โรลันท์ ไฟรส์เลอร์

โรลันท์ ไฟรส์เลอร์ (เยอรมัน: Roland Freisler; 30 ตุลาคม ค.ศ.

1893 – 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945) เป็นนักนิติศาสตร์และตุลาการแห่งนาซีเยอรมนี เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมของนาซี เป็นประธานศาลประชาชน และเป็นผู้เข้าร่วมการประชุมที่วันเซเมื่อ ค.ศ. 1942 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการฆ่าล้างชาวยิว

โรลันท์ ไฟรส์เลอร์
โรลันท์ ไฟรส์เลอร์

ต้นชีวิต

ไฟรส์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1893 ณ เซ็ลเลอ รัฐนีเดอร์ซัคเซิน บิดาของเขา คือ ยูลีอุส ไฟรส์เลอร์ (เกิด 20 สิงหาคม ค.ศ. 1862 ณ คลันเทินดอร์ฟ มอเรเวีย) ซึ่งเป็นวิศวกรและครู มารดาของเขา คือ ชาร์ล็อทเทอ เอากุสเทอ โฟลเร็นทีเนอ ชแวร์ทเฟเกอร์ (เกิด 30 เมษายน ค.ศ. 1863 ณ เซ็ลเลอ และเสียชีวิต 20 มีนาคม ค.ศ. 1932 ณ คัสเซิล) เขามีน้องชายหนึ่งคน คือ อ็อสวัลท์ ไฟรส์เลอร์

เขารับบัพติศมาเข้าเป็นโปรเตสแตนต์เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1893

ต่อมา เขาเข้าเรียนนิติศาสตร์ แต่ต้องหยุดเรียนเมื่อเกิดสงครามขึ้นใน ค.ศ. 1914

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ใน ค.ศ. 1914 นั้นเอง เขาถูกเกณฑ์เป็นนายร้อย ณ กรมทหารราบโอเบอร์-เอ็ลเซ็สซิชเชิส (อาลซัสบน) ที่ 167 ในคัสเซิล

ภายใน ค.ศ. 1915 เขาได้เลื่อนเป็นร้อยโท และขณะประจำอยู่แนวหน้าในสังกัดกองที่ 22 ของกองทัพจักรวรรดิเยอรมันนั้น เขาได้รับอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก (Iron Cross) ชั้น 2 และชั้น 1 ตามลำดับ เพราะความกล้าหาญในการรบ

ครั้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1915 เขาบาดเจ็บจากการรบที่แนวรบด้านตะวันออก และถูกจักรวรรดิรัสเซียจับเป็นเชลย ขณะเป็นเชลยนั้น เขาได้เรียนภาษารัสเซีย และเริ่มสนใจในลัทธิมากซ์หลังเกิดการปฏิวัติรัสเซียขึ้นแล้ว รัฐบาลชั่วคราวของฝ่ายบอลเชวิคซึ่งเข้าควบคุมค่ายเชลยของไฟรส์เลอร์นั้นนำไฟรส์เลอร์มาใช้ประโยชน์ โดยตั้งเขาเป็นคอมมิสซาร์ (Commissar) ตามที่เอกสารรัสเซียพรรณนาไว้เมื่อ ค.ศ. 1918 เขามีหน้าที่จัดเสบียงอาหารในค่ายช่วง ค.ศ. 1917–1918 ต่อมา รัสเซียกับเยอรมนีสงบศึกกัน และโอนเชลยที่ค่ายนี้ไปยังเยอรมนีเมื่อ ค.ศ. 1918 ทำให้ค่ายว่างลง เป็นไปได้ว่า ในช่วงนั้น ไฟรส์เลอร์ไปสังกัดหน่วยองครักษ์แดง (Red Guards) อยู่พักหนึ่ง แต่ไม่มีเอกสารหลักฐานใด ๆ ยืนยันข้อนี้

การเสียชีวิต

เช้าวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ขณะที่ไฟรส์เลอร์นั่งพิจารณาคดีอยู่ที่ศาลประชาชน กองทัพอากาศสหรัฐที่มีผู้นำ คือ กองกำลังบี-17 ของนาวาโท รอเบิร์ต รอเซนทัล (Robert Rosenthal) ทิ้งระเบิดโจมตีเบอร์ลิน อาคารของราชการและพรรคนาซีถูกถล่ม ซึ่งรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานหัวหน้าพรรคนาซี กองบัญชาการเกสตาโป และศาลประชาชน เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนภัย ไฟรส์เลอร์สั่งเลื่อนพิจารณาคดีอย่างรีบด่วน และให้นำนักโทษที่กำลังพิจารณาอยู่นั้นไปยังที่หลบภัย แต่ตนเองยังอยู่ในศาลเพื่อเก็บแฟ้มสำนวนก่อน ในบรรดาแฟ้มเหล่านี้มีแฟ้มคดีของ Fabian von Schlabrendorff สมาชิกผู้ร่วมวางแผน 20 กรกฎาฯ ซึ่งถูกพิจารณาและพิพากษาประหารในวันนั้น อยู่ด้วย

จนเวลา 11:08 นาฬิกา ระเบิดลูกหนึ่งทิ้งตรงลงมายังศาล ทำให้ภายในอาคารพังลงบางส่วน ไฟรส์เลอร์ซึ่งยังอยู่ในห้องพิจารณานั้นถูกเสาปูนถล่มลงมาทับขาดใจตายคาที่ ศพของเขาถูกพบใต้ซากปรักหักพัง โดยยังกอดแฟ้มคดีแฟ้มหนึ่งที่เขาก้มลงหยิบเอาไว้แน่น

