อัตราเร็วของเสียง

อัตราเร็วของเสียง คือ ระยะทางที่เสียงเดินทางไปในตัวกลางใด ๆ ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปเสียงเดินทางในอากาศที่มีอุณหภูมิ 25°C (= 298,15 K) ได้ประมาณ 346 เมตร/วินาที และในอากาศที่อุณหภูมิ 20°C ได้ประมาณ 343 เมตร/วินาที อัตราเร็วที่เสียงเดินทางได้นั้นอาจมีค่ามากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของตัวกลางเป็นหลัก และอาจได้รับอิทธิพลจากความชื้นบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ขึ้นกับความดันอากาศ

เนื่องจากการเดินทางของเสียงอาศัยการสั่นของโมเลกุลของตัวกลาง ดังนั้นเสียงจะเดินทางได้เร็วขึ้นหากตัวกลางมีความหนาแน่นมาก ทำให้เสียงเดินทางได้เร็วในของแข็ง แต่เดินทางไม่ได้ในอวกาศ เพราะอวกาศเป็นสุญญากาศจึงไม่มีโมเลกุลของตัวกลางอยู่

การคำนวณอัตราเร็วของเสียง

อัตราเร็วของเสียง อัตราเร็วของเสียง  โดยทั่วไปคำนวณหาได้จาก

    อัตราเร็วของเสียง 

โดย

    อัตราเร็วของเสียง  คือ สัมประสิทธิ์ของความแข็งเกร็ง (coefficient of stiffness)
    อัตราเร็วของเสียง  คือ ความหนาแน่น

ดังนั้น อัตราเร็วของเสียง จะเพิ่มขึ้นตามความแข็งเกร็งของวัสดุ และ ลดลงเมื่อความหนาแน่นเพิ่มขึ้น

อัตราเร็วของเสียงในของแข็ง

ของแข็งนั้นมีค่าความแข็งเกร็งไม่เป็นศูนย์ ทั้งต่อแรงบีบอัด หรือ การเปลี่ยนปริมาตร (volumetric deformation) และ แรงเฉือน (Shear Deformation) ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะกำเนิดคลื่นเสียงที่มีความเร็วต่างกัน ขึ้นกับรูปแบบของคลื่น

ในแท่งของแข็ง ซึ่งมีขนาดความหนา (หรือขนาดของตัวกลาง ในแนวตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น) เล็กกว่าความยาวคลื่นมาก อัตราเร็วของเสียงหาได้จาก

    อัตราเร็วของเสียง 

โดย

ดังนั้น ในเหล็ก อัตราเร็วของเสียงจะมีค่าประมาณ 5100 m/s

ในแท่งของแข็งหนา หรือ ขนาดด้านข้างของตัวกลาง ใหญ่กว่าความยาวคลื่น เสียงจะเดินทางได้เร็วกว่า อัตราเร็วของเสียงสามารถหาได้จากการแทนค่ามอดุลัสของยัง ด้วยมอดุลัสคลื่นหน้าราบ (en:plane wave modulus) ซึ่งหาได้จากมอดุลัสของยังและอัตราส่วนของปัวซง อัตราเร็วของเสียง 

    อัตราเร็วของเสียง 

ดังนั้น อัตราเร็วของเสียง

    อัตราเร็วของเสียง .

สำหรับคลื่นตามขวางนั้น มอดุลัสของยัง อัตราเร็วของเสียง  จะถูกแทนด้วยค่ามอดุลัสของแรงเฉือน (en:shear modulus) อัตราเร็วของเสียง 

    อัตราเร็วของเสียง .

