หวอ เงวียน ซ้าป

หวอ เงวียน ซ้าป หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ โวเหงียนเกี๊ยบ (เวียดนาม: Võ Nguyên Giáp; 25 สิงหาคม พ.ศ.

2454">พ.ศ. 2454 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นนายทหารนอกราชการสังกัดกองทัพประชาชนเวียดนามและนักการเมือง เขาเป็นผู้บัญชาการหลักสงครามใหญ่ 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2489-2497) และสงครามเวียดนาม (อีกนัยหนึ่งคือสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2, พ.ศ. 2503-2518) และมีส่วนร่วมในยุทธการครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่ยุทธการที่หลั่งเซิน (พ.ศ. 2493) ยุทธการที่ฮหว่าบิ่ญ (พ.ศ. 2494-2495) ยุทธการที่เดียนเบียนฟู (1954) การรุกวันตรุษญวน (พ.ศ. 2511) การรุกวันอีสเตอร์ (ในเวียดนามเรียกชื่อว่า "การรุกเหงียนเว้", พ.ศ. 2515) การทัพโฮจิมินห์ (พ.ศ. 2518) และ สงครามจีน-เวียดนาม (พ.ศ. 2522) นอกจากนี้ย้าบยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ รัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาลเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ ผู้บัญชาการทหารของเวียดมินห์ ผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเวียดนาม รัฐมนตรีกลาโหม และรับตำแหน่งในคณะกรมการเมือง (โปลิตบูโร) ของพรรคแรงงานเวียดนาม (พรรคลาวด่ง) อีกด้วย

หวอ เงวียน ซ้าป
25 สิงหาคม ค.ศ. 1911(1911-08-25) – 4 ตุลาคม ค.ศ. 2013(2013-10-04) (102 ปี)
หวอ เงวียน ซ้าป

หวอ เงวียน ซ้าป ในปี ค.ศ. 2008
เกิดที่ จังหวัดกว๋างบิ่ญ อินโดจีนฝรั่งเศส
อนิจกรรมที่ กรุงฮานอย, เวียดนาม
เหล่าทัพ หวอ เงวียน ซ้าป กองทัพประชาชนเวียดนาม
ปีปฏิบัติงาน 1944–1991
ยศสูงสุด พลเอกทหารบก
รับใช้ หวอ เงวียน ซ้าป เวียดนาม
บัญชาการ เวียดมินห์
กองทัพประชาชนเวียดนาม
การยุทธ สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง
สงครามเวียดนาม
การรุกตรุษญวน
การรุกอีสเตอร์
การพิชิตกรุงไซ่ง่อน
บำเหน็จ อิสริยาภรณ์ดาวทอง
อิสริยาภรณ์โฮจิมินห์ (2 ครั้ง)
หวอ เงวียน ซ้าป
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามVõ Nguyên Giáp
ฮ้าน-โนม

ซ้าปเป็นผู้บัญชาการทหารที่โดดเด่นที่สุดที่อยู่เคียงข้างประธานาธิบดีโฮจิมินห์ในช่วงสงคราม และรับผิดชอบในการนำปฏิบัติการต่างๆ ที่สำคัญมาโดยตลอดจนกระทั่งสงครามยุติ นอกจากนี้ซ้าปยังเป็นที่จดจำว่ามีชีวิตอยู่ยืนยาวยิ่งกว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่สงครามทุกคน และเป็นนายทหารระดับสูงที่โดดเด่นที่สุดในช่วงสงครามเวียดนามซึ่งได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่าย

ประวัติ

ซ้าบเกิดที่จังหวัดกว๋างบิ่ญทางเหนือของเว้ เขาเคยถูกฝรั่งเศสจับกุมใน พ.ศ. 2473 เพราะเป็นแกนนำในการประท้วงของนักศึกษา ซ้าปจบการศึกษาทางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮานอยเมื่อ พ.ศ. 2480 และได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ของโฮจิมินห์ หลังจากที่เขาหนีการจับกุมของตำรวจไปยังภาคใต้ของจีนเมื่อ พ.ศ. 2482 ส่วนบุตรและภรรยาของเขาถูกจับขังจนเสียชีวิตในคุก

