เกรียง กัลป์ตินันท์

เกรียง กัลป์ตินันท์ ม.ป.ช.

2495) ชื่อเล่น เบี้ยว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ

เกรียง กัลป์ตินันท์
เกรียง กัลป์ตินันท์
เกรียง ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 240 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการอนุทิน ชาญวีรกูล
ก่อนหน้านริศ ขำนุรักษ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(10 ปี 237 วัน)
ก่อนหน้าไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์
ถัดไปวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์
เขตเลือกตั้งเขต 1
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 (71 ปี)
อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2555–2561,2561–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2538–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
ไทยรักษาชาติ (2561)
คู่สมรสรจนา กัลป์ตินันท์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ชื่อเล่นเบี้ยว

ประวัติ

เกรียง กัลป์ตินันท์ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านศิลปศาสตร์ และปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

เกรียง กัลป์ตินันท์ สมรสกับรจนา กัลป์ตินันท์ มีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน (เสียชีวิต) และมีบุตรชาย 2 คน คือ วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี และ อภิสิทธ์ กัลป์ตินันท์

ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 เกรียง กัลป์ตินันท์ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก

การทำงาน

เข้าสู่การเมือง

เกรียง กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยสามารถเอาชนะ นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เจ้าพ่ออีสานใต้ในยุคนั้น นับเป็นการโชว์ฝีไม้ลายมือในสนามการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรสมัยแรก

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 แต่ได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในปี พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในนั้น

หวนคืนสู่สนาม

จากนั้นในปี พ.ศ. 2555 เกรียง กลับหวนสู่ถนนสายการเมืองอีกครั้ง โดยการนั่งตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 42

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ผบ.มทบ. 22 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เรียก นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รวมทั้งนายวรสิทธิ์ และนางพิทยา กัลป์ตินันท์ (ภรรยานายวรสิทธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี) เข้าพบเพื่อพูดคุยถึงนโยบายเรื่องผู้มีอิทธิพล เขาลาออกจากพรรคไทยรักษาชาติในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และเข้าสมัครเป็นสมัครพรรคเพื่อไทยในวันถัดมา

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 10 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 6 และได้รับการเลือกตั้ง และวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน โดยได้รับมอบหมายจากอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นผู้สั่งการและปฏิบัติราชการในกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกรุงเทพมหานคร รวมถึงกำกับดูแลองค์การตลาดและองค์การจัดการน้ำเสีย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เกรียง กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันอีก 4 ครั้ง และครั้งล่าสุด ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 ดังนี้

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Tags:

เกรียง กัลป์ตินันท์ ประวัติเกรียง กัลป์ตินันท์ การทำงานเกรียง กัลป์ตินันท์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกรียง กัลป์ตินันท์ อ้างอิงเกรียง กัลป์ตินันท์บ้านเลขที่ 111พรรคเพื่อไทยพรรคไทยรักษาชาติรองหัวหน้าพรรครัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เกริกพล มัสยวาณิชจังหวัดประจวบคีรีขันธ์รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกจิรภพ ภูริเดชเทย์เลอร์ สวิฟต์สาปซ่อนรักข้าราชการส่วนท้องถิ่นโอดะ โนบูนางะรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดจังหวัดสกลนครเหตุการณ์ 14 ตุลาคูคลักซ์แคลนการสมรสเพศเดียวกันชญานิศ จ่ายเจริญตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอลรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยยูทูบปัญญา นิรันดร์กุลยุกต์ ส่งไพศาลฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนยุโรปฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถนนพระรามที่ 2จังหวัดชลบุรีรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตจังหวัดกาญจนบุรีพาทิศ พิสิฐกุลสีประจำวันในประเทศไทยธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญสหรัฐสุภัคชญา ชาวคูเวียงฟุตบอลทีมชาติบราซิลประเทศฟิลิปปินส์จังหวัดลำปางหมากรุกอิษยา ฮอสุวรรณไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)เอสบีโอเบทสงครามโลกครั้งที่หนึ่งประเทศไต้หวันพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขประเทศอิตาลีทวิตเตอร์จังหวัดหนองบัวลำภูองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยชาติชาย ชุณหะวัณประเทศญี่ปุ่นประเทศบราซิลธนาคารกสิกรไทยการโฆษณาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้พิชชาภา พันธุมจินดาประเทศจอร์เจียฟุตบอลทีมชาติอังกฤษกรรชัย กำเนิดพลอยประเทศไทยFสุภโชค สารชาติเศรษฐา ทวีสินขอบตาแพะตี๋ เหรินเจี๋ยวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีบาท (สกุลเงิน)รายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดสงครามโลกครั้งที่สองข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์27 มีนาคมพระโคตมพุทธเจ้าประวัติศาสตร์ไทยเจษฎ์ โทณะวณิกซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์หญิงรักร่วมเพศกรุงเทพมหานครโทกูงาวะ อิเอยาซุทศศีลดอลลาร์สหรัฐ🡆 More