อันนาแห่งเดนมาร์ก

อันนาแห่งเดนมาร์ก หรือ แอนน์แห่งเดนมาร์ก (อังกฤษ: Anne of Denmark; 12 ธันวาคม ค.ศ.

1574">ค.ศ. 1574 — 2 มีนาคม ค.ศ. 1619) เป็นพระราชธิดาองค์ที่สองของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์กและโซฟีแห่งเมคเลินบวร์ค-กึสโทร สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ เป็นพระมเหสีในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ แอนน์แห่งเดนมาร์กเป็นพระราชินีแห่งสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1589 และเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1589 กระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1619 ที่พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ตในอังกฤษ พระศพของพระองค์ตั้งอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

อันนาแห่งเดนมาร์ก
อันนาแห่งเดนมาร์ก
พระสาทิสลักษณ์ ค.ศ. 1605
สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์
ดำรงพระยศ20 สิงหาคม ค.ศ. 1589 - 2 มีนาคม ค.ศ. 1619
ก่อนหน้าพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน (ปกครองร่วมผ่านสิทธิ์พระมเหสี)
ถัดไปอ็องเรียต มารีแห่งฝรั่งเศส
สมเด็จพระราชินีแห่งชาวสกอต
ดำรงพระยศ24 มีนาคม ค.ศ. 1589 - 2 มีนาคม ค.ศ. 1619
ก่อนหน้าเจมส์ เอิร์ลที่ 4 แห่งโบธธ์เวลล์ (พระมหากษัตริย์พระราชสวามี)
ถัดไปอ็องเรียต มารีแห่งฝรั่งเศส
พระราชสมภพ12 ธันวาคม ค.ศ. 1574
เดนมาร์ก สแกนเดอร์บอร์ก ประเทศเดนมาร์ก
สวรรคต2 มีนาคม ค.ศ. 1619
อังกฤษ พระราชวังแฮมพ์ตัน ประเทศอังกฤษ
คู่อภิเษกพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระราชบุตรเฮนรี เฟรเดอริค เจ้าชายแห่งเวลส์
เอลิซาเบธ สจวต สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย
มากาเร็ต สจวต
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ
โรเบิร์ต สจวต ดยุกแห่งคินไทร์
แมรี สจวต
โซเฟีย สจวต
พระนามเต็ม
แอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ราชวงศ์สจวต (เสกสมรส)
ออลเดนบูร์ก
พระราชบิดาพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาโซฟีแห่งเมคเลินบวร์ค-กึสโทร สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์

อันนาทรงเสกสมรสกับพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เมื่อปี ค.ศ. 1589 เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา มีพระโอรสธิดาสามพระองค์ที่รอดมาได้จนทรงเจริญพระชนม์รวมทั้งพระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระองค์ทรงเป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวพอที่จะทรงใช้ความแตกแยกของการเมืองในสกอตแลนด์เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องสิทธิในตัวพระโอรส เฮนรี เฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ จากพระเจ้าเจมส์ ดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงรักพระเจ้าเจมส์ในตอนแรก แต่ต่อมาทั้งสองพระองค์ก็ทรงห่างเหินจากกัน จนในที่สุดก็ทรงแยกกันอยู่ แต่ก็ยังคงทรงมีความนับถือซึ่งกันและกันอยู่บ้าง

เมื่อประทับอยู่ในอังกฤษ พระองค์ทรงหันความสนใจจากทางด้านการเมืองที่เป็นฝักเป็นฝ่ายไปเป็นการอุปถัมภ์ศิลปะ และการสร้างราชสำนักที่หรูหราของพระองค์เอง ทรงจัดให้มีการพบปะในซาลอนที่ทำให้เป็นราชสำนักของพระองค์เป็นราชสำนักที่มีวัฒนธรรมสูงที่สุดสำนักหนึ่งในยุโรป หลังจากปี ค.ศ. 1612 พระสุขภาพพลานามัยของพระองค์ก็เริ่มเสื่อมลง จนในที่สุดก็ทรงถอนตัวจากราชสำนัก ตามทางการแล้วพระราชินีแอนน์สวรรคตในฐานะที่เป็นโปรเตสแตนต์ แต่หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ให้เห็นว่าอาจจะทรงเปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกขณะใดขณะหนึ่งระหว่างที่ยังมีพระชนม์อยู่

นักประวัติศาสตร์เดิมไม่ได้เห็นว่าอันนาแห่งเดนมาร์กเป็นพระราชินีที่มีความสำคัญมากเท่าใดนัก และออกจะเป็นผู้มีความหลงพระองค์เอง แต่เมื่อไม่นานมานี้ ความเห็นเกี่ยวกับพระองค์ก็เริ่มจะเปลี่ยนไปโดยเริ่มมีความเห็นกันว่าพระองค์ทรงมีความเด็ดเดี่ยวเป็นตัวของตัวเองโดยเฉพาะทรงเป็นผู้มีความสำคัญในการเป็นผู้อุปถัมภ์ทางศิลปะระหว่างสมัยจาโคเบียน

ชีวิตช่วงแรก

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
พระสาทิสลักษณ์ของโซฟีแห่งเมคเลินบวร์ค-กึสโทร สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ พระราชมารดาของอันนาแห่งเดนมาร์ก ราวปี ค.ศ. 1578 โดยฮันส์ คนีเพอร์

อันนาแห่งเดนมาร์กเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1574 ที่ปราสาทสแกนเดอร์บอร์กบนคาบสมุทรจัตแลนด์ในราชอาณาจักรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แต่การพระราชสมภพของพระองค์เป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าเฟรดริคที่ 2พระราชบิดาทรงได้รับความผิดหวัง เพราะทรงหวังเป็นอย่างมากว่าจะเป็นพระราชโอรส แต่ขณะนั้นพระราชินีโซฟีพระมารดามีพระชนมายุได้เพียง 17 พรรษา เพียงสามปีต่อมาพระองค์ก็ทรงมีพระประสูติกาลพระโอรส ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์ก อันนาและเอลิซาเบธพระเชษฐภคินีทรงถูกส่งไปเลี้ยงดูโดยอุลริชที่ 3 ดยุกแห่งเม็คเลนบวร์ก-กึสโทรว์และเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเม็คเลนบวร์ก-กึสโทรว์ผู้เป็นพระอัยกาและพระอัยกีทางฝ่ายพระมารดาที่กึสโทรว์ในประเทศเยอรมนี เมื่อเปรียบเทียบกับราชสำนักเดนมาร์กที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์สนุกสนานอันเลื่องชื่อของพระเจ้าเฟรดริค ที่เป็นราชสำนักที่เต็มไปด้วยการเลี้ยงรับรองด้วยอาหารและเครื่องดื่มอย่างใหญ่มโหฬาร และการมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีแบบแผนอันเคร่งครัด รวมทั้งการนอกพระทัยในพระมเหสีของพระองค์แล้ว กึสโทรว์ก็ตรงกันข้าม ที่กลายมาเป็นสถานที่ที่ช่วยวางรากฐานของความสงบสำรวมในชีวิตเบื้องต้นของแอนน์ ต่อมาเจ้าชายคริสเตียนพระอนุชาก็ทรงถูกส่งไปกึสโทรว์เช่นกันแต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาราวสองปี ในปี ค.ศ. 1579 สภาองค์มนตรีริกสราเด็ท (Rigsraadet) ก็ยื่นคำร้องเรียกตัวพระราชโอรสธิดาในพระเจ้าเฟรดริคกลับมายังเดนมาร์กสำเร็จ

