ยัสเซอร์ อาราฟัต

ยัสเซอร์ อาราฟัต (อาหรับ: ياسر عرفات ยาซิร อะเราะฟาต; 24 สิงหาคม พ.ศ.

2472 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) เป็นที่รู้จักในชื่อในการรบว่า อะบู อัมมาร์ (อาหรับ: ابو عمّار) ชื่อจริงคือ โมฮัมหมัด อับดุล ราห์มาน อัลดุล ราอูฟ อาราฟัต อัล กุดวา (อาหรับ: محمد عبد الرؤوف القدوة الحسيني) เป็นผู้นำชาวปาเลสไตน์ เป็นประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ประธานองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) และผู้นำฟะตะห์ (Fatah) พรรคการเมืองและอดีตกลุ่มกำลังกึ่งทหารที่เขาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2502 อาราฟัตใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในการต่อสู้อิสราเอลเพื่อการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของปาเลสไตน์ แต่จากเดิมที่คัดค้านการมีอยู่ของอิสราเอล เขาเปลี่ยนท่าทีของตนใน พ.ศ. 2531 เมื่อเขายอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 อาราฟัตและขบวนการของเขาปฏิบัติการจากหลายประเทศอาหรับ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2503 และต้นปี พ.ศ. 2513 ฟะตะห์เผชิญหน้ากับจอร์แดนในสงครามกลางเมืองสั้น ๆ หลังถูกบังคับให้ออกจากจอร์แดนและเข้าไปในเลบานอน อาราฟัตและฟะตะห์เป็นเป้าสำคัญของอิสราเอลในการบุกครองเลบานอนใน พ.ศ. 2521 และ 2529 ทั้งสองครั้ง

ยัสเซอร์ อาราฟัต
ياسر عرفات
ยัสเซอร์ อาราฟัต
ยัสเซอร์ อาราฟัตขณะกล่าวปาฐากถา ระหว่างการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก ค.ศ. 2001
ประธานาธิบดีแห่งรัฐปาเลสไตน์ คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
5 กรกฎาคม 1994 – 11 พฤศจิกายน 2004
นายกรัฐมนตรี
  • Mahmoud Abbas
  • Ahmed Qurei
ถัดไปRawhi Fattouh (รักษาการณ์)
ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
4 กุมภาพันธ์ 1969 – 29 ตุลาคม 2004
ก่อนหน้าYahya Hammuda
ถัดไปMahmoud Abbas
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มุฮัมมัด อับดุรเราะอูฟ อะเราะฟาต อัลกุดวะฮ์ อัลฮุซัยนี

24 สิงหาคม ค.ศ. 1929(1929-08-24)
ไคโร, ราชอาณาจักรอียิปต์
เสียชีวิต11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004(2004-11-11) (75 ปี)
Clamart, Hauts-de-Seine, ฝรั่งเศส
เชื้อชาติชาวปาเลสไตน์
ศาสนาSunni Islam
พรรคการเมืองฟาตาห์
คู่สมรสSuha Arafat (1990–2004)
บุตรZahwa Arafat (born 1995)
วิชาชีพCivil engineer
ลายมือชื่อยัสเซอร์ อาราฟัต

อาราฟัตยังเป็นบุคคลที่เป็นที่ถกเถียงกันมาก ซึ่งมรดกของเขายังเป็นที่พิพาทกันอย่างกว้างขวาง เขา "ได้รับความเคารพนับถือจากชาวอาหรับจำนวนมาก" และชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองหรืออยู่กลุ่มแยกใดก็ตาม โดยมองเขาว่าเป็น นักสู้เพื่อเสรีภาพ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความปรารถนาชาติของพวกเขา อย่างไรก็ดี เขายังถูกบริภาษเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาวอิสราเอลจำนวนมาก ซึ่งมองว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้ายที่รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ระเบิดและการเสียชีวิตนับหลายร้อย นักวิจารณ์ยังกล่าวหาว่าอาราฟัตฉ้อราษฎร์บังหลวงขนานใหญ่ สั่งสมความมั่งคั่งส่วนบุคคลอย่างลับ ๆ ซึ่งประเมินกันว่ามีมูลค่าถึง 1,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ใน พ.ศ. 2545 แม้สภาพเศรษฐกิจของปาเลสไตน์จะตกต่ำลง

