันสังคมตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,000,000 คน

เบื้องหลัง

ปฏิทินการเลือกตั้ง
13 ต.ค. – 10 พ.ย.วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง
25 – 10 พ.ย.วันรับสมัครเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันตน
10 พ.ย.วันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
21 พ.ย.วันประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันตน
24 ธ.ค.วันเลือกตั้ง

การเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมเกิดขึ้นหลังจากคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 โดยความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 8 ให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันตนมาจากการเลือกตั้ง

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะหัวหน้า คสช. ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 40/2558 ให้คณะกรรมการประกันสังคมยุติการปฏิบัติหน้าที่ และงดการบังคับใช้บางมาตราที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคมชุดใหม่ โดยมีกำหนดวาระการทำงานสองปี

เมื่อครบกำหนดวาระ 2 ปีแล้ว ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้หารือร่วมกับตัวแทนของกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมประกันสังคมที่จะเกิดขึ้น ที่ประชุมเห็นว่า ควรให้คณะกรรมการประกันสังคมชุดปัจจุบันยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เนื่องจากการเลือกตั้งอาจขัดคำสั่ง คสช. ที่ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ คสช. จะสิ้นสุดลงหลังการเข้ารับหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 9/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. บางฉบับที่หมดความจำเป็น ซึ่งคำสั่งฉบับนี้เป็นมีการระบุให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 40/2558 ซึ่งใช้แต่งตั้งคณะกรรมการและที่ปรึกษารวม 4 ชุด ยกเว้นคณะกรรมการประกันสังคมที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปก่อน และกำหนดให้กระทรวงแรงงานจัดทำระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนให้เสร็จภายใน 2 ปี

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งครบกำหนด 2 ปีตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าว กระทรวงแรงงานได้ออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม ภายหลังจากการออกระเบียบ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าถึงกำหนดการเลือกตั้งที่แน่ชัด และมีการส่งหนังสือเรียกร้องจากเครือข่ายผู้ใช้แรงงานอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่งหลังเปลี่ยนผ่านสู่คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 แล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566 พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงประกาศพร้อมจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม สำนักงานประกันสังคมออกประกาศหลักเกณฑ์ และคุณสมบัติ การเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 27 ตุลาคม ยังมีผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้เพียงกว่า 120,000 คน ไม่ถึงจำนวนที่สำนักงานประกันสังคมตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,000,000 คน พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 จึงนำคณะกรรมาธิการมาร่วมเชิญชวนผู้ประกันตนและนายจ้างลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาการลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง และการรับสมัครผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ออกไปจนถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน และเมื่อปิดรับการลงทะเบียนแล้ว มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 949,818 คน แบ่งเป็นฝ่ายผู้ประกันตน 945,609 คน ฝ่ายนายจ้าง จำนวน 4,209 คน และมีผู้สมัครจำนวน 316 คน แบ่งเป็นจากฝ่ายผู้ประกันตน 247 คน และจากฝ่ายนายจ้าง 69 คน

คณะกรรมการประกันสังคม

คณะกรรมการประกันสังคม มีทั้งสิ้น 20 คน โดยแบ่งเป็นจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 6 คน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝั่งละ 7 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งทั้งหมด 2 ปี

ตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ

  • ปลัดกระทรวงแรงงาน

ตำแหน่งกรรมการ

  1. ผู้แทนกระทรวงการคลัง
  2. ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  3. ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย
  4. ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
  5. ผู้แทนสำนักงบประมาณ
  6. ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 7 คน (มาจากการเลือกตั้ง)
  7. ผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน 7 คน (มาจากการเลือกตั้ง)

เงื่อนไขผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

  • ผู้มีสัญชาติไทย
  • เป็นผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 (ฐานข้อมูลมีจำนวน 20 ล้านคน)
  • ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่ก่อนเดือนที่ประกาศจัดวันเลือกตั้ง (เดือน มี.ค. 2566)
  • จ่ายสมทบประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเดือนที่ประกาศจัดวันเลือกตั้ง (เดือน มี.ค. 2566)
  • ต้องลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง

ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

ฝ่ายผู้ประกันตน

รายชื่อกลุ่มและผู้สมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ฝ่ายผู้ประกันตน โดยมีการลงสมัครในนามอิสระ หรือกลุ่มต่างๆ

โดยมีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 247 คน มีคุณสมบัติทั้งสิ้น 228 คน ดังนี้


กลุ่มเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน

กลุ่มเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน ลงสมัครฝ่ายผู้ประกันตนทั้งหมด 7 คน

