จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล

จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล (อังกฤษ: Marvel Cinematic Universe; MCU) เป็นสื่อแฟรนไชส์อเมริกันและจักรวาลร่วมซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ภาพยนตร์ชุดของภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรที่สร้างโดย มาร์เวลสตูดิโอส์ ซึ่งสร้างจากตัวละครที่ปรากฏอยู่ในหนังสือการ์ตูนอเมริกันที่ตีพิมพ์โดย มาร์เวลคอมิกส์ แฟรนไชส์ยังประกอบด้วย หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์สั้น ละครชุดโทรทัศน์และดิจิทัลซีรีส์ จักรวาลร่วมนั้นเหมือนกับ จักรวาลมาร์เวล ในหนังสือการ์ตูน ที่มีการข้ามฝั่งระหว่างองค์ประกอบโครงเรื่องทั่วไป สถานที่ดำเนินเรื่อง นักแสดงและตัวละคร

จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
โลโก้จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลจาก มาร์เวลสตูดิโอส์: แอสแซมบลิงอะยูนิเวิร์ส (2014)
สร้างโดยมาร์เวลสตูดิโอส์
งานต้นฉบับไอรอนแมน มหาประลัย คน เกราะ เหล็ก (2008)
เจ้าของเดอะวอลต์ดิสนีย์
ปีค.ศ. 2008–ปัจจุบัน
สื่อสิ่งพิมพ์
หนังสือหนังสือจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
การ์ตูนหนังสือการ์ตูนพ่วงขาย
จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
ภาพยนตร์และโทรทัศน์
ภาพยนตร์ภาพยนตร์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
ภาพยนตร์สั้นมาร์เวลวันช็อตส์
ละครโทรทัศน์ละครชุดทางโทรทัศน์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
เว็บซีรีส์ดิจิทัลซีรีส์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
รายการโทรทัศน์พิเศษรายการพิเศษในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
เกม
วิดีโอเกมวิดีโอเกมพ่วงขายในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
เสียง
เพลงต้นฉบับดนตรีของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล
เบ็ดเตล็ด
สวนสนุกสวนสนุกธีมมาร์เวล

มาร์เวลสตูดิโอส์ฉายภาพยนตร์เป็นกลุ่มที่เรียกว่า "เฟส" โดยสามเฟสแรกเรียกว่า "ดิอินฟินิตีซากา" และสามเฟสหลังเรียกว่า "เดอะมัลติเวิร์สซากา" ภาพยนตร์เรื่องแรกของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลคือ ไอรอนแมน มหาประลัย คน เกราะ เหล็ก (2008) เป็นการเริ่มต้นเฟสหนึ่ง ก่อนจะสิ้นสุดที่ภาพยนตร์ข้ามฝั่ง ดิ อเวนเจอร์ส (2012) เฟสสอง เริ่มต้นด้วย ไอรอนแมน 3 (2013) และสิ้นสุดที่ มนุษย์มดมหากาฬ (2015) เฟสสาม เริ่มต้นด้วย กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก (2016) และสิ้นสุดที่ สไปเดอร์-แมน ฟาร์ ฟรอม โฮม (2019) เฟสสี่ เริ่มต้นด้วย แบล็ค วิโดว์ (2021) และสิ้นสุดที่ แบล็ค แพนเธอร์: วาคานด้าจงเจริญ (2022) เฟสห้า เริ่มต้นด้วย แอนท์-แมน และ เดอะ วอสพ์: ตะลุยมิติควอนตัม (2023) และสิ้นสุดที่ ธันเดอร์โบลต์ส (2025) เฟสหก เริ่มต้นด้วย เดอะแฟนแทสติกโฟร์ (2025) และสิ้นสุดที่ อเวนเจอร์ส 5 (2026) และ อเวนเจอร์ส: ซีเครตวอร์ส (2027)

