ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

อวัยวะสำคัญของระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ อาทิ อวัยวะเพศภายนอก (องคชาตและช่องสังวาส) และอวัยวะภายในจำนวนมากได้แก่ต่อมเพศซึ่งผลิตเซลล์สืบพันธุ์ (อัณฑะและรังไข่) โรคในระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ซึ่งมักจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นพบได้บ่อยและแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์
แผนภาพแสดงระบบสืบพันธุ์เพศหญิงของมนุษย์
ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์
แผนภาพแสดงระบบสืบพันธุ์เพศชายของมนุษย์

โดยทั่วไป สัตว์มีแกนสันหลังชนิดอื่นๆ มีระบบสืบพันธุ์ที่ประกอบด้วยต่อมเพศ ท่อและรูเปิดคล้ายคลึงกับมนุษย์ แต่ก็มีความหลากหลายทางกายภาพอันเกิดจากการปรับตัวในสัตว์มีแกนสันหลังทุกกลุ่ม

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

การสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้นแบบปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ ในกระบวนการดังกล่าวองคชาตของเพศชายจะสอดใส่ในช่องคลอดของเพศหญิงจนกระทั่งเพศชายหลั่งน้ำอสุจิซึ่งประกอบด้วยอสุจิประมาณ 70 ล้านตัวเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายจำนวนมากจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารกในครรภ์ขึ้นภายในมดลูกของเพศหญิงซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 เดือน การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอด การคลอดนั้นต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเปิดออกของปากมดลูก แล้วทารกจึงจะผ่านออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครองเป็นเวลาหลายปี หนึ่งในการดูแลดังกล่าวคือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งต้องอาศัยต่อมน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านมของเพศหญิง

ในมนุษย์มีการเจริญและพัฒนาของระบบสืบพันธุ์อย่างมากมาย นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกอวัยวะในระบบสืบพันธุ์แล้วนั้น ยังพบการเปลี่ยนแปลงอีกในลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิ (secondary sexual characteristics)

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ 
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย 1. อัณฑะ, 2. เอพิดิไดมิส, 3. คอร์ปัส คาร์เวอร์โนซา, 4. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย, 5. เส้นสองสลึง, 6. รูเปิดท่อปัสสาวะ , 7. ส่วนหัวอวัยวะเพศ, 8. คอร์ปัส สปองจิโอซัม, 9. องคชาต, 10. ถุงอัณฑะ

ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะที่อยู่ภายนอกร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ หน้าที่หลักโดยตรงของระบบสืบพันธุ์เพศชายคือการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชายหรือสเปอร์มาโทซัว (spermatozoa) เพื่อใช้ผสมพันธุ์กับไข่

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือการสร้างและเก็บตัวอสุจิ การสร้างตัวอสุจิเกิดขึ้นภายในอัณฑะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะซึ่งช่วยควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม อสุจิที่ยังไม่เจริญเต็มที่จะเคลื่อนที่ไปยังเอพิดิไดมิส (epididymis) เพื่อพัฒนาและกักเก็บ อวัยวะในกลุ่มที่สองคือต่อมสร้างของเหลวในการหลั่งน้ำอสุจิซึ่งได้แก่ถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicles), ต่อมลูกหมาก (prostate) และหลอดนำอสุจิ (vas deferens) และในกลุ่มสุดท้ายคืออวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศและหลั่งน้ำอสุจิในเพศหญิงได้แก่องคชาต ท่อปัสสาวะ หลอดนำอสุจิ และต่อมคาวเปอร์

ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศชายได้แก่ การมีร่างกายสูงใหญ่ โครงร่างกายมีกล้ามเนื้อมากขึ้น เสียงห้าวทุ้ม มีขนตามใบหน้าและลำตัว ไหล่กว้างขึ้น การเจริญของลูกกระเดือกฮอร์โมนที่สำคัญในเพศชายคือแอนโดรเจนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทสโทสเตอโรน

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ 
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงภายนอก 1. ขนหัวหน่าว, 2.หนังหุ้มคลิตอริส, 3. คลิตอริส, 4. แคมใหญ่, 5. แคมเล็ก (ปิดช่องคลอด), 6. ฝีเย็บ

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วยอวัยวะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ช่องคลอดทำหน้าที่รองรับอสุจิจากเพศชาย, มดลูกซึ่งช่วยรองรับทารกในครรภ์ และรังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่ เต้านมก็เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระยะการดูแลทารก

ช่องคลอดจะเปิดออกภายนอกที่โยนีซึ่งประกอบด้วยแคม คลิตอริส และท่อปัสสาวะ ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์บริเวณเหล่านี้จะหล่อลื่นด้วยเมือกซึ่งคัดหลังจากต่อมบาร์โธลีน (Bartholin's glands) ช่องคลอดต่อเนื่องกับมดลูกโดยมีปากมดลูกอยู่ระหว่างกลาง ในขณะที่มดลูกต่อเนื่องกับรังไข่ผ่านทางท่อนำไข่ ในทุกๆ ช่วงรอบประมาณ 28 วันรังไข่จะปล่อยไข่ออกมาผ่านท่อนำไข่เข้าไปยังมดลูก เยื่อบุมดลูกซึ่งดาดอยู่ด้านในมดลูกและไข่ที่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิจะไหลออกและถูกกำจัดออกไปทุกรอบเดือน ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า การมีประจำเดือน (menstruation)

ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศหญิงได้แก่ การมีร่างกายเล็กกว่าเพศชาย ร่างกายมีร้อยละของไขมันสูง สะโพกกว้างขึ้น การเจริญของต่อมน้ำนมและเต้านมขยายขนาด ฮอร์โมนเพศที่สำคัญในเพศหญิงคือเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน

อ้างอิง

Tags:

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ อ้างอิงระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

แอน อรดีจังหวัดของประเทศไทยภรภัทร ศรีขจรเดชาสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดรัชชานนท์ สุประกอบสมองเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกกาจบัณฑิต ใจดีมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)อนุชา นาคาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)เพลงเดนิส เจลีลชา คัปปุนรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถทักษิณ ชินวัตรเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณบรรดาศักดิ์อังกฤษมิตร ชัยบัญชากระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)นิภาภรณ์ ฐิติธนการจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นรัตนวดี วงศ์ทองฟุตซอลโลก 2021จังหวัดบุรีรัมย์กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรายชื่อประเทศในทวีปยุโรปตามขนาดพื้นที่รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสูตรลับตำรับดันเจียนหลิว เจียหลิงนิสิต สินธุไพรราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนสุนิสา สุขบุญสังข์นามสกุลพระราชทานวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารกระทรวงในประเทศไทยสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)จังหวัดหนองบัวลำภูมนตรี พงษ์พานิชสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สอลิชา หิรัญพฤกษ์วัดสระเกศราชวรมหาวิหารณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์ลิโอเนล เมสซิจังหวัดพัทลุงรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชบางกอกคณิกามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีกองทัพ พีคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมุฮัมมัด เศาะลาห์ปณิธาน บุตรแก้วเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรจังหวัดร้อยเอ็ดยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเซเรียอาศิริลักษณ์ คองนพดล ปัทมะพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาสมเด็จพระเพทราชาศรีรัศมิ์ สุวะดีหลานม่าระบบ🡆 More