ในช่วงหลัง อาราฟัตเข้าร่วมเจรจาหลายครั้งกับรัฐบาลอิสราเอลเพื่อยุติความขัดแย้งนานหลายทศวรรษระหว่างอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ซึ่งรวมถึงการประชุมมาดริดใน พ.ศ. 2534 ข้อตกลงกรุงออสโล พ.ศ. 2536 และการประชุมสุดยอดแคมป์เดวิด พ.ศ. 2543 คู่แข่งทางการเมืองของเขา รวมทั้งกลุ่มอิสลามและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ฝ่ายซ้าย มักประณามเขาว่าทุจริต หรือยอมให้กับรัฐบาลอิสราเอลมากเกินไป ใน พ.ศ. 2537 อาราฟัตได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับยิตส์ฮัก ราบินและ ชิมอน เปเรส สำหรับการเจรจาที่กรุงออสโล ในช่วงนี้ ฮะมาสและกลุ่มพร้อมรบอื่น ๆ เถลิงอำนาจ และสั่นคลอนรากฐานของอำนาจที่ฟะตะห์ภายใต้การนำของอาราฟัตได้สถาปนาขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์

ปลาย พ.ศ. 2547 หลังถูกกักกันในบริเวณบ้านของเขาเป็นเวลากว่าสองปีโดยกองทัพอิสราเอล อาราฟัตก็ล้มป่วย โคม่าและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 อายุได้ 75 ปี สำหรับสาเหตุของอาการป่วยของเขานั้นยังมีการโต้เถียงกัน

ประวัติ

อาราฟัตเกิดเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ในครอบครัวชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอียิปต์ ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซา ได้ไปใช้ชีวิตวัยเด็ก และวัยรุ่นที่กรุงไคโร กับพี่น้องชายหญิงอีกหกคน ทำให้สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับครอบครัวที่อาศัยในอียิปต์ไว้ได้ เขาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมฟารุก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

บิดาของอาราฟัตเป็นพ่อค้า และมีบุตรชายบุตรสาวรวมทั้งสิ้นเจ็ดคน สถานที่เกิด รวมทั้งวันเกิดของอาราฟัตยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน คาดว่าเขาเกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ แต่ก็มีบางฝ่าย ที่บอกว่าอาราฟัตเกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่นครเยรูซาเลม การค้นพบสูติบัติและเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับอาราฟัต ของมหาวิทยาลัยแห่งกรุงไคโร ทำให้ข้อถกเถียงเกี่ยวกับสถานที่เกิดและวันเกิดของอาราฟัตเป็นอันยุติลง (อลัน ฮาร์ท ผู้เขียนชีวประวัติของอาราฟัตก็ยอมรับแล้วว่าอาราฟัตเกิดที่กรุงไคโร)

ชื่อที่บิดามารดาของอาราฟัตตั้งให้เมื่อแรกเกิด คือ มุฮัมมัด อับดุรเราะอูฟ อะเราะฟาต อัลกุดวะฮ์ อัลฮุซัยนี นายสะอีด เค. อะบูรีช ผู้เขียนชีวประวัติของอาราฟัตชาวปาเลสไตน์ได้อธิบาย (ในหนังสือ อาราฟัต: จากผู้พิทักษ์สู่เผด็จการ, สำนักพิมพ์บลูมสเบอรรี, พ.ศ. 2541, หน้า 7) ไว้ว่า "มุฮัมมัด อับดุลรอห์มาน เป็นชื่อต้นของเขา อับดุรเราะอูฟ เป็นชื่อของบิดา อะรอฟาตเป็นชื่อของปู่ อัลกุดวะหฺเป็นนามสกุล และอัลฮุซัยนีย์เป็นชื่อของชนเผ่าที่ครอบครัวของเขาเป็นสมาชิกอยู่" บางคนบอกว่าเขาสืบเชื้อสายชนเผ่าฮุซัยนีย์สายเยรูซาเลมจากมารดา (โดยใช้ชื่อว่าอาบุซซาอูด) แต่ชื่อดังกล่าวก็จะขัดแย้งกับชื่อที่สืบเชื้อสายจากทางสายบิดา