มาร์เวลเทเลวิชัน ขยายจักรวาลไปยังเครือข่ายโทรทัศน์ด้วย ชี.ล.ด์. ทีมมหากาฬอเวนเจอร์ส ทางช่องเอบีซี ในปี ค.ศ. 2013 ก่อนจะขยายละครโทรทัศน์ไปยังการออกอากาศผ่านสัญญาณต่อเนื่องบนเน็ตฟลิกซ์และฮูลู และการออกอากาศผ่านสายเคเบิลทางช่องฟรีฟอร์ม มาร์เวลเทเลวิชันสร้างดิจิทัลซีรีส์ชื่อว่า ชี.ล.ด์. ทีมมหากาฬอเวนเจอร์ส: สลิงช็อต ต่อมา มาร์เวลสตูดิโอส์ ได้สร้างละครโทรทัศน์เองเพื่อออกอากาศใน ดิสนีย์+ เริ่มต้นด้วย วันด้าวิสชั่น ในปี ค.ศ. 2021 เป็นการเริ่มต้นเฟสสี่ และพวกเขายังขยายเฟสนี้ด้วยรายการพิเศษทางโทรทัศน์ในชื่อ ผลงานพิเศษจากมาร์เวลสตูดิโอส์ โดยเรื่องแรกคือ แวร์วูล์ฟ บาย ไนท์ (2022) จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลยังประกอบด้วย หนังสือการ์ตูนไทอิน ที่ตีพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ นอกจากนี้มาร์เวลสตูดิโอส์ยังได้สร้างภาพยนตร์สั้นชุดสำหรับวางจำหน่ายลงแผ่น เรียกว่า มาร์เวลวันช็อตส์ และแคมเปญการตลาดแบบปากต่อปากของแต่ละภาพยนตร์และในจักรวาลด้วย ดับเบิลยูเอชไอเอช นิวส์ฟรอนต์ และ เดอะเดลิบิวเกิล รายการที่เลียนแบบรายการข่าว

แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ และยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับสตูดิโอภาพยนตร์และโทรทัศน์อื่น ๆ ที่มีสิทธิ์ในการดัดแปลงตัวละครในหนังสือการ์ตูน โดยพยายามสร้างจักรวาลร่วมที่คล้ายคลึงกับจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล นอกเหนือจากสื่อในจักรวาลร่วมแล้ว จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง, นิทรรศการศิลปะ, รายการโทรทัศน์พิเศษ, หนังสือแนะนำสำหรับภาพยนตร์แต่ละเรื่อง, วิดีโอเกมไทอินและโฆษณาจำนวนมาก

การพัฒนา

ภาพยนตร์

"มันไม่เคยทำมาก่อนและนั่นเป็นจิตวิญญาณที่ทุกคนยอมรับ ผู้สร้างภาพยนตร์คนอื่นไม่คุ้นเคยกับการรับนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องอื่นที่ผู้สร้างภาพยนตร์คนอื่นเคยคัดเลือกไว้, โครงเรื่องบางเรื่องที่เชื่อมโยงกันหรือสถานที่บางแห่งที่เชื่อมโยงกัน, แต่ผมคิดว่า ... ทุกคนทำงานให้กับมันและคิดว่ามันสนุก ส่วนใหญ่เป็นเพราะเราพูดเสมอว่าภาพยนตร์ที่เราสร้างนั้นต้องมาก่อน ร่างแหที่เกี่ยวพันทั้งหมด ทั้งหมดนั้นก็สนุกและจะมีความสำคัญมากถ้าคุณต้องการให้เป็น หากแฟน ๆ ต้องการค้นหาเพิ่มเติมและค้นหาการเชื่อมต่อ พวกเขาก็อยู่ที่นั่น เห็นได้ชัดว่ามีบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ซึ่งหวังว่าผู้ชมกระแสหลักจะสามารถติดตามได้เช่นกัน แต่ ... เหตุผลที่ผู้สร้างภาพยนตร์ทุกคนมีส่วนร่วมคือภาพยนตร์ของพวกเขาต้องยืนหยัดด้วยตัวเอง พวกเขาต้องมีวิสัยทัศน์ที่สดใหม่ โทนภาพยนตร์ที่ไม่เหมือนใครและความจริงที่ว่าพวกเขาสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ หากคุณต้องการติดตามเกล็ดขนมปังเหล่านั้นซึ่งเป็นของแถม"

เควิน ไฟกี ประธานฝ่ายผลิตของมาร์เวลสตูดิโอส์เกี่ยวกับการสร้างจักรวาลภาพยนตร์ที่ใช้ร่วมกัน

