เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์

เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ (ไอซ์แลนด์: Eyjafjallajökull ⓘ) เป็นชื่อเรียกของครอบน้ำแข็งขนาดเล็กแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศไอซ์แลนด์ ครอบน้ำแข็งแห่งนี้ตั้งอยู่ทิศเหนือของหมู่บ้านสโกอาร์และทางทิศตะวันตกของครอบน้ำแข็งมีร์ตัลส์เยอคุตล์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า

เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์
Guðnasteinn
Hámundur
เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์
จิเยอคุตล์ ธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดบนเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ถูกปกคลุมด้วยเถ้าภูเขาไฟ
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
ภูเขา: 1,651 m (5,417 ft)
ธารน้ำแข็ง: 1,666 m (5,466 ft) 
พิกัด63°37′12″N 19°36′48″W / 63.62000°N 19.61333°W / 63.62000; -19.61333
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ตั้งอยู่ในไอซ์แลนด์
เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์
เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์
ไอซ์แลนด์
ที่ตั้งซูทือร์ลันต์, ประเทศไอซ์แลนด์
เทือกเขาN/A
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขากรวยภูเขาไฟสลับชั้น
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟภูเขาไฟโซนตะวันออก
การปะทุครั้งล่าสุดMarch to June 2010

ชั้นน้ำแข็งของครอบน้ำแข็งดังกล่าวได้ปกคลุมภูเขาไฟ (สูง 1,666 เมตรหรือ 5,466 ฟุต) ซึ่งได้ปะทุค่อนข้างบ่อยนับตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง เมื่อเวลาที่มันนำหินไรโอไลต์ขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการปะทุขึ้นสองครั้งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม และวันที่ 15 เมษายน ผลจากการปะทุในเดือนเมษายน ส่งผลรบกวนการจราจรทางอากาศตลอดยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามันมีความรุนแรงกว่าการปะทุเมื่อเดือนก่อนถึง 10-20 เท่า การปะทุครั้งล่าสุดในอดีตคือจาก ค.ศ. 1821-1823 การระเบิดออกของทะเลสาบธารน้ำแข็งก่อให้เกิดอุทกภัยตามมา. แม้ว่าการประทุของเอยาฟยาลาเยอคุตล์ทำให้เกิดการชะงักครั้งยิ่งใหญ่ แต่หากเทียบกับการประทุครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไอซ์แลนด์เมื่อในอดีตนั้น การประทุครั้งนี้ถือเป็นเพียงแค่หยดน้ำเท่านั้น

การปะทุในปี พ.ศ. 2553

ปลายปี พ.ศ. 2552 กิจกรรมแผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นรอบพื้นที่ภูเขาไฟเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ โดยมีแผ่นดินไหวขนาดย่อมหลายพันครั้ง (ส่วนใหญ่มีความรุนแรง 1-2 โมเมนต์-แมกนิจูด ลึกลงไป 7-10 กิโลเมตรใต้ภูเขาไฟ) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ชุดอุปกรณ์ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ซึ่งสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ใช้ที่ทุ่งทอร์วัลต์เซรีในแถบเอยาฟเยิตล์ (ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 15 กิโลเมตรจากจุดที่มีการปะทุของภูเขาไฟครั้งล่าสุด) ได้แสดงให้เห็นว่า เปลือกท้องถิ่นได้เคลื่อนไปทางทิศใต้ 3 เซนติเมตร โดยการเคลื่อน 1 เซนติเมตร ใช้เวลาภายใน 4 วัน ความผิดปกติของกิจกรรมแผ่นดินไหวครั้งนี้ประกอบกับการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของแผ่นเปลือกโลกในพื้นที่ได้ให้หลักฐานแก่นักธรณีฟิสิกส์ว่า หินหนืด (magma) จากใต้แผ่นเปลือกโลกกำลังไหลเข้าสู่กะเปาะหินหนืด (magma chamber) ใต้ภูเขาไฟเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ กิจกรรมแผ่นดินไหวดังกล่าวยังได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนับตั้งแต่วันที่ 3-5 มีนาคม ได้เกิดแผ่นดินไหวเกือบ 3,000 ครั้งซึ่งตรวจวัดได้ที่จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในภูเขาไฟ

เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ 
การปะทุเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

