ตนกูสุเบีย

เติงกูซาฟียะฮ์ บินตี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน มูฮัมเมด มูอัซซัม ชะฮ์ (มลายู: Tengku Safiah binti al-Marhum Sultan Muhammed Muazzam Shah; ราว พ.ศ.

2381 – 16 มกราคม พ.ศ. 2437) เป็นที่รู้จักในนาม ตนกูสุปิยา, สุเบีย, สุเปีย หรือ สะเปีย เป็นเจ้านายมลายูจากรัฐสุลต่านรีเยา-ลิงกา ที่เคยรับราชการเป็นบาทบริจาริกามุสลิมท่านแรกและท่านเดียวในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และหากเจ้าจอมท่านนี้ประสูติการพระราชบุตร พระราชบุตรพระองค์นั้นก็จะเป็นเจ้าฟ้าโดยอัตโนมัติ เพราะถือว่ามีพระชนนีเป็นเจ้า เช่นเดียวกับกรณีของเจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง บาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกท่านที่เป็นเจ้านายต่างด้าวเช่นกัน แต่เจ้าจอมทั้งสองท่านก็มิได้ประสูติพระราชบุตรแต่อย่างใด

ซาฟียะฮ์/สุเบีย
บาทบริจาริกาในรัชกาลที่ 4
ตนกูสุเบีย
ประสูติพ.ศ. 2381
สิ้นพระชนม์16 มกราคม พ.ศ. 2437 (56 ปี)
พระสวามีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2404–2411)
เติงกูลง บินเติงกูกูดิน (พ.ศ. 2419–2428)
พระบุตรสองคน
ราชวงศ์เบินดาฮารา (ประสูติ)
จักรี (เสกสมรส)
พระบิดาสุลต่านมูฮัมมัดที่ 2 มูอัซซัม ชะฮ์
พระมารดาเติงกูเกิลซุม เลอบาร์ ปูติฮ์
ศาสนาอิสลาม

หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว ตนกูสุเบียเสกสมรสใหม่กับเติงกูลง บินเติงกูกูดิน (Tengku Long bin Tengku Kudin) ที่รัฐตรังกานู

ประวัติ

ชีวิตตอนต้น

เจ้าจอมตนกูสุเบียเป็นพระธิดาของสุลต่านมูฮัมมัดที่ 2 มูอัซซัม ชะฮ์แห่งลิงกา (Sultan Muhammed II Muazzam Shah) เกิดแต่เติงกูเกิลซุม เลอบาร์ ปูติฮ์ (Tengku Kelsum Lebar Putih) หรือปรากฏใน พงษาวดารเมืองตรังกานู ว่า ตนกูลีปอ หรือ ริบอ พระชายาพระองค์แรก และเป็นพระธิดาในสุลต่านอะฮ์มัด ชะฮ์แห่งตรังกานู (Sultan Ahmad Shah) หรือพระยาตรังกานูอามัด ใน พงษาวดารเมืองตรังกานู ระบุว่า "...ตนกูลีปอเปนภรรยาเจ้าเมืองสิงคา มีบุตร คือ สุลต่านมะหะมุด ๑ ตนกูสะเปีย ๑..." โดยเจ้าจอมตนกูสุเบียมีพระพี่น้องรวมพระชนกชนนีสามพระองค์ มีพระเชษฐาคือสุลต่านมะฮ์มุดที่ 4 มูซัฟฟาร์ ชะฮ์ (Sultan Mahmud IV Muzaffar Shah) หรือ สุลต่านมะหะมุด หรือมหะมุด เป็นสุลต่านเมืองลิงกาพระองค์ถัดมา

บางแหล่งข้อมูลระบุว่า ตนกูสุเบียเป็นพระธิดาลำดับที่เจ็ดของสุลต่านมูฮัมมัดที่ 2 มูอัซซัม ชะฮ์ ประสูติแต่เอินจิกฮาลีมะฮ์ บินตี อับดุลละฮ์ พระชายาชาวจีนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จากข้อมูลนี้ตนกูสุเบียมีเชื้อสายจีนครึ่งหนึ่ง และเป็นพระขนิษฐาต่างพระชนนีของสุลต่านมะฮ์มุด มูซัฟฟาร์ ชะฮ์

