สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี

สนธิสัญญาการในการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี (เยอรมัน: Vertrag über die abschließende Regelung in Bezug auf Deutschland) หรือเรียกว่า สนธิสัญญาสองบวกสี่ (เยอรมัน: Zwei-plus-Vier-Vertrag; เรียกสั้น ๆ ว่า: สนธิสัญญาเยอรมัน) มีการเจรจาขึ้นใน พ.ศ.

2533 ระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และอีกมหาอำนาจอีกสี่ชาติซึ่งยึดครองเยอรมนีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ในสนธิสัญญานี้ มหาอำนาจทั้งสี่ได้ถอนสิทธิทั้งหมดในเยอรมนี ทำให้สามารถรวมประเทศเยอรมนี เพื่อเป็นรัฐเอกราชเต็มตัวในปีถัดมา

สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี
สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี
ประเภทสนธิสัญญาเอกราช /สนธิสัญญาสันติภาพ
วันร่าง13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
วันลงนาม12 กันยายน พ.ศ. 2533
ที่ลงนามมอสโก, รัสเซียของโซเวียต, สหภาพโซเวียต
วันมีผล15 มีนาคม พ.ศ. 2534
ผู้ลงนามสอง บวกสี่
ภาษา

เบื้องหลัง

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ข้อตกลงพ็อทซ์ดัมได้มีการประกาศหลังจากการประชุมพ็อทซ์ดัม ซึ่งตกลงเงื่อนไขเริ่มต้นซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรจะปกครองเยอรมนีและข้อตกลงเกี่ยวกับพรมแดนเยอรมนี-โปแลนด์ ซึ่งรู้จักกันว่า แนวโอเดอร์-ไนเซอ ข้อตกลงที่บรรลุเป็นข้อตกลงที่อธิบายเพิ่มเติมซึ่งมีข้อสรุปว่า "สันติภาพสำหรับเยอรมนีจะได้รับรองโดยรัฐบาลเยอรมนีเมื่อรัฐบาลที่เหมาะสมสำหรับจุดประสงค์ดังกล่าวได้ก่อตั้งขึ้น" ส่งผลให้ ปัญหาเยอรมัน กลายเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดของสงครามเย็นที่กำลังดำเนินอยู่ และจนกระทั่งข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการสร้างรัฐบาลเดียวของเยอรมนีตามจุดประสงค์ในข้อตกลงในขั้นสุดท้าย ซึ่งหมายความว่าเมื่อพิจารณาดูแล้วเยอรมนีมิได้มีอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์: 42–43 

หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ชาวเยอรมันและรัฐบาลของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) มีจุดประสงค์อย่างชัดเจนที่จะสร้างรัฐเยอรมันอันหนึ่งเดียวที่เป็นประชาธิปไตย และเพื่อบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวและเอกราชสมบูรณ์ พวกเขามีความปรารถนาที่จะยอมรับเงื่อนไขของข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งมีผลกระทบต่อเยอรมนี จากนั้นจึงเป็นไปได้ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะเจรจาตกลงขั้นสุดท้ายตามที่ระบุในข้อตกลงพ็อทซ์ดัม

สนธิสัญญา

สนธิสัญญาการในการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนีได้มีการลงนาม ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2533: 363  ซึ่งมีผลนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533

ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา มหาอำนาจทั้งสี่ละทิ้งสิทธิทั้งหมดที่เคยถือครองในเยอรมนีทั้งหมดรวมถึงในเบอร์ลิน ผลที่ตามมาคือประเทศเยอรมนีภายใต้การรวมประเทศนั้นมีอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 กองทัพโซเวียตทั้งหมดจะต้องออกจากเยอรมนีภายในสิ้นปี พ.ศ. 2537 เยอรมนีตกลงที่จะจำกัดกองทัพให้มีทหารไม่เกิน 370,000 นาย โดยที่ในกองทัพบกและกองทัพอากาศจะต้องมีทหารไม่เกิน 345,000 นาย เยอรมนียังได้ยืนยันที่จะสละสิทธิ์การผลิต การถือครอง และการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิสัญญางดการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์จะยังคงมีผลบังคับใช้เต็มในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ไม่มีกองทัพต่างประเทศ อาวุธนิวเคลียร์ หรือการบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์จะต้องไม่คงอยู่ในอดีตประเทศเยอรมนีตะวันออก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์

อีกเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญของสนธิสัญญาคือให้เยอรมนีที่จะยอมรับและรับรองเส้นเขตแดนกับโปแลนด์ในระดับสากล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงดินแดนที่เกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ. 2488 เพื่อป้องกันการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-ไนเซอร์ในอนาคต เยอรมนียังได้ตกลงที่จะลงนามในสนธิสัญญาอีกฉบับกับโปแลนด์ซึ่งยืนยันพรมแดนในปัจจุบันโดยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาพรมแดนเยอรมนี-โปแลนด์

หมายเหตุ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี เบื้องหลังสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี สนธิสัญญาสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี หมายเหตุสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี อ้างอิงสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี อ่านเพิ่มสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี แหล่งข้อมูลอื่นสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนีการรวมประเทศเยอรมนีประเทศเยอรมนีฝรั่งเศสภาษาเยอรมันรัฐเอกราชสงครามโลกครั้งที่สองสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีสหภาพโซเวียตสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักรสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีเยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ภาคใต้ (ประเทศไทย)ข้อมูลงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์อารยา เอ ฮาร์เก็ตจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นสถิตย์พงษ์ สุขวิมลชา อึน-อูโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยท่าอากาศยานดอนเมืองรายชื่อตอนในโปเกมอนเมตาพาทิศ พิสิฐกุลฟุตซอลวชิรวิชญ์ ชีวอารีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจังหวัดสุโขทัยธีรเทพ วิโนทัยไทยลีกสีประจำวันในประเทศไทยแม่นากพระโขนงทวิตเตอร์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีวีระ สุสังกรกาญจน์เราะมะฎอนท้องที่ตำรวจจรูญเกียรติ ปานแก้วชวลิต ยงใจยุทธพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีนาคมมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาตาลดา69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)บิลลี ไอลิชเพลงแบล็กพิงก์ชาริล ชับปุยส์นพเก้า เดชาพัฒนคุณราชมังคลากีฬาสถานณรัชต์ เศวตนันทน์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475โทกูงาวะ อิเอยาซุกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางหมากรุกธนินท์ เจียรวนนท์ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีดวงใจเทวพรหมนิชคุณ ขจรบริรักษ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถตราประจำพระองค์ในประเทศไทยฟุตบอลทีมชาติจีนขอบตาแพะคิม จี-ว็อน (นักแสดง)เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสุพิศาล ภักดีนฤนาถธนภพ ลีรัตนขจรแฮร์รี่ พอตเตอร์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ค็อบบี ไมนูมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันมัสเกตเทียส์กรุงเทพมหานครณเดชน์ คูกิมิยะภรภัทร ศรีขจรเดชารายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์จังหวัดกำแพงเพชรการ์ลัส ปุดจ์ดาโมน4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ประเทศสวีเดนปรีดี พนมยงค์อนุทิน ชาญวีรกูลแอทลาส🡆 More