ในปี ค.ศ. 2005 มาร์เวลเอนเตอร์เทนเมนต์ ได้เริ่มวางแผนที่จะสร้างภาพยนตร์ของตนเองโดยอิสระและจัดจำหน่ายผ่าน พาราเมาต์พิกเจอส์ ก่อนหน้านี้ มาร์เวลสร้างภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรหลายเรื่องร่วมกับ โคลัมเบียพิคเจอร์ส, นิวไลน์ซินีมาและอื่น ๆ รวมถึงข้อตกลงการพัฒนาเจ็ดปีกับทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ มาร์เวลทำกำไรได้ค่อนข้างน้อยจากข้อตกลงด้านลิขสิทธิ์กับสตูดิโออื่น ๆ และต้องการหารายได้เพิ่มเติมจากภาพยนตร์ ในขณะที่ยังคงการควบคุมทางศิลปะของโครงการและการจัดจำหน่าย อาวี อาราด หัวหน้าฝ่ายภาพยนตร์ของมาร์เวล พอใจกับภาพยนตร์ไอ้แมงมุมของแซม ไรมีของโซนี่พิคเจอร์ส แต่ไม่ค่อยพอใจกับภาพยนตร์เรื่องอื่น ทำให้อาราดตัดสินใจก่อตั้ง มาร์เวลสตูดิโอส์ สตูดิโอภาพยนตร์อิสระขนาดใหญ่แห่งแรกของฮอลลิวูด นับตั้งแต่ ดรีมเวิกส์

เควิน ไฟกี, รองหัวหน้าของอาราด ตระหนักว่า มาร์เวลยังคงเป็นเจ้าของสิทธิ์ในตัวสมาชิกหลักของ อเวนเจอร์ส ไม่เหมือนกับ สไปเดอร์-แมนและเอ็กซ์เมน ซึ่งมีโซนี่และฟอกซ์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ตามลำดับ ไฟกีซึ่งอธิบายตัวเองว่าเป็น "แฟนบอย" จินตนาการถึงการสร้างจักรวาลที่ใช้ร่วมกัน เช่นเดียวกับผู้สร้าง สแตน ลีและแจ็ค เคอร์บี ที่ทำกับหนังสือการ์ตูนในช่วงต้นทศวรรษ 1960 สตูดิโอได้เงินทุนจากวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน 7 ปี มูลค่า 525 ล้านดอลลาร์สหรัฐกับ เมอร์ริล ลินช์ แผนการณ์ของมาร์เวลคือเปิดตัวละครหลักของพวกเขาในภาพยนตร์แต่ละเรื่อง แล้วรวมเข้าด้วยกันในภาพยนตร์ข้ามฝั่ง อาราด ผู้ซึ่งสงสัยในแผนการณ์นี้ ยืนกรานว่าเป็นเพราะชื่อเสียงของเขาที่ช่วยให้สตูดิโอสามารถจัดหาเงินทุนเริ่มต้นมาได้ เขาลาออกในปีถัดมา

จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล 
เควิน ไฟกี ช่วยสร้างสื่อที่ใช้จักรวาลร่วมกันจากทรัพย์สินของมาร์เวล

ในปี ค.ศ. 2007 ไฟกีในขณะนั้นอายุ 33 ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสตูดิโอ มาร์เวลสตูดิโอส์ได้จัดตั้งคณะกรรมการสร้างสรรค์จำนวนหกคนที่คุ้นเคยกับตำนานหนังสือการ์ตูนเพื่อรักษาความมั่นคงทางศิลปะ ได้แก่ ไฟกี, หลุยส์ เดสโปซิโต ประธานร่วมของมาร์เวลสตูดิโอส์, แดน บักลีย์ ประธานสำนักพิมพ์, โจ เคสซาดา หัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ของมาร์เวล, ไบรอัน ไมเคิล แบนดิส นักเขียนและ แอลัน ไฟน์ ประธานมาร์เวลเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลคณะกรรมการ ในตอนแรก ไฟกีกล่าวถึงความต่อเนื่องของการเล่าเรื่องร่วมกันของภาพยนตร์เหล่านี้ว่า "จักรวาลโรงภาพยนตร์มาร์เวล (Marvel Cinema Universe)" แต่ต่อมาใช้คำว่า "จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล (Marvel Cinematic Universe)" เนื่องจากแฟรนไชส์ขยายไปสู่สื่ออื่น ๆ ชื่อนี้จึงถูกใช้โดยบางคนเพื่ออ้างถึงภาพยนตร์เท่านั้น มาร์เวลกำหนดให้จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลเป็น เอิร์ธ-199999 ภายในความต่อเนื่องในพหุภพของการ์ตูนของบริษัท

