พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (13 กันยายน พ.ศ.

2425 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ เป็นอธิบดีกรมเพาะปลูก ต้นราชสกุลเพ็ญพัฒน์ เป็นผู้นิพนธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน หรือลาวดวงเดือน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
อธิบดีกรมเพาะปลูก
ประสูติ13 กันยายน พ.ศ. 2425
สิ้นพระชนม์11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 (27 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์
หม่อม
หม่อมเทียม
พระบุตรหม่อมเจ้าชายไม่มีพระนาม
พรรณเพ็ญแข กฤดากร
หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์
ราชสกุลเพ็ญพัฒน์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 41 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425 เสด็จไปศึกษาทางด้านเกษตรศาสตร์จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2446 ขณะพระชันษา 20 ปี กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ

ในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ โดยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น สอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม พร้อมกับสร้างสวนหม่อนและสถานีเลี้ยงไหมขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพ ทรงจัดตั้งกองช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมา วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 กระทรวงเกษตราธิการได้รวมกองการผลิต, กองการเลี้ยงสัตว์ และกองช่างไหม ตั้งขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เป็นอธิบดีกรมช่างไหมพระองค์แรก

งานหลักของกรมช่างไหม คือ การดำเนินงานตามโครงการของสถานีทดลองเลี้ยงไหม เริ่มด้วยการก่อตั้งโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นในพระราชวังดุสิต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2446 และเปิดโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นที่ปทุมวัน เรียกว่า "โรงเรียนกรมช่างไหม" เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาวิจัย และฝึกพนักงานคนไทยขึ้นแทนคนญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วังที่ประทับของกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เป็นบ้านของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) บิดาของเจ้าจอมมารดามรกฎ มีชื่อเรียกว่าวังท่าเตียน (เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งวัง เช่นเดียวกับวังท่าเตียนหรือวังจักรพงษ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์) มีโรงละครอยู่โรงหนึ่ง ในสมัยนั้นเรียกกันว่า ปรินส์เทียเตอร์

วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรงศักดินา 15000

สิ้นพระชนม์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ประชวรวัณโรคภายในมานาน แม้พระบิดาจะพระราชทานหมอหลวงมาถวายการรักษา พระอาการก็ยังทรงและทรุดจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 เวลา 16.08 น. พระชันษา 27 ปี ในคืนนั้นพระบรมวงศานุวงศ์มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ตลอดทั้งเสนาบดีสรงน้ำพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงในพระลอง ประดิษฐานบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑปใหญ่ แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 9 องค์ พระสงฆ์มีหม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (เนตร) เป็นประธานสวดสดับปกรณ์

พระโอรส-ธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม 
ตราประจำราชสกุลเพ็ญพัฒน์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มีพระโอรสธิดา 3 องค์ ได้แก่

  • หม่อมเจ้าชายไม่มีพระนาม (25 สิงหาคม พ.ศ. 2447 – 5 กันยายน พ.ศ. 2447)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวรรณวิไลย เพ็ญพัฒน์ (ราชสกุลเดิม กฤดากร; 1 ตุลาคม พ.ศ. 2431 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2446 มีพระธิดา 1 องค์

  • พรรณเพ็ญแข กฤดากร (11 กันยายน พ.ศ. 2448 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร (พระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร)
    • หม่อมหลวงเพ็ญศักดิ์ กฤดากร (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2476) สมรสกับมยุรี (สกุลเดิม สุขุม) และจุฑามาศ (สกุลเดิม สุคนธา)
    • หม่อมหลวงพรรณศิริ อัศวรักษ์ (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2478) สมรสกับวัฒนา อัศวรักษ์
    • หม่อมหลวงธิดาเพ็ญ มาลิก (เกิด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480) สมรสกับวัฒนา อัศวรักษ์ และศุภโยกต์ มาลิก

และมีพระโอรสกับหม่อมเทียม (สกุลเดิม คชเสนี) (พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 - 24 เมษายน พ.ศ. 2507) 1 องค์

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม 
ธงประจำพระอิสริยยศ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ (13 กันยายน พ.ศ. 2425 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย
พระชนนี:
เจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
หลวงจินดาพิจิตร (ด้วง)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท่านผู้หญิงหุ่น เพ็ญกุล
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระยานครอินทร์รามัญ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • ศุภวัฒน์ เกษมศรี, หม่อมราชวงศ์ และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : บรรณกิจ ๑๙๙๑, 2549. 360 หน้า. หน้า 259. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 91. ISBN 978-974-417-594-6

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระโอรส-ธิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระเกียรติยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ราชตระกูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม อ้างอิงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม แหล่งข้อมูลอื่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมกรมวิชาการเกษตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราชสกุลลาวดวงเดือนเจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์โรงเรียนนายร้อยตำรวจแฟรงก์เฟิร์ตรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีช่องวันพระอุปคุตเฉลิมชัย ศรีอ่อนประเทศจีนพัก จิน-ย็อง (นักร้อง)พีท ทองเจือไทยลีก 3สารหนูสนธิ บุญยรัตกลินจังหวัดมหาสารคามปางเสน่หาประเทศซาอุดีอาระเบียพระสุนทรโวหาร (ภู่)ศิริลักษณ์ คองจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์พจมาน ณ ป้อมเพชรคาราบาวบุนเดิสลีกาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยผ่าพิภพไททันพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคบ้านสราญแลนด์โรงเรียนเตรียมทหารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวภัณฑิรา พิพิธยากรอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งแอน ทองประสมอาณาจักรอยุธยาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคามดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)สหราชอาณาจักรธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์รัตติกร ขุนโสมสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรป๊อกเด้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์จังหวัดอุทัยธานีตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอุดม ทรงแสงช่อง 3 เอชดีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566มามาอะวอดส์สมชาย วงศ์สวัสดิ์พัชรพร จันทรประดิษฐ์รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดหลิว อี้เฟย์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐมบาร์เซโลนาเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสพระโคตมพุทธเจ้าวริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศรสถานีกลางบางซื่อกรุงเทพมหานครพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดนครปฐมสมคิด พุ่มพวงหลัว ยฺหวินซีภาคกลาง (ประเทศไทย)วาทกรรมมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ชัยเกษม นิติสิริไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ทรายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)ซีเกมส์ 2023สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์🡆 More