เส้นเวลาของอนาคตไกล

(2) น้ำตกไนแองการา พรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา จะกัดเซาะผาจนน้ำตกถอยร่นไปถึง 32 กิโลเมตร และสูญเข้าไปในทะเลสาบอีรี

สัญลักษณ์ภาพ

เส้นเวลาของอนาคตไกล  หัวข้อ
เส้นเวลาของอนาคตไกล  ดาราศาสตร์ และ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  ธรณีวิทยา และ วิทยาดาวเคราะห์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  ฟิสิกส์อนุภาค
เส้นเวลาของอนาคตไกล  คณิตศาสตร์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  เทคโนโลยี และ วัฒนธรรม

อนาคตของโลก ระบบสุริยะ และเอกภพ

เส้นเวลาของอนาคตไกล  ปีจากปัจจุบัน เหตุการณ์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  36,000 ดาวแคระแดงขนาดเล็ก Ross 248 ผ่านภายใน 3.024 ปีแสงจากโลก เป็นดาวที่เคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
เส้นเวลาของอนาคตไกล  44,000 อัลฟาคนครึ่งม้า มาเป็นระบบดาวคู่ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดซึ่งมากกว่า Ross 248 ที่ถอยห่างออกไป
เส้นเวลาของอนาคตไกล  50,000 (1) จุดสิ้นสุดของช่วงเวลาระหว่างยุคน้ำแข็ง (interglacial period) สืบเนื่องจากการศึกษาโดย Berger และ Loutre ส่งผลให้โลกกลับสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้งตามวัฎจักร โดยไม่นำผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อนจากฝีมือมนุษย์มาคำนวณร่วมด้วย

เส้นเวลาของอนาคตไกล  50,000 ความยาวของวันที่ใช้ในการจับเวลาทางดาราศาสตร์เพิ่มเป็น 86,401 วินาที (ตามระบบเอสไอ) จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ใน 1 วันมี 86,400 วินาที สาเหตุเกิดจากแรงไทดัลของดวงจันทร์หน่วงการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้โลกต้องใช้เวลาหมุนรอบตัวเองครบรอบเพิ่มขึ้น และภายใต้ระบบเวลาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เราจะต้องเพิ่ม 1 วินาทีในทุกวัน
เส้นเวลาของอนาคตไกล  100,000 เนื่องจากดาวฤกษ์แต่ละดวงมีการเคลื่อนที่เฉพาะตัวไปในดาราจักร ทำให้ในอีกแสนปีข้างหน้ากลุ่มดาวต่าง ๆ จะเริ่มมีตำแหน่งดาวฤกษ์เปลี่ยนแปลงและผิดเพี้ยนไป จนไม่สามารถยึดถือระบบกลุ่มดาวแบบเดิมได้
เส้นเวลาของอนาคตไกล  100,000 ดาวฤกษ์ยักษ์ยิ่งยวด วีวาย สุนัขใหญ่ (VY Canis Majoris) มีโอกาสที่จะระเบิดเป็นไฮเปอร์โนวา
เส้นเวลาของอนาคตไกล  100,000 โลกมีโอกาสที่จะเจอกับการปะทุครั้งใหญ่ของมหาภูเขาไฟ (supervolcano) ซึ่งอาจมีแม็กมาปะทุออกมาถึง 400 ลูกบาศก์กิโลเมตร
เส้นเวลาของอนาคตไกล  250,000 ภูเขาใต้ทะเลโลอิฮี (Lōʻihi Seamount) ซึ่งเป็นภูเขาไฟอายุน้อยที่สุดในกลุ่มแนวภูเขาใต้ทะเลฮาวายเอ็มเพอเรอร์ (Hawaiian–Emperor seamount chain) จะโผล่พ้นน้ำและกลายเป็นเกาะภูเขาไฟแห่งใหม่
เส้นเวลาของอนาคตไกล  500,000 โลกมีโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1 กิโลเมตรพุ่งเข้าชนโดยไม่สามารถป้องกันหรือเบี่ยงเบนแนวโคจรได้
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1 ล้าน โลกมีโอกาสที่จะประสบกับการปะทุของมหาภูเขาไฟ ที่สามารถพ่นลาวาออกมาได้ถึง 3,200 ลูกบาศก์กิโลเมตร ใกล้เคียงกับการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟโตบาบนเกาะสุมาตรา
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1 ล้าน เวลาที่เป็นไปได้อย่างช้าที่สุดที่ดาวยักษ์แดง บีเทลจุส จะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา ซึ่งคาดว่าจะสามารถมองเห็นได้บนพื้นโลกแม้ในเวลากลางวัน
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1.4 ล้าน ดาวฤกษ์กลีเซอ 710 (Gliese 710) จะโคจรเข้าใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดที่ 1.1 ปีแสง ก่อนจะโคจรห่างออกไป โดยในขณะนั้นดาวฤกษ์กลีเซอ 710 จะส่งแรงโน้มถ่วงรบกวนวัตถุในเมฆออร์ต ซึ่งเป็นแหล่งรวมวัตถุน้ำแข็งห้อมล้อมระบบสุริยะไว้ ทำให้ระบบสุริยะชั้นในมีความเสี่ยงต่อการชนของเทหวัตถุต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
เส้นเวลาของอนาคตไกล  10 ล้าน หุบเขาทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) ขยายกว้างขึ้นและถูกน้ำจากทะเลแดงเข้าท่วม เป็นต้นกำเนิดมหาสมุทรใหม่ที่จะแยกทวีปแอฟริกาออกจากกัน
เส้นเวลาของอนาคตไกล  50 ล้าน เวลาที่ช้าที่สุดที่ดวงจันทร์โฟบอสจะถูกความหน่วงจากแรงไทดัลดึงเข้าหาดาวอังคาร และในที่สุดก็จะเข้าชนดาวอังคาร
เส้นเวลาของอนาคตไกล  50 ล้าน (1) ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียจะจมตัวและมุดตัวลงร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน (Aleutian Trench) จากการเคลื่อนไปทางทิศเหนือตามรอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส

