เศรษฐกิจเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี ถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกหากวัดตามราคาตลาด และเป็นอันดับ 5 ของโลกหากวัดตามอำนาจซื้อ ทั้งนี้ใน ค.ศ.

2017 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเยอรมนีมีคิดเป็น 27% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรตามรายงานของไอเอ็มเอฟ เยอรมนียังเป็นหนึ่งในชาติผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและยูโรโซน

เศรษฐกิจเยอรมนี
เศรษฐกิจเยอรมนี
แฟรงก์เฟิร์ต เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของเยอรมนี
สกุลเงินยูโร (EUR)
ปีงบประมาณปีปฏิทิน
ภาคีการค้าEU, WTO และ OECD
สถิติ
จีดีพี3.951 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเงิน, 2018)
4.343 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (PPP, 2018)
จีดีพีเติบโต+1.9% (2016), +2.5% (2017), +1.5% (2018)
จีดีพีต่อหัว47,662 ดอลลาร์สหรัฐ (2018, ตัวเงิน)
ภาคจีดีพีเกษตรกรรม: 0.7%, อุตสาหกรรม: 30.7%, ภาคบริการ: 68.6% (ปมก. 2017)
เงินเฟ้อ (CPI)1.927% (2018)
ประชากรยากจน16.7% (2015)
จีนี31.1 (2018)
แรงงาน41.99 ล้านคน (ต.ค. 2019)
ภาคแรงงานเกษตรกรรม (1.6%), อุตสาหกรรม (24.6%), ภาคบริการ (73.8%) (2011)
ว่างงาน3.1% (ต.ค. 2019)
อุตสาหกรรมหลักเหล็กและเหล็กกล้า, ถ่านหิน, ปูนซีเมนต์, เชื้อเพลิงธรรมชาติ, เคมี, พลาสติก, เครื่องจักรกล, พาหนะ, รถไฟ, ต่อเรือ, อากาศยานและอวกาศ, เครื่องมือช่าง, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เทคโนโลยีสารสนเทศ, ระบบและเครื่องมือแพทย์, เวชภัณฑ์, อาหารและเครื่องดื่ม, สิ่งทอ
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ22 (2020)
การค้า
มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น $1.434 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)
สินค้าส่งออกยานยนต์, เครื่องจักรกล, เคมีภัณฑ์, คอมพิวเตอร์และวงจรไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, โลหะ, อุปกรณ์คมนาคม, อาหาร, สิ่งทอ, ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก
ประเทศส่งออกหลัก
มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น $1.135 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)
สินค้านำเข้าเครื่องจักรกล, อุปกรณ์ประมวลผล, พาหนะ, เคมีภัณฑ์, น้ำมันและแก๊ส, โลหะ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, อาหาร, ผลผลิตทางการเกษตร
ประเทศนำเข้าหลัก
FDI1.653 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ธ.ค. 2017)
หนี้ต่างประเทศ5.084 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2017)
การคลังรัฐบาล
หนี้สาธารณะ60.9% ของจีพีดี (2018)
รายรับ$1.665 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)
รายจ่าย$1.619 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)
อันดับความเชื่อมั่นStandard & Poor's: AAA
แนวโน้ม: คงที่
Moody's: Aaa
แนวโน้ม: คงที่
Fitch: AAA
แนวโน้ม: คงที่
ทุนสำรอง3.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (มิ.ย. 2018)
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book
หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ

ภาคการบริการถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเยอรมนีโดยคิดเป็น 70% ของจีดีพี รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมที่ 29.1% และภาคเกษตรกรรมที่ 0.9% ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงราว 41% ของจีดีพี ใน ค.ศ. 2016 เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกด้วยมูลค่ากว่า 1.21 ล้านล้านยูโร (1.27 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ดุลการค้าสูงที่สุดในโลกด้วยมูลค่ากว่า 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของเยอรมนีคือยานยนต์, เครื่องจักรกล, เคมีภัณฑ์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, อุปกรณ์คมนาคม, โลหะภัณฑ์, อาหาร, ยาง และพลาสติก เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปและไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำมากนัก เยอรมนีเป็นประเทศที่มุ่งเน้นการวิจัยซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมได้จริง มหาวิทยาลัยต่าง ๆมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการคิดค้นผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมนั้น

เยอรมนีเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยป่าไม้, แร่โพแทช, เกลือ, ยูเรเนียม, นิกเกิล, ทองแดง และแก๊สธรรมชาติ พลังงานที่ใช้ในเยอรมนีนั้นมาจากถ่านหินเป็นหลัก (ราว 50%) ตามด้วยพลังงานนิวเคลียร์, แก๊สธรรมชาติ, พลังงานลม, พลังงานชีวมวล, พลังน้ำ และโซลาร์ เยอรมนียังเป็นผู้ผลิตกังหันลมผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก ปัจจุบันพลังงงานหมุนเวียนสามารถผลิตไฟฟ้าได้กว่า 27% ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ทั้งประเทศ

บริษัทเยอรมันกว่า 99% เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่เรียกว่า "มิทเทิลชตันท์" (Mittelstand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว และจากการจัดอันดับ Fortune Global 2000 ในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งเป็นการจัดอันดับบริษัทที่มีรายได้สูงที่สุดสองพันแห่งของโลก ปรากฏมีบริษัทสัญชาติเยอรมันติดอับดับกว่า 53 บริษัท โดย 5 อันดับแรกคือ ฟ็อลคส์วาเกิน, อลิอันซ์, ไดมเลอร์, บีเอ็มดับเบิลยู และซีเมนส์

ระบบเศรษฐกิจ

ภาคอุตสาหกรรม

เยอรมนีเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมหนักมาตั้งแต่ก่อนการรวมชาติเยอรมันในปี ค.ศ. 1871 อุตสาหกรรมของเยอรมันก้าวกระโดดอย่างมโหฬารในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมันได้กลายเป็นมหาอำนาจด้านอุตสาหกรรม, การทหาร, เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ของโลก โดยได้รับรางวัลโนเบลมากกว่าชาติอื่น ๆ จักรวรรดิเยอรมันเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าได้มากเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหราชอาณาจักร องค์ความรู้ที่สั่งสมและพัฒนาต่อยอดอยู่เสมอตลอดระยะเวลาว่าศตวรรษ ได้กลายเป็นต้นทุนทางปัญญาที่สำคัญของอุตสาหกรรมเยอรมันในปัจจุบัน

ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างครองสัดส่วน 29% ของจีดีพีเยอรมนีในปี 2008 มีประชากรวัยทำงาน 29% ทำงานอยู่ในภาคเศรษฐกิจนี้ เยอรมนีมีความเป็นเลิศทางด้านยานยนต์, เครื่องจักรกล, เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ เยอรมนีสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 6 ล้านคันในปี 2016 และมากเป็นอันดับสี่ของโลกรองจากจีน, สหรัฐ และญี่ปุ่น รถยนต์ที่ผลิตในเยอรมนีถือเป็นรถยนต์ระดับพรีเมี่ยม และเยอรมนีครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์กลุ่มนี้ถึง 90% ของส่วนแบ่งตลาดโลก รถยนต์ที่ผลิตในเยอรมนีส่วนมากเป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยในปี 2016 เยอรมนีสามารถส่งออกรถยนต์ได้เป็นมูลค่าถึง 1.51 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก (คิดเป็น 21.8% ของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั่วโลก) ตามด้วยญี่ปุ่นและสหรัฐ

เยอรมนียังมีอุตสาหกรรมการทหารชั้นแนวหน้าของโลก โดยในปี 2015 เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์อันดับสามของโลกรองจากสหรัฐและรัสเซียด้วยมูลค่ากว่า 4.2 พันล้านยูโร ซาอุดีอาระเบียถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดที่นำเข้าอาวุธจากเยอรมนี

ภาคการบริการ

ภาคการบริการในเยอรมนีครองสัดส่วน 69% ของจีดีพีเยอรมนีในปี 2008 มีประชากรวัยทำงาน 67.5% ทำงานอยู่ในภาคเศรษฐกิจนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคการบริการได้แก่ บริการด้านการเงิน การเช่า และการประกอบธุรกิจ (30.5%); ด้านการค้า การท่องเที่ยว ภัตตาการ การโรงแรม และขนส่ง (18%); กิจกรรมด้านบริการอื่น ๆ (21.7%) นอกจากนี้ เยอรมนียังถือเป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยมีผู้มาเยือนกว่า 39 ล้านคนในปี 2015 สร้างรายได้เข้าประเทศราว 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ กิจกรรมการท่องเที่ยวในเยอรมนีสร้างงานราว 2 ล้านตำแหน่ง