แอนน์ทรงมีความสุขในครอบครัวที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันระหว่างที่ทรงเจริญพระชนม์ในราชสำนักเดนมาร์ก เพราะพระองค์ทรงถูกเลี้ยงดูโดยตรงโดยพระราชมารดาพระราชินีโซฟี ผู้ทรงดูแลพระราชโอรสธิดาด้วยพระองค์เองยามประชวร แอนน์และเอลิซาเบธพระเชษฐภคินีต่างก็ทรงมีผู้ประสงค์ให้เป็นคู่หมายไปทั่วทั้งยุโรปรวมทั้งพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ผู้ทรงเลือกเดนมาร์กเพราะความที่เป็นประเทศที่ผ่านการปฏิรูปทางศาสนา และเป็นประเทศที่อาจจะมีผลประโยชน์ทางด้านการติดต่อค้าขายได้ด้วย ในระยะแรกราชทูตสกอตแลนด์หมายตัวเจ้าหญิงเอลิซาเบธพระเชษฐภคินีของแอนน์ แต่พระเจ้าเฟรดริคทรงหมั้นเจ้าหญิงเอลิซาเบธกับเฮนรี จูเลียส ดยุกแห่งบรันสวิค-ลืนเนอบวร์ก และทรงสัญญามอบพระธิดาองค์ที่สองให้แทน “ถ้าพระเจ้าเจมส์จะทรงพอพระทัยก็จะยกให้”

การหมั้นและการเสกสมรสโดยฉันทะ

พระสุขภาพพลานามัยของพระราชินีโซฟีเริ่มทรุดลงหลังจากพระเจ้าเฟรดริคเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1588 นอกจากนั้นแล้วการสวรรคตของพระสวามีก็ยังทำให้สถานะของพระราชินีโซฟีอยู่ในสภาวะที่ลำบาก เมื่อทรงมีความขัดแย้งกับสภาองคมนตรีเกี่ยวกับอำนาจการควบคุมพระเจ้าคริสเตียน แต่ยังรวมไปถึงปัญหาในเรื่องการหาคู่ให้แก่พระราชธิดาด้วย แต่ในกรณีหลังนี้พระองค์ทรงมีตั้งมั่นมากกว่าพระสวามีและทรงประสบความสำเร็จในการตกลงเรื่องสินสมรสและสถานะภาพของหมู่เกาะออร์คนีย์ พระราชินีโซฟีทรงลงพระนามในการตกลงการหมั้นหมายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1589

แอนน์เองก็ทรงตื่นเต้นกับการที่จะได้เป็นเจ้าสาวของพระเจ้าเจมส์ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1589 ทอมัส เฟาว์เลอร์สายลับอังกฤษรายงานว่าแอนน์ทรงตกหลุมรักพระเจ้าเจมส์อย่างถอนพระองค์ไม่ขึ้น คำกล่าวของเฟาว์เลอร์ที่เป็นนัยว่าพระเจ้าเจมส์โปรดผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คงถูกซ่อนจากแอนน์ผู้มีพระชนมายุเพียง 14 พรรษาและทรงหมกมุ่นอยู่กับการปักพระภูษาสำหรับคู่หมั้น ในขณะที่ช่างอีกสามร้อยคนเตรียมชุดสำหรับพระราชพิธีเสกสมรสของพระองค์ ไม่ว่าข่าวลือที่ว่านี้จะจริงหรือไม่ แต่ที่เป็นจริงคือการที่พระเจ้าเจมส์ทรงมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาคู่ที่เหมาะสมเพื่อการสืบสายของราชวงศ์สจวตต่อไป พระเจ้าเจมส์ทรงเปรยว่า “พระเจ้าเป็นพยานด้วยเถิด ข้าเองนั้นสามารถคอยให้เนิ่นนานกว่าที่ประเทศชาติจะยอมให้คอยได้ แต่ถ้าไอ้การรอคอยแล้วมันจะไปทำให้ผู้คนที่มีแต่ความอิจฉากังขาในความสามารถของข้า ราวกับว่าข้าเป็นคนที่ไม่มีความสามารถจะมีลูกได้” เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1589 แอนน์ก็ทรงเสกสมรสโดยฉันทะกับพระเจ้าเจมส์ที่ปราสาทโครนบอร์กโดยมีจอร์จ คีธ เอิร์ลแห่งมาริสคาลเป็นผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าเจมส์นั่งบนเตียงข้างแอนน์

การเสกสมรส

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
พระเจ้าเจมส์ 6 แห่งสกอตแลนด์เมื่อมีพระชนมายุ 20 พรรษาในปี ค.ศ. 1586 สามปีก่อนที่จะทรงเสกสมรสกับอันนาแห่งเดนมาร์ก

สิบวันหลังจากการเสกสมรสโดยฉันทะที่เดนมาร์กอันนาก็เสด็จไปสกอตแลนด์ทางเรือแต่กองเรือของพระองค์ประสบเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ในที่สุดขบวนของคณะผู้เดินทางก็จำต้องแล่นกลับไปยังฝั่งทะเลนอร์เวย์ และจากฝั่งทะเลพระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินทางบกไปยังออสโลเพื่อไปพำนักชั่วคราวพร้อมด้วยเอิร์ลแห่งมาริสคาลและผู้แทนจากสกอตแลนด์และเดนมาร์ก

เมื่อวันที่ 12 กันยายน ลอร์ดดิงวอลล์ผู้ร่วมเดินทางมากับอันนา แต่บนเรือคนละลำก็มาขึ้นฝั่งที่ลีธได้ และรายงานว่าเมื่อเดินทางมากับกองเรือของอันนาได้ 300 ไมล์ ก็มาคลาดกันเมื่อโดนมรสุม และลอร์ดดิงวอลล์มีความเกรงว่าอันนายังคงจะตกอยู่ในอันตราย เมื่อทราบข่าวพระเจ้าเจมส์ก็มีพระราชโองการให้มีการอดอาหารและสวดมนต์ให้แก่พระราชินีกันทั่วประเทศ ส่วนพระองค์เองก็เสด็จไปรอแอนน์ที่เฟิร์ธออฟฟอร์ธ นอกจากนั้นก็ทรงประพันธ์เพลงหลายเพลง เพลงหนึ่งเปรียบเทียบสถานะการณ์ที่บรรยายในตำนานกรีกเรื่อง “ฮีโรและลีแอนเดอร์” (Hero and Leander) และทรงส่งคณะผู้ค้นหาที่ถือพระราชสาส์นที่ทรงเขียนถึงอันนาเป็นภาษาฝรั่งเศส: “ให้แก่พระองค์เพียงผู้เดียวที่รู้จักหม่อมฉันเช่นเงาของหม่อมฉันเองบนแก้วเท่านั้นที่หม่อมฉันจะบรรยายความรู้สึกได้, สุดที่รักของหม่อมฉัน, ความกลัวที่หม่อมฉันรู้สึกที่เกิดจากลมที่พัดผิดทิศทางและพายุที่โหมกระหน่ำตั้งแต่พระองค์ได้เริ่มเดินทาง...".” ในเดือนตุลาคมพระองค์ก็ทรงได้รับข่าวว่ากองเรือของเดนมาร์กยุติความพยายามที่จะข้ามมายังสกอตแลนด์ระหว่างฤดูหนาว วิลล์สันกล่าวว่าเป็นช่วงเวลาที่โรแมนติคที่สุดในชีวิตของพระเจ้าเจมส์ พระเจ้าเจมส์จึงเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคจากลีธพร้อมกับผู้ติดตามอีกสามร้อยคนเพื่อไปรับอันนาด้วยพระองค์เอง พระเจ้าเจมส์เสด็จไปถึงออสโลเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนินทางบกจาก Flekkefjord ทาง Tønsberg ตามหลักฐานของสกอตแลนด์กล่าวว่าเมื่อเสด็จไปถึงพระเจ้าเจมส์ก็รีบเสด็จไปเฝ้าอันนาทั้งที่ยังมิได้เปลี่ยนเครื่องทรงจากการเดินทาง -- “ทั้งรองพระบาทบูทและเครื่องทรงอื่นพร้อม” -- และพระราชทานจุมพิตอันนาตามแบบสกอต