(2) ทวีปแอฟริกาจะเลื่อนไปทางเหนือและชนกับยูเรเชีย ซึ่งจะปิดกั้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเกิดเทือกเขาคล้ายเทือกเขาหิมาลัยขึ้นแทน

เส้นเวลาของอนาคตไกล  100 ล้าน โลกมีโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตขนาดใกล้เคียงกับที่เคยชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อนชน ซึ่งในครั้งนั้นทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต
เส้นเวลาของอนาคตไกล  230 ล้าน หลังจากนี้เป็นต้นไป จะไม่สามารถทำนายวงโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ได้อีกตามเวลาเลียปูนอฟ (Lyapunow time)
เส้นเวลาของอนาคตไกล  240 ล้าน หากนับเวลาจากปัจจุบันไปอีก 240 ล้านปี ระบบสุริยะจะโคจรรอบดาราจักรทางช้างเผือกและกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิมในปัจจุบันครบหนึ่งรอบ เรียกว่าหนึ่งปีดาราจักร
เส้นเวลาของอนาคตไกล  250 ล้าน ทวีปต่าง ๆ บนโลกมีโอกาสที่จะรวมตัวกันเป็นมหาทวีป (supercontinent) ซึ่งเป็นไปได้สามรูปแบบคือ มหาทวีปอมาเชีย (Amasia) โนโวพันเจีย (Novopangaea) และพันเจียอัลติมา (Pangaea Ultima)
เส้นเวลาของอนาคตไกล  500–600 ล้าน ระยะเวลาโดยประมาณที่จะเกิดแสงวาบรังสีแกมมา หรือซูเปอร์โนวาพลังงานยิ่งยวด ในระยะห่างภายใน 6,500 ปีแสงจากโลก ซึ่งใกล้พอที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อชั้นโอโซนของโลก และก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ หากสมมุติฐานที่ว่าการระเบิดดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในอดีตและทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน–ไซลูเรียน นั้นถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การระเบิดดังกล่าวจะต้องส่งพลังงานมีทิศทางมายังโลกโดยตรงเท่านั้นถึงจะเกิดผลกระทบต่อโลกได้
เส้นเวลาของอนาคตไกล  600 ล้าน ความเร่งไทดัล (Tidal acceleration) จะผลักดวงจันทร์ให้ห่างออกจากโลกไปไกลจนไม่สามารถเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวงได้อีกต่อไป
เส้นเวลาของอนาคตไกล  600 ล้าน ความสว่างของดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นจะไปทำลายวัฏจักรคาร์บอเนต-ซิลิเกต ความสว่างที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มการสึกกร่อนของผิวหิน ซึ่งหินนี้กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ที่พื้นในรูปคาร์บอเนต เมื่อน้ำระเหยไปจากผิวโลกที่เป็นหินแข็งจะทำให้เกิดทวีปเลื่อนอย่างช้าๆและในที่สุดก็หยุดลง เมื่อไม่มีภูเขาไฟช่วยนำคาร์บอนกลับสู่บรรยากาศ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะตกลง ในเวลานี้มันจะตกลงจนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช C3 ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ พืชที่ใช้การสังเคราะห์แสงแบบ C3 (99% ของสปีชีส์ทั้งหมดในปัจจุบัน) จะตาย
เส้นเวลาของอนาคตไกล  800 ล้าน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะลดต่ำจนปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (C4 carbon fixation) ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ออกซิเจนอิสระและโอโซนจะหายไปจากบรรยากาศ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะสูญพันธุ์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1,000 ล้าน ความสว่างของดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกมีค่าประมาณ 320 K (47 °C). ชั้นบรรยากาศจะกลายเป็น "ภาวะเรือนกระจกชื้น", เนื่องจากการระเหยของมหาสมุทร น้ำบางส่วนยังคงเป็นของเหลวในบริเวณขั้วโลก และยังสามารถเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตพื้นฐาน.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1,300 ล้าน สิ่งมีชีวิตจำพวกยูแคริโอตทั้งหมดจะสูญพันธุ์เนื่องจากการขาดแคลนคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนสิ่งมีชีวิตจำพวกโปรคาริโอตจะยังคงมีชีวิตรอด