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 มาร์เวลสตูดิโอส์จัดงานแถลงข่าวเพื่อประกาศชื่อภาพยนตร์ของพวกเขาในเฟสสาม ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 หลังมาร์เวลสตูดิโอส์ถูกรวมเข้ากับ วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ โดยไฟกีขึ้นตรงต่อ แอลัน ฮอร์น ประธานวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ แทนที่ ไอแซก เพิร์ลมัตเตอร์ ซีอีโอของมาร์เวลเอนเตอร์เทนเมนต์ คณะกรรมการสร้างสรรค์ของสตูดิโอจะมีส่วนร่วม "เล็กน้อย" ในภาพยนตร์ต่อจากนี้ แม้ว่าพวกเขาจะยังคงให้คำปรึกษากับ มาร์เวลเทเลวิชัน ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของเพิร์ลมัตเตอร์ การตัดสินใจครั้งสำคัญในภาพยนตร์ทั้งหมดต่อจากนี้จะต้องกระทำโดย ไฟกี, เดสโปซิโตและวิกตอเรีย อลอนโซ ไฟกีกล่าวถึง อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก (2019) จะให้ "จุดจบที่สมบูรณ์ที่สุด" แก่ภาพยนตร์และเส้นเรื่องก่อนหน้านั้นกับแฟรนไชส์ที่มี "สองช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทุกอย่างก่อน [เผด็จศึก] และทุกอย่างหลังจากนี้"

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 เดอะวอลต์ดิสนีย์ ตกลงซื้อทรัพย์สินจาก ทเวนตีเฟิสต์เซนจูรีฟอกซ์ ร่วมไปถึงทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ธุรกรรมปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2019 การเข้าซื้อกิจการได้เห็นการกลับมาของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ เดดพูล, ตัวละครเอ็กซ์เมนและตัวละครแฟนแทสติกโฟร์ คืนสู่มาร์เวลสตูดิโอส์ ซึ่งจะ "สร้างโลกที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและซับซ้อนมากขึ้นของตัวละครและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกัน" ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 ประกาศรายชื่อสื่อในเฟสสี่ที่งาน ซานดิเอโกคอมมิก-คอน ซึ่งประกอบด้วยภาพยนตร์และละครชุดบนดิสนีย์+ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ในวันนักลงทุนของดิสนีย์ มาร์เวลสตูดิโอส์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์และละครชุดที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ และประกาศละครชุดและรายการพิเศษเพิ่มเติมอีกบนดิสนีย์+ และยืนยันว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของเฟสสี่ องค์ประกอบแรกบางส่วนที่ก่อนหน้านี้ถูกควบคุมโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์แล้วรวมเข้ากับจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ได้แก่ องค์กร ซ.อ.ร์.ด. ใน วันด้าวิสชั่น ละครชุดบนดิสนีย์+ และ มาดริพัวร์ ประเทศสมมติในละครชุด เดอะฟอลคอนและเดอะวินเทอร์โซลเจอร์

โทรทัศน์

มาร์เวลเทเลวิชัน

จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล 
เจฟ โลบ อดีตหัวหน้าของมาร์เวลเทเลวิชัน เคยทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างให้กับละครชุดทุกเรื่องบน เอบีซี, เน็ตฟลิกซ์, ฮูลูและฟรีฟอร์ม

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 มาร์เวลเทเลวิชันก่อตั้งขึ้นโดยมี เจฟ โลบ เป็นหัวหน้า ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 มาร์เวลเทเลวิชันเข้าสู่การเจรจากับเอบีซี เพื่อสร้างรายการที่ดำเนินเรื่องอยู่ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ในที่สุดเครือข่ายก็สร้างละครชุด ชี.ล.ด์. ทีมมหากาฬอเวนเจอร์ส, เอเจนต์ คาร์เตอร์ สายลับสาวกู้โลก และ อินฮิวแมนส์ ซึ่งร่วมสร้างกับ ไอแมกซ์คอร์ปอเรชัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ดิสนีย์จัดหาละครชุดคนแสดงให้กับเน็ตฟลิกซ์ ซึ่งได้แก่ แดร์เดวิล, เจสซิก้า โจนส์, ลุค เคจ และ ไอรอน ฟิสต์ นำไปสู่ละครชุดสั้น เดอะ ดีเฟนเดอร์ส ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 เน็ตฟลิกซ์สั่งละครชุด เดอะ พันนิชเชอร์ ละครชุดแยกของ แดร์เดวิล ในเดือนกุมภาพันธ์ เน็ตฟลิกซ์ยกเลิดละครชุดทั้งหมดของมาร์เวล ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ไฟกีกล่าวว่า "ไม่เคยพูดว่าไม่เคย" ที่อาจจะฟื้นฟูละครชุด แต่สังเกตว่ามาร์เวลสตูดิโอส์ให้ความสำคัญกับละครชุดบนดิสนีย์+ ใหม่ของพวกเขาที่ประกาศในเวลานั้น ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 ช่องฟรีฟอร์ม เครือข่ายเคเบิลซึ่งดิสนีย์เป็นเจ้าของ ประกาศ โคล้กและแดกเกอร์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 มาร์เวลประกาศว่า รันอะเวย์ส ได้รับคำสั่งให้ละครชุดจากฮูลู ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 มาร์เวลประกาศว่า เฮลสตรอม ได้รับการอนุมัติจากฮูลู

