สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก

สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก (สโลวัก: Slovenská republika rád, ฮังการี: Szlovák Tanácsköztársaság, ยูเครน: Словацька Радянська Республіка, ชื่อตามตัวอักษร: 'สภาแห่งสาธารณรัฐสโลวัก') เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอายุสั้นในภูมิภาคทางตอนใต้ของสโลวาเกีย ดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ.

1919 จนถึง 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1919 เมืองหลวงของสาธารณรัฐตั้งอยู่ที่เมืองเปรเชา สาธารณรัฐได้ประกาศจัดตั้งขึ้นโดยมี ออนโตนีน ยอโนอูแซก เป็นประมุขแห่งรัฐ ถือเป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์แห่งที่สี่ในประวัติศาสตร์

สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก

Slovenská republika rád  (สโลวัก)
Szlovák Tanácsköztársaság  (ฮังการี)
Словацька Радянська Республіка  (ยูเครน)
เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1919
ธงชาติสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก
ธงชาติ
ของสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก
ตราแผ่นดิน
คำขวัญProletari caleho šveta, spojce še!
"ชนกรรมาชีพทั่วโลกจงสามัคคีกัน!"
      สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก
      สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก
สถานะรัฐหุ่นเชิดของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
เมืองหลวงเปรเชา
ภาษาทั่วไปสโลวัก ฮังการี ยูเครน
การปกครองระบบโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยม
ประธานสภาบริหารปฏิวัติ 
• 1919
ออนโตนีน ยอโนอูแซก
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม
• ประกาศจัดตั้ง
16 มิถุนายน 1919
• การแทรกแซงทางทหาร
7 กรกฎาคม 1919
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก สาธารณรัฐเชโกสโลวัก
สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
สาธารณรัฐเชโกสโลวัก สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก สโลวาเกีย
สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก ยูเครน

ในปี ค.ศ. 1918 กองกำลังเชโกสโลวักได้เริ่มเข้ายึดครองภูมิภาคตอนบนของฮังการี ตามข้อตกลงเกี่ยวกับดินแดนที่ไตรภาคีได้ทำไว้กับนักการเมืองชาวเชโกสโลวักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อย่างไรก็ตาม พื้นที่อัปเปอร์ฮังการี (ปัจจุบันคือพื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวาเกีย) ได้ถูกยึดครองโดยกองกำลังฮังการีจากสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี และประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสโลวักขึ้น

หลังจากการเกิดสงครามระหว่างฮังการี, เชโกสโลวาเกีย และโรมาเนีย สาธารณรัฐโซเวียตสโลวักได้ล่มสลาย และต่อมาดินแดนก็ถูกผนวกรวมเข้ากับเชโกสโลวาเกีย ต่อมาได้มีการจัดตั้งรัฐทายาทของสาธารณรัฐโซเวียต นั่นก็คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวัก ซึ่งเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของเชโกสโลวาเกีย ดำรงอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1969 จนถึง 1990 ซึ่งสืบทอดต่อโดยสาธารณรัฐสโลวักเมื่อปี ค.ศ. 1992 และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993 เชโกสโลวาเกียจึงแตกสลายออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย

ประวัติศาสตร์

สาธารณรัฐประชาชนฮังการี

หลังจากการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนฮังการีขึ้นในเดือนตุลาคม 1918 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศคนใหม่ได้เข้าพบผู้แทนแห่งชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในฮังการี รวมถึงผู้แทนแห่งชาวสโลวักด้วย โดยมีการยื่นข้อเสนอเป็นเอกราชให้แก่ชาวสโลวัก แต่ถูกปฏิเสธ เพราะชาวสโลวักต้องการที่จะไปรวมตัวกับโบฮีเมียและมอเรเวียเพื่อก่อตั้งเชโกสโลวาเกียมากกว่า