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1,500–1,600 ล้าน ดวงอาทิตย์สว่างมากขึ้นทำให้เขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เลื่อนออกจากโลกไป ในขณะเดียวกันทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มอุณหภูมิของพื้นผิวดาวอังคารจนใกล้เคียงกับโลกในยุคน้ำแข็ง
เส้นเวลาของอนาคตไกล  2,300 ล้าน แก่นโลกชั้นนอกจะเย็นตัวลง หากแก่นโลกชั้นในค่อย ๆ ขยายตัวในอัตราปัจจุบันที่ 1 มิลลิเมตรต่อปี และเมื่อแกนชั้นนอกที่เป็นของเหลวเย็นตัวลงกลายเป็นของแข็ง จะทำให้สนามแม่เหล็กของโลกหยุดทำงานและหายไป
เส้นเวลาของอนาคตไกล  2,800 ล้าน อุณหภูมิพื้นผิวของโลกเพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 420 เคลวิน (147°C) แม้กระทั่งบริเวณขั้วโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตในขณะนั้น (ซึ่งมีชีวิตรอดเหลือเพียงกลุ่มสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวในสภาพแวดล้อมที่โดดเดี่ยวและกระจัดกระจาย เช่น ตามทะเลสาบบนที่สูง หรือในถ้ำใต้ดิน) สูญพันธุ์โดยสิ้นเชิง
เส้นเวลาของอนาคตไกล  3,000 ล้าน ตำแหน่งมัธยฐานที่ซึ่งทำให้ระยะห่างดวงจันทร์กับโลกมากขึ้นจะไปลดความเอียงของแกนโลก ในขณะนี้ ขั้วโลกจริงจะเกิดความวุ่นวายและรุนแรงมากขึ้น
เส้นเวลาของอนาคตไกล  3,300 ล้าน มีโอกาส 1 เปอร์เซ็นต์ที่วงโคจรของดาวพุธจะถูกขยายออกจนกระทั่งชนกับดาวศุกร์ ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนในระบบสุริยะชั้นใน และเพิ่มความเสี่ยงที่โลกจะถูกชนโดยวัตถุระดับดาวเคราะห์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  3,500-4,500 ล้าน พื้นผิวของโลกจะคล้ายดาวศุกร์ในปัจจุบัน
เส้นเวลาของอนาคตไกล  3,600 ล้าน ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน ไทรทันจะเคลื่อนเข้าหาดาวเนปจูนจนเลยขีดจำกัดของRoche (Roche Limit) จนทำให้เกิดวงแหวนของดาวเนปจูนที่คล้ายกับดาวเสาร์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  4,000 ล้าน ตำแหน่งมัธยฐานที่ดาราจักรแอนดรอเมดาจะชนกับดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งหลังจากนั้นจะดาราจักรจะรวมกันและมีชื่อว่าดาราจักร"Milkomeda".
เส้นเวลาของอนาคตไกล  5,000 ล้าน ดวงอาทิตย์ใช้ไฮโดรเจนหมดทำให้ดวงอาทิตย์ออกจากแถบลำดับหลัก และเริ่มเข้าสู่ช่วงของ ดาวยักษ์แดง.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  7,500 ล้าน โลกและดาวอังคารเกิดไทดัลล็อก(Tidal locking) กับดวงอาทิตย์ที่ขยายตัว
เส้นเวลาของอนาคตไกล  7,900 ล้าน การขยายตัวของดวงอาทิตย์อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 256 เท่าของดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน หรืออาจจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 358,400,000 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลให้ดาวพุธ, ดาวศุกร์และอาจจะรวมถึงโลกถูกทำลาย