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 การปรับโครงสร้างองค์กรเพิ่มเติมทำให้ไฟกีได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ของมาร์เวลเอนเตอร์เทนเมนต์ โดยมาร์เวลเทเลวิชันกลายเป็นส่วนหนึ่งของมาร์เวลสตูดิโอส์และผู้บริหารของมาร์เวลเทเลวิชันขึ้นตรงต่อไฟกี อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 มาร์เวลเทเลวิชันถูกรวมเข้ากับมาร์เวลสตูดิโอส์ โดยที่มาร์เวลสตูดิโอส์เข้ามารับช่วงต่อสร้างละครชุดปัจจุบันในขณะนั้น ไม่มีละครชุดเพิ่มเติมจากมาร์เวลเทเลวิชันที่ได้รับการพิจารณาให้พัฒนาต่อ

มาร์เวลสตูดิโอส์

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ดิสนีย์กำลังมองหาการพัฒนาละครชุดมาร์เวลเรื่องใหม่ เพื่อนำมาลงในบริการสตรีมมิง ดิสนีย์+ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ไฟกี กล่าวว่าได้เริ่มการสนทนากับดิสนีย์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับมาร์เวลสตูดิโอส์กับบริการสตรีมมิง เนื่องจากไฟกีรู้สึกว่าบริการนี้เป็น "สิ่งสำคัญสำหรับบริษัท" ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2018 มีรายงานว่ามาร์เวลสตูดิโอส์กำลังพัฒนาละครชุดจำกัด โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวละคร "ชั้นสอง" จากภาพยนตร์ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลที่ไม่มีและไม่น่าจะมีภาพยนตร์ของตัวเอง ละครชุดแต่ละเรื่องคาดว่าจะมีหกถึงแปดตอน และจะสร้างโดยมาร์เวลสตูดิโอส์มากกว่าจะเป็นมาร์เวลเทเลวิชัน โดยไฟกีได้รับ "บทบาทภาคปฏิบัติ" ในการพัฒนาละครชุดแต่ละเรื่อง ไฟกีกล่าวว่าละครชุดที่ได้รับการพัฒนาสำหรับบริการสตรีมมิงจะ "บอกเล่าเรื่องราว... ที่เราไม่สามารถบอกได้จากประสบการณ์ในโรงภาพยนตร์ – การเล่าเรื่องในรูปแบบที่ยาวกว่า" นอกจากนี้ เขายังเสริมด้วยว่าการที่ดิสนีย์ขอให้สร้างละครชุดเหล่านี้ "เติมพลังให้ทุกคนอย่างสร้างสรรค์" ภายในมาร์เวลสตูดิโอส์เนื่องจากพวกเขาสามารถ "เล่นในสื่อใหม่และโยนกฎออกไปนอกหน้าต่างในแง่ของโครงสร้างและรูปแบบ"

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 ไฟกี ประกาศในงานซานดิเอโกคอมิก-คอนว่าละครชุดจะเป็นส่วนหนึ่งของเฟสสี่ ในเดือนต่อมา มีการประกาศละครชุดดิสนีย์+ เพิ่มเติมอีกสามเรื่องในงาน D23 และประกาศเพิ่มอีกสี่เรื่องในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 เฟสสี่ยังประกอบด้วย วอตอิฟ..? แอนิเมชันชุดเรื่องแรกจากมาร์เวลสตูดิโอส์ และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 สตูดิโอกำลังสร้าง "สาขาแอนิเมชันและสตูดิโอขนาดเล็ก" เพื่อเน้นเนื้อหาแอนิเมชันนอกเหนือจาก วอตอิฟ..?