อันนาและพระเจ้าเจมส์ทรงเสกสมรสกันอย่างเป็นทางการที่วังสังฆราชเก่าที่ออสโล เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1589, “อย่างหรูหราเท่าที่ทำได้ในสมัยนั้นและที่นั้น” เดวิด ลินซีย์นักบวชจากลีธเดินทางไปทำพิธีเป็นภาษาฝรั่งเศสเพื่อให้ทั้งสองพระองค์เข้าใจ และบรรยายอันนาว่าทรงเป็น “เจ้าหญิงที่ทรงคุณธรรมและมีพระสิริโฉมงดงาม...พระองค์ทำความพอใจให้แก่พระเจ้าเจมส์” การเสกสมรสมีการฉลองกันเดือนหนึ่งและเมื่อวันที่ 22 ธันวาคมพระเจ้าเจมส์ทรงลดผู้ติดตามลงเหลือเพียง 50 คนเพื่อเสด็จไปเยี่ยมพระญาติที่ปราสาทโครนบอร์ก อันนาและพระเจ้าเจมส์ทรงได้รับการต้อนรับจากพระพันปีโซฟีและพระเจ้าคริสเตียนผู้มีพระชนมพรรษาได้ 12 พรรษาและผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระองค์สี่คน หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคมทั้งสองพระองค์ก็ทรงย้ายไปโคเปนเฮเกนเพื่อทรงเข้าร่วมพิธีเสกสมรสระหว่างเอลิซาเบธพระเชษฐภคินีของอันนากับเฮนรี จูเลียส ดยุกแห่งบรันสวิค-ลืนเนอบวร์ก สองวันต่อมาก็เสด็จลงเรือ “กิดเดียน” ที่ได้รับการซ่อมแซมแล้วกลับสกอตแลนด์ และเสด็จถึงลีธเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ห้าวันต่อมาอันนาก็เสด็จเข้าเมืองเอดินบะระห์อย่างเป็นทางการในราชรถม้าเงินแท้ที่ทรงนำมาจากเดนมาร์กโดยมีพระเจ้าเจมส์ทรงม้าตามข้างราชรถ

ราชาภิเษก

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
ตราของอันนาแห่งเดนมาร์ก

อันนาทรงเข้าพิธีสวมมงกุฎเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1590 ภายในแอบบีโฮลีรูดที่พระราชวังโฮลีรูด ซึ่งเป็นพระราชพิธีการสวมมงกุฎที่ทำแบบโปรเตสแตนต์เป็นครั้งแรกในสกอตแลนด์ พระราชพิธีสวมมงกุฎใช้เวลาทั้งสิ้นเจ็ดชั่วโมง เคานทเตสแห่งมาร์เป็นผู้เปิดพระภูษาเพื่อให้นักบวชโรเบิร์ต บรูซหลั่ง “น้ำมันหอมพอได้” ลงบนส่วนหนึ่งของพระถันและพระหัตถ์เพื่อเจิมให้เป็นพระราชินี นักบวชสกอตแลนด์ประท้วงพิธีส่วนนี้เพราะเห็นว่ามาจากประเพณีของผู้นอกรีตและจากประเพณีของชาวยิวแต่พระเจ้าเจมส์ทรงยืนยันว่าเป็นพิธีที่มีรากฐานมาจากพันธสัญญาเดิม พระเจ้าเจมส์ประทานมงกุฎแก่อัครมหาเสนาบดีเมทแลนด์ผู้วางบนพระเศียรของอันนา จากนั้นอันนาก็ทรงกล่าวคำปฏิญาณพระองค์ว่าว่าจะทรงเป็นผู้พิทักษ์ศาสนาอันแท้จริงและจะทรงมีความศรัทธาต่อพระเจ้า และจะทรงต่อต้านและเป็นปฏิปักษ์ต่อความเชื่อต่างๆ ของโรมันคาทอลิกและพิธีกรรมต่างๆ ที่ไม่ตรงกับพระวจนะของพระเจ้า

ความสัมพันธ์กับพระเจ้าเจมส์

จากหลักฐานทุกหลักฐานต่างก็กล่าวว่าพระเจ้าเจมส์ทรงหลงเสน่ห์แอนน์ แต่ความหลงที่ว่านี้ก็มิได้ยั่งยืนเท่าใดนัก และทั้งสองพระองค์ก็ทรงเริ่มมีเรื่องบาดหมางกันเพียงไม่กี่ปีหลังจากการเสกสมรส แต่ดูเหมือนว่าพระเจ้าเจมส์จะทรงปฏิบัติต่อแอนน์ด้วยความอดทนและความรัก ระหว่างปี ค.ศ. 1593 ถึงปี ค.ศ. 1595พระเจ้าเจมส์ทรงมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับแอนน์ เมอร์เรย์ผู้ต่อมาได้เป็นเลดีกลามิส ทรงกล่าวถึงแอนน์ว่าเป็น “พระสนมและหัวใจของฉัน” (my mistress and my love) แอนน์เองก็ทรงมีเรื่องอื้อฉาวเป็นบางครั้งบางคราว ใน “คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอน” (Basilikon Doron) ที่ทรงพระราชนิพนธ์ในปี ค.ศ. 1597 ถึงปี ค.ศ. 1598, พระเจ้าเจมส์ทรงบรรยายถึงชีวิตการสมรสว่าเป็น “ความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกหรือความขมขื่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่ประสบต่อผู้ชาย”

ตั้งแต่นาทีแรกของการแต่งงานแอนน์ก็ได้รับความกดดันในการมีรัชทายาทให้แก่พระเจ้าเจมส์และสกอตแลนด์ แต่มาถึงปี ค.ศ. 1591 และ ค.ศ. 1592 ก็ยังไม่มีเค้าว่าจะทรงครรภ์ซึ่งทำให้มีข่าวลือว่าพระเจ้าเจมส์มัวแต่ทรงใช้ชีวิตอยู่ในกลุ่มผู้ชายและมีข่าวกระเส็นกระสายว่าเกี่ยวกับแอนน์ว่าไม่ทรงมีครรภ์ได้ ฉะนั้นจึงเป็นที่โล่งใจกันไปตามๆ กันเมื่อแอนน์ทรงให้กำเนิดแก่เฮนรี เฟรเดอริคพระโอรสองค์แรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1594

สิทธิในตัวเจ้าชายเฮนรี

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
เจ้าชายเฮนรี เฟรเดอริค สจวต, ราว ค.ศ. 1608 โดย โรเบิร์ต พีค (ผู้พ่อ) (Robert Peake the Elder)

เพียงไม่นานแอนน์ก็ทราบว่าพระองค์ไม่มีสิทธิมีเสียงในการดูแลพระราชโอรสของพระองค์แต่อย่างใด พระเจ้าเจมส์ทรงแต่งตั้งเฮเล็น ลิตเติลผู้เคยเป็นพระพี่เลี้ยงของพระองค์เองให้เป็นพระพี่เลี้ยงของเจ้าชายเฮนรี เฟรเดอริค และให้บรรทมในพระอู่ไม้โอ้คที่เคยเป็นของพระองค์เองด้วย แต่สิ่งที่ทำให้แอนน์ทรงรันทดที่สุดก็เมื่อพระเจ้าเจมส์มีพระราชโองการให้ย้ายเจ้าชายเฮนรี เฟรเดอริคไปอยู่ภายใต้การดูแลอารักขาโดยจอห์น เอิร์สคิน เอิร์ลแห่งมาร์ที่ 18 ที่ปราสาทสเตอร์ลิงตามพระราชประเพณีของสกอตแลนด์