ในราชสำนักสยาม

เจ้าจอมตนกูสุเบียได้เข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ความว่า

"ณ วันศุกร เดือน ๘ อุตราสาธ แรม ๔ ค่ำโปรดฯ ให้สุลต่านเข้าเฝ้าพร้อมด้วยศรีตวันกรมการเมืองตรังกานู ซึ่งเข้ามาถวายต้นไม้ทองเงิน เสด็จออกรับใหญ่ให้เป็นเกียรติยศแก่สุลต่านมะหมุด ๆ คิดถึงพระเดชพระคุณ จึงยกน้องหญิงต่างมารดาอายุ ๒๓ ปี ชื่อตนกูสุปิยาถวายให้ทำราชการอยู่ข้างใน"

ตนกูสุเบียถือเป็นพระสนมที่เป็นอิสลามิกชนท่านแรกและท่านเดียวในรัชกาล และรับราชการอย่างไม่เต็มใจ แต่ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับการแสดงความจงรักภักดีของรัฐสุลต่านตรังกานูและลิงกาที่มีต่อกษัตริย์สยาม รวมทั้งมุ่งหวังให้กรุงสยามแทรกแซงการเมืองของอาณาจักรปะหังที่สุลต่านมะฮ์มุดที่ 4 หมายพระทัยจะยึดครอง ด้วยความที่เจ้าจอมตนกูสุเบียมีพระชาติกำเนิดเป็นเจ้านายจากต่างประเทศ หากเจ้าจอมมีพระสูติการพระราชบุตร พระราชบุตรพระองค์นั้นจะถูกยกเป็น เจ้าฟ้า ตั้งแต่แรกประสูติหรือที่เรียกว่า "เจ้าฟ้าตรง" หรือ "เจ้าฟ้าไบไรต์" เช่นเดียวกับเจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง พระสนมอีกพระองค์หนึ่งที่เป็นเจ้านายจากเมืองเขมร แต่เจ้าจอมก็มิได้ให้ประสูติการพระราชโอรส ดังปรากฏใน ธรรมเนียมในราชตระกูลสยาม ความว่า

"...ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเยี่ยมซึ่งเป็นบุตรสมเด็จพระเจ้านโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งโปรดฯ ให้เป็นพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง แลตนกูสุเบีย ซึ่งเป็นน้องสาวสุลต่านมหมุดเมืองลิงงา เป็นพระสนมอยู่ทั้งสองคน ก็ได้ปรารภเป็นการดังทราบทั่วกัน ถ้าพระราชบุตรเกิดด้วยเจ้า ๒ คนนี้ ก็ต้องเป็นเจ้าฟ้าตามธรรมเนียมเหมือนกัน แต่ก็มีคนรังเกียจอยู่ในการที่จะต้องเป็นดังนั้นมาก"

ในงานเขียนของแอนนา ลีโอโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักรัชกาลที่ 4 กล่าวถึงเจ้าจอมตนกูสุเบียว่าเป็นเจ้าจอมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตกหลุมรักตั้งแต่เธอเข้ามาในราชสำนัก แต่ตนกูสุเบียนั้นไม่ค่อยเต็มใจจะถวายงานและวางท่าทีนิ่งเฉย ที่สุดจึงถูกปลดจากตำแหน่งและใช้ชีวิตอยู่ล้าหลังในกำแพงวัง หลังสุลต่านมะฮ์มุด พระเชษฐาถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2407 พระยาตรังกานูจึงส่งหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต นำครอบครัวของสุลต่านมะฮ์มุดในกรุงเทพมหานครกลับคืน ก็โปรดเกล้าพระราชทานให้ไป ส่วนตนกูสุเบียยังอยู่พำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวังต่อไป

