สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1

สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1 มีชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐอาร์มีเนีย (อาร์มีเนีย: Հայաստանի Հանրապետություն, อักษรโรมัน: Hayastani Hanrapetut'yun) เป็นรัฐเอกราชที่ดำรงอยู่ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.

1918 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ในดินแดนที่มีประชากรอาร์นีเนียอาศัยอยู่ในอดีตจักรวรรดิรัสเซีย (ที่รู้จักกันในชื่อ "อาร์มีเนียตะวันออก" หรือ "อาร์มีเนียของรัสเซีย") สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 หลังจากการล่มสลายของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เยเรวาน ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูรัฐอาร์มีเนียขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่สมัยกลาง

สาธารณรัฐอาร์มีเนีย

Հայաստանի Հանրապետություն
ค.ศ. 1918–ค.ศ. 1920
เพลงชาติՄեր Հայրենիք
แมร์ฮัยแรนิค
"ปิตุภูมิของเรา"
แผนที่สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่หนึ่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ค.ศ. 1919
แผนที่สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่หนึ่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ค.ศ. 1919
เมืองหลวงเยเรวาน
ภาษาราชการอาร์มีเนีย
ภาษาทั่วไป
กลุ่มชาติพันธุ์
การปกครองสาธารณรัฐระบบรัฐสภา
นายกรัฐมนตรี 
• มิถุนายน ค.ศ. 1918 – พฤษภาคม ค.ศ. 1919
Hovhannes Kajaznuni
• พฤษภาคม ค.ศ. 1919 – พฤษภาคม ค.ศ. 1920
Alexander Khatisian
• พฤษภาคม–พฤศจิกายน ค.ศ. 1920
Hamo Ohanjanyan
• พฤศจิกายน–ธันวาคม ค.ศ. 1920
Simon Vratsian
สภานิติบัญญัติKhorhrdaran
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม
• ประกาศอิสรภาพ
28 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
• รัฐบัญญัติสหอาร์มีเนีย
28 พฤษภาคม ค.ศ. 1919
• โซเวียตบุกครอง
2 ธันวาคม ค.ศ. 1920
พื้นที่
ค.ศ. 1918 (ภายหลังสนธิสัญญาบาตูม)11,396 ตารางกิโลเมตร (4,400 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1919 (ภายหลังการสงบศึกมูโดรส)45,325 ตารางกิโลเมตร (17,500 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1920 (ภายหลังสนธิสัญญาอะเลคซันโดรปอล)30,044 ตารางกิโลเมตร (11,600 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1918 (ภายหลังสนธิสัญญาบาตูม)
900,000
• ค.ศ. 1919 (ภายหลังการสงบศึกมูโดรส)
1,510,000
• ค.ศ. 1920 (ภายหลังสนธิสัญญาอะเลคซันโดรปอล)
720,000
สกุลเงินรูเบิลอาร์มีเนีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1 สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย
สาธารณรัฐที่สูงอาร์มีเนีย สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1
อาร์มีเนียโซเวียต สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1
ตุรกี สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอาร์มีเนีย
อาเซอร์ไบจาน
ตุรกี
จอร์เจีย
สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1
แผนที่ที่รัฐบาลสาธารณรัฐอาร์มีเนียนำเสนอ ณ การประชุมสันติภาพปารีส
สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1
แผนที่ที่สภาแห่งชาติอาร์มีเนียนำเสนอ ณ การประชุมสันติภาพปารีส
สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1
การแบ่งเขตการปกครองของอาร์มีเนีย โดยรวมดินแดนที่ได้รับมาจากสนธิสัญญาแซฟวร์
สาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1
พรมแดนตุรกี-อาร์มีเนียตามสนธิสัญญาแซฟวร์

ในปีแรกของการได้รับเอกราช อาร์มีเนียกินพื้นที่เพียงบริเวณรอบด้านทะเลสาบเซวาน หลังจากการบุกครองของจักรวรรดิออตโตมันในระหว่างการทัพคอเคซัส แต่หลังจากการสงบศึกมูโดรส เขตแดนของอาร์มีเนียขยายขึ้นอันเนื่องจากการถอนกำลังของออตโตมัน นำไปสู่สงครามชายแดนในช่วงสั้น ๆ กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจอร์เจีย ในช่วงฤดูหนาวแรก ผู้ลี้ภัยหลายแสนคนในประเทศที่หนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เสียชีวิตจากความอดอยากหรือการถูกทอดทิ้ง ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1919 อาร์มีเนียเข้าผนวกภูมิภาคคาร์สและนาคีชีวันที่ออตโตมันยึดครองก่อนหน้านี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้ อาณาเขตของประเทศจึงเพิ่มขนาดมากกว่าเดิมสามเท่า อย่างไรก็ตาม อาร์มีเนียสามารถควบคุมพื้นที่เหล่านี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น จนกระทั่งการก่อการกำเริบมุสลิมที่ปะทุขึ้นในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1919

