รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

ภาพยนตร์สามารถทำเงินได้จากหลายแหล่ง เช่น การฉายในโรงภาพยนตร์, การขายโฮมวิดีโอ, การขายสิทธิ์ในการออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์และการขายสินค้าจากภาพยนตร์ อย่างไรก็ตาม รายได้จากการฉายภาพยนตร์เป็นตัวชี้วัดหลักสำหรับนิตยสารการค้าในการประเมินความสำเร็จของภาพยนตร์ส่วนใหญ่เพราะเป็นข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของโฮมวิดีโอและราคาของสิทธิ์ในการออกอากาศ อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ในอดีต โดยในบทความนี้จะประกอบด้วยตารางของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด (เรียงลำดับทั้งจากจำนวนเงินที่ทำได้และมูลค่าที่แท้จริง), ตารางภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี, เส้นเวลาการเปลี่ยนแปลงของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดและแฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุด โดยตารางทั้งหมดถูกจัดอันดับโดยตัวเลขจากบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและแสดงเฉพาะรายได้ที่มาจากการฉายในโรงภาพยนตร์เท่านั้น

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด
วิมานลอย (Gone with the Wind; ค.ศ. 1939) ครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุดเป็นเวลายี่สิบห้าปี ถ้าหากปรับตามเงินเฟ้อแล้วจะเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุดมากกว่าเรื่องใด ๆ

ในอดีต ภาพยนตร์แนวสงคราม, เพลงและอิงประวัติศาสตร์ เป็นแนวภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดเป็นต้นมา ภาพยนตร์แฟรนไชส์กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินได้ดีที่สุด โดยเฉพาะภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร มีภาพยนตร์สิบเรื่องจาก จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ที่ติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด โดย อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่สองและภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโรที่ทำเงินสูงสุด ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน อเวนเจอร์ส ทั้งหมดสี่เรื่องนั้นติดอันดับอยู่ในภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดยี่สิบอันดับแรก ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์เรื่องอื่น ๆ ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน ได้แก่ สไปเดอร์-แมน และ X-เม็น ขณะที่ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน ของ ดีซีคอมิกส์ ก็ทำเงินได้ดี มีภาพยนตร์จากภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ติดอันดับห้าเรื่อง ขณะที่ภาพยนตร์จากภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์, จูราสสิค พาร์ค และ ไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียน ก็ติดอันดับเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นภาพยนตร์ส่วนใหญ่จะเป็นการดัดแปลงจากต้นฉบับเดิมหรือภาพยนตร์ภาคต่อ แต่ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่หนึ่ง อวตาร นั้นเป็นงานต้นฉบับ ภาพยนตร์แอนิเมชันก็ทำเงินได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะภาพยนตร์จากดิสนีย์ ได้แก่ ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ, ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ, นครสัตว์มหาสนุก และ เดอะไลอ้อนคิง (และภาพยนตร์ที่สร้างใหม่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์แอนิเมชันก็ยังเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุด) เช่นเดียวกับภาพยนตร์จากพิกซาร์ ได้แก่ รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2, ทอย สตอรี่ 3, ทอย สตอรี่ 4 และ ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม นอกเหนือจากดิสนีย์และพิกซาร์แล้ว ยังมีภาพยนตร์แอนิเมชันชุด มิสเตอร์แสบร้ายเกินพิกัด, เชร็ค และ ไอซ์ เอจ ที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน

ในขณะที่ ภาวะเงินเฟ้อ นั้นได้ทำลายความสำเร็จของภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1950 ถึง 1970 เป็นช่วงที่ภาพยนตร์ชุดเริ่มต้นขึ้นและปัจจุบันยังมีการสร้างอยู่ ได้แก่ สตาร์ วอร์ส, ซูเปอร์แมน, เจมส์ บอนด์ และ ก็อตซิลลา ภาพยนตร์ชุดทั้งสี่ชุดนั้นยังอยู่ในอันดับภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุด ภาพยนตร์เก่าบางเรื่องทำเงินได้น่าพอใจกับมาตรฐานปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถแข่งขันกับภาพยนตร์ในปัจจุบันที่ราคาของตั๋วสูงขึ้นได้ ถ้าหากปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย ซึ่งครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุดเป็นเวลายี่สิบห้าปีและเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุด

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด 
อวตาร ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด เขียนบทและกำกับโดย เจมส์ แคเมรอน

ภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ถูกยกให้เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในบ็อกซ์ออฟฟิศ โดยทำเงินทั่วโลกมากกว่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเฉพาะจากการฉายในโรงภาพยนตร์เท่านั้น ไม่รวมรายได้จากการขายโฮมวิดีโอและจากการฉายบนโทรทัศน์ ซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญของรายได้ ถ้าเอามารวมกันแล้ว อาจทำให้ไม่แน่ใจว่าภาพยนตร์เรื่องไหนประสบความสำเร็จมากที่สุด ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิค ทำเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการจำหน่ายและการเช่าวิดีโอเทปและดีวีดี ซึ่งอีก 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้มาจากการฉายในโรงภาพยนตร์ ขณะที่ อวตาร ทำเงินจากการจำหน่ายของดีวีดีและบลูเรย์ 345 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอเมริกาเหนือ และจำหน่ายได้ 30 ล้านหน่วยทั่วโลก เมื่อรวมกันแล้ว ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องทำเงินมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้จากการขายสิทธิ์ในการฉายในโทรทัศน์ มักจะเพิ่มรายได้จากเดิมประมาณ 20–25% ไททานิค ทำเงินได้ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการขายสิทธิ์ในการฉายในโทรทัศน์ให้กับ เอ็นบีซี และ เอชบีโอ คิดเป็น 9% ของรายได้ในอเมริกาเหนือ

ภาพยนตร์นั้นถูกใช้เป็นอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เพราะนอกจากจะทำเงินจากการฉายในโรงภาพยนตร์แล้ว ชื่อของภาพยนตร์ยังสามารถนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น เดอะไลอ้อนคิง (1994) ที่ทำเงินมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากบ็อกซ์ออฟฟิศและโฮมวิดีโอ แต่เทียบไม่ได้กับรายได้จากการแสดงละครเวทีที่ทำเงินได้ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และทำเงินมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการขายสินค้าจากภาพยนตร์ดังกล่าว ขณะที่ 4 ล้อซิ่ง...ซ่าท้าโลก ของพิกซาร์ ทำเงินจากการฉายในโรงภาพยนตร์ได้ 462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ของพิกซาร์ แต่ทำเงินจากการขายสินค้าได้มากกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 ปี หลังภาพยนตร์ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2006 ทอย สตอรี่ 3 เป็นภาพยนตร์ของพิกซาร์ที่ทำเงินได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ขายสินค้าทำเงินได้เกือบ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในตารางนี้ ภาพยนตร์เรียงลำดับตามจำนวนเงินที่ทำได้จากการฉายในโรงภาพยนตร์และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้ มีภาพยนตร์จำนวนหกเรื่องที่ทำเงินได้มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย อวตาร อยู่อันดับสูงสุด ภาพยนตร์ทั้งหมดเคยฉายในโรงภาพยนตร์ (รวมถึงการฉายใหม่) ในศตวรรษที่ 21 และภาพยนตร์ที่ไม่ได้ฉายในช่วงเวลานี้จะไม่ปรากฏในตาราง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของราคาตั๋ว, ขนาดประชากรและแนวโน้มการซื้อตั๋วนั้นไม่ได้นำมาพิจารณา

      † พื้นหลังสีเขียวแสดงถึงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ทั่วโลก
Tยอดทำเงินรวมของ ไททานิค ที่เว็บไซต์ บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และ เดอะนัมเบอส์ นั้นไม่ถูกต้องทั้งคู่ ก่อนการฉายใหม่ในปี 2023 ยอดทำเงินรวมของทั้งสองเว็บไซต์นั้นสูงเกินกว่าตัวเลขที่แท้จริง
  • เมื่อปี 2019 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจบันทึกอย่างถูกต้องว่า ไททานิค ทำเงิน 1.843 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการฉายครั้งแรก, 344 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการฉายใหม่ในรูปแบบสามมิติในปี 2012 และอีก 692,000 ดอลลาร์สหรัฐจากการฉายแบบจำกัดในปี 2017 รวมแล้วทำเงิน 2.187 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังการฉายแบบจำกัดในปี 2020 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจได้เพิ่มเงิน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับยอดทำเงินรวมจากการฉายครั้งแรกอย่างไม่ถูกต้อง ปลายปี 2021 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจได้แก้ไขยอดทำเงินรวมจากการฉายครั้งแรก แต่เพิ่มตัวเลข 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับยอดรวมจากการฉายใหม่ทั้งในปี 2012 และ 2017 ทำให้ยอดรวมเพิ่มอีก 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 2.202 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างไม่ถูกต้อง ช่วงต้นปี 2023 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจได้แก้ไขยอดรวมสำหรับการฉายใหม่ในปี 2017 ทำให้ยอดทำเงินรวมลดลงมาที่ 2.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังคงมีข้อผิดพลาดในยอดเงินจากการฉายใหม่ในปี 2012
  • เดอะนัมเบอส์ยังมีตัวเลขที่ไม่ถูกต้องที่บันทึกไว้สำหรับยอดทำเงินรวม เดอะนัมเบอส์ไม่ได้บันทึกยอดทำเงินจากการฉายในแต่ละครั้ง แต่มียอดทำเงินรวมที่บันทึกเป็น 2.186 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกันยายน 2014 (ประมาณ 1.843 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการฉายครั้งแรกและ 343.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการฉายใหม่ในรูปแบบสามมิติ) ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา เดอะนัมเบอส์นับยอดทำเงินรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2.208 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยไม่มีคำอธิบาย