จะเห็นได้ว่า อัตราเร็วของเสียงในของแข็งขึ้นกับความหนาแน่น ของตัวกลางเท่านั้น โดยไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ ของแข็ง เช่น เหล็ก สามารถนำคลื่นด้วยความเร็วที่สูงกว่าอากาศมาก

อัตราเร็วของเสียงในของเหลว

ของเหลวจะมีความแข็งเกร็งต่อแรงอัดเท่านั้น โดยไม่มีความแข็งเกร็งต่อแรงเฉือน ดังนั้นอัตราเร็วของเสียงในของเหลวหาได้โดย

    อัตราเร็วของเสียง 

โดย

    อัตราเร็วของเสียง  คือ มอดุลัสของการอัดแอเดียแบติก (adiabatic en:bulk modulus)

อัตราเร็วของเสียงในก๊าซ

ในก๊าซ ค่า อัตราเร็วของเสียง  สามารถประมาณโดย

    อัตราเร็วของเสียง 

โดย

    อัตราเร็วของเสียง  คือ ดัชนีแอเดียแบติก (en:adiabatic index) บางครั้งใช้สัญลักษณ์ γ
    อัตราเร็วของเสียง  คือ ความดัน

ดังนั้น อัตราเร็วของเสียงในก๊าซสามารถคำนวณได้โดย

    อัตราเร็วของเสียง 

ในกรณี ก๊าซในอุดมคติ (en:ideal gas) จะได้

อัตราเร็วของเสียง  โดย

  • อัตราเร็วของเสียง  (287.05 J/(kg·K) สำหรับอากาศ) คือ ค่าคงที่ของก๊าซ (en:gas constant) สำหรับอากาศ: ปกติในทางอากาศพลศาสตร์ ค่านี้หาจาก การหารค่าคงที่ของก๊าซสากล อัตราเร็วของเสียง  (J/(mol·K)) ด้วย ค่ามวลโมล (en:molar mass) ของอากาศ
  • อัตราเร็วของเสียง  คือ ค่า ดัชนีแอเดียแบติก (en:adiabatic index) (เท่ากับ 1.402 สำหรับอากาศ)
  • อัตราเร็วของเสียง  คือ ค่าอุณหภูมิสัมบูรณ์ (เคลวิน)

(นิวตันนั้นค้นพบวิธีการหาค่าอัตราเร็วของเสียงก่อนพัฒนาการของอุณหพลศาสตร์ และได้ใช้การคำนวณแบบอุณหภูมิเสมอ (en:isothermal) แทนที่จะเป็นแบบแอเดียแบติก (en:adiabatic) ซึ่งสูตรของนิวตันนั้นขาดตัวคูณ κ)


ที่สภาพบรรยากาศมาตรฐาน (standard atmosphere) :

อัตราเร็วของเสียง 0 = 273.15 K (= 0 °C = 32 °F) ความเร็วเสียง 331.5 m/s (= 1087.6 ft/s = 1193 km/h = 741.5 mph = 643.9 นอต
อัตราเร็วของเสียง 20 = 293.15 K (= 20 °C = 68 °F) ความเร็วเสียง 343.4 m/s (= 1126.6 ft/s = 1236 km/h = 768.2 mph = 667.1 นอต
อัตราเร็วของเสียง 25 = 298.15 K (= 25 °C = 77 °F) ความเร็วเสียง 346.3 m/s (= 1136.2 ft/s = 1246 km/h = 774.7 mph = 672.7 นอต

ในกรณีของก๊าซในอุดมคติ อัตราเร็วของเสียง อัตราเร็วของเสียง  ขึ้นกับอุณหภูมิเท่านั้น โดยไม่ขึ้นกับความดัน อากาศนั้นเกือบจะถือได้ว่าเป็นก๊าซในอุดมคติ อุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลงตามระดับความสูง เป็นผลให้อัตราเร็วของเสียงที่ระดับความสูงต่าง ๆ นั้นแตกต่างกัน

ระดับความสูง อุณหภูมิ ม./วิ กม./ชม. ไมล์/ชม. นอต
ระดับน้ำทะเล 15 °C (59 °F) 340 1225 761 661
11,000 ม.–20,000 ม. -57 °C (-70 °F) 295 1062 660 573
29,000 ม. -48 °C (-53 °F) 301 1083 673 585

