อสูร

ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ อสูร (สันสกฤต: Asuraบาลี: असुर) คือเทวดาจำพวกหนึ่ง มีนิสัยดุร้าย เป็นปฏิปักษ์กับเทวดาพวกอื่นซึ่งอาศัยบนสวรรค์ อสูรเพศหญิงเรียกว่าอสุรี

อสูร

พัฒนาการความเชื่อ

ในคัมภีร์ฤคเวทตอนต้นใช้คำว่า อสูร หมายถึงเทพชั้นหัวหน้า เช่น พระอินทร์ พระพิรุณ พระอัคนี และเป็นคำเดียวกับคำว่า อหุระ (Ahura) ในพระนาม “พระอหุระมาซดะพระเป็นเจ้าในศาสนาโซโรอัสเตอร์ สมัยต่อมา “อสูร” กลับใช้หมายถึง ศัตรูของเทพ ซึ่งพระประชาบดีทรงสร้างขึ้นมาจากลมหายใจของพระองค์ โดยคำว่า “อสุ” หมายถึงลมหายใจของพระประชาบดี คัมภีร์ชั้นหลังต่อมา เช่น ฤคเวทภาคหลัง อาถรรพเวท และปุราณะต่าง ๆ มีการตีความหมายใหม่ว่า “อสุระ” แปลว่า ไม่ใช่เทพ (อ- อุปสรรค/น นิบาต(ไม่ใช่, ไม่) + สุระ (เทพ)) คือเป็นอริกับเหล่าเทพ และปรากฏตำนานหลายเรื่องกล่าวถึงสงครามหรือความขัดแย้งระหว่างเทพกับอสูร เช่น ตอนกวนเกษียรสมุทรในกูรมาวตาร เทวาสุรสงคราม เป็นต้น

อสูร จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความชั่ว ความโหดร้าย ต่างจากเทวดาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความดีและความเมตตา

ศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธเชื่อว่า แต่เดิมอสูรเป็นเทวดาอาศัยในเมืองสุทัศน์ บนยอดเขาพระสุเมรุ มีท้าวเวปจิตติเป็นจอมเทพ ต่อมาถูกมฆมานพซึ่งมาเกิดเป็นพระอินทร์และบริวารมอมเหล้าจนไม่ได้สติ จึงถูกจับโยนลงมาอยู่ใต้เขาพระสุเมรุ ด้วยอำนาจบุญเก่าจึงเกิดเป็นเมืองใหม่ลักษณะเหมือนเมืองสุทัศน์ อยู่ใต้เขานั้นเป็นที่อาศัยของเหล่าอสูร เหล่าอสูรก้เข้าใจว่าตนยังอยู่บนเขาพระสุเมรุ จนเมื่อเห็นต้นแคฝอยในเมืองออกดอก อสูรจึงระลึกได้ว่าตนเองอยู่ใต้เขา เพราะในเมืองสุทัศน์มีต้นปาริชาต อสูรก็จะแต่งกองทัพอสูรยกไปหมายจะชิงเอาเมืองสุทัศน์คืน จึงเรียกว่า "เทวาสุรสงคราม" (สงครามระหว่างเทพกับอสูร) ทั้งสองฝ่ายผลัดกันแพ้ชนะเรื่อยมา ฝ่ายใดแพ้ก็จะหนีกลับเข้าเมือง ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถตีเข้าเมืองได้ ตกยกทัพกลับไป ทั้งสองเมืองจึงได้ชื่อว่าอยุชฌปุระ (เมืองที่ไม่มีใครรบชนะได้)

คัมภีร์มโนรถปูรณีระบุว่า อสูรผู้เป็นหัวหน้า (อสุรินฺท) มี 3 ตน ได้แก่ ท้าวเวปจิตติ พระราหู และท้าวปหาราทะ

อสูรที่สำคัญ

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552.
  • พระสัทธัมมโชติกะ, ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, 2546.

Tags:

อสูร พัฒนาการความเชื่ออสูร ศาสนาพุทธอสูร ที่สำคัญอสูร อ้างอิงอสูรภาษาบาลีภาษาสันสกฤตศาสนาพุทธศาสนาฮินดูเทวดา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อินเดียหลิน เกิงซินจำนวนเฉพาะแฮร์รี่ พอตเตอร์ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสโมสรฟุตบอลโอเดนเซหม่ำ จ๊กมกราณี แคมเปนประเทศตองงาโรมพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประวัติศาสตร์สหรัฐบาร์เซโลนาคริสเตียโน โรนัลโดชวินโรจน์ ลิขิตเจริญสกุลไตรลักษณ์สงครามเย็นสถิตย์พงษ์ สุขวิมลท้าวสุรนารีฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2ประวัติศาสตร์ไทยประเทศเม็กซิโกมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสประเทศมัลดีฟส์2การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566จังหวัดเพชรบุรีสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดสหรัฐอเมริกาเจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรการแพทย์ทางเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเกาะกูดกองกลางลักเซมเบิร์กเกมพีระมิด (ละครโทรทัศน์เกาหลีใต้)ภัทรเดช สงวนความดีไต้หวันประเทศโคลอมเบียพชร จิราธิวัฒน์สุธิตา ชนะชัยสุวรรณธฤษณุ สรนันท์จูด เบลลิงงัมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยชาริล ชับปุยส์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสุภาพบุรุษจุฑาเทพโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าณเดชน์ คูกิมิยะภาษาสเปนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจังหวัดศรีสะเกษฟุตบอลโลก 2026จรูญเกียรติ ปานแก้ววัดสระเกศราชวรมหาวิหารรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันคิม จี-ว็อน (นักแสดง)ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษอสุภHรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดลำดับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณอนิเมะเฮย์จูดจังหวัดนครพนมจังหวัดตราดณฐพร เตมีรักษ์แพทองธาร ชินวัตรประเทศไต้หวันเอก อังสนานนท์ติ๊กต็อกกูเกิล แปลภาษา🡆 More