Fบ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ หยุดอัปเดตรายได้ทั้งหมดของ ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ ไปเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ในขณะที่ภาพยนตร์กำลังฉายอยู่ ซึ่งจำนวนเงินในตารางได้รวมของประเทศอื่นๆ ที่กำลังฉายอยู่จนถึงปลายปี ค.ศ. 2015 ได้แก่ ญี่ปุ่น, ไนจีเรีย, สเปน, สหราชอาณาจักรและเยอรมนี แต่ไม่รวมของประเทศตุรกี, ไอซ์แลนด์, บราซิลและออสเตรเลีย ที่ทำเงินได้ไม่กี่แสนดอลลาร์สหรัฐ และภาพยนตร์ได้ฉายอีกครั้งที่สหราชอาณาจักรเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 พร้อมกับ โอลาฟกับการผจญภัยอันหนาวเหน็บ ซึ่งทำเงินได้ 1,655,398 ดอลลาร์สหรัฐ รวมจำนวนเงินทั้งหมดแล้วปัดเศษไปอีก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อชดเชยความคลาดเคลื่อนของตัวเลข

F8ในกรณีของ เร็ว...แรงทะลุนรก 8 จำนวนเงินนั้นนำตัวเลขมาจาก บ็อกซ์ออฟฟิส แทนที่จะเป็นแหล่งข้อมูลปกติ ก็คือ บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ หลังจากพบความไม่ปกติในจำนวนตัวเลขจากเว็บดังกล่าว จำนวนเงินที่ทำได้หลังเข้าฉายลดลงอย่างมาก เช่น รายได้จากประเทศอาร์เจนตินาสร้างผลกระทบมากที่สุด ทำให้ยอดทำเงินทั่วโลกลดลง

RKมีการปรับรายได้ของ มหาสงครามชิงพิภพ ในปี ค.ศ. 2019 ทำให้อันดับสูงสุดของ สไปเดอร์-แมน ฟาร์ ฟรอม โฮม, กัปตัน มาร์เวล และ ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 3 ลดลงมาหนึ่งอันดับ ตามที่ปรากฏในแหล่งข้อมูล

TS3บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจได้แก้ไขรายได้ภาพยนตร์ของพิกซาร์เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 ส่งผลให้รายได้ของ ทอย สตอรี่ 3 เปลี่ยนจาก 1.063 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.067 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังทำให้อันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากอันดับที่ 5 เป็นอันดับที่ 4 เหนือกว่า สงครามปีศาจโจรสลัดสยองโลก หลังจากฉายจบแล้ว

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดหลังคิดเงินเฟ้อแล้ว

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด 
อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกแตกต่างกันไป ทำให้การปรับอัตราเงินเฟ้อยุ่งยาก

เพราะผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้ค่าตั๋วเข้าชมภาพยนตร์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน รายชื่อของภาพยนตร์ที่ไม่ได้อัตราเงินเฟ้อทำให้ภาพยนตร์ที่ออกฉายภายหลังมีน้ำหนักมากขึ้น รายชื่อของภาพยนตร์ที่ไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อมักพบในสื่อทั่วไป ซึ่งไม่มีความหมายที่จะนำมาเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ในปัจจุบัน เพราะภาพยนตร์เหล่านั้นไม่เคยปรากฏในรายชื่อของภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดเลย ถึงแม้ว่าในอดีตจะประสบความสำเร็จก็ตาม เพื่อชดเชยการลดค่าเงินของสกุลเงิน จึงได้มีการปรับอัตราเงินเฟ้อบางส่วน แต่การปรับนี้จะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ทั้งหมด เพราะราคาตั๋วกับอัตราเงินเฟ้อนั้นไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่าง ในปี 1970 ราคาตั๋วภาพยนตร์อยู่ที่ 1.55 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 6.68 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2004 หลังคิดเงินเฟ้อ; ในปี 1980 ราคาตั๋วภาพยนตร์เพิ่มขึ้นเป็น 2.69 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ว่าลดลงเหลือ 5.50 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2004 หลังคิดเงินเฟ้อ ราคาตั๋วนั้นเพิ่มขึ้นในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศทั่วโลก ทำให้กระบวนการปรับอัตราเงินเฟ้อนั้นยุ่งยากมากขึ้น

อีกหนึ่งความยุ่งยากคือการฉายภาพยนตร์ในหลากหลายรูปแบบทำให้ค่าตั๋วแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ที่ฉายในรูปแบบสามมิติและไอแมกซ์ โดยเกือบสองในสามของตั๋วนั้นเป็นของสามมิติด้วยค่าตั๋วเฉลี่ย 10 ดอลลาร์สหรัฐ และหนึ่งในหกนั้นเป็นของไอแมกซ์ด้วยค่าตั๋วเฉลี่ย 14.50 ดอลลาร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับค่าตั๋วภาพยนตร์สองมิติในปี 2010 โดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.61 ดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจเช่นการเปลี่ยนแปลงของประชากรและการเติบโตของตลาดต่างประเทศ ยังส่งผลต่อจำนวนผู้ซื้อตั๋วโรงภาพยนตร์, กลุ่มผู้ชมที่มีภาพยนตร์บางเรื่องขายตั๋วลดราคาสำหรับเด็ก หรือทำเงินได้มากในเมืองใหญ่เพราะราคาตั๋วนั้นสูงกว่า

ระบบการวัดความสำเร็จของภาพยนตร์นั้นขึ้นอยู่กับรายได้ที่ยังไม่ได้ปรับเงินเฟ้อ เพราะในอดีตเป็นวิธีการทำกันมาโดยตลอดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รายรับจากบ็อกซ์ออฟฟิศถูกรวบรวมโดยโรงภาพยนตร์และส่งกลับไปยังผู้จัดจำหน่าย แล้วเผยแพร่ไปยังสื่อ แปลงเป็นระบบตัวแทนที่นับยอดขายตั๋วมากกว่ารายได้ที่เต็มไปด้วยปัญหาเพราะข้อมูลที่มีอยู่สำหรับภาพยนตร์เก่านั้นคือยอดขายทั้งหมด ในขณะที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์มีความมุ่งมั่นอย่างมากในการทำการตลาดให้กับภาพยนตร์ที่พึ่งฉาย รายได้ที่ไม่ได้ปรับเงินเฟ้อถูกนำมาใช้ในแคมเปญการตลาด เพื่อให้ภาพยนตร์เรื่องใหม่ที่ประสบความสำเร็จสามารถทำยอดขายได้เร็วขึ้นและได้รับการยกย่องว่าเป็น "ภาพยนตร์ยอดนิยมตลอดกาล",ดังนั้นจึงมีแรงจูงใจน้อยที่จะเปลี่ยนไปใช้การวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการตลาดหรือแม้แต่มุมมองที่น่าเชื่อถือ

แม้จะมีความยากลำบากในการปรับตามอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีการพยายามทำอยู่หลายครั้ง การประมาณจำนวนเงินขึ้นอยู่กับดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งใช้ในการปรับยอดเงินทั้งหมด และใช้อัตราแลกเปลี่ยน แปลงระหว่างค่าเงินต่างๆ ซึ่งทั้งคู่อาจมีผลกระทบต่อการจัดอันดับของตารางหลังปรับเงินเฟ้อนี้ ภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย (ฉายครั้งแรกเมื่อปี 1939) โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่ง บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ได้ประมาณการจำนวนเงินที่ทำได้ทั่วโลกประมาณ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2014 ซึ่งการประมาณการจำนวนเงินของภาพยนตร์เรื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก เช่น เจ้าของภาพยนตร์, เทิร์นเนอร์เอนเตอร์เทนเมนต์ ได้ประมาณการไว้ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2007 การประมาณการจากแหล่งหนึ่งระบุว่าประมาณการไว้น้อยกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2010, แต่จากอีกแหล่งหนึ่งประมาณการไว้ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2006 ขณะที่ภาพยนตร์คู่แข่งของ วิมานลอย ก็คือ อวตาร ซึ่ง กินเนสส์ ได้จัดอันดับเป็นที่สองด้วยจำนวนเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือ ไททานิค ด้วยจำนวนเงินเกือบ 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายครั้งแรกทั่วโลก ในค่าเงินของปี 2010