ในปลายปี ค.ศ. 1594 แอนน์ก็เริ่มรณรงค์เรียกร้องสิทธิในการปกครองดูแลพระราชโอรสจากผู้ที่สนับสนุนความต้องการของพระองค์รวมทั้งอัครมหาเสนาบดีจอห์น เมทแลนด์ ลอร์ดเมทแลนด์แห่งเทิร์ลสเตนที่ 1 ความที่ไม่ทรงแน่ใจว่าแอนน์จะทรงทำเรื่องให้บานปลายไปได้เท่าใด พระเจ้าเจมส์จึงมีพระราชโองการอย่างเป็นทางการห้ามมิให้เอิร์ลแห่งมาร์มอบตัวเจ้าชายเฮนรี เฟรเดอริคแก่ผู้ใดนอกไปจากเมื่อได้รับคำสั่งโดยตรงจากพระองค์เอง และไม่ให้มอบตัวเจ้าชายเฮนรี เฟรเดอริคแก่พระราชินีแม้ในกรณีที่พระองค์เองจะเสด็จสวรรคตไปแล้ว แอนน์ยื่นคำร้องให้เสนอเรื่องต่อสภาองคมนตรีแต่พระเจ้าเจมส์ไม่ทรงฟัง หลังจากที่ทรงมีเรื่องกันต่อหน้าธารกำนัลพระเจ้าเจมส์ก็ทรงข่มเหงน้ำพระทัยจนแอนน์พิโรธและกรรแสง แอนน์ก็ทรงโศรกเศร้าจนทรงแท้งเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1595 หลังจากนั้นก็ทรงเลิกเรียกร้องสิทธิแต่ความเสียหายครั้งนี้มีผลกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระสวามีเป็นอย่างมาก ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1595 จอห์น โคลวิลล์บันทึกว่าบรรยากาศระหว่างสองพระองค์เต็มไปด้วยความเกลียดชัง

ในปี ค.ศ. 1603 แอนน์ทรงเห็นช่องทางที่จะได้รับสิทธิในการดูแลพระราชโอรสเมื่อพระเจ้าเจมส์เสด็จลงไปยังลอนดอนพร้อมกับเอิร์ลแห่งมาร์เพื่อไปสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ที่เพิ่งเสด็จสวรรคต แอนน์ซึ่งขณะนั้นทรงครรภ์รีบเสด็จไปยังปราสาทสเตอร์ลิงพร้อมกับกองกำลังขุนนางผู้สนับสนุนเพื่อจะนำตัวเจ้าชายเฮนรีผู้ทรงมิได้พบปะเกือบห้าปีกลับมากับพระองค์ แต่มารดาของเอิร์ลแห่งมาร์ยอมให้คนของพระองค์เข้ามาในปราสาทได้ไม่เกินสองคน การแข็งข้อของผู้ดูแลเจ้าชายเฮนรีทำให้แอนน์ทรงพิโรธจนทำให้ทรงแท้งอีกครั้งหนึ่งตามบันทึกของเดวิด คาลเดอร์วูดกล่าวว่าแอนน์เสด็จเข้าห้องบรรทมทั้งที่ทรงพิโรธ และทรงจากพระโอรสเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม

เมื่อเอิร์ลแห่งมาร์กลับมาพร้อมกับพระราชสาส์นจากพระเจ้าเจมส์ให้แอนน์เสด็จมาอังกฤษเพื่อมาเคียงข้างพระองค์ในราชอาณาจักรอังกฤษ แอนน์ก็ทรงโต้ตอบกลับไปว่าจะไม่ยอมเสด็จนอกจากว่าพระเจ้าเจมส์จะทรงยกสิทธิในการดูแลเจ้าชายเฮนรีให้พระองค์ ความรู้สึกในความเป็นแม่ที่รุนแรงที่นักประวัติศาสตร์พอลลีน ครอฟต์กล่าวถึงนี้ทำให้พระเจ้าเจมส์ทรงยอม แต่ก็ทรงบรรยายในพระราชสาส์นถึงเอิร์ลแห่งมาร์ว่าแอนน์มีพระทัยมุ่งมั่น หลังจากการพักฟื้นหลังจากที่ทรงแท้ง แอนน์ก็เสด็จไปลอนดอนพร้อมกับเจ้าชายเฮนรี, การเสด็จมาถึงลอนดอนเป็นเหตุการณ์ที่ใหญ่โต เลดี้แอนน์ คลิฟฟอร์ดบันทึกว่าเธอกับมารดาต้องฆ่าม้าไปสามตัวเพราะความที่รีบจะไปดูตัวแอนน์ พระเจ้าเจมส์ทรงไปพบแอนน์ไม่ไกลจากวินด์เซอร์ และมีขุนนางเป็นจำนวนมากมายอย่างที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน

ความขัดแย้งกับพระเจ้าเจมส์

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ สจวต พระราชธิดา ค.ศ. 1606 โดย โรเบิร์ต พีค (ผู้พ่อ)

ผู้สังเกตการณ์เริ่มสังเกตเห็นความแตกร้าวระหว่างแอนน์และพระเจ้าเจมส์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "การคบคิดเกาว์รี’’ (Gowrie plot) ในปี ค.ศ. 1600 ที่จอห์น รูธเว็น เอิร์ลแห่งเกาว์รีที่ 3 และน้องชายอเล็กซานเดอร์ รูธเว็นถูกสังหารโดยองครักษ์ของพระเจ้าเจมส์เพราะถูกกล่าวหาว่าพยายามจะทำร้ายพระองค์ เป็นการทำให้น้องสาวสองคนเบียทริกซ์และบาร์บารา รูธเว็นผู้เป็นนางสนองพระโอษฐ์ของพระราชินีแอนน์ต้องถูกปลดตามไปด้วย แอนน์ผู้ขณะนั้นทรงครรภ์ได้ห้าเดือน ไม่ทรงยอมลุกจากพระแท่นไม่ยอมเสวยไปสองวันนอกจากเสียว่าจะเรียกตัวทั้งสองคนคืน เมื่อพระเจ้าเจมส์ทรงพยายามที่จะบังคับพระองค์ พระองค์ก็ทรงแว้งว่าที่ทรงทำเช่นนั้นเพราะเห็นว่าพระองค์ไม่ใช่เอิร์ลแห่งเกาว์รี พระเจ้าเจมส์ทรงพยายามเอาพระทัยโดยการจ้างนักเล่นกายกรรมผู้มีชื่อเสียงมาแสดงให้พระชายาดู แต่แอนน์ก็ยังไม่ทรงยอมและทรงสนับสนุนพี่น้องรูธเว็นต่อไปอีกสามปี และเป็นเรื่องใหญ่โตพอที่รัฐบาลจะพิจารณาว่าเป็นเรื่องของความปลอดภัยของประเทศชาติ ในปี ค.ศ. 1602 หลังจากที่พบว่าแอนน์ทรงลักลอบเอาเบียทริซเข้ามาในพระราชวังโฮลีรูด พระเจ้าเจมส์ก็มีพระราชโองการให้ไต่สวนพนักงานในพระราชวังทุกคน ในปี ค.ศ. 1603 พระองค์ก็ทรงยอมและพระราชทานเบี้ยบำนาญแก่เบียทริซเป็นจำนวน £200

การประจันพระพักตร์กันเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1613 เมื่อแอนน์ทรงยิงสุนัขตัวโปรดของพระเจ้าเจมส์ระหว่างการล่าสัตว์ หลังจากที่พิโรธแล้วพระเจ้าเจมส์ก็ทรงพยายามทำสถานการณ์ให้ดีขึ้นโดยพระราชทานของขวัญเป็นเพ็ชรที่มีมูลค่า £2000 เพื่อเป็นอนุสรณ์ต่อสุนัขที่ชื่อ “Jewel” (อัญมณี) ในปี ค.ศ. 1603, พระเจ้าเจมส์ทรงมีปากมีเสียงกับแอนน์ในเรื่องการจัดการในเรื่องพนักงานในอังกฤษและทรงส่งข่าวถึงพระราชินีว่าไม่ทรงพอพระทัยในการกระทำของพระราชินี ในการโต้ตอบแอนน์ก็ทรงวิพากษ์วิจารณ์การดื่มน้ำจัณฑ์ของพระสวามี ในปี ค.ศ. 1604 แอนน์ทรงเปรยเป็นการส่วนพระองค์กับราชทูตฝรั่งเศสว่า, “พระองค์ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เป็นจำนวนมาก และมีพระกิริยาที่ไม่เหมาะไม่ควรในทุกกรณี และฉันหวังว่าคงจะมีผลในทางร้ายที่จะเกิดขึ้นกับพระองค์”