ในเวลานี้ ดาวบริวารของดาวเสาร์ ไททัน สามารถมีอุณหภูมิสูงพอที่จะให้กำเนิดชีวิตได้

เส้นเวลาของอนาคตไกล  8,000 ล้าน ในเวลานี้ ดวงอาทิตย์เป็น ดาวแคระขาวที่ประกอบด้วยคาร์บอน และ ออกซิเจน ด้วยมวล 54.05 เปอร์เซนต์ของมวลดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน
เส้นเวลาของอนาคตไกล  22,000 ล้าน จุดจบของจักรวาลในรูปแบบของการฉีกขาดครั้งใหญ่ (Big Rip) รูปแบบของพลังงานมืดเป็นแบบ w = -1.5. การสังเกตกระจุกกาแล็กซี่ที่ถูกเร่งความเร็วโดย Chandra X-ray Observatory บอกว่าสิ่งนี้จะไม่เกิด
เส้นเวลาของอนาคตไกล  50,000 ล้าน สมมติว่าถ้าเรารอดจากการขยายตัวของดวงอาทิตย์ ในเวลานี้โลกและดวงจันทร์จะไทดัลล็อก(tidelocked) ซึ่งไม่ว่าจะอยู่บนดาวดวงไหนก็จะเห็นอีกดวงแค่ด้านเดียว หลังจากนั้น ปฏิกิริยาไทดัล(tidal action) ของดวงอาทิตย์จะดึงโมเมนตัมเชิงมุมออกจากระบบ ทำให้วงโคจรของดวงจันทร์เสื่อมลงและโลกจะหมุนเร็วขึ้น
เส้นเวลาของอนาคตไกล  100,000 ล้าน การขยายตัวของเอกภพ ทำให้ดาราจักรทั้งหมดเคลื่อนออกไปไกลจากกลุ่มท้องถิ่นของทางช้างเผือกจนเลยออกไปจากแนว cosmic light horizon และถูกลบเลือนไปจากเอกภพที่สังเกตได้
เส้นเวลาของอนาคตไกล  150,000 ล้าน รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลจะเย็นลงจากอุณหภูมิประมาณ 2.7 K ถึง 0.3 K ทำให้ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน
เส้นเวลาของอนาคตไกล  450,000 ล้าน ตำแหน่งมัธยฐานของ ประมาณ 47 ดาราจักร ของกลุ่มท้องถิ่นจะรวมกันเป็นดาราจักรขนาดใหญ่แห่งเดียว
เส้นเวลาของอนาคตไกล  800,000 ล้าน เวลาที่คาดการณ์ไว้ที่การปล่อยแสงจากดาราจักร Milkomeda จะลดลง ในขณะที่ดาวแคระแดงข้ามพ้นระยะ"ดาวแคระน้ำเงิน"ซึ่งสว่างที่สุด
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1012 (1 ล้านล้าน) เวลาที่น้อยที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อการกำเนิดดาวฤกษ์ไม่มีอีกต่อไปในกาแล็กซี ในขณะที่กาแล็กซี่ใช้กลุ่มแก๊สที่จำเป็นต่อการสร้างดาวฤกษ์ใหม่ไปจนหมด

การขยายตัวของเอกภพที่คาดว่าเป็นความหนาแน่นของพลังงานมืดที่คงตัว จะทำให้ความยาวคลื่นของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลเพิ่ม 1029 เท่า เกินสเกล cosmic light horizon และจะตรวจจับมันซึ่งเป็นหลักฐานของบิกแบงไม่ได้อีก อย่างไรก็ตามสามารถวัดการขยายตัวของเอกภพได้จากการศึกษาดาวที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

เส้นเวลาของอนาคตไกล  3×1013 (30 ล้านล้าน) เวลาที่ประมาณการไว้ที่ดาวฤกษ์จะผ่านเข้ามาใกล้ดาวฤกษ์อื่นในละแวกเพื่อนบ้าน เมื่อดาวฤกษ์สองดวงผ่านใกล้กัน วงโคจรดาวเคราะห์ของพวกมันจะถูกทำลายและจะหลุดออกจากระบบ โดยเฉลี่ย ยิ่งวงโคจรดาวเคราะห์ใกล้ดาวฤกษ์เท่าไร มันยิ่งใช้เวลานานที่จะหลุด เพราะวงโคจรของมันแน่นเป็นผลจากแรงโน้มถ่วง
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1014 (100 ล้านล้าน) เวลาที่มากที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อการกำเนิดดาวฤกษ์ไม่มีอีกต่อไปในกาแล็กซี จุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนจาก ยุคแห่งดวงดาว(Stelliferous Era) ไปยัง ยุคเสื่อม(Degenerate Era) ซึ่งเป็นยุคที่ไม่มีไฮโดรเจนอิสระสำหรับสร้างดาวฤกษ์ดวงใหม่อีกแล้ว ดาวฤกษ์ที่เหลือค่อยๆใช้เชื้อเพลิงหมดและตายลง
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1.1–1.2×1014 (110–120 ล้านล้าน) เวลาที่ดาวฤกษ์ทุกดวงในเอกภพใช้เชื้อเพลิงจนหมด (ดาวที่อายุยืนที่สุด ดาวแคระแดงมวลน้อยมีช่วงชีวิตประมาณ 10–20 ล้านล้านปี หลังจากจุดนี้ วัตถุที่มีมวลที่ยังเหลืออยู่คือเศษดาว ได้แก่ ดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และหลุมดำ ดาวแคระน้ำตาลยังคงอยู่เช่นกัน