ใน ตัวกลางที่ไม่มีการกระจาย (non-dispersive medium) – อัตราเร็วของเสียงไม่ขึ้นกับความถี่ ดังนั้นอัตราเร็วในการส่งถ่ายพลังงาน และ อัตราเร็วเร็วในการเคลื่อนที่ของเสียง นั้นมีค่าเท่ากัน ในย่านความถี่เสียงที่เราสามารถได้ยินนั้น อากาศมีคุณสมบัติเป็นตัวกลางที่ไม่มีการกระจาย โปรดสังเกตว่า CO2 ในอากาศนั้นเป็นตัวกลางที่มีการกระจาย และทำให้เกิดการกระจายสำหรับคลื่นเสียงความถี่สูง (28KHz)
ใน ตัวกลางที่มีการกระจาย (dispersive medium) – อัตราเร็วของเสียงจะขึ้นกับความถี่ องค์ประกอบที่แต่ละความถี่จะเดินทางด้วยความเร็วเฟส (phase velocity) ที่แตกต่างกัน ส่วนพลังงานของเสียงจะเดินทางด้วยความเร็วที่ความเร็วกลุ่ม (group velocity) ตัวอย่างของตัวกลางที่มีการกระจาย คือ น้ำ

อัตราเร็วของเสียงในอากาศ

อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสามารถมีผลกระทบต่ออัตราเร็วของเสียงได้ถ้าอุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น ณ ความดันคงที่ อากาศย่อม ขยายตัวออกตามกฏของชาร์ลและจะมีความหนาแน่นลดลงทำให้อัตราเร็วของเสียงเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิอัตราเร็วของเสียงในอากาศจะแปรผันโดยตรงกับอุณหภูมิ(อุณหภูมิเคลวิน)

อัตราเร็วของเสียงในอากาศโดยประมาณหาได้จาก:

    อัตราเร็วของเสียง 

โดยที่ อัตราเร็วของเสียง  คือ อุณหภูมิ ในหน่วย องศาเซลเซียส ความแม่นยำในการประมาณในช่วงของอุณหภูมิในช่วง -20°C ถึง 40°C จะมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 0.2% ในช่วงอุณหภูมิสูงกว่า หรือ ต่ำกว่านั้นอัตราเร็วของเสียงจะประมาณโดย

    อัตราเร็วของเสียง 
ผลของอุณหภูมิ
θ (°C) c (m/s) ρ (kg/m³) Z (N·s/m³)
−10 325.4 1.341 436.5
−5 328.5 1.316 432.4
0 331.5 1.293 428.3
+5 334.5 1.269 424.5
+10 337.5 1.247 420.7
+15 340.5 1.225 417.0
+20 343.4 1.204 413.5
+25 346.3 1.184 410.0
+30 349.2 1.164 406.6

เลขมัค คือ อัตราส่วนอัตราเร็วของวัตถุ ต่อ อัตราเร็วของเสียง ในอากาศ (หรือตัวกลางนั้น)

การเคลื่อนที่ของวัตถุใด ๆ ด้วยอัตราเร็วเท่ากับเสียง ณ ตำแหน่งนั้น จะเรียกว่าอัตราเร็ว 1 มัค (Mach) ในทำนองเดียวกันถ้าเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 2 เท่าของอัตราเร็วของเสียงวัตถุนั้นก็จะมีความเร็วเป็น 2 มัค

ตัวอย่างอัตราเร็วของเสียงในตัวกลางต่าง ๆ

ตารางด้านล่าง แสดงค่าอัตราเร็วของเสียงในตัวกลาง ที่อุณหภูมิ 20°C

ชนิดวัสดุ ความเร็ว (m/s)
อากาศ 343
น้ำ 1480
น้ำแข็ง 3200
แก้ว 5300
เหล็ก 5200
ตะกั่ว 1200
ไทเทเนียม 4950
พีวีซี (อ่อน) 80
พีวีซี (แข็ง) 1700
คอนกรีต 3100
ฮีเลียม 927