แยกกันอยู่

เมื่อประทับในลอนดอนแอนน์ก็ทรงใช้ชีวิตของการอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่พระเจ้าเจมส์ทรงพอพระทัยที่จะหนีออกจากเมือง โดยเฉพาะไปยังตำหนักล่าสัตว์ที่รอยสตันในฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ กอดฟรีย์ กูดมันอนุศาสนาจารย์ประจำพระองค์ของแอนน์สรุปความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองพระองค์ว่า: “พระเจ้าเจมส์เองทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่ทรงมีอะไรที่แอนน์ทรงกระทำที่จะทรงทำให้ขาดความอุทิศพระองค์ให้แก่แอนน์ แต่ทั้งสองพระองค์ก็มิได้มีความรักกันเช่นที่สามีภรรยาที่ควรจะรักกัน และไม่ทรงพูดจากัน ในที่สุดแอนน์ก็ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังกรีนิชและต่อมาคฤหาสน์ซัมเมอร์เซ็ท ที่ทรงตั้งชื่อใหม่ว่า คฤหาสน์เดนมาร์ก หลังจากปี ค.ศ. 1607 แอนน์และพระเจ้าเจมส์ก็แทบจะไม่ได้ประทับร่วมกัน ในขณะนั้นพระองค์มีพระโอรสธิดาได้เจ็ดพระองค์แล้ว นอกจากการทรงแท้งสามครั้ง หลังจากที่ทรงรอดมาได้จากการให้กำเนิดแก่เจ้าหญิงโซฟี พระราชธิดาองค์สุดท้องที่เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1607 แล้วแอนน์ก็ทรงตัดสินพระทัยว่าจะไม่มีพระโอรสธิดาอีก ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์ยิ่งห่างเหินกันหนักยิ่งขึ้นไปอีก

การสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเฮนรี ในปี ค.ศ. 1612 (อาจจะจากไทฟอยด์) เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา และการจากไปของเจ้าหญิงเอลิซาเบธพระธิดาผู้มีพระชนมายุได้ 16 พรรษาไปยังไฮเดลแบร์ก ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1613 เพื่อไปเสกสมรสกับเฟรเดอริคที่ 5 เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์, ก็ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแอนน์และพระเจ้าเจมส์ยิ่งห่างเหินกันยิ่งขึ้น การสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเฮนรีเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงของแอนน์ ราชทูตเวนิสได้รับการเตือนไม่ให้แสดงความเสียใจในการสูญเสียต่อพระราชินีเพราะไม่ทรงทนรับฟังได้ หรือถ้าทรงได้ยินก็จะไม่ทรงสามารถควบคุมพระองค์จากการกรรแสงได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระสุขภาพพลานามัยของพระองค์ก็เริ่มเสื่อมโทรมลง และทรงถอนพระองค์จากการสังคมและการเมืองโดยทั่วไป และทรงจัดละครสวมหน้ากากครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1614 อิทธิพลที่มีต่อพระสวามีก็ลดถอยลงอย่างเห็นได้ชัด และพระเจ้าเจมส์ก็ทรงพึ่งพาผู้ที่โปรดผู้มีอำนาจมากขึ้น

ปฏิกิริยาต่อคนโปรดของพระสวามี

แม้ว่าจะทรงมีคนโปรดอยู่เรื่อย ๆ แต่ก็เป็นการภายใน แต่ในระยะหลังพระเจ้าเจมส์ทรงสนับสนุนให้บุคคลเหล่านี้มีบทบาทในทางการเมืองด้วย แอนน์ทรงมีปฏิกิริยาแตกต่างกันระหว่างคนโปรดสองคนผู้มีอิทธิพลต่อครึ่งหลังของสมัยของโรเบิร์ต คารร์ เอิร์ลที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซต พระสวามี และจอร์จ วิลเลิร์ส ผู้ซึ่งต่อมาเป็นคนโปรดแทนคารร์ แอนน์ไม่โปรดคารร์เอาเลย และทรงสนับสนุนการขึ้นอำนาจของจอร์จ วิลเลิร์ส ผู้ที่พระเจ้าเจมส์พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นขุนนางในห้องพระบรรทมของแอนน์ และทรงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับวิลเลียรส์และประทานนามว่าเป็น “สุนัข” ของพระองค์ แต่กระนั้นวิลเลียรส์ก็เริ่มหันหลังให้แอนน์จนแอนน์ทรงมีความโดดเดี่ยวในบั้นปลายของชีวิตของพระองค์

ศาสนา

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
แอนน์แห่งเดนมาร์กโดยพอล ฟาน ซอเมอร์

ความแตกต่างระหว่างแอนน์และพระเจ้าเจมส์อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องศาสนาเช่นในการที่แอนน์ไม่ทรงยอมรับศีลมหาสนิทแบบอังกลิคันในพระราชพิธีราชาภิเษกเป็นราชินีของพระองค์เอง แอนน์ทรงได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างลูเธอรันแต่อาจจะทรงเปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกอย่างลับๆ ในเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่ถ้าเป็นที่เปิดเผยก็จะเป็นสิ่งที่น่าละอาย และเป็นที่ทำให้หวาดหวั่นกันในบรรดาองค์มนตรีของสกอตแลนด์ ของวัดสกอตแลนด์ และทำให้เป็นที่น่าสงสัยแก่หมู่อังกลิคันของอังกฤษ

พระราชินีนาถเอลิซาเบธเองก็ทรงเป็นกังวลเรื่องโอกาสที่จะเปลี่ยนนิกายของแอนน์จนทรงส่งพระราชสาส์นไปเตือนแอนน์ไม่ให้ฟังที่ปรึกษาโรมันคาทอลิก และขอให้ส่งชื่อผู้ที่จะพยายามให้พระองค์เปลี่ยนศาสนามาให้พระองค์ แอนน์ทรงตอบไปว่าไม่มีความจำเป็นในการส่งชื่อเพราะความพยายามต่างๆ ต่างก็ล้มเหลว แต่แอนน์ก็ถูกวิจารณ์จากนิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ที่ยังคงเป็นสหายสนิทของเฮ็นเรียตตา กอร์ดอนภรรยาของจอร์จ กอร์ดอน มาร์ควิสแห่งฮันท์ลีย์ที่ 1 (George Gordon, 1st Marquess of Huntly) หลังจากจอร์จ กอร์ดอน มาร์ควิสแห่งฮันท์ลีย์กลับมาในปี ค.ศ. 1596 นักบวชเดวิด แบล็คแห่งวัดเซนต์แอนดรูว์เรียกแอนน์ว่า “atheist” (ผู้ไม่เชื่อพระเจ้า) และเปรยในคำเทศนาว่า “พระราชินีแห่งสกอตแลนด์เป็นสตรีที่แม้นักบวชจะสวดมนต์ให้พรให้พระองค์แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะทำให้มีผลดีขึ้นแต่อย่างใด”

เมื่ออดีตสายลับเซอร์แอนโทนี สแตนเด็นถูกพบว่าเป็นผู้นำสายประคำจากสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 มาถวายแอนน์ในปี ค.ศ. 1603 พระเจ้าเจมส์ก็ทรงสั่งให้จับสแตนเด็นไปจำขังไว้ที่หอคอยแห่งลอนดอนอยู่สิบเดือน แอนน์ทรงประท้วงเรื่องของขวัญ และในที่สุดก็ทรงช่วยให้สแตนเด็นได้รับการปลดปล่อย

พระราชินีแอนน์ก็เช่นเดียวกับพระเจ้าเจมส์ที่ทรงสนับสนุนการจัดคู่ของทั้งพระราชโอรสและธิดากับผู้เป็นโรมันคาทอลิก แอนน์มีพระราชสาส์นถึงผู้ที่อาจจะมาเป็นเจ้าสาวของพระโอรสเจ้าหญิงมาเรียแอนนาแห่งสเปนที่รวมทั้งทรงขอให้มาเรียแอนนาส่งนักบวชสองคนไปเยรูซาเลมเพื่อไปสวดมนต์ให้พระองค์และพระเจ้าเจมส์ ทางสำนักพระสันตะปาปาไม่เคยมีความมั่นใจในสถานะของแอนน์ ในปี ค.ศ. 1612 สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 ทรงแนะนำทูตของราชสำนักว่า “อย่าเอาความลมเพลมพัดของพระองค์มาเป็นหลัก ...และแม้ว่าจะทรงเป็นโรมันคาทอลิกจริงก็ยังเอามาเป็นการตัดสินที่แน่นอนไม่ได้”