การชนกันระหว่างดาวแคระน้ำตาลจะสร้างดาวแคระแดงใหม่ โดยเฉลี่ยมีดาวฤกษ์ประมาณ 100 ดวง ที่ยังส่องแสงในที่ที่เคยเป็นทางช้างเผือก การชนกันของเศษดาวมีโอกาสทำให้เกิดซูเปอร์โนวา

เส้นเวลาของอนาคตไกล  1015 (1 พันล้านล้าน) เวลาโดยประมาณที่ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะเราและระบบดาวฤกษ์อื่นจะหลุดออกนอกวงโคจร

ในเวลานี้, ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวแคระดำและมีอุณหภูมิเหนือศูนย์องศาสัมบูรณ์อยู่แค่ 5 องศาเซลเซียสเท่านั้น.

เส้นเวลาของอนาคตไกล  1019–1020 (10–100 ล้านล้านล้าน) เวลาโดยประมาณที่ 90%–99% ของดาวแคระน้ำตาลและเศษดาว (รวมทั้งดวงอาทิตย์) จะหลุดออกนอกกาแล็กซี เมื่อวัตถุสองชิ้นเข้าไกลกันมากพอ พวกมันจะแลกเปลี่ยนพลังงานของวงโคจรกับวัตถุมวลน้อยกว่าเพื่อที่จะได้รับพลังงาน ด้วยวิธีนี้ซ้ำๆ วัตถุมวลน้อยจะได้พลังงานเพียงพอที่จะหลุดออกจากกาแล็กซี่ กระบวนการนี้ทำให้ดาวแคระน้ำตาลและเศษดาวส่วนใหญ่หลุดออกจากทางช้างเผือก
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1020 (100 ล้านล้านล้าน) เวลาโดยประมาณที่โลกจะชนกับดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวแคระดำเพราะการเสื่อมของวงโคจรผ่านทางการปลดปล่อยรังสีความโน้มถ่วง ถ้าโลกไม่หลุดจากวงโคจรก่อนเมื่อดาวฤกษ์เคลื่อนใกล้กันหรือดูดกลืนโดยดวงอาทิตย์ระยะดาวยักษ์แดง
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1030 เวลาโดยประมาณที่ดาวที่ยังไม่หลุดจากกาแล็กซี่ (1% – 10%) จะตกลงไปในหลุมดำมวลยวดยิ่งใจกลางกาแล็กซี ณ จุดนี้ ดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่จะพุ่งเข้าหากัน ดาวเคราะห์จะพุ่งเข้าหาดาวฤกษ์ของมัน ผ่านทางการปลดปล่อยรังสีความโน้มถ่วง (gravitational radiation) มีเพียงวัตถุที่อยู่โดดเดี่ยวได้แก่ เศษดาว ดาวแคระน้ำตาล ดาวเคราะห์ที่หลุดจากวงโคจร และ หลุมดำ ที่ยังคงอยู่ในเอกภพ
เส้นเวลาของอนาคตไกล  2×1036 เวลาโดยประมาณของนิวคลีออนทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้จะสลายตัว เมื่อครึ่งชีวิตของโปรตอนเป็นค่าที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ ก็คือ 8.2×1033 ปี
เส้นเวลาของอนาคตไกล  3×1043 เวลาโดยประมาณของนิวคลีออนทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้จะสลายตัว เมื่อครึ่งชีวิตของโปรตอนเป็นค่าที่มากที่สุดที่เป็นไปได้ ก็คือ 1041 ปี เนื่องจากว่าบิกแบงทำให้เกิดการขยายตัว และกระบวนการเดียวกันนี้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้แบริออนมีมากกว่าแอนติแบริออนในจักรวาลระยะแรก จะทำให้โปรตอนสลายตัว ในช่วงเวลานี้, ถ้าโปรตอนสลายตัว ยุคหลุมดำ(Black Hole Era) ซึ่งหลุมดำเป็นวัตถุชนิดเดียวที่เหลืออยู่ในเอกภพ ได้เริ่มขึ้น
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1065 สมมติว่าโปรตอนไม่สลายตัว นี่เป็นเวลาประมาณการสำหรับวัตถุที่แข็งจะจัดเรียงอะตอมและโมเลกุลใหม่ผ่าน อุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) สสารทุกอย่างจะกลายเป็นของเหลว
เส้นเวลาของอนาคตไกล  5.8×1068 เวลาที่ประมาณการไว้ที่หลุมดำมวล 3 เท่าของดวงอาทิตย์จะสลายตัวเป็นอนุภาคเล็กกว่าอะตอมโดยกระบวนการของฮอว์คิง (Hawking process)