ใน พ.ศ. 2484 ซ้าบกลับมายังเวียดนามในฐานะที่ปรึกษาของโฮจิมินห์และเป็นผู้ร้วมก่อตั้งเวียดมินห์ เพื่อต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส เมื่อประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 ซ้าบได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อ พ.ศ. 2491 และเป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหารในยุทธการที่เดียนเบียนฟูเมื่อ พ.ศ. 2497 จนได้รับชัยชนะ

หลังจากการแบ่งแยกเวียดนามและจัดตั้งรัฐบาลเวียดนามเหนือ ซ้าบยังเป็นผู้นำกองทัพอย่างต่อเนื่องในการสู้รบกับเวียดนามใต้จนรวมชาติสำเร็จใน พ.ศ. 2518 ซ้าบลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดใน พ.ศ. 2519 และถูกปลดจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมใน พ.ศ. 2523 และลาออกจากคณะกรรมการเมืองใน พ.ศ. 2525 ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากการที่เขามีจุดยืนคัดค้านการรุกรานกัมพูชา หลังจากนั้น เขาได้กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประสานทางการทูตกับจีนและสหรัฐอเมริกา

หวอ เงวียน ซ้าป เสียชีวิตในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สิริอายุได้ 102 ปี ศพถูกนำกลับไปฝังที่จังหวัดกว๋างบิ่ญ บ้านเกิด หวอ เงวียน ซ้าป ได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษอีกคนหนึ่งของเวียดนาม โดยเป็นที่เคารพนับถือของชาวเวียดนามเป็นอันดับสองรองจากโฮจิมินห์

อ้างอิง

  • ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548.

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

25 สิงหาคม4 ตุลาคมกองทัพประชาชนเวียดนามพ.ศ. 2454พ.ศ. 2556พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามภาษาเวียดนามยุทธการที่เดียนเบียนฟูสงครามจีน-เวียดนามสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งสงครามเวียดนามเวียดมินห์โฮจิมินห์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจังหวัดน่านสงครามโลกครั้งที่สองนักเรียนเห็ดขี้ควายลุค อิชิกาวะ พลาวเดนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสภาผู้แทนราษฎรไทยสหราชอาณาจักรวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยประเทศรัสเซียโรงเรียนเทพศิรินทร์รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDเต่าปูลูรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครยิ่งลักษณ์ ชินวัตรรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโรงเรียนสตรีวิทยาธนาคารแห่งประเทศไทยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)มุฮัมมัดสุลักษณ์ ศิวรักษ์อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าตัวเลขโรมันนพเก้า เดชาพัฒนคุณสุวัฒน์ แจ้งยอดสุขแอน ทองประสมสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เว็บไซต์ราชวงศ์จักรีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพลพล พลกองเส็งมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)สุภาพร วงษ์ถ้วยทองงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)โชกุนอัสซะลามุอะลัยกุมโรงเรียนชลราษฎรอำรุงทวิตเตอร์เจตริน วรรธนะสินกองอาสารักษาดินแดน27 มีนาคมสหรัฐมหาวิทยาลัยมหาสารคาม69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)จังหวัดสุราษฎร์ธานีประเทศอียิปต์เดมี มัวร์จิรภพ ภูริเดชFace Off แฝดคนละฝาพิจักขณา วงศารัตนศิลป์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเทศกาลเช็งเม้งหม่ำ จ๊กมกจังหวัดสุรินทร์ปัญญา นิรันดร์กุลทัศน์พล วิวิธวรรธน์โชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)ดาวซานถี่ อุบัติการณ์สงครามล้างโลกพรรคเพื่อไทยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชวีระ สุสังกรกาญจน์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเจษฎ์ โทณะวณิกรายการรหัสไปรษณีย์ไทยประเทศอินเดียพิธา ลิ้มเจริญรัตน์รายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันปรีดี พนมยงค์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566🡆 More