ภาพยนตร์

มาร์เวลสตูดิโอส์ฉายภาพยนตร์เป็นกลุ่มที่เรียกว่า "เฟส" (อังกฤษ: Phases)

ดิอินฟินิตีซากา

ภาพยนตร์ในสามเฟสแรกนั้นเรียกรวมกันว่า "ดิอินฟินิตีซากา" โดยเฟสหนึ่งประกอบด้วย ไอรอนแมน มหาประลัย คน เกราะ เหล็ก (2008), มนุษย์ตัวเขียวจอมพลัง (2008), ไอรอนแมน 2 (2010), ธอร์ เทพเจ้าสายฟ้า (2011), กัปตันอเมริกา: อเวนเจอร์ที่ 1 (2011) และปิดท้ายด้วย ดิ อเวนเจอร์ส (2012) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ข้ามฝั่ง เฟสสองประกอบด้วย ไอรอนแมน 3 (2013), ธอร์ เทพเจ้าสายฟ้าโลกาทมิฬ (2013), กัปตันอเมริกา: มัจจุราชอหังการ (2014), รวมพันธุ์นักสู้พิทักษ์จักรวาล (2014), อเวนเจอร์ส: มหาศึกอัลตรอนถล่มโลก (2015) และ มนุษย์มดมหากาฬ (2015) เฟสสามประกอบด้วย กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก (2016), จอมเวทย์มหากาฬ (2016), รวมพันธุ์นักสู้พิทักษ์จักรวาล 2 (2017), สไปเดอร์แมน: โฮมคัมมิ่ง (2017), ธอร์: ศึกอวสานเทพเจ้า (2017), แบล็ค แพนเธอร์ (2018), อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล (2018), แอนท์-แมน และ เดอะ วอสพ์ (2018), กัปตัน มาร์เวล (2019), อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก (2019) และ สไปเดอร์แมน: ฟาร์ ฟรอม โฮม (2019)

เดอะมัลติเวิร์สซากา

ภาพยนตร์ในสามเฟสที่สองนั้นเรียกรวมกันว่า "เดอะมัลติเวิร์สซากา" และรวมถึงละครชุดทางโทรทัศน์บนดิสนีย์+ เฟสสี่ประกอบด้วย แบล็ค วิโดว์ (2021), ชาง-ชี กับตำนานลับเท็นริงส์ (2021), ฮีโร่พลังเทพเจ้า (2021), สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม (2021), จอมเวทย์มหากาฬ ในมัลติเวิร์สมหาภัย (2022), ธอร์: ด้วยรักและอัสนี (2022) และ แบล็ค แพนเธอร์: วาคานด้าจงเจริญ (2022) เฟสห้าประกอบด้วย แอนท์-แมน และ เดอะ วอสพ์: ตะลุยมิติควอนตัม (2023), รวมพันธุ์นักสู้พิทักษ์จักรวาล 3 (2023), เดอะ มาร์เวลส์ (2023), เดดพูล วูล์ฟเวอรีน (2024), กัปตัน อเมริกา: ศึกฮีโร่จักรวาลใหม่ (2025) และ ธันเดอร์โบลต์ส (2025) เฟสหกประกอบด้วย เดอะแฟนแทสติกโฟร์ (2025), เบลด (2025), อเวนเจอร์ส 5 (2026) และ อเวนเจอร์ส: ซีเครตวอร์ส (2027)

ละครโทรทัศน์

ละครชุดโดยมาร์เวลเทเลวิชัน

มาร์เวลเทเลวิชัน ผลิตละครโทรทัศน์หลายเรื่องที่ดำเนินเรื่องอยู่ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ผ่านการออกอากาศ, สตรีมมิงและเคเบิล ละครชุด "มาร์เวล ฮีโรส์" ซึ่งออกอากาศทางช่องเอบีซี ได้แก่ ชี.ล.ด์. ทีมมหากาฬอเวนเจอร์ส (2013–2020), เอเจนต์ คาร์เตอร์ สายลับสาวกู้โลก (2015–2016) และ อินฮิวแมนส์ (2017) ละครชุด "มาร์เวล ไนท์ส" ซึ่งสตรีมมิงบนเน็ตฟลิกซ์ ได้แก่ แดร์เดวิล (2015–2018), เจสซิก้า โจนส์ (2015–2019), ลุค เคจ (2016–2018), ไอรอน ฟิสต์ (2017–2018), มินิซีรีส์ข้ามฝั่ง เดอะ ดีเฟนเดอร์ส (2017) และ เดอะ พันนิชเชอร์ (2017–2019) ละครชุดสำหรับเยาวชน ได้แก่ รันอะเวย์ส (2017–2019) สตรีมมิงบนฮูลู และ โคล้กและแดกเกอร์ (2018–2019) ออกอากาศทางช่องฟรีฟอร์ม ขณะที่ เฮลสตรอม (2020) ซึ่งสตรีมมิงบนฮูลู แต่เดิมตั้งใจให้เป็นจุดเริ่มต้นของแฟรนไชส์ การผจญภัยสู่ความกลัว ที่วางแผนไว้