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดหลังคิดเงินเฟ้อแล้วถึงปี 2022[Inf]
อันดับ ชื่อ ทำเงินทั่วโลก
(2022 $)
ปี
1 วิมานลอย $4,192,000,000 1939
2 อวตาร A1$3,824,000,000 2009
3 ไททานิค $2,516,000,000T$3,485,000,000 1997
4 สตาร์ วอร์ส $3,443,000,000 1977
5 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก AE$3,165,000,000 2019
6 มนต์รักเพลงสวรรค์ $2,884,000,000 1965
7 อี.ที. เพื่อนรัก $2,815,000,000 1982
8 บัญญัติ 10 ประการ $2,665,000,000 1956
9 ด็อกเตอร์ชิวาโก้ $2,526,000,000 1965
10 สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง TFA$2,491,000,000 2015

Infการปรับอัตราเงินเฟ้อนั้นใช้ ดัชนีราคาผู้บริโภค สำหรับ ประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเผยแพร่โดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยดัชนีนี้นำไปใช้กับจำนวนเงินที่ทำได้ในตารางซึ่งเผยแผร่โดย บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ เมื่อปี 2014 ตัวเลขในตารางข้างต้นคือจำนวนเงินจากการปรับอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปี 2014 แล้วปรับในทุก ๆ ปีนับจากนั้นเป็นต้นมา

A1การปรับอัตราเงินเฟ้อของ อวตาร รวมรายได้จากการฉายครั้งแรกและการฉายฉบับพิเศษในปี 2010 แต่ไม่ได้รวมรายได้จากการฉายใหม่ในปี 2020 และ 2021

Tการปรับอัตราเงินเฟ้อของ กินเนสส์ สำหรับ ไททานิค นั้นเพิ่มขึ้นแค่ $102,000,000 ระหว่างหนังสือฉบับเมื่อปี 2012 (ตีพิมพ์เมื่อ 2011) กับฉบับเมื่อปี 2015 เพิ่มขึ้น 4.2% จากเงินทั้งหมดที่ปรับเงินเฟ้อแล้วและรายได้จากการฉายใหม่ในรูปแบบสามมิติเมื่อปี 2012 นั้นตกหล่นไปในตารางนี้รวมรายได้จากการฉายใหม่เมื่อปี 2012 โดยทำเงินได้ $343,550,770 และปรับอัตราเงินเฟ้อโดยใช้ดัชนีของปี 2014 ไททานิค กลับมาฉายใหม่เมื่อปี 2017 ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ทำเงินได้ $691,642 แต่ไม่ได้รวมในจำนวนเงินที่ปรับเงินเฟ้อแล้ว

TFAการปรับอัตราเงินเฟ้อของ สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง ใช้ดัชนีตั้งแต่ 2016

AEการปรับอัตราเงินเฟ้อของ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก ใช้ดัชนีตั้งแต่ 2020

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี

อภิธานศัพท์: Distributor rentals
ตัวเลขในบ็อกซ์ออฟฟิศถูกรายงานในรูปแบบของรายได้ทั้งหมดหรือในรูปแบบ distributor rentals โดยเฉพาะภาพยนตร์เก่าหลายเรื่อง และมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นรายได้จากการขายโฮมวิดีโอ คำว่า rentals (ค่าเช่า) คือเงินส่วนแบ่งที่ให้กับผู้จัดจำหน่ายที่มาจากการฉายภาพยนตร์ นั่นก็คือรายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศแต่จะน้อยกว่าส่วนแบ่งที่ให้กับโรงภาพยนตร์ ในอดีต ราคาของค่าเช่านั้นเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30–40% เมื่อผู้จัดจำหน่ายเป็นเจ้าของธุรกิจโรงภาพยนตร์ ประมาณหนึ่งในสามของรายได้จะจ่ายให้กับผู้จัดจำหน่ายของภาพยนตร์ ในตลาดยุคปัจจุบัน ค่าเช่ามีความแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แม้ว่าภาพยนตร์จากค่ายใหญ่ค่าเช่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 43%

รสนิยมของผู้ชมนั้นมีความหลากหลายในช่วงศตวรรษที่ 20 ในยุคภาพยนตร์เงียบ ภาพยนตร์แนวสงครามเป็นที่นิยมของผู้ชม เช่น เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน (สงครามกลางเมืองอเมริกา), เดอะโฟร์ฮอร์สเมนออฟดิอะพอคคาลิปส์, เดอะบิกพาเรด และ วิงส์ (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทั้งหมด) ซึ่งประสบความสำเร็จสูงสุดในปีที่ฉายของแต่ละเรี่อง หลังภาพยนตร์เรื่อง แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง ฉายในปี ค.ศ. 1930 ความนิยมเริ่มเสื่อมลง พร้อมกับการประดิษฐ์ภาพยนตร์ที่มีเสียงในปี ค.ศ. 1927 ภาพยนตร์ดนตรีกลายเป็นภาพยนตร์ที่นิยมแทน สังเกตได้จากปี ค.ศ. 1928 และ 1929 ที่ภาพยนตร์ดนตรีครองอันดับสูงสุดในปีนั้น แนวภาพยนตร์นี้ได้รับความนิยมไปจนถึงช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 จนกระทั่ง สงครามโลกครั้งที่สอง ได้เริ่มต้นขึ้น ภาพยนตร์แนวสงครามก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เริ่มจาก วิมานลอย (สงครามกลางเมืองอเมริกา) ในปี ค.ศ. 1939 และจบที่ เดอะเบสเยียร์ออฟเอาเออร์ไลฟ์ส (สงครามโลกครั้งที่สอง) ในปี ค.ศ. 1946 จากภาพยนตร์เรื่อง แซมสันแอนด์เดไรลา (ค.ศ. 1949) ได้เห็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มการใช้ทุนในการสร้างฉากอิงประวัติศาสตร์มากขึ้น โดยเป็นฉากยุคโรมโบราณหรือเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล ตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 โรงภาพยนตร์แข่งขันกับโทรทัศน์เพื่อแย่งผู้ชม,ด้วยภาพยนตร์เรื่อง โรมพินาศ, เดอะโรบ, บัญญัติสิบประการ, เบนเฮอร์ และ สปาร์ตาคัส เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปีที่ฉายของแต่ละเรี่อง ก่อนจะเริ่มหายไปหลังประสบความล้มเหลวจากการใช้ทุนในการสร้างสูง ความสำเร็จของ ไวต์คริสต์มาส และ มนต์รักทะเลใต้ ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เห็นสัญญาณของการกลับมาของภาพยนตร์ดนตรีในคริสต์ทศวรรษ 1960 ด้วยภาพยนตร์เรื่อง เวสท์ไซด์สตอรี่, แมรี่ ป๊อปปิ้นส์, บุษบาริมทาง, มนต์รักเพลงสวรรค์ และ บุษบาหน้าเป็น ซึ่งทั้งหมดอยู่รายชื่อภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในยุคนั้น ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1970 เริ่มเห็นรสนิยมของผู้ชมเปลี่ยนไป โดยนิยมภาพยนตร์ที่มีแนวคิดสูง เช่น ภาพยนตร์หกเรื่องซึ่งสร้างโดยไม่ จอร์จ ลูคัส ก็ สตีเวน สปีลเบิร์ก ติดอันดับสูงสุดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในศตวรรษที่ 21 เริ่มมีการมีพึ่งพาแฟรนไชส์และการดัดแปลงมากขึ้น ทำให้บ๊อกซ์ออฟฟิศถูกครอบงำโดยภาพยนตร์ที่มาจากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่แล้ว

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด 
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปีที่ฉายนั้น มีหกเรื่องเป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก และมีสามเรื่องเคยเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

