อุ่น ดูรยะชีวิน หลวงไพเราะเสียงซอ

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ศิลปินนักดนตรีไทย มีความชำนาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี ทั้งซอด้วง ซออู้ และซอสามสาย เป็นอดีตข้าราชการในสังกัดกรมพิณพาทย์หลวง และกรมศิลปากร

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)

เกิด23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 (ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง)
ตำบลบ้านหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
เสียชีวิต13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 (82 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ประเทศไทย
อาชีพนักร้อง นักดนตรี ครูสอนขับร้องและดนตรี
บิดามารดา
  • พยอม (บิดา)
  • เทียบ (มารดา)
ไฟล์:Luangpirohsiangsow.jpg
หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)

ประวัติ

วัยเยาว์

หลวงไพเราะเสียงซอ มีชื่อเดิมว่า “อุ่น” เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ที่ตำบลบ้านหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ พยอม กับ เทียบ มีพี่สาวชื่อ ถมยา ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับหลวงศรีวาทิต (อ่อน ศรีโกมลวาทิน) มีครอบครัวเป็นศิลปินทางด้านแอ่วเคล้าซอ

การศึกษา

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เริ่มเรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ เมื่ออายุ 11 ปี เมื่อครั้งบวชเป็นสามเณรที่วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีหลวงพ่อจง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อลาสิกขาบทได้เรียนต่อจากหนังสือมูลบทบรรพกิจ ภายหลังเมื่อครอบครัวย้ายมาอยู่กรุงเทพมหานคร จึงไปเรียนที่วัดปริณายก

ทางด้านดนตรี เริ่มฝึกหัดซอด้วงกับบิดา ซึ่งเป็นนักแอ่วเคล้าซอ เมื่ออายุ 9-10 ปี ต่อมาได้เรียนในขั้นสูงกับ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง สมัยรัชกาลที่ 6 โดยเรียนทั้งซอด้วงและซออู้ และได้เรียนไวโอลินกับ อัลเบอร์โต นาซารี (Alberto Nazzari) ชาวอิตาเลียน ครูประจำกองเครื่องสายฝรั่งหลวงสมัยรัชกาลที่ 6

การงาน

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็ก สังกัดกองดนตรี ใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกรมมหรสพในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับราชการสังกัดกรมพิณพาทย์หลวง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนดนตรีบรรเลง" แล้วเลื่อนเป็น "หลวงไพเราะเสียงซอ" และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

นอกจากหน้าที่ราชการ ยังได้เป็นครูฝึกสอนให้วงเครื่องสายของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการหลายวง ได้แก่

ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เป็นพระอาจารย์ถวายการสอนซอแด่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ในการทรงเล่นเครื่องสายส่วนพระองค์ นอกจากนี้ยังได้ถวายการสอนซอแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล อีกด้วย

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้โอนย้ายมารับราชการที่กรมศิลปากร ขณะเดียวกันได้รับเชิญเป็นครูสอนเครื่องสายที่โรงเรียนนาฏศิลป และเป็นอาจารย์พิเศษที่ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มรณกรรม

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) มีโรคประจำตัวคือหืด (Asthma) ภายหลังตรวจพบว่าเป็นมะเร็งที่คอและปาก เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชหลายครั้งจนอาการหายดี แต่ครั้งหลังสุดป่วยเป็นไข้หวัด มีอาการอ่อนเพลียและปอดบวม ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้ 84 ปี

การถ่ายทอดความรู้

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ได้ถ่ายความรู้ให้ศิษย์หลายคน แต่เฉพาะที่มีชื่อเสียงปรากฏในวงการดนตรีไทย ได้แก่

ชีวิตส่วนตัว

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) สมรสครั้งแรกกับ นวม มัธยมจันทร์ มีบุตรธิดา 8 คน คือ

  • อนันต์
  • อนุ
  • อนงค์
  • เอนก
  • ดวงเนตร
  • อนนต์
  • อณัต
  • อำนาย

ต่อมาสมรสกับ หม่อมเจ้ากริณานฤมล สุริยง มีบุตรธิดา 5 คน คือ

  • ผกากน
  • พิมลชัย
  • พิไลพรรณ
  • จันทราภรณ์
  • สุริยพันธ์

บรรดาศักดิ์และยศ

  • พ.ศ. 2448 ถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สังกัดกองดนตรี ยศชั้น 2 ตรี ชั้น 3
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ปรับตำแหน่งตามทำเนียบมหาดเล็กประจำ เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เถลิงถวัลยราชสมบัติ
  • พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานยศเป็น มหาดเล็กวิเศษ
  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 ได้รับพระราชทานยศเป็น รองหุ้มแพร และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนดนตรีบรรเลง ถือศักดินา 300
  • 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงไพเราะเสียงซอ ถือศักดินา 400
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานยศเป็น หุ้มแพร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Tags:

อุ่น ดูรยะชีวิน หลวงไพเราะเสียงซอ ประวัติอุ่น ดูรยะชีวิน หลวงไพเราะเสียงซอ การถ่ายทอดความรู้อุ่น ดูรยะชีวิน หลวงไพเราะเสียงซอ ชีวิตส่วนตัวอุ่น ดูรยะชีวิน หลวงไพเราะเสียงซอ บรรดาศักดิ์และยศอุ่น ดูรยะชีวิน หลวงไพเราะเสียงซอ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อุ่น ดูรยะชีวิน หลวงไพเราะเสียงซอ อ้างอิงอุ่น ดูรยะชีวิน หลวงไพเราะเสียงซอกรมศิลปากร

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ท้องที่ตำรวจสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดามณฑลของประเทศจีนอนิเมะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กวนอิมพิมประภา ตั้งประภาพรอู๋ เหล่ย์ (นักแสดง)ทวีปอเมริกาเหนือสหภาพโซเวียตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยุกต์ ส่งไพศาลชนาธิป สรงกระสินธ์จรูญเกียรติ ปานแก้วเอก อังสนานนท์ค็อบบี ไมนูฟุตซอลทีมชาติไทยชา อึน-อูมหาวิทยาลัยเชียงใหม่การบัญชีชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองประเทศอียิปต์รมิดา จีรนรภัทรทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีดาบพิฆาตอสูรรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์Fกูเกิล แผนที่จังหวัดเชียงรายผลิตโชค อายนบุตรบัญญัติ 10 ประการไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชช้อปปี้สุภาพบุรุษจุฑาเทพรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรบัลลังก์ลูกทุ่งอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต์ประเทศแคนาดาบาสเกตบอลจุฑาวัชร วิวัชรวงศ์กูเกิล แปลภาษาสงครามเวียดนามรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาครจังหวัดมุกดาหารอันดับโลกฟีฟ่าโรงเรียนเทพศิรินทร์เทย์เลอร์ สวิฟต์สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2018–19ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์อินทิรา โมราเลสสุวัฒน์ แจ้งยอดสุขโทโยโตมิ ฮิเดโยชิสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สเมลดา สุศรีภาคตะวันออก (ประเทศไทย)อาณาจักรธนบุรีจังหวัดระยองวรกมล ชาเตอร์69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)โยอาโซบิอิทธิบาท 44 KINGS 2สเตรนเจอร์ ธิงส์เทศกาลเช็งเม้งมีนาคมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ร่มเกล้า ธุวธรรมเพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3)ธฤษณุ สรนันท์สำนักพระราชวัง🡆 More