ราชสำนักและการเมือง

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
แอนน์แห่งเดนมาร์กโดย Marcus Gheeraerts the Younger

ระหว่างที่ประทับอยู่ในสกอตแลนด์แอนน์มักจะใช้ความแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายของราชสำนักในการหาผลประโยชน์ทางการเมืองให้แก่พระองค์เองโดยเฉพาะในการสนับสนุนศัตรูของเอิร์ลแห่งมาร์ ฉะนั้นพระเจ้าเจมส์จึงไม่มีความไว้วางพระทัยในพระชายาในเรื่องความลับของประเทศ เฮนรี โฮเวิร์ด เอิร์ลแห่งนอร์ทแธมพ์ตันที่ 1 ผู้มีบทบาทสำคัญในกรณีการสืบราชบัลลังก์อังกฤษถวายคำแนะนำแก่พระเจ้าเจมส์อย่างเป็นการส่วนพระองค์ว่าแอนน์ทรงมีคุณสมบัติทุกอย่างเช่นอีฟผู้ถูกล่อลวงบุรุษด้วยงูร้ายได้สำเร็จ แต่โดยทั่วไปแล้วแอนน์ไม่ทรงมีความสนใจกับการเมืองเท่าใดนัก นอกจากเมื่อมามีส่วนเกี่ยวข้องกับพระราชโอรสธิดาหรือพระสหาย

เมื่อประทับอยู่ในอังกฤษพระราชินีแอนน์ทรงหันความสนพระทัยจากทางการเมืองไปในด้านการสังคมและกิจการที่เกี่ยวกับศิลปะ แม้ว่าพระองค์จะทรงมีส่วนร่วมในราชสำนักของพระเจ้าเจมส์อย่างเต็มที่และทรงมีราชสำนักของพระองค์เอง ที่มักจะดึงดูดผู้ที่ไม่เป็นที่พอพระทัยของพระสวามี แต่ไม่ทรงถือหางทางการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าเจมส์ ไม่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองพระองค์จะเป็นเช่นใดพระราชินีแอนน์ก็ทรงเป็นผู้ที่ทรงมีคุณค่าต่อพระสวามีในอังกฤษ เช่นในการติดต่อกับราชทูตและผู้มาเยือนชาวต่างประเทศราชวงศ์สจวตและราชวงศ์โอลเดนเบิร์กของเดนมาร์กเป็นอย่างดี

นิโคโล โมลินราชทูตเวนิสบันทึกเกี่ยวกับพระราชินีแอนน์ในปี ค.ศ. 1606 ว่า:

ชื่อเสียง

ทัศนคติของนักประวัติศาสตร์ที่มีต่อพระราชินีแอนน์ตามปกติแล้วจะเป็นทัศนคติที่ไม่ค่อยจะดีนัก ที่มักจะเน้นความหยุมหยิมและความฟุ่มเฟือยของพระองค์ เมื่อเปรียบเทียบกับพระเจ้าเจมส์นักประวัติศาสตร์ก็มักจะละเลยการกล่าวถึงพระองค์โดยสิ้นเชิง เริ่มด้วยนักประวัติศาสตร์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์สจวตในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เห็นความหลงพระองค์ของราชสำนักจาโคเบียนเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำมาซึ่งสงครามกลางเมืองอังกฤษ นักประวัติศาสตร์เดวิด แฮร์ริส วิลล์สันเขียนในพระราชประวัติของพระเจ้าเจมส์ ในปี ค.ศ. 1956 ประณามว่า: “พระราชินีแอนน์ไม่ทรงมีอิทธิพลต่อพระสวามีเท่าใดนัก และไม่ทรงสามารถที่จะร่วมในความสนใจทางความเจริญทางสติปัญญาของพระสวามี และมีพระนิสัยที่เป็นนิสัยของสตรีตามที่พระเจ้าเจมส์ทรงมีความเห็น อนิจจา! พระเจ้าเจมส์ทรงเสกสมรสกับภรรยาโง่” นักเขียนชีวประวัติของคริสต์ศตวรรษที่ 19 แอกเนส สตริคแลนด์ประณามการที่ทรงต่อสู้ในสิทธิในการดูแลเจ้าชายเฮนรีของพระราชินีแอนน์ว่าเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบ: “[การกระทำนี้]คงต้องทำให้ความเห็นในพระอุปนิสัยของพระราชินีแอนน์แห่งเดนมาร์กลดถอยลงในสายตาของทุกคน ...ว่าทรงใช้เพียงสัญชาตญาณของความเป็นแม่ที่เสี่ยงต่อความเกี่ยวข้องกับพระสวามี, พระราชโอรส และราชอาณาจักร ในการสร้างบรรยากาศของความทุกข์และความขัดแย้งอันไม่เป็นธรรมชาติ”

แต่การวิเคราะห์พระเจ้าเจมส์ใหม่ในช่วงระยะเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา ก็มีความเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นนักการปกครองผู้มีความสามารถผู้ทรงใช้อำนาจในสกอตแลนด์ และมีพระปรีชาสามารถในการป้องกันรักษาราชอาณาจักรจากการสงครามตลอดรัชสมัยของพระองค์ ที่ตามมาด้วยความเห็นใหม่เกี่ยวกับพระราชินีแอนน์ว่าทรงเป็นผู้มีอิทธิพลในด้านการเมืองและเป็นพระมารดาผู้ทรงพยายามแสดงสิทธิของพระองค์ในตัวพระราชโอรส ในขณะที่ชีวิตการเสกสมรสระหว่างสองพระองค์ยังคงมีความหมายอยู่ จอห์น ลีดส์ บาร์โรลล์ค้านในพระราชประวัติทางวัฒนธรรมของพระราชินีแอนน์ว่าความเข้าเกี่ยวข้องทางการเมืองในสกอตแลนด์ของพระองค์มีความสำคัญกว่า และสิ่งที่เป็นที่แน่นอนคือทำให้เป็นปัญหามากกว่าที่เคยตั้งข้อสังเกตกันมาแต่ก่อน แคลร์ แมคมานัสหนึ่งในบรรดานักประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเน้นบทบาทความมีอิทธิพลของพระราชินีแอนน์ในวัฒนธรรมจาโคเบียนว่าไม่ทรงแต่จะเป็นผู้อุปถัมภ์นักเขียนและศิลปินเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นนักแสดงเองด้วย

ผู้อุปถัมภ์ศิลปะ

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
เครื่องแต่งตัวในละคร “The Masque of Blackness” ออกแบบโดยอินิโก โจนส์
อันนาแห่งเดนมาร์ก 
ตำหนักพระราชินี (Queen's House) ที่กรีนิชที่เริ่มสร้างสำหรับพระราชินีแอนน์ ในปี ค.ศ. 1616