สตีเวน สปีลเบิร์ก เป็นผู้กำกับที่มีภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีมากที่สุดถึงหกเรื่อง ได้แก่ปี 1975, 1981, 1982, 1984, 1989 และ 1993 อันดับที่สองคือ เซซิล บี. เดอมิลล์ (1932, 1947, 1949, 1952 และ 1956) กำกับภาพยนตร์ห้าเรื่อง อันดับที่สามคือ วิลเลียม ไวเลอร์ (1942, 1946, 1959 และ 1968) กับ เจมส์ แคเมรอน (1991, 1997, 2009 และ 2022) กำกับภาพยนตร์สี่เรื่อง ขณะที่ ดี. ดับเบิลยู. กริฟฟิท (1915, 1916 และ 1920), จอร์จ รอย ฮิลล์ (1966, 1969 และ 1973) และ พี่น้องรุสโซ (2016, 2018 และ 2019) กำกับคนละสามเรื่อง จอร์จ ลูคัส กำกับภาพยนตร์สองเรื่องในปี 1977 และ 1999, แต่ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการสร้างและผู้เขียนบทของภาพยนตร์ในปี 1980, 1981, 1983, 1984 และ 1989 ด้วย รายชื่อผู้กำกับที่มีภาพยนตร์ติดอันดับสองเรื่อง ได้แก่ แฟรง ลอยด์, คิง วิดอร์, แฟรงก์ คาปรา, ไมเคิล เคอร์ติซ, ลีโอ แม็คคารีย์, อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก, เดวิด ลีน, สแตนลีย์ คูบริก, กาย แฮมิลตัน, ไมค์ นิโคลส์, วิลเลียม ฟรีดคิน, ปีเตอร์ แจ็กสัน, กอร์ เวอร์บินสกี และ ไมเคิล เบย์ ส่วน เมอร์วิน ลีรอย, เคน แอนาคิน และ โรเบิร์ต ไวส์ มีชื่อเป็นผู้กำกับเดี่ยวหนึ่งเรื่องและเป็นผู้กำกับร่วมหนึ่งเรื่อง และ จอห์น ฟอร์ด เป็นผู้กำกับร่วมสองเรื่อง ภาพยนตร์ดีสนีย์มักจะใช้ผู้กำกับร่วมและผู้กำกับหลายคนเป็นทีม ได้แก่ วิลเฟร็ด แจ็กสัน, แฮมิลตัน ลุสกี, ไคลด์ เจโรนิมิ, เดวิด แฮนด์, เบ็น ชาร์ปสตีน, วูฟแกง ไรเทอร์แมน และ บิล โรเบิร์ต ทั้งหมดเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ร่วมอย่างน้อยสองเรื่องในตาราง มีผู้กำกับเจ็ดคนเท่านั้นที่มีภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีติดต่อกัน ได้แก่ แม็คคารีย์ (1944 และ 1945), นิโคลส์ (1966 และ 1967), สปีลเบิร์ก (1981 และ 1982), แจ็กสัน (2002 และ 2003), เวอร์บินสกี (2006 และ 2007) และ พี่น้องรุสโซ (2018 และ 2019)

การฉายของภาพยนตร์นั้น โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายช่วงปลายปี และการฉายในประเทศต่างๆ ที่แตกต่างกันทั่วโลก ภาพยนตร์หลายเรื่องนั้นสามารถทำเงินได้มากกว่าสองปีหรือมากกว่านั้น ดังนั้นจำนวนเงินที่ภาพยนตร์ทำได้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ปีที่ฉายเท่านั้น อีกทั้งก็ไม่ได้จำกัดจำนวนเงินที่ทำได้ก็จากฉายครั้งแรกเช่นกัน ภาพยนตร์เก่าหลายเรื่องมีการฉายใหม่ โดยถ้าทราบจำนวนเงินที่ทำได้จากการฉายครั้งแรกของภาพยนตร์ จำนวนเงินดังกล่าวจะระบุอยู่ในวงเล็บ เพราะข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่แน่ใจว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นทำเงินได้เท่าไหร่กันแน่ โดยปกติแล้วในตารางจะเรียงลำดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี ในกรณีเกิดความขัดแย้งกันในการประมาณการจำนวนเงินของภาพยนตร์สองเรื่อง จำนวนเงินของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนั้นจะเก็บไว้ และในกรณีที่ภาพยนตร์บางเรื่องได้รับการฉายใหม่ ภาพยนตร์ที่เคยทำเงินสูงสุดในปีนั้นก็จะเก็บไว้เช่นกัน

     พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีที่ฉาย
ปี ชื่อ ทำเงินทั่วโลก ทุนสร้าง อ้างอิง
1915 เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน $50,000,000100,000,000
$20,000,000+R ($5,200,000)R
$110,000
1916 อินทอลเลอเรินซ์ $1,000,000*R IN $489,653
1917 คลีโอพัตรา $500,000*R $300,000
1918 มิกกี $8,000,000 $250,000
1919 เดอะมิราเคิลแมน $3,000,000R $120,000
1920 เวย์ดาวน์อีส $5,000,000R ($4,000,000)R $800,000
1921 เดอะโฟร์ฮอร์สเมนออฟดิอะพอคคาลิปส์ $5,000,000R ($4,000,000)R $600,000800,000
1922 ดักลาสแฟร์แบงส์อินโรบินฮูด $2,500,000R $930,042.78
1923 เดอะคัฟเวิร์ดแวกเกิน $5,000,000R $800,000
1924 เดอะซีฮอค $3,000,000R $700,000
1925 เดอะบิกพาเรด $18,000,00022,000,000R
($6,131,000)R
$382,000
เบน-เฮอร์ $10,738,000R ($9,386,000)R $3,967,000
1926 ฟอร์เฮฟเวินส์เสค $2,600,000R FH $150,000
1927 วิงส์ $3,600,000R $2,000,000
1928 เดอะซิงงิงฟูล $5,900,000R $388,000
1929 เดอะบรอดเวย์เมโลดี $4,400,0004,800,000R $379,000
ซันนีไซด์อัพ $3,500,000*R SS $600,000
1930 แนวรบตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง $3,000,000R $1,250,000
1931 แฟรงเกนสไตน์ $12,000,000R ($1,400,000)R $250,000
ซิตีไลท์ส $5,000,000R $1,607,351
1932 เดอะไซน์ออฟเดอะครอสส์ $2,738,993R $694,065
1933 คิงคอง $5,347,000R ($1,856,000)R $672,255.75
แอมโนแองเจิล $3,250,000+R $200,000
คาวัลเคด $3,000,0004,000,000R $1,116,000
ชีดันฮิมรอง $3,000,000+R $274,076
1934 เดอะเมอร์รีวิโดว์ $2,608,000R $1,605,000
อิทแฮปเปนด์วันไนต์ $1,000,000R ON $325,000
1935 มิวตินีออนเดอะบาวน์ตี $4,460,000R $1,905,000
1936 ซานฟรานซิสโก $6,044,000+R ($5,273,000)R $1,300,000
1937 สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด $418,000,000+S7 ($8,500,000)R $1,488,423
1938 ยูคานท์เทคอิทวิธยู $5,000,000R $1,200,000
1939 วิมานลอย $390,525,192402,352,579
($32,000,000)R GW
$3,900,0004,250,000
1940 พินอคคิโอ $87,000,862* ($3,500,000)R $2,600,000
บูมทาวน์ $4,600,000*R $2,100,000
1941 เซอร์เจนต์ยอร์ค $7,800,000R $1,600,000
1942 กวางน้อย...แบมบี้ $267,997,843 ($3,449,353)R $1,700,0002,000,000
น.ส. มินิเวอร์ $8,878,000R $1,344,000
1943 ฟอร์ฮูมเดอะเบลล์โทล์ลส $11,000,000R $2,681,298
ดิสอีสดิอาร์มี $9,555,586.44*R $1,400,000
1944 โกอิงมายเวย์ $6,500,000*R $1,000,000
1945 มัมแอนด์แดด $80,000,000MD/$22,000,000R $65,000
เดอะเบลล์สออฟเซนต์แมรีส์ $11,200,000R $1,600,000
1946 ซองออฟเดอะเซาธ์ $65,000,000* ($3,300,000)R $2,125,000
เดอะเบสเยียร์ออฟเอาเออร์ไลฟ์ส $14,750,000R $2,100,000
ดูลอินเดอะซัน $10,000,000*R $5,255,000
1947 ฟอร์เอเวอร์เอมเบอร์ $8,000,000R $6,375,000
อันคองเคอร์ด $7,500,000R UN $4,200,000
1948 อีสเตอร์พาเหรด $5,918,134R $2,500,000
เดอะเรดชูส์ $5,000,000*R &0000000002000000000000£505,581 (~$2,000,000)
เดอะสเนคพิต $4,100,000*R $3,800,000
1949 แซมสันแอนด์เดไรลา $14,209,250R $3,097,563
1950 ซินเดอเรลล่า $263,591,415
($20,000,000/$7,800,000R)
$2,200,000
ขุมทรัพย์โซโลมอน $10,050,000R $2,258,000
1951 โรมพินาศ $21,037,00026,700,000R $7,623,000
1952 ดิสอีสซีนีรามา $50,000,000CI $1,000,000
ละครสัตว์บันลือโลก $18,350,000R GS $3,873,946
1953 ปีเตอร์ แพน $145,000,000 ($7,000,000)*R $3,000,0004,000,000
เดอะโรบ $25,000,00026,100,000R $4,100,000
1954 หน้าต่างชีวิต $24,500,000* ($5,300,000)*R $1,000,000
ไวต์คริสต์มาส $26,000,050* ($12,000,000)*R $3,800,000
ใต้ทะเล 20000 โยชน์ $25,000,134*
($6,800,0008,000,000)*R
$4,500,0009,000,000
1955 ทรามวัยกับไอ้ตูบ $187,000,000 ($6,500,000)*R $4,000,000
ซีนีรามาฮอลิเดย์ $21,000,000CI $2,000,000
มิสเตอร์โรเบิร์ต $9,900,000R $2,400,000
1956 บัญญัติ 10 ประการ $90,066,230R
($122,700,000/$55,200,000R)
$13,270,000
1957 สะพานข้ามแม่น้ำแคว $30,600,000R $2,840,000
1958 มนต์รักทะเลใต้ $30,000,000R $5,610,000
1959 เบนเฮอร์ $90,000,000R
($146,900,000/$66,100,000R)
$15,900,000
1960 ครอบครัวแห่งมหาสมุทร $30,000,000R $4,000,000
สปาร์ตาคัส $60,000,000 ($22,105,225)R $10,284,014
ไซโค $50,000,000+ ($14,000,000)R $800,000
1961 ทรามวัยกับไอ้ด่าง $303,000,000 $3,600,0004,000,000
เวสท์ไซด์สตอรี่ $105,000,000 ($31,800,000)R $7,000,000
1962 ลอเรนซ์แห่งอาราเบีย $77,324,852 ($69,995,385) $13,800,000
พิชิตตะวันตก $35,000,000R $14,483,000
วันเผด็จศึก $33,200,000R $8,600,000
1963 คลีโอพัตรา $40,300,000R $31,115,000
เพชฌฆาต 007 $78,900,000/$29,400,000R
($12,500,000)R
$2,000,000
1964 บุษบาริมทาง $55,000,000R $17,000,000
จอมมฤตยู 007 $124,900,000 ($46,000,000)R $3,000,000
แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ $44,000,000$50,000,000R $5,200,000
1965 มนต์รักเพลงสวรรค์ $286,214,076 ($114,600,000)R $8,000,000
1966 เดอะไบเบิล: อินเดอะบีกินนิง $25,325,000R $18,000,000
ฮาวาย $34,562,222* ($15,600,000)*R $15,000,000
มารหัวใจ $33,736,689* ($14,500,000)*R $7,613,000
1967 เมาคลีลูกหมาป่า $378,000,000 ($23,800,000)R $3,900,0004,000,000
พิษรักแรงสวาท $85,000,000R $3,100,000
1968 2001 จอมจักรวาล $141,000,000190,000,000
($21,900,000)R
$10,300,000
บุษบาหน้าเป็น $80,000,000100,000,000 $8,800,000
1969 สองสิงห์ชาติไอ้เสือ $152,308,525 ($37,100,000)R $6,600,000
1970 หากจะรักต้องลืมคำว่า "เสียใจ" $173,400,000 ($80,000,000)R $2,260,000
1971 มือปราบเพชรตัดเพชร $75,000,000R $3,300,000
บุษบาหาคู่ $49,400,000R
($100,000,000/$45,100,000R)
$9,000,000
007 เพชรพยัคฆราช $116,000,000 ($45,700,000)R $7,200,000
1972 เดอะ ก็อดฟาเธอร์ $246,120,974287,000,000
($127,600,000142,000,000)R
$6,000,0007,200,000
1973 หมอผีเอ็กซอร์ซิสต์ $441,408,815 ($112,300,000)R $10,000,000
สองผู้ยิ่งใหญ่ $115,000,000R $5,500,000
1974 ตึกนรก $203,336,412 ($104,838,000)R $14,300,000
1975 จอว์ส $476,512,065 ($193,700,000)R $9,000,000
1976 ร็อคกี้ $225,000,000 ($77,100,000)R $1,075,000
1977 สตาร์ วอร์ส $775,398,007
($530,000,000SW/$268,500,000R)
$11,293,151
1978 กรีส $396,271,103 ($341,000,000) $6,000,000
1979 007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ $210,300,000 $31,000,000
ร็อคกี้ 2 $200,182,289 $7,000,000
1980 สตาร์วอร์ส 2 $547,969,004 ($413,562,607)SW $23,000,00032,000,000
1981 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า $389,925,971
($321,866,000353,988,025)
$18,000,00022,800,000
1982 อี.ที. เพื่อนรัก $797,103,542
($619,000,000664,000,000)
$10,500,00012,200,000
1983 สตาร์วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได $482,366,101 ($385,845,197)SW $32,500,00042,700,000
1984 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 2 ตอน ถล่มวิหารเจ้าแม่กาลี $333,107,271 $27,000,00028,200,000
1985 เจาะเวลาหาอดีต $389,225,789 ($381,109,762) $19,000,00022,000,000
1986 ท็อปกัน ฟ้าเหนือฟ้า $356,830,601 ($345,000,000) $14,000,00019,000,000
1987 เสน่ห์มรณะ $320,145,905 $14,000,000
1988 ชายชื่อเรนแมน $354,825,476 $30,000,000
1989 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 3 ตอน ศึกอภินิหารครูเสด $474,171,806494,000,000 $36,000,00055,400,000
1990 วิญญาณ ความรัก ความรู้สึก $505,870,681 ($505,702,588) $22,000,000
1991 ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 $523,774,456 ($519,843,345) $94,000,000
1992 อะลาดิน $504,050,045 $28,000,000
1993 จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ $1,037,535,230 ($912,667,947) $63,000,00070,000,000
1994 เดอะไลอ้อนคิง $968,511,805 ($763,455,561) $45,000,00079,300,000
1995 ทอย สตอรี่ $373,554,033 ($364,873,776) $30,000,000
ดาย ฮาร์ด 3 แค้นได้ก็ตายยาก $366,101,666 $70,000,000
1996 ไอดี 4 สงครามวันดับโลก $817,400,891 $75,000,000
1997 ไททานิค $2,257,844,554 ($1,843,373,318) $200,000,000
1998 อาร์มาเกดดอน วันโลกาวินาศ $553,709,626 $140,000,000
1999 สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น $1,027,044,677 ($924,317,558) $115,000,000127,500,000
2000 ฝ่าปฏิบัติการสะท้านโลก 2 $546,388,105 $100,000,000125,000,000
2001 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ $1,006,968,171 ($974,755,371) $125,000,000
2002 ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ $947,944,270 ($936,689,735) $94,000,000
2003 มหาสงครามชิงพิภพ $1,147,633,833 ($1,140,682,011) $94,000,000
2004 เชร็ค 2 $919,838,758 $150,000,000
2005 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี $896,346,413 ($895,921,036) $150,000,000
2006 สงครามปีศาจโจรสลัดสยองโลก $1,066,179,725 $225,000,000
2007 ผจญภัยล่าโจรสลัดสุดขอบโลก $963,420,425 $300,000,000
2008 แบทแมน อัศวินรัตติกาล $1,006,234,167 ($997,039,412) $185,000,000
2009 อวตาร $2,922,917,914 ($2,743,577,587) $237,000,000
2010 ทอย สตอรี่ 3 $1,066,969,703 $200,000,000
2011 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 $1,342,025,430 ($1,341,511,219) $250,000,000HP
2012 ดิ อเวนเจอร์ส $1,518,812,988 $220,000,000
2013 ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ $1,290,000,000 ($1,287,000,000) $150,000,000
2014 ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 4: มหาวิบัติยุคสูญพันธุ์ $1,104,039,076 $210,000,000
2015 สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง $2,068,223,624 $245,000,000
2016 กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก $1,153,329,473 ($1,153,296,293) $250,000,000
2017 สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได $1,332,539,889 $200,000,000
2018 อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล $2,048,359,754 $316,000,000400,000,000
2019 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก $2,797,501,328 $356,000,000
2020 ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ $506,523,013 $15,750,000
2021 สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม $1,916,306,995 ($1,901,232,550) $200,000,000
2022 อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ $2,320,250,281 $350,000,000460,000,000
2023 บาร์บี้ $1,445,638,421 $128,000,000145,000,000
2024 ดูน ภาคสอง $684,517,808 $190,000,000

( ... ) ขณะที่รายได้ไม่ได้จำกัดแค่การฉายครั้งแรกเท่านั้น จำนวนเงินที่ทำได้จากการฉายครั้งแรกนั้นจะอยู่ในวงเล็บ อยู่หลังจำนวนเงินทั้งหมด

*รายได้เฉพาะสหรัฐและแคนาดาเท่านั้น

RDistributor rentals

TBAรอการตรวจสอบ

INไม่มีแหล่งข้อมูลที่ให้ตัวเลขที่แท้จริงของ 20,000 ลีกส์อันเดอร์เดอะซี เมื่อปี ค.ศ. 1916, ถึงแม้ว่า เดอะนัมเบอร์ส ได้ระบุไว้ 8,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะในอเมริกาเหนือ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้อาจเป็นตัวเลขของภาพยนตร์ชื่อเดียวกันแต่ทำใหม่เมื่อ ค.ศ. 1954 ซึ่งทำเงินได้ 8,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะในอเมริกาเหนือ เหมือนกัน