หมายเลข ชื่อ หมายเหตุ
2 ศุภกฤต ชูความดี
5 ธนพัต ธนัตเจริญ
7 อุบล ร่มโพธิ์ทอง
9 วาฑิต พุทธปวน
43 ธีรพงษ์ อุ่นฤดี
45 นิคม สองคร
60 ศิริศักดิ์ บัวชุม


กลุ่มคณะกรรมการบริหารสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย

กลุ่มสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย ลงสมัครฝ่ายผู้ประกันตนทั้งหมด 7 คน โดยมีการสนับสนุนจากกลุ่มปากน้ำ ของตระกูลอัศวเหม

หมายเลข ชื่อ หมายเหตุ
3 พนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
12 ชินโชติ แสงสังข์
13 ณรงค์ บุญเจริญ
14 มานะ คุ้มกระโทก
15 มานะ จุลรัตน์
16 สมชาย มูฮัมหมัด
17 มณฑล พรหมเนตร


กลุ่มสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย

กลุ่มสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย ลงสมัครฝ่ายผู้ประกันตนทั้งหมด 7 คน นำโดย สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์ฯ โดยมีดังนี้

หมายเลข ชื่อ หมายเหตุ
4 จตุรงค์ ไพรสิงห์ ประธานสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียม และเคมีภัณฑ์
6 ลาเร่ อยู่เป็นสุข เลขาธิการสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย
10 สุนทรี เซ่งกิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานนอกระบบ
11 เรืองรุ่ง วิเชียรพงษ์ รองเลขาธิการสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย
19 ศาสลักษณ์ ศาสตร์บัญชา นิติกร สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกระบี่
22 โอสถ สุวรรณ์เศวต ประธานสหภาพลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย
23 อรอนงค์ นิธิภาคย์ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต

กลุ่ม 3 ขอต้องไปต่อ

กลุ่ม 3 ขอต้องไปต่อ ลงสมัครฝ่ายผู้ประกันตนทั้งหมด 5 คน โดยมีดังนี้

หมายเลข ชื่อ หมายเหตุ
8 บูรณ์ อารยพล เคยเป็นนักเคลื่อนไหว “กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน”
21 บุญเรือง คุ้มคง
57 เลิศชาย สมัย
58 พิทักษ์ชัย จันทร์สมวงษ์
95 ประสิทธิ์ เพชรแทน

กลุ่มประกันสังคมก้าวหน้า

กลุ่มประกันสังคมก้าวหน้า ลงสมัครฝ่ายผู้ประกันตนทั้งหมด 7 คน มีคณะก้าวหน้าเป็นที่ปรึกษา โดยมีดังนี้

หมายเลข ชื่อ หมายเหตุ
27 ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี นักวิชาการรณรงค์ด้านรัฐสวัสดิการ
และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่
28 ศิววงศ์ สุขทวี ที่ปรึกษาเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
และเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสามัญชน
29 ชลิต รัษฐปานะ สมาชิกสหภาพคนทำงาน
30 ธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง
ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
31 นลัทพร ไกรฤกษ์ นักศึกษาปริญญาโทสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
ทำงานร่วมกับเครือข่ายคนพิการ
และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่
32 ลักษมี สุวรรณภักดี ประธานสหภาพแรงงานมอลลิเก้ เฮลท์ แคร์
33 ธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
(ถูกตัดสิทธิ์)
34 บุญยืน สุขใหม่ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
(ถอนตัวในเวลาต่อมา เพื่อดูแลการชุมนุมของสมัชชาคนจน)

กลุ่มสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย

กลุ่มสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย ลงสมัครฝ่ายผู้ประกันตนทั้งหมด 7 คน โดยมีการสนับสนุนจาก สุชาติ ชมกลิ่น และ พิพัฒน์ รัชกิจประการ

หมายเลข ชื่อ หมายเหตุ
83 ธนัสถา คำมาวงษ์ ประธานสหภาพแรงงานสยามโตโยต้า และกรรมการบริหารสหพันธ์แรงงานโตโยต้า
84 ธีรสุวัฒน์ สิงห์นิยม
85 กิตติศักดิ์ อธิสกุลทรัพย์
86 อำนาจ มงคลชัย
87 วสันต์ มหิงษา
88 วัชรพงษ์ ศิริวัฒน์
89 ว่าที่ร้อยตรี อรรถพร อ่อนนิ่ม

ฝ่ายนายจ้าง

มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 69 คน มีคุณสมบัติทั้งสิ้น 61 คน โดยมีการลงสมัครในนามอิสระ หรือกลุ่มต่างๆ

กลุ่มพัฒนาประกันสังคม

กลุ่มพัฒนาประกันสังคม ลงสมัครฝ่ายนายจ้างทั้งหมด 7 คน โดยมีดังนี้

หมายเลข ชื่อ หมายเหตุ
3 ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์
4 ทรงกรด ชูศรี
5 เบญจพร บุษมงคล
6 ชัชพงศ์ โชติศิริ
7 ฟารีดา บุรณนัฎ
8 สมพงศ์ นครศรี
62 ณัฐหทัย พรชัยศิริมงคล