แต่บ้างก็เล่าว่า ไฟรส์เลอร์ "โดนระเบิดลูกหลงตายขณะพยายามหนีออกจากศาลยุติธรรมไปยังที่หลบภัยทางอากาศ" และ "เลือดออกจนตายอยู่บนทางเดินนอกศาลประชาชน เลขที่ 15 ถนนเบ็ลวือในเบอร์ลิน" ส่วน Fabian von Schlabrendorff นั้น "ยืนอยู่ข้างไฟรส์เลอร์ตอนที่ไฟรส์เลอร์พบจุดจบ" ไฟรส์เลอร์จึงเหมือนบัง Schlabrendorff ไว้จากวิถีระเบิด และภายหลังสงครามแล้ว Schlabrendorff ก็ได้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

อนึ่ง มีอีกเรื่องเล่าว่า ไฟรส์เลอร์ตายเพราะระเบิดจากฝ่ายบริติชที่ร่วงลงสู่เพดานห้องพิจารณาขณะที่เขาพิจารณาคดีหญิงสองคนอยู่ และหญิงทั้งสองนั้นรอดชีวิตจากระเบิด

ผู้สื่อข่าวต่างชาติรายงานว่า "เห็นชัดว่า ไม่มีใครเสียใจที่เขาตาย" กว่า 25 ปีให้หลัง ลูอีเซอ โยเดิล ภริยาของพลเอก อัลเฟรท โยเดิล ให้สัมภาษณ์ว่า เธอทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลลึทโซตอนที่ศพของไฟรส์เลอร์ส่งมาถึง และมีคนงานคนหนึ่งออกความเห็นว่า "พระเจ้าพิพากษาแล้ว" นางโยเดิลยังเล่าว่า "ไม่มีใครพูดอะไรต่อ (ความเห็นนั้น) เลย"

ศพของไฟรส์เลอร์ฝังไว้ในหลุมศพของตระกูลฝ่ายภริยา ณ สุสานวัลท์ฟรีทโฮฟดาเล็มในเบอร์ลิน แต่ป้ายหน้าหลุมศพไม่จารึกชื่อเขาไว้ สุสานนั้นยังไว้ศพของอุลริช วิลเฮ็ล์ม กราฟ ชเวรีน ฟ็อน ชวาเนินเฟ็ลท์ หนึ่งในผู้ร่วมวางแผน 20 กรกฎาคม ซึ่งถูกประหารชีวิตตามคำสั่งศาลประชาชนไม่กี่เดือนหลังเกิดการพยายามลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อ้างอิง

Tags:

โรลันท์ ไฟรส์เลอร์ ต้นชีวิตโรลันท์ ไฟรส์เลอร์ สงครามโลกครั้งที่หนึ่งโรลันท์ ไฟรส์เลอร์ การเสียชีวิตโรลันท์ ไฟรส์เลอร์ อ้างอิงโรลันท์ ไฟรส์เลอร์การประชุมที่วันเซนาซีเยอรมนีภาษาเยอรมันศาลประชาชน (เยอรมนี)ฮอโลคอสต์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ญีนา ซาลาสจังหวัดปัตตานีปานวาด เหมมณีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจังหวัดอุดรธานีนกกะรางหัวขวานองศาเซลเซียสฟุตซอลชัยวัฒน์ ชื่นโกสุมประเทศสวิตเซอร์แลนด์หนุ่มเย็บผ้ากับสาวนักคอสเพลย์วัดพระศรีรัตนศาสดารามนินจาคาถาโอ้โฮเฮะจังหวัดนครสวรรค์ข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์พระศรีอริยเมตไตรยรายการรหัสไปรษณีย์ไทยสมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติประเทศไต้หวันมินนี่ (นักร้อง)จิตวิทยาร่างทรง (ภาพยนตร์)ข้าราชการไทยกรุงเทพมหานครวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยแปลก พิบูลสงครามบรรดาศักดิ์ไทยจังหวัดเชียงรายสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาประเทศแคนาดาประชาธิปไตยวชิรวิชญ์ ชีวอารีขุนณรงค์ ประเทศรัตน์ศรุต วิจิตรานนท์มาริโอ้ เมาเร่อดวงใจเทวพรหมฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือกเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์คูคลักซ์แคลนพระยศเจ้านายไทยสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลจังหวัดกาฬสินธุ์รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ชาริล ชับปุยส์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์คิม โก-อึนมัธยมศึกษาจิรายุ ตั้งศรีสุขบิลลี ไอลิชช่อง 3 เอชดีฟุตบอลทีมชาติไทยบาท (สกุลเงิน)อาลิง โฮลันปภาวดี ชาญสมอนจังหวัดมหาสารคามภาวะโลกร้อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)บรูซ วิลลิสสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ลิซ่า (แร็ปเปอร์)รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีสายัณห์ สัญญากระทรวงในประเทศไทยฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นวิทยุเสียงอเมริกาสงกรานต์สุรสีห์ ผาธรรมการโฆษณารายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่รายชื่อธนาคารในประเทศไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ (บอลทิมอร์)สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี🡆 More