FHบางแหล่งข้อมูลเช่น เดอะนัมเบอร์ส ระบุว่า อโลมาออฟเดอะเซาท์ซีส์ เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปี ทำเงินได้ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ไม่มีแหล่งข้อมูลที่ให้ตัวเลขที่แท้จริงของภาพยนตร์ดังกล่าว ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจำนวนเงินนี้เกี่ยวข้องกันหรือไม่ เพราะถ้าเป็นจำนวนเงินจริง นั่นอาจทำให้ไม่เพียงแต่เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของปี แต่ยังเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของภาพยนตร์ยุคเงียบด้วยและถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นเรื่องผิดปกติสำหรับ อินเทอร์เนชันนัลโมชันพิกเจอร์อัลมาแนก และ วาไรตี จะไม่มีภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในรายชื่อ

SSไม่แน่ใจว่าตัวเลขของ ซันนีไซด์อัพ นั่นเป็นของอเมริกาเหนือหรือทั่วโลก ซึ่งแหล่งข้อมูลอื่นระบุไว้ว่าทำเงินได้ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่าตัวเลขที่สูงกว่านั้นคือค่าเช่าทั่วโลก เนื่องจากความสับสนเกี่ยวกับตัวเลขระหว่างประเทศในช่วงเวลานั้น

ONตัวเลขของ อิทแฮปเปนด์วันไนต์ ไม่ใช่ตัวแทนของสำเร็จที่แท้จริง เพราะว่าภาพยนตร์ถูกจัดจำหน่ายเป็นชุดพร้อมกับภาพยนตร์อีกสองโหลของโคลัมเบียฟิล์ม ทำให้เงินที่ทำได้นั้นถูกเฉลี่ยออกไป มิเช่นนั้นแล้วเงินที่ทำได้อาจจะมากกว่านี้

S7จำนวนเงิน 418 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากผู้ชมสะสม ของ สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ไม่รวมรายได้จากนอกอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1987 เป็นต้นไป

GWยังไม่ชัดเจนว่า วิมานลอย ทำเงินจากการฉายครั้งแรกได้เท่าไหร่ บัญชีร่วมสมัยมักจะระบุว่าภาพยนตร์ทำเงิน 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเช่าในอเมริกาเหนือและตารางทำเงินย้อนหลังมักจะการอ้างตัวเลขนี้ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่านี่คือตัวเลขค่าเช่าจากทั่วโลก วารสารการค้าจะตรวจทานข้อมูลโดยรับจากตัวผู้จัดจำหน่ายเอง ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการจะส่งเสริมภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ หรือโดยการสำรวจโรงภาพยนตร์และสร้างการประมาณการ ผู้จัดจำหน่ายมักจะรายงานค่าเช่าจากทั่วโลก เนื่องจากตัวเลขที่สูงขึ้นทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จมากขึ้น ในขณะที่การประมาณการถูกจำกัดเฉพาะการทำเงินในอเมริกาเหนือ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ค่าเช่าจากทั่วโลกและอเมริกาเหนือจะปะปนกัน หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ตลาดต่างประเทศหลายแห่งไม่ได้รับภาพยนตร์จากฮอลลีวูด ดังนั้นจึงกลายเป็นแนวทางปฏิบัติมาตรฐานในการรายงานผลงานบ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกาเหนือ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางใหม่นี้ ค่าเช่าของ วิมานลอย ในอเมริกาเหนือจึงได้รับการแก้ไขเป็น 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1947 (ต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้านี้ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หลังการฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1947 ณ ปี ค.ศ. 1953 วาไรตี รายงานว่าภาพยนตร์ทำเงิน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี ค.ศ. 1956 เอ็มจีเอ็มรายงานรายได้สะสมในอเมริกาเหนือที่ 30,015,000 ดอลลาร์สหรัฐ และรายรับจากต่างประเทศ 18,964,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายสามครั้ง ค่าเช่าทั่วโลก 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายครั้งแรกนั้นสอดคล้องกับตัวเลขที่ได้รับการแก้ไขแล้วและจากรายงานของตัวเลขทั่วโลก: ระบุว่าภาพยนตร์ทำเงินได้ 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอเมริกาเหนือ และ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐในต่างประเทศจากการฉายครั้งแรก และทำเงินเพิ่มอีก 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอเมริกาเหนือ และอีก 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในต่างประเทศจากการฉายครั้งต่อ ๆ มาจนถึงปี ค.ศ. 1956

MDมันแอนด์แดด ปกติแล้วไม่ปรากฏอยู่ในรายชื่อ ทำเงินสูง เช่นรายชื่อที่เผยแพร่โดย วาไรตี เนื่องจากภาพยนตร์จัดจำหน่ายโดยค่ายอิสระ ยิ่งเป็นแนวเอกซ์พลอยเทชัน (ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงหรือเรื่องเพศ) ถูกทำการตลาดว่าเป็น ภาพยนตร์ส่งเสริมสุขอนามัยทางเพศ (Sex hygiene) เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเซ็นเซอร์ การมีปัญหากับ หลักการสร้างภาพยนตร์ (Motion Picture Production Code) ทำให้ มันแอนด์แดด ถูกป้องกันไม่ให้มีการจัดจำหน่ายโดยทั่วไป ถูกจำกัดให้ฉายเฉพาะโรงภาพยนตร์อิสระและแบบไดร์ฟอิน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและฉายต่อเนื่องจนถึงช่วงทศวรรษ 1970 ก่อนที่สื่อลามกเข้ามาแทนที่ ภาพยนตร์ทำเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปลายปี 1947 ทำเงิน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1949 ทำเงิน 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากค่าเช่าในปี 1956 และทำเงินทั่วโลก 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สามารถติดสิบอันดับแรกภาพยนตร์ที่ทำเงินที่ฉายในช่วงปลายทศวรรษ 1940 และต้นทศววษ 1950 ได้ไม่ยาก จากประมาณการรายได้รวมแล้วคาดว่าสูงถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

UNชอปรา-แกนต์ ได้ระบุตัวเลขของ อันคองเคอร์ด ว่าเป็นรายได้เฉพาะในอเมริกาเหนือ ซึ่งเรื่องปกติในเวลานั้นที่จะสับสนระหว่างรายได้ทั่วโลกกับรายได้เฉพาะอเมริกาเหนือ แหล่งข้อมูลอื่นระบุตัวเลขของ ฟอร์เอเวอร์เอมเบอร์ (8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ Life with Father (6.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ว่าเป็นรายได้จากทั่วโลก ซึ่งเป็นไปได้ว่าตัวเลขของ อันคองเคอร์ นั้นจะเป็นรายได้จากทั่วโลกด้วย

CIตัวเลขของซีนีรามาแสดงถึงรายได้ทั้งหมด เพราะบริษัทซีนีรามาเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์จึงไม่มีค่าเช่าสำหรับภาพยนตร์ ทำให้สตูดิโอได้รับเงินเต็มจำนวนจากบ๊อกซ์ออฟฟิศ ไม่เหมือนในกรณีของภาพยนตร์เรื่องอื่นที่ผู้จัดจำหน่ายจะได้รับเงินน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากรายได้ทั้งหมด วาไรตี ในเวลานั้นจัดอันดับภาพยนตร์โดยใช้ค่าเช่าในสหรัฐ พวกเขาสร้างสมมติฐานขึ้นสำหรับค่าเช่าของภาพยนตร์ซีนีรามา เพื่อใช้พื้นฐานในการเปรียบเทียบกับภาพยนตร์เรื่องอื่น ในกรณี ดิสอีสซีนีรามา ทำเงินทั่วโลก 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้วปรับเป็น 12.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับค่าเช่าในสหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 25% ของจำนวนรายได้ที่ซีนีรามารายงาน ดังนั้นสูตรของ วาไรตี คือ จำนวนรายได้ทั้งหมดลดลงครึ่งหนึ่งจะได้ส่วนแบ่งในสหรัฐ แล้วลดอีกครึ่งหนึ่งเพื่อจำลองตัวเลขเป็นค่าเช่า ทำให้ตัวเลข 'ค่าเช่า' ของ วาไรตี มักจะซ้ำกัน ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่าความจริงแล้วภาพยนตร์เรื่องนั้นทำเงินได้เท่าไหร่ เพราะเป็นตัวเลขไว้สำหรับวิเคราะห์เท่านั้น ภาพยนตร์ซีนีรามาทั้งห้าเรื่องรวมแล้วทำเงิน 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั่วโลก

GSวาไรตี ได้ระบุค่าเช่าทั่วโลกของ ละครสัตว์บันลือโลก ไว้ที่ประมาณ 18.35 ล้านดอลลาห์สหรัฐ (ด้วย 12.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากสหรัฐ) หนึ่งปีหลังฉาย อย่างไรก็ตาม เบอร์เคิด ได้ระบุไว้แค่ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี ค.ศ. 1962 เป็นไปได้ว่า ตัวเลขของ เบอร์เคิด นั้น มาจากค่าเช่าของอเมริกาเหนือและรวมจากการฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1954 และ ค.ศ. 1960