การใช้อัตราเร็วของเสียงวัดระยะทาง

  • ความหนาแน่นของตัวกลาง อัตราเร็วในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะมีค่ามากกว่าในตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า
  • อุณหภูมิ อัตราเร็วเสียงจะแปรผันตรงกับรากที่ 2 ของอุณหภูมิเคลวิน เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้โมเลกุล มีพลังงานจลน์มากขึ้นการอัดตัวและขยายตัวเร็ว ทำให้เสียงเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น

จึงได้ว่า V ∝√T และสำหรับในอากาศนั้น เราสามารถหาอัตราเร็วเสียงที่อุณหภูมิต่าง ๆ ได้โดยอาศัย

สมการ v = vo + 0.6 t หรือ v = 331 + 0.6 t เมื่อ Vo = อัตราเร็วเสียงที่อุณหภูมิ 0°C = 331 m/s t = อุณหภูมิ (°C)

การใช้อัตราเร็วของเสียงวัดระยะทาง

การใช้คลื่นเสียงวัดระยะทาง ส่วนมากจะใช้ในน้ำ เนื่องจากอัตราเร็วของเสียงในน้ำมีค่าสูงกว่ายานพาหนะหรือวัตถุอื่นที่เคลื่อนที่ในน้ำมาก เช่นการวัดความลึกของทะเล หรือการใช้คลื่นโซนาร์เป็นเรดาร์ของชาวประมงในการสำรวจหาฝูงปลาเป็นต้น

อ้างอิง

Tags:

อัตราเร็วของเสียง การคำนวณอัตราเร็วของเสียง ตัวอย่างในตัวกลางต่าง ๆอัตราเร็วของเสียง การใช้วัดระยะทางอัตราเร็วของเสียง การใช้วัดระยะทางอัตราเร็วของเสียง อ้างอิงอัตราเร็วของเสียงความชื้นความดันอากาศระยะทางอุณหภูมิเสียง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ศาสนาฮินดูกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)28 มีนาคมการบัญชีเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทยประเทศอิตาลีสารัช อยู่เย็นจังหวัดปราจีนบุรีจิตวิทยาประเทศรัสเซียกติกาฟุตบอลธี่หยด2ทักษิณ ชินวัตรฟุตบอลอาณาจักรอยุธยาผีกะฟุตซอลชวน หลีกภัยชาดา ไทยเศรษฐ์ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีก็อตซิลลาอิษยา ฮอสุวรรณประเทศสวีเดนกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39อสมทประเทศอินโดนีเซียข้าราชการส่วนท้องถิ่นจูด เบลลิงงัมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเอสบีโอเบทรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรชาลี ไตรรัตน์ประเทศนิวซีแลนด์อินสตาแกรมสังโยชน์น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์มณฑลของประเทศจีนกวนอิมปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์พิมประภา ตั้งประภาพรสภาผู้แทนราษฎรไทยวัชรเรศร วิวัชรวงศ์จังหวัดนครศรีธรรมราชรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี.comไดโนเสาร์อิทธิบาท 4จักรภพ ภูริเดชอธิป ทองจินดาโทโยโตมิ ฮิเดโยชิก็อดซิลล่า ปะทะ คองธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญจังหวัดชุมพรสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ทิน โชคกมลกิจแฮร์รี่ พอตเตอร์เมษายนฮ่องกงภาคกลาง (ประเทศไทย)พ.ศ. 2566ครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!เอ็งดรีกี เฟลีปีรายชื่อตัวละครในขอต้อนรับสู่ห้องเรียนนิยม (เฉพาะ) ยอดคนเจริญ สิริวัฒนภักดีธนภพ ลีรัตนขจรสะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ (บอลทิมอร์)ศุภนันท์ บุรีรัตน์ฟุตบอลทีมชาติสเปนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติบอดี้สแลมตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอลทวีปยุโรปสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2018–19งูสามเหลี่ยมแม่นากพระโขนง🡆 More