พระราชินีแอนน์ทรงพระอุปนิสัยเหมือนพระเจ้าเจมส์พระราชสวามีตรงที่โปรดความฟุ้งเฟ้อ แม้ว่าจะต้องทรงใช้เวลาเป็นหลายปีก่อนที่จะทรงใช้พระราชทรัพย์จำนวนมหาศาลจากสินสอดทองหมั้นหมด พระราชินีแอนน์โปรดการเต้นรำและงานเลี้ยงต่างๆ ซึ่งมักจะทำความไม่ค่อยพอใจให้แก่กลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ในสกอตแลนด์เท่าใดนัก แต่ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในวงจาโคเบียนในลอนดอน และทรงใช้ในการสร้างบรรยากาศอันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมในราชสำนัก พระองค์ทรงมีความสนพระทัยในการละครเป็นอย่างยิ่งและทรงเป็นเจ้าภาพงานละครสวมหน้ากาก (Masque) ซึ่งเป็นงานใหญ่โตประจำปีแทบทุกปี เมื่อเซอร์วอลเตอร์ โคพได้รับคำสั่งจากโรเบิร์ต เซซิลให้เลือกบทละครสำหรับพระราชินีเนื่องในพระราชวโรกาสของการมาเยือนของพระอนุชาดยุกอุลริชแห่งฮ็อลชไตน์ วอลเตอร์ โคพก็บันทึกว่า “เบอร์เบจกลับมาบอกว่าไม่มีบทละครใหม่สำหรับพระราชินีและมีบทละครเก่าที่นำมาฟื้นฟูชื่อ “Love's Labour's Lost” ที่มีทั้งปฏิภาณและไหวพริบที่เบอร์เบจกล่าวว่าจะทำให้ทรงพอพระทัยเป็นอันมาก” งานละครสวมหน้ากากของพระราชินีแอนน์เป็นงานที่หรูหราน่าดูทั้งทางด้านฉากและการเต้นรำอย่างที่ไม่เคยทำกันมาก่อน ที่ผู้เข้าร่วมมีทั้งราชทูตต่างประเทศและบุคคลสำคัญๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของอังกฤษในยุโรป ซอร์ซิ จุยติเนียนราชทูตเวนิสบันทึกถึงงานเมื่อคริสต์มาสปี ค.ศ. 1604 ว่า “ในความคิดเห็นของทุกคนไม่มีราชสำนักใดที่สามารถจัดงานละครสวมหน้ากากที่หรูหราโอ่อ่าได้เท่านี้”

งานละครสวมหน้ากากของพระราชินีแอนน์ในยี่สิบปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นงานที่เปิดโอกาสให้นักแสดงสตรีเข้าร่วมเป็นครั้งแรก ซึ่งทำให้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของนักแสดงสตรี บางครั้งพระราชินีแอนน์ก็จะทรงร่วมแสดงกับสตรีในละครด้วยพระองค์เอง และบางครั้งระหว่างการแสดงก็จะทรงถูกกระทบกระเทียบจากผู้ชมบางคน เช่นในละคร “The Vision of the Twelve Goddesses” เมื่อทรงแสดงเป็นอธีนา โดยทรงทูนิคที่ผู้ชมบางคนติว่าฉลองพระองค์สั้นเกินไป และในละครเรื่อง “The Masque of Blackness” ในปี ค.ศ. 1605 เมื่อพระราชินีแอนน์ทรงร่วมแสดงเมื่อทรงครรภ์ได้หกเดือน หรือเมื่อทรงก่อความอื้อฉาวเมื่อพระองค์และนักแสดงสตรีทาสีตนเองในการแสดงเป็นคนผิวดำแทนที่จะใช้หน้ากากตามธรรมเนียม นักเขียนจดหมายดัดลีย์ คาร์ลตันรายงานว่าหลังจากการแสดงแล้วพระราชินีแอนน์ทรงเต้นรำกับราชทูตสเปนผู้จำใจต้องจูบพระหัตถ์ “แม้จะกลัวว่าสีจะติดปากจากพระหัตถ์” ในการสร้างงานละครสวมหน้ากากแต่ละครั้งพระราชินีแอนน์ก็ทรงจ้างศิลปินคนสำคัญๆ ในยุคนั้นในการออกแบบและสร้างฉากที่รวมทั้ง เบ็น จอนสัน และอินิโก โจนส์

อินิโก โจนส์ผู้เป็นสถาปนิกผู้มีพรสวรรค์ผู้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในรสนิยมล่าสุดของยุโรปเป็นผู้ออกแบบตำหนักพระราชินีที่กรีนิชสำหรับพระองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมพาเลเดียน ที่แท้จริงชิ้นแรกที่สร้างในอังกฤษ และนักประดิษฐ์ชาวดัทช์ซาโลมอน เดอ คอสเป็นผู้ออกแบบสวนที่กรีนิชและคฤหาสน์ซัมเมอร์เซ็ท นอกจากนั้นพระราชินีแอนน์ก็ยังโปรดดนตรีและทรงอุปถัมภ์นักเล่นลูทและคีตกวีจอห์น เดาว์แลนด์ ผู้ก่อนหน้านั้นเป็นข้าราชสำนักในพระอนุชาของพระองค์ในเดนมาร์ก และทรงอุปถัมภ์นักดนตรีฝรั่งเศสอีกหลายคน

นอกจากนั้นพระราชินีแอนน์ก็ยังทรงจ้างศิลปินเช่นพอล ฟอน ซอมเมอร์ที่ 1, ไอแซ็ค โอลิเวอร์ และ แดนเนียล ไมเต็นส์ ผู้มามีอิทธิพลต่อรสนิยมของทัศนศิลป์ในอังกฤษต่อมา ภายใต้พระราชินีแอนน์งานสะสมก็เริ่มเพิ่มมากขึ้น นโยบายที่ทำต่อมาโดยพระราชโอรสพระเจ้าชาร์ลส์ นักประวัติศาสตร์แอเลน สจวตเสนอว่าลักษณะต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของสมัยจาโคเบียนมาจากพระราชินีแอนน์มากกว่าที่จะมาจากพระเจ้าเจมส์ผู้มักจะ “บรรทมขณะที่ละครที่สำคัญๆ ที่สุดของอังกฤษกำลังแสดงอยู่”

การสวรรคต

ในปลายปี ค.ศ. 1617 การประชวรของพระราชินีก็ยิ่งถี่ขึ้นจนไม่ทรงสามารถปฏิบัติกิจอันใดได้ ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1619 นายแพทย์ประจำพระองค์ทีโอดอร์เดอเมเยิร์นถวายคำแนะนำแก่พระราชินีแอนน์ให้ทรงเลื่อยไม้เพื่อช่วยทำให้เลือดลมดีขึ้น แต่การออกพระกำลังกลับทำไห้ประชวรหนักยิ่งขึ้น พระเจ้าเจมส์เสด็จไปเยี่ยมพระราชินีแอนน์เพียงสามครั้งเมื่อประชวรครั้งสุดท้าย เจ้าชายชาร์ลส์พระราชโอรสมักจะบรรทมในห้องติดกับห้องพระมารดาที่พระราชวังแฮมพ์ตัน และประทับข้างพระแท่นในชั่วโมงสุดท้ายของพระชนม์ชีพของแอนน์เมื่อทรงสูญเสียพระเนตร อันนา รูสผู้เดินทางมากับพระราชินีแอนน์จากเดนมาร์กใน ค.ศ. 1590 ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่อยู่กับพระองค์จนวาระสุดท้าย พระราชินีแอนน์เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 44 พรรษาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1619 ด้วยพระอาการบวมน้ำ (dropsy)

แม้ว่าจะไม่ทรงสนพระทัยในตัวพระราชินีแอนน์ในระยะหลังแต่การสวรรคตของพระองค์ก็อดที่จะสร้างความสะเทือนพระทัยให้กับพระเจ้าเจมส์ไม่ได้ พระองค์มิได้ทรงไปเยี่ยมแอนน์ก่อนหน้าที่จะสวรรคตและมิได้ทรงร่วมในพระราชพิธีศพเพราะพระองค์เองก็ทรงล้มประชวรด้วยอาการที่นายแพทย์ทีโอดอร์เดอเมเยิร์นบรรยายว่า “เป็นลม, ถอนหายใจ, มีความรู้สึกสิ้นหวัง, มีความรู้สึกเศร้า...”. จากการตรวจพระบรมศพพบว่าพระราชินีแอนน์ “พระอวัยวะภายในเสียหมดแล้ว, โดยเฉพาะพระยกนะ(ตับ)” หลังจากที่ทิ้งพระบรมศพไว้เป็นระยะเวลานาน พระองค์ก็ได้รับการบรรจุในชาเปลพระแม่มารีในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ภายในแอบบีเวสต์มินสเตอร์ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1619

พระโอรส-ธิดา

อันนาแห่งเดนมาร์ก 
เจ้าชายชาร์ลส์แห่งเวลส์พระราชโอรสองค์ที่สองผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1613)