อาราฟัตใช้ชีวิตส่วนใหญ่ช่วงวัยเยาว์ในกรุงไคโร ยกเว้นช่วงเวลาสี่ปีหลังการเสียชีวิตของมารดา ระหว่างอายุห้าถึงเก้าขวบ ที่เขาไปอาศัยอยู่กับอาในเยรูซาเลม ในปีพ.ศ. 2492 เขาได้เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยกษัตริย์ฟาฮัดที่ 1 ในกรุงไคโร ที่สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิศวกรรมโยธา เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา เขาได้ร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มพี่น้องมุสลิม และ สมาคมนักศึกษาปาเลสไตน์ จนได้ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรในปี พ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2499 ในปี พ.ศ. 2499 เขาได้เป็นทหารในกองทัพอียิปต์ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ อาราฟัตแต่งงานเมื่ออายุค่อนข้างมากแล้วกับซูฮา อาราฟัตเลขานุการของเขา ผู้มีวัยอ่อนกว่าถึง 34 ปี และได้ให้กำเนิดบุตรสาวชื่อ ซาห์วา เมื่อปี พ.ศ. 2538 ภริยาของเขาอาศัยอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ช่วงที่สองของนโยบายอินติฟาเฎาะหฺ (การรณรงค์เพื่อต่อต้านการยึดครองของทหารอิสราเอล) ในปีพ.ศ. 2543 อาราฟัตถูกกองกำลังอิสราเอลกักอยู่ในเมืองรอมัลลอฮ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เขาป่วยหนักในปีพ.ศ. 2547 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่เมืองกลามาร์ ประเทศฝรั่งเศส

ช่วงแรกเริ่มของพรรคแนวร่วมฟาตาห์

ผู้นำองค์การปลดปล่อยแห่งชาติปาเลสไตน์

ในเลบานอน

ในตูนิเซีย

สนธิสัญญาสันติภาพออสโล

รัฐบาลปาเลสไตน์

ถึงแก่อสัญกรรม

ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับอาราฟัต

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ยัสเซอร์ อาราฟัต ประวัติยัสเซอร์ อาราฟัต ถึงแก่อสัญกรรมยัสเซอร์ อาราฟัต ดูเพิ่มยัสเซอร์ อาราฟัต อ้างอิงยัสเซอร์ อาราฟัต แหล่งข้อมูลอื่นยัสเซอร์ อาราฟัตกำลังกึ่งทหารฟะตะห์ภาษาอาหรับองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีพระมหากษัตริย์ไทยสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดนิพัทธ์ ทองเล็กภัทร เอกแสงกุลช่องวัน 31กบฏเจ้าอนุวงศ์วิทยุเสียงอเมริกาชาเคอลีน มึ้นช์สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดเจาะมิติพิชิตบัลลังก์ทุเรียนประเทศเกาหลีเหนือไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินวรินทร ปัญหกาญจน์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัววอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15กรงกรรมจักรพรรดินโปเลียนที่ 1เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาชาบี อาลอนโซรัฐของสหรัฐยูทูบวีรยุทธ จันทร์สุขประเทศสิงคโปร์ธนาคารไทยพาณิชย์คนลึกไขปริศนาลับบอดี้สแลมเกศริน ชัยเฉลิมพลลุค อิชิกาวะ พลาวเดนพิชิตรัก พิทักษ์โลกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตเปรียญธรรม 9 ประโยคพรรคชาติพัฒนากล้าใบแดงจ๊ะ นงผณีฟุตซอลไทยลีก ฤดูกาล 2566ราชินีแห่งน้ำตากองอาสารักษาดินแดนอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชเทพมรณะฟุตซอลโลก 2016ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนจำนวนเฉพาะเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประเทศตุรกีศรีรัศมิ์ สุวะดีประเทศเยอรมนีจังหวัดกระบี่สาธุ (ละครโทรทัศน์)จังหวัดสมุทรปราการลำไย ไหทองคำสุรยุทธ์ จุลานนท์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์สัปเหร่อ (ภาพยนตร์)พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพ.ศ. 2567จังหวัดนครปฐมสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนกระทรวงในประเทศไทยธนาคารกรุงไทยจังหวัดพิษณุโลกศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์อัสซะลามุอะลัยกุมประเทศเวียดนามความเสียวสุดยอดทางเพศสุรเชษฐ์ หักพาลรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กดาวิกา โฮร์เน่เครือเจริญโภคภัณฑ์สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีประเทศไต้หวัน🡆 More