ละครชุดโดยมาร์เวลสตูดิโอส์

เฟสสี่ประกอบด้วยละครชุดดิสนีย์+ ได้แก่ วันด้าวิสชั่น (2021), เดอะฟอลคอนและเดอะวินเทอร์โซลเจอร์ (2021), ปีที่หนึ่งของ โลกิ (2021), ปีที่หนึ่งของแอนิเมชัน วอตอิฟ...? (2021), ฮอคอาย (2021), มูนไนท์ (2022), มิสมาร์เวล (2022) และ ชี-ฮัลค์: ทนายสายลุย (2022) ส่วนรายการพิเศษ แวร์วูล์ฟ บาย ไนท์ (2022) และ รวมพันธุ์นักสู้พิทักษ์จักรวาล ตอนพิเศษรับวันหยุด (2022) ก็รวมอยู่ในเฟสนี้เช่นกัน เฟสห้าประกอบด้วยปีที่สองของ วอตอิฟ...? (2023), มหันตภัยอำพราง (2023), เอคโค (2023), ปีที่สองของ โลกิ (2023), ไอรอนฮาร์ต (2023), อากาธา: โคเวนออฟเคออส (2023) และ แดร์เดวิล: บอร์นอะเกน (2024)

นักแสดงและตัวละครประจำ

รายการตัวบ่งชี้

ส่วนนี้รวมถึงตัวละครที่จะปรากฏตัวหรือปรากฏตัวแล้วในภาพยนตร์/ละครชุดอย่างน้อยสามเรื่องในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลและมีชื่ออยู่ในเครดิตอย่างน้อยสองแฟรนไชส์