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1.342×1099 เวลาที่ประมาณการไว้ที่ หลุมดำใจกลางของ S5 0014+81,ซึ่งเป็นวัตถุที่มีมวลมากที่สุดที่รู้จักในปี 2015 มีมวล 40 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ เหือดหายไปโดยปล่อยรังสีฮอว์คิง (Hawking radiation) โดยโมเมนตัมเชิงมุมเป็นศูนย์(ไม่ใช่หลุมดำที่หมุน) อย่างไรก็ตาม หลุมดำกำลังขยาย เวลาที่ใช้อาจจะนานกว่านี้
เส้นเวลาของอนาคตไกล  1.7×10106 เวลาที่ประมาณการไว้เมื่อหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มีมวล 20 ล้านล้านเท่าของดวงอาทิตย์ สลายตัวไปโดยกระบวนการของฮอว์คิง (Hawking process) นี่เป็นจุดจบของยุคหลุมดำ(Black Hole Era) หลังจากนี้ถ้าโปรตอนสลายตัว จักรวาลจะเข้าสู่ยุคมืด(Dark Era) ซึ่งเป็นยุคที่วัตถุทางกายภาพทุกอย่างจะสลายตัวไปเป็นอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ค่อยๆเข้าสู่สถานะพลังงานสุดท้าย(final energy state)ในระยะฮีทเดธ(Heat Death)ของจักรวาล
เส้นเวลาของอนาคตไกล  10200 เวลาที่มากที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อนิวคลีออนในเอกภพที่สังเกตเห็นได้ สลายตัวไป ถ้ามันไม่ผ่านกระบวนการด้านบน มันจะผ่านกระบวนการอื่นๆในฟิสิกส์อนุภาคสมัยใหม่ เช่น higher-order baryon non-conservation processes, virtual black holes, sphalerons และอื่นๆ ในช่วงเวลา1046 - 10200 ปี
เส้นเวลาของอนาคตไกล  101500 สมมติว่าโปรตอนไม่สลายตัว นี่เป็นเวลาที่ประมาณการไว้เมื่อสสารแบริออนทั้งหมดรวมกันเป็น เหล็ก-56 หรือสลายจากธาตุมวลมากกว่านี้เป็น เหล็ก-56.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  เส้นเวลาของอนาคตไกล  เวลาที่น้อยที่สุดที่ประมาณการไว้เมื่อวัตถุทุกอย่างที่เกินมวลของพลังค์ (Planck mass) สลายผ่านอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) เป็นหลุมดำ (ถ้าไม่มีการสลายตัวของโปรตอน หรือ virtual black holes) ในเวลาที่ยาวนานนี้เอง เหล็กที่เสถียรอย่างมากจะถูกทำลายด้วยอุโมงค์ควอนตัม ดาวเหล็กดวงแรกที่มวลเพียงพอจะสลายผ่านอุโมงค์เป็นดาวนิวตรอน ต่อมาดาวนิวตรอนและดาวเหล็กอื่นๆจะสลายผ่านอุโมงค์เป็นหลุมดำ การสลายของหลุมดำในเวลาต่อมาไปสู่อนุภาคเล็กกว่าอะตอม(กระบวนการใช้เวลาประมาณ 10100 ปี) จะเกิดขึ้นในสเกลเวลานี้ด้วย
เส้นเวลาของอนาคตไกล  เส้นเวลาของอนาคตไกล  เวลาที่ประมาณการไว้ที่ Boltzmann brain ปรากฏในสูญญากาศผ่านทางการลดลงของเอนโทรปี
เส้นเวลาของอนาคตไกล  เส้นเวลาของอนาคตไกล  เวลาที่ช้าที่สุดที่ประมาณการไว้ที่ทุกสสารกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ (ถ้าไม่มีการสลายตัวของโปรตอน หรือ virtual black holes) และต่อมาจะสลายเป็นอนุภาคเล็กกว่าอะตอมในสเกลเวลานี้ด้วย
เส้นเวลาของอนาคตไกล  เส้นเวลาของอนาคตไกล  เวลาที่ช้าที่สุดที่จักรวาลจะถึงสถานะพลังงานสุดท้าย(final energy state) หรือแม้แต่การเกิด false vacuum.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  เส้นเวลาของอนาคตไกล  เวลาที่ประมาณการไว้ เมื่อการกระเพื่อมแบบควอนตัมแบบสุ่ม (random quantum fluctuation) และอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) จะสร้างบิกแบงใหม่