รัฐในเยอรมันเรียงตามขนาดเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจเยอรมนี 
ขนาดเศรษฐกิจของแต่ละรัฐในประเทศเยอรมนี
ราชชื่อรัฐในเยอรมนีเรียงตามจีดีพีในปี 2018
รัฐ อันดับ ผลิตภัณฑ์มวลรวม
(พันล้านยูโร)
% ต่อจีดีพีรวม ยูโรต่อหัว
เศรษฐกิจเยอรมนี  ประเทศเยอรมนี   3,386.0 100.00 40,786
เศรษฐกิจเยอรมนี  นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน 1 705.0 20.82 39,315
เศรษฐกิจเยอรมนี  บาวาเรีย 2 625.1 18.46 47,805
เศรษฐกิจเยอรมนี  บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค 3 511.4 15.10 46,201
เศรษฐกิจเยอรมนี  เฮ็สเซิน 4 296.1 8.74 47,263
เศรษฐกิจเยอรมนี  นีเดอร์ซัคเซิน 5 292.0 8.62 36,582
เศรษฐกิจเยอรมนี  ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ 6 149.1 4.40 36,508
เศรษฐกิจเยอรมนี  เบอร์ลิน 7 147.0 4.34 40,340
เศรษฐกิจเยอรมนี  ซัคเซิน 8 126.3 3.73 30,979
เศรษฐกิจเยอรมนี  ฮัมบวร์ค 9 120.3 3.55 65,345
เศรษฐกิจเยอรมนี  ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ 10 97.0 2.86 33,494
เศรษฐกิจเยอรมนี  บรันเดินบวร์ค 11 73.7 2.18 29,351
เศรษฐกิจเยอรมนี  ทือริงเงิน 12 63.8 1.88 29,771
เศรษฐกิจเยอรมนี  ซัคเซิน-อันฮัลท์ 13 63.5 1.88 28,759
เศรษฐกิจเยอรมนี  เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น 14 44.9 1.33 27,908
เศรษฐกิจเยอรมนี  ซาร์ลันท์ 15 35.9 1.06 36,263
เศรษฐกิจเยอรมนี  เบรเมิน 16 34.2 1.01 50,147

อ้างอิง

Tags:

เศรษฐกิจเยอรมนี ระบบเศรษฐกิจเศรษฐกิจเยอรมนี รัฐในเยอรมันเรียงตามขนาดเศรษฐกิจเศรษฐกิจเยอรมนี อ้างอิงเศรษฐกิจเยอรมนีประเทศเยอรมนีภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อยุโรปยูโรยูโรโซนรายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)สหภาพยุโรปไอเอ็มเอฟ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ดาวซานถี่ อุบัติการณ์สงครามล้างโลกเนลสัน แมนเดลาอุษามณี ไวทยานนท์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์กีบ (สกุลเงิน)สุรสีห์ ผาธรรมกรดยูริกความคลั่งทิวลิปพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเศรษฐา ทวีสินบารัก โอบามา4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ประเทศฟิลิปปินส์ประเทศมัลดีฟส์กูเกิล โครมจังหวัดเลยการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสเครยอนชินจังGeorge W. Bushสุภาพบุรุษจุฑาเทพธนวรรธน์ วรรธนะภูติสหราชอาณาจักรชาคริต แย้มนามจังหวัดสงขลาประเทศลาวอธิชาติ ชุมนานนท์ประเทศเดนมาร์กกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39อี โด-ฮย็อนบริษัทโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชิตพล ลี้ชัยพรกุลราณี แคมเปนจังหวัดชลบุรีอาณาจักรล้านนาทวีปแอฟริกาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์สีประจำวันในประเทศไทยวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารบาท (สกุลเงิน)รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเอมิเรตส์แอร์ไลน์แอน ทองประสมฟุตบอลโลก 2026ชวลิต ยงใจยุทธนิชคุณ ขจรบริรักษ์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาธฤษณุ สรนันท์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศคิม จี-ว็อน (นักแสดง)สาธารณรัฐจีนธนาคารกสิกรไทยจังหวัดสกลนครเดนิส เจลีลชา คัปปุนศิริลักษณ์ คองสกีบีดีทอยเล็ตวิทยุเสียงอเมริกาคงกะพัน แสงสุริยะสงครามโลกครั้งที่ 2บาร์เซโลนาประเทศพม่าสงครามเย็นจรูญเกียรติ ปานแก้วกติกาฟุตบอลภรภัทร ศรีขจรเดชาทวีปอเมริกาเหนือพระเยซูจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สราวุธ ประทีปากรชัย🡆 More