ผลการเลือกตั้ง

เมื่อปิดการลงคะแนน พบว่าฝ่ายผู้ประกันตน มาใช้สิทธิ 18.36% จากที่ลงทะเบียนไว้ 854,065 คน ฝ่ายนายจ้าง มาใช้สิทธิ 46.82% จากที่ลงทะเบียน ไว้ 3,169 คน

ฝ่ายผู้ประกันตน

หมายเลข ผู้สมัคร สังกัด คะแนนเสียง
27 ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ประกันสังคมก้าวหน้า 71,917
30 ธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน ประกันสังคมก้าวหน้า 69,403
28 ศิววงศ์ สุขทวี ประกันสังคมก้าวหน้า 69,264
29 ชลิต รัษฐปานะ ประกันสังคมก้าวหน้า 69,256
31 นลัทพร ไกรฤกษ์ ประกันสังคมก้าวหน้า 68,133
32 ลักษมี สุวรรณภักดี ประกันสังคมก้าวหน้า 67,113
1 ปรารถนา โพธิ์ดี เครือข่ายพนักงานราชการไทย 15,080
4 จตุรงค์ โพธิ์สิงห์ สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย 14,907
รวมคะแนนเสียงที่ให้ผู้สมัครทั้งหมด
บัตรเสีย
รวม
ข้อมูล:

ฝ่ายนายจ้าง

หมายเลข ผู้สมัคร สังกัด คะแนนเสียง
10 มนตรี ฐิรโฆไท 409
9 วิภาพรรณ มาประเสริฐ 403
31 สิริวัน ร่มฉัตรทอง 368
8 สมพงศ์ นครศรี พัฒนาประกันสังคม 319
19 สุวิทย์ ศรีเพียร 315
3 ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ พัฒนาประกันสังคม 258
33 เพชรรัตน์ เอกแสงกุล 252
รวมคะแนนเสียงที่ให้ผู้สมัครทั้งหมด
บัตรเสีย
รวม
ข้อมูล:

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

การเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566 เบื้องหลังการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566 คณะกรรมการประกันสังคมการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566 เงื่อนไขผู้มีสิทธิเลือกตั้งการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566 ผู้สมัครรับเลือกตั้งการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566 ผลการเลือกตั้งการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566 ดูเพิ่มการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566 อ้างอิงการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566 แหล่งข้อมูลอื่นการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2566การเลือกตั้งในประเทศไทยคณะกรรมการประกันสังคม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วิชัย สังข์ประไพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีรายชื่อธนาคารในประเทศไทยอีเอฟแอลแชมเปียนชิปAท่าอากาศยานดอนเมืองคำอุปสรรคเอสไอแปลก พิบูลสงครามเปรม ติณสูลานนท์กองทัพ พีคประเทศเนเธอร์แลนด์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลเซเรียอาทวีปเอเชียวัชรเรศร วิวัชรวงศ์ธนาคารแห่งประเทศไทยหญิงรักร่วมเพศไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินสำราญ นวลมาปีนักษัตรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ประวิตร วงษ์สุวรรณประเทศติมอร์-เลสเตเดนิส เจลีลชา คัปปุนการบินไทยประเทศแอฟริกาใต้25 เมษายนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประเทศอินโดนีเซียพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรลองของมหัพภาคอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์พระมหากษัตริย์ไทยโลก (ดาวเคราะห์)ไอริณ ศรีแกล้วหีการฆ่าตัวตายจักรพรรดินโปเลียนที่ 1มิตร ชัยบัญชายอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์มูฮัมหมัด อุสมานมูซาฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024ชาลี ไตรรัตน์Fหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ประเทศกัมพูชาธนาคารกรุงไทยจังหวัดสกลนครข่าวช่อง 7HDภาษาไทยถิ่นเหนือคดีพรหมพิราม26 เมษายนรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่อินเทอร์เน็ตธี่หยดจังหวัดชลบุรีไทยลีกจังหวัดกาฬสินธุ์ธนัท ฉิมท้วมธนาคารไทยพาณิชย์จังหวัดสมุทรสาครทิโมธี ชาลาเมต์ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองกรรชัย กำเนิดพลอยวชิรวิชญ์ ชีวอารีสงครามโลกครั้งที่สองจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่รายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าสูตรลับตำรับดันเจียนชานน สันตินธรกุลรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองรหัสมอร์สสงครามเวียดนามตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรงหน้าหลักวินทร์ เลียววาริณข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์🡆 More