  • ส่วนที่ว่างเป็นสีเทาเข้ม หมายถึง ตัวละครไม่ได้อยู่ในสื่อหรือว่าการปรากฏตัวของตัวละครยังไม่ได้รับการยืนยัน
  •  P หมายถึง ปรากฏตัวเป็นภาพถ่ายในภาพยนตร์
  •  V หมายถึง ปรากฏตัวเฉพาะเสียง
ตัวละคร ภาพยนตร์ ละครชุด ภาพยนตร์สั้น ดิจิทัลซีรีส์ แอนิเมชัน
บรูซ แบนเนอร์
ฮัลค์
เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน
ลู เฟอร์ริกโนV
มาร์ก รัฟฟาโล
มาร์ก รัฟฟาโล มาร์ก รัฟฟาโล
เจมส์ "บักกี" บาร์นส์
วินเทอร์ โซลเยอร์ / ไวต์ วูล์ฟ
เซบาสเตียน สแตน เซบาสเตียน สแตน
คลินต์ บาร์ตัน
ฮอว์กอาย
เจเรมี เรนเนอร์ เจเรมี เรนเนอร์
เพ็กกี คาร์เตอร์ เฮย์ลีย์ แอตเวลล์ เฮย์ลีย์ แอตเวลล์
ชารอน คาร์เตอร์
เอเจนต์ 13 / พาวเวอร์โบรกเกอร์
เอมิลี แวนแคมป์
ฟิล โคลสัน คลาร์ก เกรกก์
แดร็กซ์ผู้พิฆาต เดฟ บอทิสตา
นิค ฟิวรี ซามูเอล แอล. แจ็กสัน ซามูเอล แอล. แจ็กสัน
กาโมรา โซอี ซัลดานา
กรูท วิน ดีเซลV
มาเรีย ฮิลล์ โคบี สมัลเดอส์
แฮโรลด์ "แฮปปี" โฮแกน จอน แฟฟโรว์
สกอตต์ แลง
แอนท์-แมน
พอล รัด พอล รัด
ดาร์ซี ลูอิส แคท เดนนิงส์
โลกิ ทอม ฮิดเดิลสตัน ทอม ฮิดเดิลสตัน
วันด้า แม็กซิมอฟฟ์
สการ์เล็ตวิทช์
อลิซาเบธ โอลเซน
เนบิวลา คาเรน กิลแลน คาเรน กิลแลน
โอโคเย ดาไน กูริรา
ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์
สไปเดอร์-แมน
ทอม ฮอลแลนด์
เวอร์จิเนีย "เปปเปอร์" พอตส์ กวินเน็ธ พัลโทรว์
ปีเตอร์ ควิลล์
สตาร์-ลอร์ด
คริส แพร็ตต์ คริส แพร็ตต์
โมนิกา แรมโบ อะกิระ อักบาร์
ทียอนาห์ แพร์ริส
ทียอนาห์ แพร์ริส
เจมส์ "โรดีย์" โรดส์
วอร์มะชีน / ไอรอนเพเทรียต
เทร์เรนซ์ ฮาวเวิร์ด
ดอน ชีเดิล
ดอน ชีเดิล
ร็อคเก็ต แบรดลีย์ คูเปอร์V
สตีฟ โรเจอร์ส
กัปตันอเมริกา
คริส อีแวนส์
นาตาชา โรมานอฟฟ์
แบล็ควิโดว์
สการ์เลตต์ โจแฮนส์สัน
ฮาวเวิร์ด สตาร์ก เจอราร์ด แซนเดอร์สP
จอห์น สแลตเทอรี
โดมินิก คูเปอร์
โดมินิก คูเปอร์ โดมินิก คูเปอร์
โทนี สตาร์ก
ไอรอนแมน
รอเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์
ดร. สตีเฟน สเตรนจ์ เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์
ทาลอส เบน เมนเดลโซห์น
ทีชัลลา
แบล็กแพนเทอร์
แชดวิก โบสแมน แชดวิก โบสแมน
ธอร์ คริส เฮมส์เวิร์ท คริส เฮมส์เวิร์ท
วิชัน
จาร์วิส
พอล เบ็ตตานีย์
แซม วิลสัน
ฟัลคอน / กัปตันอเมริกา
แอนโทนี แมกกี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล การพัฒนาจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ภาพยนตร์จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ละครโทรทัศน์จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล นักแสดงและตัวละครประจำจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล อ้างอิงจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล แหล่งข้อมูลอื่นจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลจักรวาลมาร์เวลภาษาอังกฤษมาร์เวลคอมิกส์มาร์เวลสตูดิโอส์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยรายการสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์พระมหากษัตริย์ไทยรายชื่อรัฐของสหรัฐเรียงตามลำดับการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีประเทศออสเตรียจริยา แอนโฟเน่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารสำนักพระราชวังที-อารากรณิศ เล้าสุบินประเสริฐมหัพภาคฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์เครยอนชินจังฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2เจนี่ อัลภาชน์ ณ ป้อมเพชรสเตรนเจอร์ ธิงส์พชร จิราธิวัฒน์วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์สุรสีห์ ผาธรรมเหี้ยรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดธี่หยดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ชาริล ชับปุยส์ฟุตบอลทีมชาติบราซิลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าพจมาน ณ ป้อมเพชรประเทศญี่ปุ่นโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลานาฬิกาหกชั่วโมงชีอะฮ์สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติเกาะกูดประเทศเวียดนามเจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ไททานิค (ภาพยนตร์)กีบ (สกุลเงิน)ศรุต วิจิตรานนท์โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยกรุงเทพมหานครและปริมณฑลบิลลี ไอลิชประเทศบราซิลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพรหมลิขิตบริษัทกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)อสุภโรงเรียนนายร้อยตำรวจสหประชาชาติคิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสเมืองพัทยาอนิเมะมุฮัมมัดโรงเรียนเทพศิรินทร์ทวิตเตอร์อาเลฆันโดร การ์นาโชลิซ่า (แร็ปเปอร์)นักเตะแข้งสายฟ้ารายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โอดะ โนบูนางะสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรสุภาพบุรุษจุฑาเทพเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองประเทศไทยครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39ข่าวช่อง 7HDเจษฎ์ โทณะวณิกเอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดการสมรสเพศเดียวกันโรงเรียนสตรีวิทยา🡆 More