แอนแห่งเดนมาร์กทรงให้กำเนิดพระโอรส-ธิดาจำนวนทั้งสิ้น 7 พระองค์ผู้ซึ่งมีพระชนม์พ้นวัยเด็ก ซึ่งมีสี่พระองค์ซึ่งสิ้นพระชนม์ในวัยทารกหรือในวัยเด็กตอนต้น; นอกจากนี้พระนางยังทรงตกพระโลหิตพระโอรส-ธิดาถึงสามครั้ง พระโอรสพระองค์ที่สองเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากสมเด็จพระเจ้าเจมส์ คือ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระธิดา เอลิซาเบธ ทรงเป็นอัยยิกาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่

  1. เฮนรี เฟรเดอริค เจ้าชายแห่งเวลส์ (19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 15946 พฤศจิกายน ค.ศ. 1612). สิ้นพระชนม์ อาจเนื่องมาจากไข้รากสาดน้อย เมื่อมีพระชนมายุได้ 18 พรรษา
  2. เอลิซาเบธ สจวต (19 สิงหาคม ค.ศ. 159613 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1662). เสกสมรสในปี ค.ศ. 1613 กับฟรีดริชที่ 5 เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์ ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงอีเล็คเตรสแห่งพาเลไทน์ และ สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย สวรรคตเมื่อมีพระชนมายุ 65 พรรษา
  3. มาร์กาเร็ต สจวต (24 ธันวาคม ค.ศ. 1598-มีนาคม ค.ศ. 1600). สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุ 15 เดือนพระศพถูกฝังไว้ที่พระราชวังโฮลีรูด
  4. สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 160030 มกราคม ค.ศ. 1649). เสกสมรสในปี ค.ศ. 1625 กับเฮนเรียตตา มาเรีย ทรงถูกสำเร็จโทษเมื่อมีพระชนมายุได้ 49 พรรษา
  5. โรเบิร์ต สจวต ดยุกแห่งคินไทร์ (18 มกราคม -27 พฤษภาคม ค.ศ. 1602) สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุได้ 4 เดือน
  6. แมรี สจวต (8 เมษายน ค.ศ. 1605-16 ธันวาคม ค.ศ. 1607) สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุ 2 พรรษา
  7. โซเฟีย สจวต (22– 23 มิถุนายน 1606) ประสูติและสิ้นพระชนม์ในพระราชวังกรีนิช
ก่อนหน้า อันนาแห่งเดนมาร์ก ถัดไป
พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน อันนาแห่งเดนมาร์ก  อันนาแห่งเดนมาร์ก 
พระราชินีแห่งอังกฤษ
ในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

อันนาแห่งเดนมาร์ก  สมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส
เจมส์ เอิร์ลแห่งโบธธ์เวลล์ที่ 4 อันนาแห่งเดนมาร์ก  อันนาแห่งเดนมาร์ก 
พระราชินีแห่งสก๊อตแลนด์
ในพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์

อันนาแห่งเดนมาร์ก  สมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส

เชิงอรรถ

อ้างอิง

  • Akrigg, G.P.V ([1962] 1978 edition). Jacobean Pageant: or the Court of King James I. New York: Athenaeum. ISBN 0689700032.
  • Ackroyd, Peter (2006). Shakespeare: The Biography. London: Vintage. ISBN 074938655X.
  • Barroll, J. Leeds (2001). Anna of Denmark, Queen of England: A Cultural Biography. Philadelphia: University of Pennsylvania. ISBN 0812235746.
  • Cerasano, Susan, and Marion Wynne-Davies (1996). Renaissance Drama by Women: Texts and Documents. London and New York: Routledge. ISBN 0415098068.
  • Croft, Pauline (2003). King James. Basingstoke and New York: Palgrave Macmillan. ISBN 0333613953.
  • Fraser, Antonia ([1996] 1997 edition). The Gunpowder Plot: Terror and Faith in 1605. London: Mandarin Paperbacks. ISBN 0749323574.
  • Haynes, Alan ([1994] 2005 edition). The Gunpowder Plot. Stroud: Sutton Publishing. ISBN 0750942150.
  • Hogge, Alice (2005). God's Secret Agents: Queen Elizabeth's Forbidden Priests and the Hatching of the Gunpowder Plot. London: Harper Collins. ISBN 0007156375.
  • McCrea, Scott (2005). The Case For Shakespeare: The End of the Authorship Question. Westport, Connecticut: Praeger/Greenwood. ISBN 027598527X.
  • McManus, Clare (2002). Women on the Renaissance Stage: Anna of Denmark and Female Masquing in the Stuart Court (1590–1619). Manchester: Manchester University Press. ISBN 0719060923.
  • Sharpe, Kevin (1996). "Stuart Monarchy and Political Culture," in The Oxford Illustrated History of Tudor & Stuart Britain. Ed. John.S.Morrill. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0192893270.
  • Stewart, Alan (2003). The Cradle King: A Life of James VI & 1. London: Chatto and Windus. ISBN 0701169842.
  • Strickland, Agnes (1848). Lives of the Queens of England: From the Norman Conquest. Vol VII. Philadelphia: Lea and Blanchard. Original from Stanford University, digitized 20 April 2006. Full view at Google Books. Retrieved 10 May 2007.
  • Williams, Ethel Carleton (1970). Anne of Denmark. London: Longman. ISBN 0582127831.
  • Willson, David Harris ([1956] 1963 edition). King James VI & 1. London: Jonathan Cape Ltd. ISBN 0224605720.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


Tags:

อันนาแห่งเดนมาร์ก ชีวิตช่วงแรกอันนาแห่งเดนมาร์ก ความสัมพันธ์กับพระเจ้าเจมส์อันนาแห่งเดนมาร์ก ศาสนาอันนาแห่งเดนมาร์ก ราชสำนักและการเมืองอันนาแห่งเดนมาร์ก ผู้อุปถัมภ์ศิลปะอันนาแห่งเดนมาร์ก การสวรรคตอันนาแห่งเดนมาร์ก พระโอรส-ธิดาอันนาแห่งเดนมาร์ก เชิงอรรถอันนาแห่งเดนมาร์ก อ้างอิงอันนาแห่งเดนมาร์ก ดูเพิ่มอันนาแห่งเดนมาร์ก แหล่งข้อมูลอื่นอันนาแห่งเดนมาร์ก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

แปลก พิบูลสงครามรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์เนย์มาร์จีเมลชนม์สวัสดิ์ อัศวเหมไวยาวัจกรโรงเรียนชลราษฎรอำรุงราชวงศ์จักรีนวลพรรณ ล่ำซำหลิว เต๋อหัวระบบกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถจังหวัดชุมพรพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขเหี้ยคณะองคมนตรีไทยแอทลาสแอริน ยุกตะทัตพรรคประชาธิปัตย์อาเลฆันโดร การ์นาโชธีรเดช เมธาวรายุทธจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดปราจีนบุรีประเทศเวียดนามรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยบิลลี ไอลิชเลขประจำตัวประชาชนไทยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงหัวใจไม่มีปลอมมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์จังหวัดน่านคิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสจังหวัดหนองคายสุภาพบุรุษจุฑาเทพจูด เบลลิงงัมยุกต์ ส่งไพศาลเจมส์ มาร์เทศกาลเช็งเม้งสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอสุภชีอะฮ์อี คัง-อินนาฬิกาหกชั่วโมงสโมสรฟุตบอลโอเดนเซสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)คิม จี-ว็อน (นักแสดง)โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยฟุตบอลโลก 2026พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดวงจันทร์กังฟูแพนด้า 4อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ปฏิวัติ คำไหมจังหวัดขอนแก่นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บรรดาศักดิ์ไทยภาษาไทยฟุตบอลรายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วโป๊กเกอร์วันพีซอแมนด้า ออบดัมประเทศมัลดีฟส์พ.ศ. 2567พรีเมียร์ลีกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคูคลักซ์แคลนธัชทร ทรัพย์อนันต์สาปซ่อนรักเข็มอัปสร สิริสุขะอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)🡆 More