เพราะจำนวนวิธีที่ทุกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมในเอกภพที่สังเกตเห็นได้จะรวมตัว คือ คือ เส้นเวลาของอนาคตไกล  วิธี จำนวนนี้เมื่อคูณด้วย เส้นเวลาของอนาคตไกล  จึงเกิดการerror นอกจากนี้นี่เป็นเวลาที่การกระเพื่อมแบบควอนตัม (quantum fluctuation) และอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) จะสร้างจักรวาลใหม่คล้ายกับของเรา สมมติว่าทุกจักรวาลประกอบไปด้วยอนุภาคเล็กกว่าอะตอมอย่างน้อยจำนวนเท่านี้ และปฏิบัติตามกฎของฟิสิกส์ที่อยู่ในขอบเขตที่ถูกทำนายโดยทฤษฎีสตริง

อย่างง่าย ภายในเวลานี้ วัฏจักรชีวิตทั้งหมดของจักรวาลจากบิกแบง (Big Bang) ถึงสถานะพลังงานสุดท้าย (final energy state) ถึงการเกิดใหม่ จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นจำนวนครั้งเท่ากับจำนวนวิธีที่เป็นไปได้ของการรวมอนุภาคเล็กกว่าอะตอมในจักรวาลที่สังเกตเห็นได้

การสำรวจอวกาศและยานอวกาศ

เส้นเวลาของอนาคตไกล  ปีจากปัจจุบัน เหตุการณ์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  10,000 ไพโอเนียร์ 10 จะโคจรผ่าน ดาวของเบอร์นาร์ดที่ระยะ 3.8 ปีแสง .
เส้นเวลาของอนาคตไกล  25,000 Arecibo message ซึ่งเป็นข้อมูลวิทยุที่ถูกส่งเมื่อ 16 พฤศจิกายน 1974 จะถึงระยะเป้าหมายคือกระจุกดาวทรงกลม Messier 13 นี่เป็นเพียง ข้อความวิทยุระหว่างดาว (interstellar radio message) ที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลของกาแล็กซี่ ตำแหน่งของกระจุกดาวจะเปลี่ยนไป 24 ปีแสง ในกาแล็กซี่ ระหว่างที่ข้อความถูกส่งไป แต่ว่ากระจุกดาวมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 168 ปีแสง ข้อความจึงยังคงถึงเป้าหมาย การตอบกลับจะใช้เวลาอย่างน้อยอีก 25,000 ปี
เส้นเวลาของอนาคตไกล  32,000 ไพโอเนียร์ 10 เคลื่อนที่ผ่าน Ross 248 ที่ระยะ 3 ปีแสง.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  40,000 วอยเอเจอร์ 1 เคลื่อนที่ผ่าน AC+79 3888 ที่ระยะ 1.6 ปีแสง, เป็นดาวในกลุ่มดาว Camelopardalis.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  50,000 คีโอ ยานแคปซูลอวกาศ ได้เดินทางออกไปแล้วกลับมาสู่โลก
เส้นเวลาของอนาคตไกล  296,000 วอยเอจเจอร์ 2 เคลื่อนที่ผ่าน ซิริอุส ที่ระยะ 4.3 ปีแสง, เป็นดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้าเวลากลางคืน.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  2 ล้าน ไพโอเนียร์ 10 เคลื่อนที่ผ่าน ดาวสว่าง อัลดิบาแรน.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  4 ล้าน ไพโอเนียร์ 11 เคลื่อนที่ผ่านดาวในกลุ่มดาว Aquila.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  8 ล้าน วงโคจรดาวเทียมLAGEOSจะถดถอยลง และจะกลับเข้ามาในบรรยากาศโลก จะนำข้อความไปให้มนุษย์ในอนาคต และนำแผนที่ของทวีปตามที่พวกมันคาดหวังว่าจะปรากฏ

เหตุการณ์ทางดาราศาสตร์

เส้นเวลาของอนาคตไกล  ปีจากปัจจุบัน วันที่ เหตุการณ์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  10663 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ
เส้นเวลาของอนาคตไกล  11268 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ
เส้นเวลาของอนาคตไกล  11575 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาวงแหวนและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ
เส้นเวลาของอนาคตไกล  13425 ปี การเกิดขึ้นที่ใกล้จะพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธและดาวศุกร์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  13727 ปี ตำแหน่งแกนของโลกในปีนี้จะทำให้ ดาวเวกา เป็นดาวเหนือ
เส้นเวลาของอนาคตไกล  13,000 ปี
ในจุดนี้ ความเอียงของแกนโลกจะสลับกัน โดยที่ฤดูร้อน และ ฤดูหนาวจะอยู่ในด้านตรงข้ามกับวงโคจรของโลก
เส้นเวลาของอนาคตไกล  15232 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  15790 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาวงแหวนและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ
เส้นเวลาของอนาคตไกล  14,000-17,000 ปี
ตำแหน่งแกนของโลกในปีนี้จะทำให้ Canopus เป็นดาวใต้ แต่มันจะอยู่ภายใน 10° ของขั้วโลกใต้.
เส้นเวลาของอนาคตไกล  27,000 ปี
ความเยื้องศูนย์กลาง ของวงโคจรโลกจะเปลี่ยนไปถึงจุดต่ำสุดคือ 0.00236 (ปัจจุบัน 0.01671)
เส้นเวลาของอนาคตไกล  38172 ปี ดาวยูเรนัสผ่านหน้าดวงอาทิตย์โดยสังเกตเห็นได้จากดาวเนปจูน เป็นการบังดวงอาทิตย์ที่หายากที่สุด
เส้นเวลาของอนาคตไกล  69163 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธและดาวศุกร์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  224508 ปี ดาวศุกร์และดาวพุธจะโคจรผ่านดวงอาทิตย์ตามลำดับ
เส้นเวลาของอนาคตไกล  571741 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์และโลกซึ่งสามารถมองเห็นได้จากดาวอังคาร