SWไม่รวมรายได้จากฉบับพิเศษปี 1997 แต่รวมรายได้จากการฉายใหม่ก่อนหน้านั้น

HPใช้ทุนสร้างร่วมกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1

เส้นเวลาของภาพยนตร์ทำเงินสูงสุด

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด 
เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน เป็นภาพยนตร์ที่ริเริ่มเทคนิคต่างๆ ที่ยังคงใช้อยู่ในภาพยนตร์ยุคปัจจุบัน กลายเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเวลานั้น

มีภาพยนตร์สิบเอ็ดเรื่องครองสถิติเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุด ตั้งแต่ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน เมื่อ ค.ศ. 1915 ทั้ง เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน และ วิมานลอย ครองสถิติติดต่อกันเป็นเวลายี่สิบห้าปี ขณะที่ภาพยนตร์ที่กำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก เคยเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดถึงสามครั้งและภาพยนตร์ของเจมส์ แคเมรอน สองครั้ง โดย สปีลเบิร์ก เป็นผู้กำกับคนแรกที่ทำลายสถิติตัวเองเมื่อภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ทำเงินแซง อี.ที. เพื่อนรัก และ แคเมรอน ก็เช่นเดียวกันเมื่อ อวตาร ทำเงินแซง ไททานิค และในปี ค.ศ. 2019 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก กลายเป็นภาพยนตร์ภาคต่อเรื่องแรกที่ทำเงินสูงสุด หยุดการครองสถิติสามสิบหกปีจากภาพยนตร์ของสปีลเบิร์กและแคเมรอน อวตาร กลับมาครองตำแหน่งเดิมอีกครั้งหลังมีการฉายใหม่ในปี ค.ศ. 2021

บางแหล่งข้อมูลอ้างว่า เดอะบิกพาเหรด ถูกแทนที่ด้วย เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน แล้วกลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุด จากนั้นก็ถูกแทนที่ด้วย สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด แล้วก็ถูก วิมานลอย ชิงตำแหน่งไปอย่างรวดเร็ว เหตุเพราะไม่ทราบจำนวนเงินที่แน่นอนของ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน แต่จากบันทึกในช่วงเวลานั้น ระบุว่าทำเงินทั่วโลก 5.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี ค.ศ. 1919 การฉายระหว่างประเทศถูกเลื่อนออกไปเพราะสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงช่วงปี ค.ศ. 1920 พร้อมกับการฉายใหม่ในสหรัฐ ทำเงินเพิ่มอีก 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการรายงานของ วาไรตี เมื่อปี ค.ศ. 1932 ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนเงินก่อนหน้านี้ แสดงว่า วาไรตี ยังคงมีสถิติของ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน ซึ่งทำเงินมากกว่า เดอะบิกพาเหรด ($6,400,000) ในรูปแบบดิสทริบิวเตอร์ เรนเทลส์ (distributor rentals) ถ้าประมาณการถูกต้อง สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ($8,500,000) คงทำเงินไม่เพียงพอที่จะทำสถิติจากการฉายครั้งแรก แม้ว่าจะเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดที่มีเสียงพูดแทนที่ เดอะซิงงิงฟูล ($5,900,000) ถึงแม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน จะถูกแทนที่ด้วยภาพยนตร์ยุคเงียบ ถ้าเป็นอย่างนั้นสถิติก็จะตกไปที่ภาพยนตร์เรื่อง เบน-เฮอร์ ($9,386,000) ของปี ค.ศ. 1925 ถ้า เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน ทำเงินน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่ประมาณการไว้เบื้องต้น นอกเหนือจากรายได้จากการฉายทั่วไปแล้ว เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน มีการฉายในโรงภาพยนตร์ส่วนตัว, สโมสรและเฉพาะในองค์กรเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีข้อมูลของตัวเลข ภาพยนตร์เป็นที่นิยมอย่างมากหลังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรับสมัครของ คูคลักซ์แคลน และมีอยู่จุดหนึ่งที่ วาไรตี ประมาณการรายได้ไว้ที่ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ภายหลังจะมีการถอนการอ้างสิทธิ์ แต่ก็ยังได้รับการรายงานอย่างกว้างขวางแม้ว่าจะไม่ได้รับการยืนยัน ในขณะที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า วิมานลอย ยึดสถิติภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในการเปิดตัวครั้งแรก—ซึ่งเป็นเรื่องจริงในแง่ของการฉายทั่วไป—แต่ว่าไม่ได้ทำเงินแซง เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน ในทันที แต่ก็ยังรายงานว่าเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดจนถึงทศวรรษที่ 1960 วิมานลอย อาจถูกภาพยนตร์เรื่อง บัญญัติ 10 ประการ (ค.ศ. 1956) ทำเงินแซงในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ด้วยจำนวนค่าเช่าทั่วโลก 58–60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับ 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐของ วิมานลอย ถ้ามีการอ้างสิทธิ์ว่าทำเงินสูงสุดจริง ก็เป็นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะ วิมานลอย นั้นมีการฉายซ้ำในปีถัดมาและทำเงินถึง 67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพยนตร์เรื่อง เบนเฮอร์ (ค.ศ. 1959) อาจจะยึดสถิติจาก วิมานลอย ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1961 ซึ่งทำเงิน 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ถ้าการประมาณนั้นแม่นยำ และภายในปี ค.ศ. 1963 เบนเฮอร์ ตามหลัง วิมานลอย แค่ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยรายได้จากการฉายทั่วโลก 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมแล้วทำเงิน 66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายครั้งแรก

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด 
ภาพยนตร์ลามกปี ค.ศ. 1972 เรื่อง ดีพโทรต มีรายงานว่าทำเงินได้มากถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจเป็นตัวเลขที่มาจากการฟอกเงินของพวกอันธพาล

ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่อ้างว่าทำเงินสูงสุดคือ ดีพโทรต ภาพยนตร์ลามกเมื่อปี ค.ศ. 1972 ลินดา เลิฟเลซ เป็นพยานต่อคณะอนุกรรมการตุลาการวุฒิสภาแห่งสหรัฐในเรื่องความยุติธรรมของเยาวชนว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำเงิน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1984 ตัวเลขนี้กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมาก เพราะถ้ามันถูกต้อง ภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำเงินได้มากกว่า สตาร์ วอร์ส และกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในทศวรรษ 1970 ข้อโต้แย้งหลักของการต่อต้านตัวเลขนี้คือ ภาพยนตร์ไม่ได้การฉายในวงกว้างมากพอที่จะทำเงินไปจนถึงจำนวนเงินที่กล่าวอ้าง ไม่มีใครทราบถึงจำนวนเงินที่แท้จริง แต่จากคำให้การในการพิจารณาคดีของรัฐบาลกลางในปี ค.ศ. 1976 (หลังภาพยนตร์ฉายสี่ปี) ระบุว่าภาพยนตร์ทำเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โรเจอร์ อีเบิร์ต ให้เหตุผลว่าที่ภาพยนตร์อาจทำเงินได้มากถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรูปแบบของธนบัตร เนื่องจากพวกมาเฟียเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ในช่วงเวลานี้ โดยจะฟอกรายได้จากยาเสพติดและการค้าประเวณีผ่านพวกเขา ดังนั้นอาจทำให้รายรับจากบ็อกซ์ออฟฟิศจากภาพยนตร์เรื่องนี้สูงเกินจริง

เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน, วิมานลอย, เดอะ ก็อดฟาเธอร์, จอว์ส, สตาร์ วอร์ส, อี.ที. เพื่อนรัก และ อวตาร ภาพยนตร์ดังกล่าวทำเงินเพิ่มขึ้นหลังจากมีการฉายใหม่ ตัวเลขที่บันทึกไว้ได้รวมรายได้จากการฉายครั้งแรกและรายได้จากการฉายใหม่แล้วจนถึงจุดที่ภาพยนตร์นั้นเสียตำแหน่งไป ดังนั้นรายได้ทั้งหมดของ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน รวมรายได้จากการฉายใหม่จนถึงปี ค.ศ. 1940, รายได้ทั้งหมดของ สตาร์ วอร์ส รวมรายได้จากการฉายใหม่ในช่วงปลายทศวรรษ ค.ศ. 1970 และต้นทศวรรษ ค.ศ. 1980 แต่ไม่รวมรายได้ของฉบับพิเศษเมื่อปี ค.ศ. 1997, รายได้ทั้งหมดของ อี.ที. เพื่อนรัก ได้รวมรายได้จากการฉายใหม่เมื่อปี ค.ศ. 1985 แต่ไม่รวมของปี ค.ศ. 2002, รายได้ทั้งหมดของ อวตาร รวมรายได้ของฉบับพิเศษเมื่อปี ค.ศ. 2010 ทั้งหมด วิมานลอย ติดอันดับสองครั้ง โดยสถิติในปี ค.ศ. 1940 มาจากการทำเงินจากการฉายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939–1942 (โรดโชว์/การฉายทั่วไป/การฉายในโรงภาพยนตร์ลดราคา) พร้อมกับรายได้ทั้งหมดจนถึงการฉายใหม่จนถึงปี ค.ศ. 1961 ก่อนที่จะเสียตำแหน่งให้กับ มนต์รักเพลงสวรรค์ ในปี ค.ศ. 1966 ส่วนสถิติในปี ค.ศ. 1971 หลังจากได้ตำแหน่งคืนแล้ว รวมรายได้จากฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1967 และ 1971 แต่ได้รวมรายได้หลังจากนี้ เดอะ ก็อดฟาเธอร์ ฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1973 หลังประสบความสำเร็จที่ งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 45 และ จอว์ส ฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1976 และรายได้ของภาพยนตร์ดังกล่าวน่าจะรวมจากการฉายนั้น มนต์รักเพลงสวรรค์, เดอะ ก็อดฟาเธอร์, จอว์ส, จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ และ ไททานิค ทำเงินเพิ่มขึ้นจากการฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1973, 1997, 1979, 2012 และ 2013 ตามลำดับ แต่ไม่ได้รวมอยู่ในตารางนี้เพราะว่าภาพยนตร์ดังกล่าวเสียตำแหน่งทำเงินสูงสุดไปแล้วก่อนการฉายใหม่