ดินแดนที่เป็นประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน ถูกกองกำลังทหารจากเชโกสโลวาเกียเข้ายึดครองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1918 ด้วยเหตุนี้ ทางรัฐบาลฮังการีจึงเตรียมแผนสำหรับการปกครองตนเองและประกาศใช้กฎหมายพิเศษสำหรับภูมิภาคดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1919 ทำให้สโลวาเกียได้รับอิสรภาพในด้านการศาล การศึกษา และศาสนา ซึ่งทั้งหมดจะถูกควบคุมโดยคณะรัฐบาลปกครองตนเอง มีความพยายามที่จะประนีประนอมกับชนกลุ่มน้อย จึงได้รับรองผู้แทนของสโลวาเกียในรัฐสภาบูดาเปสต์ และยังมีการจัดตั้งกระทรวงกิจการสโลวาเกียขึ้นมาใหม่อีกด้วย

สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 1919 ก่อนคำขาดของไตรภาคี ซึ่งหมายถึงการสูญเสียดินแดนของฮังการีส่วนใหญ่ให้แก่โรมาเนีย ประธานาธิบดี มิฮาย กาโรยี ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง โดยมอบอำนาจรัฐบาลให้แก่พันธมิตรประชาธิปไตยสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ บุคคลสำคัญของรัฐบาลใหม่คือนักการเมืองฝั่งคอมมิวนิสต์ เบลอ กุน กรรมการราษฎรฝ่ายกิจการต่างประเทศ กุนสัญญาว่าจะใช้นโยบายเสรีกับชนกลุ่มน้อยตามหลักการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง

รัฐธรรมนูญและการล่มสลาย

ผลสืบเนื่อง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Jelinek, Yeshayahu (1958). "Nationalism in Slovakia and the Communists, 1918-1929". Slavic Review. 35 (1): 65-85.
  • Toma, Peter A. (1958). "The Slovak Soviet Republic of 1919". American Slavic and East European Review. 17 (2): 203-215.
  • Vermes, Gabor (1973). "The Agony of Federalism in Hungary under the Karolyi Regime, 1918/1919". East European Quarterly. 6 (4): 487-503.
  • Völgyes, Iván (1971). Hungary in Revolution, 1918-19: Nine Essays (ภาษาอังกฤษ). University of Nebraska Press. p. 219. ISBN 9780803207882.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • Toma, Peter A. "The Slovak Soviet Republic of 1919" American Slavic & East European Review (1958) 17#2 pp 203–215.

Tags:

สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก ดูเพิ่มสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก อ้างอิงสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก บรรณานุกรมสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาธารณรัฐโซเวียตสโลวักประเทศคอมมิวนิสต์ภาษายูเครนภาษาสโลวักภาษาฮังการีสโลวาเกียเปรเชา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ภัทร เอกแสงกุลรายชื่อธนาคารในประเทศไทยฟุตซอลโลก 2024รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาฟุตซอลทีมชาติไทยช้อปปี้ธนาคารทหารไทยธนชาตเมษายนมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ราชสกุลวิทยุเสียงอเมริกาสุจาริณี วิวัชรวงศ์วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024จังหวัดสกลนครพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาเศรษฐศาสตร์ดอลลาร์สหรัฐพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินอีเอฟแอลคัพจังหวัดกาญจนบุรีสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันชา อึน-อูประเทศบังกลาเทศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรจุลจักร จักรพงษ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิจ๊ะ นงผณีประวัติศาสตร์ไทยชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชอัสซะลามุอะลัยกุมประเทศออสเตรียสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโฟร์อีฟพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยรณิดา เตชสิทธิ์ไค ฮาเวิทซ์เพลิงพรางเทียนรายชื่ออำเภอของประเทศไทยเมตาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จังหวัดลำปางประชาธิปไตยปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)เครื่องคิดเลขทวี ไกรคุปต์นามสกุลพระราชทานอแมนด้า ออบดัมIสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีจังหวัดสุพรรณบุรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เลือดมังกรคณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ชาลี ไตรรัตน์การบินไทยโลจิสติกส์รายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตเครยอนชินจังราชวงศ์จักรีโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)รายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา26 เมษายนประเทศลาวสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์นินจาคาถาโอ้โฮเฮะกฤษดา วงษ์แก้วใหม่ เจริญปุระประเทศมัลดีฟส์รามาวดี นาคฉัตรีย์กาจบัณฑิต ใจดี🡆 More