สมรสใหม่

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2411 ล่วงมาในปี พ.ศ. 2419 เจ้าจอมตนกูสุเบียจึงกราบบังคมทูลลาออกจากราชการ โดยออกจากพระบรมมหาราชวังไปอาศัยกับพระยาตรังกานูอุมา ผู้ลุง ก่อนเสกสมรสใหม่กับเติงกูลง บินเติงกูกูดิน (Tengku Long bin Tengku Kudin) หรือปรากฏใน พงษาวดารเมืองตรังกานู ว่าตนกูหลงบุตรตนกูเดน หลานพระยาตรังกานูกาโหด ในปีเดียวกันนั้น และไปใช้ชีวิตที่ตรังกานู มีบุตรธิดาสองคน เป็นชายชื่อเติงกูงะฮ์ บินเติงกูลง อีกคนเป็นหญิงไม่ปรากฏนาม ตนกูสุเบียอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งสามีเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2428

หลังเจ้าจอมตนกูสุเบียออกจากพระบรมมหาราชวังกรุงสยามไปแล้ว แต่ก็ยังปรากฏในบันทึกของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุรายวันของพระองค์เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2431 ขณะโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสภาคใต้ที่ทรงพบเจ้าจอมตนกูสุเบียร่วมเฝ้าแหนที่ตรังกานูด้วย ความว่า

"๓ โมงเช้า ๔๐ มินิต (09.40 น.) ถึงเมืองตรังกานู [...] พระยาตรังกานูกับรายามุดาศรีตวันกรมการมาคอยรับเสด็จพร้อมกัน ประทับอยู่ครู่หนึ่งแล้วเสด็จลงเรือไปประทับ​ที่บ้านพระยาตรังกานู มีแขกแต่งเป็นคู่แห่เหมือนเมืองกลันตัน ถึงบ้านมีผู้หญิงแต่งตัวคลุมหัวมาคอยรับอยู่มาก มีตนกูสะเปียซึ่งเคยเข้าอยู่เป็นเจ้าจอมทูลหม่อมปู่เป็นต้น..."

เจ้าจอมตนกูสุเบียถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2437

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ตนกูสุเบีย ประวัติตนกูสุเบีย อ้างอิงตนกูสุเบีย แหล่งข้อมูลอื่นตนกูสุเบียบาทบริจาริกาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภาษามลายูมลายูมุสลิมรัฐสุลต่านรีเยา-ลิงกาเจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง ในรัชกาลที่ 4

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ยศวรรธน์ ทะวาปีประยุทธ์ จันทร์โอชายิ่งลักษณ์ ชินวัตรวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์หัสวีร์ ภัคพงษ์ไพศาลอิทธิบาท 4รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยประเทศเยอรมนีพรรคเพื่อชาติราโยบาเยกาโนแพนด้าแดงปณิตา ธรรมวัฒนะเร็ว..แรงทะลุนรก 9สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจจังหวัดเชียงใหม่สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ดสถานีกลางบางซื่อจังหวัดสระบุรีจังหวัดสมุทรสาครพรรคภูมิใจไทยขุนพันธ์ 3กรุงเทพมหานครและปริมณฑลชนม์สวัสดิ์ อัศวเหมประเทศซูดานสล็อตแมชชีนสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีแมวทวีปเอเชียจักรพรรดิเฉียนหลงเครื่องคิดเลขมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)ติ๊กต็อกประเทศญี่ปุ่นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีนามสกุลพระราชทานประเทศจอร์เจียชวน หลีกภัยรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพรรคไทยสร้างไทยบาท (สกุลเงิน)ประเทศอินโดนีเซียตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดเซียนแปะโรงสีท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไทยสโมสรวอลเลย์บอลหญิงไดมอนด์ฟู้ดจังหวัดนครราชสีมาจิราพร สินธุไพรโยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอสการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557จังหวัดศรีสะเกษในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเกาะเสม็ดหมอหลวงจังหวัดสุรินทร์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ฮัน โซ-ฮีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคประเทศไต้หวันเภตรานฤมิตเฉลิม อยู่บำรุงณเดชน์ คูกิมิยะพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)มหาวิทยาลัยรามคำแหงฟุตบอลโลกสโมสรฟุตบอลเบิร์นลีย์เซลีน ดิออนเร็ว..แรงทะลุนรกโรงเรียนเตรียมทหารธัญญาเรศ เองตระกูลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค🡆 More