การทำนายปฏิทิน

เส้นเวลาของอนาคตไกล  ปีจากปัจจุบัน วันที่ เหตุการณ์
เส้นเวลาของอนาคตไกล  10,000 ปี ปฏิทินเกรกอเรียนจะคลาดเคลื่อนกับตำแหน่งของฤดูกาลไป 10 วัน
เส้นเวลาของอนาคตไกล  20,874 จันทรคติของปฏิทินอิสลาม และ สุริยคติของปฏิทินเกรกอเรียน จะมีเลขปีเดียวกัน หลังจากนี้ปฏิทินอิสลามจะเร็วกว่าปฏิทินเกรกอเรียน
เส้นเวลาของอนาคตไกล  48,901 ในปีนี้ ปฏิทินจูเลียน (365.25 วัน) และ ปฏิทินเกรกอเรียน (365.2425 วัน) จะเป็นวันเดียวกัน โดยห่างกัน 1 ปี

แผนภาพเส้นเวลา

สำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่:

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

รายการอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

เส้นเวลาของอนาคตไกล สัญลักษณ์ภาพเส้นเวลาของอนาคตไกล อนาคตของโลก ระบบสุริยะ และเอกภพเส้นเวลาของอนาคตไกล การสำรวจอวกาศและยานอวกาศเส้นเวลาของอนาคตไกล เหตุการณ์ทางดาราศาสตร์เส้นเวลาของอนาคตไกล การทำนายปฏิทินเส้นเวลาของอนาคตไกล แผนภาพเส้นเวลาเส้นเวลาของอนาคตไกล ดูเพิ่มเส้นเวลาของอนาคตไกล หมายเหตุเส้นเวลาของอนาคตไกล รายการอ้างอิงเส้นเวลาของอนาคตไกล แหล่งข้อมูลอื่นเส้นเวลาของอนาคตไกลทะเลสาบอีรีสหรัฐอเมริกาแคนาดาไนแองการา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

บริษัทธนภพ ลีรัตนขจรประเทศอียิปต์จังหวัดน่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)การสมรสเพศเดียวกันชาคริต แย้มนามทวีปเอเชียเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองจักรทิพย์ ชัยจินดายูฟ่าแชมเปียนส์ลีกประเทศนิวซีแลนด์ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญผลิตโชค อายนบุตรซันนี่ สุวรรณเมธานนท์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรจังหวัดอุดรธานีไททานิค (ภาพยนตร์)เพื่อน(ไม่)สนิทจังหวัดกระบี่ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ฟุตบอลโลก 2026คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้านฤมล พงษ์สุภาพนักเตะแข้งสายฟ้าเจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ดราก้อนบอลจังหวัดนครศรีธรรมราชเขตพื้นที่การศึกษาก็อดซิลล่า ปะทะ คองรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเด่นคุณ งามเนตรสาปซ่อนรักชานน สันตินธรกุลข้าราชการไทยพ.ศ. 2567สฤษดิ์ ธนะรัชต์ดาบพิฆาตอสูรรหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศนพเก้า เดชาพัฒนคุณประเทศฝรั่งเศสการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพัชราภา ไชยเชื้อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)เมษายนประเทศบราซิลทวีปอเมริกาเหนือสีประจำวันในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2018–19มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยประวัติศาสตร์การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)ธัชทร ทรัพย์อนันต์ธฤษณุ สรนันท์สุรเชษฐ์ หักพาลสติปัฏฐาน 4ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)ขุนพันธ์ 3สกีบีดีทอยเล็ตพิมประภา ตั้งประภาพรบาสเกตบอลอินเทอร์เน็ตแบตเตอรี่สะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ (บอลทิมอร์)พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวรณิดา เตชสิทธิ์มิตร ชัยบัญชาโรงเรียนบรรจงรัตน์ฟุตซอลทีมชาติไทยเฟซบุ๊กเกาะกูดศรีรัศมิ์ สุวะดีจังหวัดเชียงใหม่ภาษาอังกฤษ🡆 More