การปะทุเกิดขึ้นทางตอนใต้ของไอซ์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ณ ระบบภูเขาไฟเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ รายงานการพบเห็นครั้งแรกเกิดขึ้นราว 23:00 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช โดยกลุ่มเมฆสีแดงถูกพบเห็นที่ภูเขาไฟ การปะทุเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงและการเปลี่ยนลักษณะในอัตราสูงในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนหน้าการปะทุ ประกอบกับหินหนืดซึ่งเติมพลังให้กับภูเขาไฟ

เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553 เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ยังคงปะทุขึ้นอีกครั้งหลังจากหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง การปะทุครั้งนี้เกิดขึ้นที่ตรงกลางของธารน้ำแข็ง ทำให้อุทกภัยที่เกิดจากน้ำแข็งละลายไหลทะลักลงสู่แม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งอยู่ทั้งสองด้านของภูเขาไฟ และประชาชน 800 คนต้องถูกอพยพจากพื้นที่ ถนนตามแม่น้ำมาร์คาร์ปลีโยตถูกทำลายในหลายพื้นที่

ไม่เหมือนกับการปะทุครั้งก่อนหน้า การปะทุครั้งที่สองเกิดขึ้นที่ใต้น้ำแข็งของธารน้ำแข็ง น้ำเย็นซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งได้ทำให้ลาวาเย็นลงอย่างรวดเร็วและทำให้ลาวาที่แข็งตัวนั้นแตกกลายเป็นแก้ว ทำให้เกิดอนุภาคแก้วขนาดเล็กซึ่งถูกนำพาไปในพวยเถ้าถ่าน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ทำให้สายการบินที่ออกจากยุโรปและเข้ามายุโรปต้องปิดลงหลายวัน ประกอบกับขนาดของการปะทุ ซึ่งคาดกันว่ามีขนาดเป็น 10-20 เท่า ของการปะทุที่ฟิมม์เวอร์ดูเฮาลส์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ส่งผลให้เกิดพวยเถ้าถ่านซึ่งมีแก้วเจือปนในปริมาณสูงตกค้างในชั้นบรรยากาศระดับสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่ออากาศยาน

สมุดภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ภาพถ่ายจากดาวเทียมของการปะทุในปี พ.ศ. 2553 โดยนาซา

    บทความทางภูมิศาสตร์
    การพยากรณ์เถ้าภูเขาไฟ
    แผนที่


Tags:

เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ การปะทุในปี พ.ศ. 2553เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ สมุดภาพเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ อ้างอิงเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ แหล่งข้อมูลอื่นเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ ภาพถ่ายจากดาวเทียมของการปะทุในปี พ.ศ. 2553 โดยนาซาเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ครอบน้ำแข็งประเทศไอซ์แลนด์ภาษาไอซ์แลนด์ไฟล์:Is-Eyjafjallajökull.oga

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามเวียดนามฟุตบอลทีมชาติอังกฤษจังหวัดกาญจนบุรีเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทยเขตบริหารพิเศษฮ่องกงสิงคโปร์แอร์ไลน์ราณี แคมเปนบรมวุฒิ หิรัญยัษฐิติการแพทย์ทางเลือกไทยลีกไอลิทสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจักรทิพย์ ชัยจินดาอัมสเตอร์ดัมสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาภาคตะวันออก (ประเทศไทย)พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์อินเทอร์เน็ตค็อบบี ไมนูละหมาดพ.ศ. 2567พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567จังหวัดบึงกาฬกูเกิลซาอุดีอาระเบียรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรบาลงดอร์การโฆษณาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ก็อตซิลลารายชื่อตัวละครในวันพีซสราวุธ ประทีปากรชัยสงกรานต์บาปเจ็ดประการไทยแอร์เอเชียเบอร์ลินสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดจังหวัดสงขลาณเดชน์ คูกิมิยะหม่ำ จ๊กมกรอนัลดีนโยเดือนสุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลไทยราชวงศ์จักรีโชกุนพรรคเพื่อไทยรายการรหัสไปรษณีย์ไทยรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ไมโครซอฟท์ธนาคารออมสินจังหวัดภูเก็ตกูเกิล แปลภาษาท่าอากาศยานดอนเมืองรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครสถานีกลางบางซื่ออัลกออิดะฮ์ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์เด่นคุณ งามเนตรรามาวดี นาคฉัตรีย์นิโคลัส มิคเกลสันสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีอุณหภูมิรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์เรวัช กลิ่นเกษรธิษะณา ชุณหะวัณประเทศมัลดีฟส์จังหวัดปราจีนบุรีศุภชัย ใจเด็ดฟุตบอลทีมชาติจีนเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีดอลลาร์สหรัฐ🡆 More