เส้นเวลาของภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุด
ปีที่เริ่ม ชื่อ จำนวนเงินสูงสุดที่บันทึกไว้ อ้างอิง
1915 เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน $5,200,000R
1940 $15,000,000R
1940 วิมานลอย $32,000,000R
1963 $67,000,000R
1966 มนต์รักเพลงสวรรค์ $114,600,000R
1971 วิมานลอย $116,000,000R
1972 เดอะ ก็อดฟาเธอร์ $127,600,000–142,000,000R
1976 จอว์ส $193,700,000R
1978 สตาร์ วอร์ส $410,000,000/$268,500,000R
1982 $530,000,000
1983 อี.ที. เพื่อนรัก $619,000,000–664,000,000
1993 $701,000,000
1993 จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ $914,691,118
1998 ไททานิค $1,843,201,268
2010 อวตาร $2,743,577,587
$2,788,416,135
2019 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก $2,797,501,328
2021 อวตาร $2,847,397,339
2022 $2,923,706,026

RDistributor rentals

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด รวมจำนวนเงินจากการฉายใหม่ ถ้าภาพยนตร์เรื่องใดทำเงินเพิ่มขึ้นขณะที่ภาพยนตร์นั้นถือครองสถิติอยู่ ปีที่ทำเงินสูงสุดนั้นจะเป็นตัวเอียง

แฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุด

ก่อนปี ค.ศ. 2000 นั้นมีภาพยนตร์ชุด 7 ชุดเท่านั้นที่ทำเงินได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในบ็อกซ์ออฟฟิศ ได้แก่ เจมส์ บอนด์, สตาร์ วอร์ส, อินเดียนา โจนส์, ร็อคกี้, แบทแมน, จูราสสิค พาร์ค และ สตาร์ เทรค ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษเป็นต้นมา จำนวนของภาพยนตร์ชุดก็เพิ่มมากขึ้น โดยมีมากกว่าห้าสิบภาพยนตร์ชุด (ไม่รวมภาพยนตร์เดี่ยวที่ได้รับความนิยมสูง เช่น ไททานิค และ นครสัตว์มหาสนุก) ส่วนหนึ่งมาจากอัตราเงินเฟ้อและการขยายของตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่ยังรวมถึงการที่ฮอลลีวู้ดสร้างรูปแบบของภาพยนตร์ชุดใหม่ เช่น การสร้างภาพยนตร์ที่มาจากนวนิยายชื่อดังหรือการสร้างตัวละครให้เป็นที่จดจำ ซึ่งวิธีการนี้มีแนวคิดที่ว่า ภาพยนตร์ที่สร้างจากสิ่งผู้ชมมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ทำให้สามารถขายให้กับผู้ชมเหล่านั้นได้ เรียกว่าเป็นการ "pre-sold" ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

รูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีแนวคิดของการข้ามฝั่งหรือการครอสโอเวอร์ หมายถึง "เป็นการนำสิ่งต่างๆ ในเรื่องแต่ง เช่นตัวละคร สถานที่ หรือจักรวาลของเรื่องแต่งสองเรื่องเป็นอย่างน้อยที่แตกต่างกันมารวมอยู่ในบริบทของเรื่องแต่งเรี่องเดียว" ผลที่ตามมาของการครอสโอเวอร์คือทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกใช้โดยแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งแฟรนไชส์ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ไม่เพียงแค่อยู่ในแฟรนไชส์ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน เท่านั้น แต่อยู่ใน จักรวาลขยายดีซี ด้วย ซึ่งเป็น "จักรวาลร่วม" จักรวาลร่วมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในสื่อภาพยนตร์คือ จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล เป็นการข้ามฝั่งระหว่างฮีโรหลายคนของ มาร์เวลคอมิกส์ ซึ่งทำเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส เป็นภาพยนตร์ชุดที่สร้างจากทรัพย์สินชิ้นเดียวที่ทำเงินสูงสุด โดยทำเงินมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ถึงแม้ว่าภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ของอีออน ซึ่งหากปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว จะทำเงินมากกว่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่หากรวมรายได้จากการขายสินค้าแล้ว สตาร์ วอร์ส จะเป็นทรัพย์สินที่ทำเงินมากที่สุด ครองสถิติโลก กินเนสส์ เป็น "แฟรนไชส์ที่ขายสินค้าจากภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด" และมีมูลค่า 1.951 หมื่นล้านปอนด์ในปี ค.ศ. 2012 (ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล มีภาพยนตร์ที่ทำเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนสิบเรื่อง ภาพยนตร์ชุด อเวนเจอร์ส, โฟรเซน และ อวตาร เป็นแฟรนไชส์ที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องทำเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่า ภาพยนตร์ชุด จูราสสิค พาร์ค และ แบล็ค แพนเธอร์ ทำเงินเฉลี่ยมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อภาพยนตร์

     ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่
ภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุด[§] (ดูรายละเอียดภาพยนตร์ในแต่ละภาพยนตร์ชุดได้โดยการกด "ขยาย")
อันดับ ชื่อภาพยนตร์ชุด ทำเงินรวมทั่วโลก จำนวน ทำเงินเฉลี่ย ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

Sภาพยนตร์ชุดที่ดำเนินเรื่องอยู่ในจักรวาลเดียวกัน ซึ่งบางภาพยนตร์ก็มีภาพยนตร์ชุดเป็นของตัวเอง

*รายได้เฉพาะในสหรัฐและแคนาดา

RDistributor rental.

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลบ็อกซ์ออฟฟิศ

§ แหล่งข้อมูลแฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุด

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดหลังคิดเงินเฟ้อแล้วรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด เส้นเวลาของภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด แฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด ดูเพิ่มรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด อ้างอิงรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด แหล่งข้อมูลอื่นรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดภาพยนตร์โรงภาพยนตร์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ดวงจันทร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังโชติกา วงศ์วิลาศรายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วสำนักพระราชวังองศาเซลเซียสระบบรายชื่อตอนในโปเกมอนประเทศเวียดนามสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจังหวัดกาฬสินธุ์ชานน สันตินธรกุลอำเภอแม่สอดพรรคเพื่อไทยสรพงศ์ ชาตรีสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีปักหมุดรักฉุกเฉินเปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)เอลนีโญบูเช็กเทียนประเทศมาเลเซียวัชรเรศร วิวัชรวงศ์โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงสุจาริณี วิวัชรวงศ์พระยศเจ้านายไทยมหาวิทยาลัยมหาสารคามสโมสรกีฬาลัตซีโยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)พรรษา วอสเบียนเอซี มิลานเฟซออฟบิวตีอินเตอร์เนชันแนลรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ภูมิธรรม เวชยชัยรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีปรียาดา สิทธาไชยอริศรา วงษ์ชาลีปฏิจจสมุปบาทถนนเพชรเกษมภาษาอังกฤษจักรพรรดินโปเลียนที่ 1การโฆษณาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์จ้าว ลี่อิ่งยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์จังหวัดอุดรธานีธนวรรธน์ วรรธนะภูติยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหม่อมเจ้าภาษาในประเทศไทยพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดวชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลจังหวัดน่านรายการรหัสไปรษณีย์ไทยดาบพิฆาตอสูรธนินท์ เจียรวนนท์ประเทศพม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกมหาวิทยาลัยสวนดุสิตป๊อกเด้งมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชพรรคประชาธิปัตย์ธนาคารออมสินเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ประเทศจีนจังหวัดเชียงรายชาวมอญมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากรรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมด🡆 More