ในช่วงปลาย ค.ศ. 1919 ภูมิภาคซางแกซูร์เผชิญกับการโจมตีจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาเซอร์ไบจาน อย่างไรก็ตาม การต่อสู้เริ่มสงบลงจนกระทั่งชาวอาร์มีเนียก่อจราจลเมื่อเดือนมีนาคมของปีต่อมา ในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่อยู่ในการควบคุมของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งสิ้นสุดลงจากการบุกครองอาเซอร์ไบจานของกองทัพแดงในเดือนเมษายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1920 ผู้แทนอาร์มีเนียร่วมลงนามในสนธิสัญญาแซฟวร์ ซึ่งทำให้ประเทศได้รับดินแดนเพิ่มเติม 40,000 ตารางไมล์ (100,000 ตารางกิโลเมตร) ของพื้นที่ในอาร์มีเนียตะวันตก แม้ว่าสนธิสัญญานี้จะไม่เคยนำมาใช้เลย ในช่วงปลาย ค.ศ. 1920 กองกำลังตุรกีเข้ารุกรานสาธารณรัฐ ซึ่งจบลงจากการแบ่งประเทศ จากนั้นจึงถูกรัสเซียโซเวียตเข้ายึดครองและเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย ไม่นานหลังจากนั้น เกิดการกบฏต่อต้านบอลเชวิคต่อต้านอำนาจโซเวียตที่กินเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1921

ในระยะเวลาสองปีครึ่งของการดำรงอยู่ อาร์มีเนียได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 40 ประเทศ รวมถึงได้รับการรับรองโดยนิตินัย มีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภา และมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรก รัฐสภาและรัฐบาลของประเทศอยู่ภายใต้การครอบงำของพรรคดาชนาค (ARF) อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีช่วงแรกได้มอบให้กับพรรคที่สนับสนุนชนชั้นนายทุนอย่างพรรคประชานิยมอาร์มีเนีย และภายหลังเป็นพรรคปฏิวัติสังคมนิยม

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

40°10′34″N 44°30′51″E / 40.17611°N 44.51417°E / 40.17611; 44.51417

Tags:

จักรวรรดิรัสเซียภาษาอาร์มีเนียสมัยกลางสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซียเยเรวาน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ไลแคน (บอยแบนด์)จังหวัดขอนแก่นจังหวัดปทุมธานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)เพลงจีเฟรนด์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยก็อตซิลลาจังหวัดกาญจนบุรีสมณศักดิ์พรหมโลกชลน่าน ศรีแก้ววันวิสาขบูชาจิรายุ ตั้งศรีสุขภาษาไทยถิ่นเหนือพระโคตมพุทธเจ้าจังหวัดกำแพงเพชรแอน อรดีนาฬิกาหกชั่วโมงกรมราชเลขานุการในพระองค์น้ำอสุจิมังกี้ ดี. ลูฟี่สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเศรษฐา ทวีสินศาสนาอิสลามภาคภูมิ ร่มไทรทองสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกคู่เวรกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)มหาวิทยาลัยศรีปทุมนิวรณ์รัสมุส ฮอยลุนด์26 เมษายนไทใหญ่สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)คิม ซู-ฮย็อนพิชิตรัก พิทักษ์โลกสงครามยุทธหัตถีระบบสุริยะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารสุพิศาล ภักดีนฤนาถสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดญาณี จงวิสุทธิ์ประเทศออสเตรเลียตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีสุภาพบุรุษชาวดินจักรทิพย์ ชัยจินดาจังหวัดฉะเชิงเทราวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์พระคเณศข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอริยบุคคลธนาคารแห่งประเทศไทยหนุมานตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสโมสรกีฬาลัตซีโยรถถัง จิตรเมืองนนท์จักรพรรดินโปเลียนที่ 1มัณฑนา หิมะทองคำแวมไพร์ ทไวไลท์บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567สามก๊กจังหวัดพิจิตรฟุตซอลโลก 2012เกาะกูดสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)4 KINGS อาชีวะ ยุค 90รายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันกฤษดา วงษ์แก้วสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)ธนนท์ จำเริญ🡆 More