นาฬิกาวันสิ้นโลก

นาฬิกาวันสิ้นโลก (อังกฤษ: Doomsday Clock) เป็นหน้าปัดนาฬิกาเชิงสัญลักษณ์ โดยเป็นการเปรียบการนับถอยหลังมหันตภัยทั่วโลกที่อาจเกิด (เช่น สงครามนิวเคลียร์หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.

2490 โดยสมาชิกคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และความมั่นคงของ จดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ (Bulletin of the Atomic Scientists) ซึ่งได้รับคำแนะนำจากคณะกรรรมการปกครองและคณะกรรมการผู้สนับสนุน ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลโนเบล 18 คน ยิ่งตั้งนาฬิกาเข้าใกล้เที่ยงคืนมากเท่าใด นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าโลกใกล้ภัยพิบัติทั่วโลกมากขึ้นเท่านั้น

นาฬิกาวันสิ้นโลก
ภาพนาฬิกาวันสิ้นโลกใน พ.ศ. 2567 ยังคงอยู่ที่ "90 วินาทีก่อนเที่ยงคืน"

เดิมนาฬิกานี้ซึ่งแขวนบนกำแพงในสำนักงานของจดหมายข่าวฯ ในมหาวิทยาลัยชิคาโก เป็นตัวแทนของภัยคุกคามสงครามนิวเคลียร์ทั่วโลก ทว่า หลัง พ.ศ. 2550 ยังสะท้อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาการใหม่ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวิตซึ่งอาจก่อภัยต่อมนุษยชาติอย่างไม่อาจกู้คืนได้ ค่าที่ประกาศอย่างเป็นทางการล่าสุด คือ 100 วินาที หรือ 1 นาที 40 วินาทีก่อนเที่ยงคืน (23:58:20 น.) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 เนื่องจาก "ความล้มเหลวของผู้นำโลกในการรับมือกับภัยคุกคามที่น่าจะเกิดขึ้นจากสงครามนิวเคลียร์ เช่นการสิ้นสุดของสนธิสัญญาระหว่างกองกำลังนิวเคลียร์ระดับกลาง (INF) ระหว่างสหรัฐฯและรัสเซียรวมถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านและต่อเนื่อง รวมถึงการไม่สามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" และถือเป็นครั้งแรกที่ทางนักวิทยาศาสตร์เรียกเวลาเป็นวินาที

ประวัติ

การก่อตั้ง

ในปี พ.ศ. 2490 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ได้มีการกำหนดเวลาของนาฬิกาวันสิ้นโลกไว้ที่ 7 นาทีก่อนเที่ยงคืน และได้มีการปรับเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้นหรือช้าลงตามสถานการณ์ของโลก และการทำนายเกี่ยวกับสงครามนิวเคลียร์ที่อาจเป็นไปได้ การกำหนดเวลาของนาฬิกาวันสิ้นโลกถือเป็นการตัดสินใจเพียงผู้เดียวของประธาน คณะกรรมการจดหมายข่าวนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ อันเป็นการสะท้อนให้เห็นกิจกรรมของโลก การเปลี่ยนแปลงเวลาของนาฬิกาวันสิ้นโลกมิได้เกิดขึ้นในทันทีหลังจากที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น โดยนาฬิกาวันสิ้นโลกเคยอยู่ใกล้เที่ยงคืนที่สุด อยู่ที่ 2 นาทีก่อนเที่ยงคืน ในปี 2496 และในเดือนมกราคม 2561 มีการตั้งนาฬิกาที่ 2 นาทีก่อนเที่ยงคืนอีกครั้ง

การเปลี่ยนแปลงเวลา

นาฬิกาวันสิ้นโลก 
กราฟแสดงจำนวนการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาวันสิ้นโลก

นับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งนาฬิกาสิ้นโลกเป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงเวลาของนาฬิกาทั้งหมด 20 ครั้ง นับตั้งแต่ 7 นาทีก่อนเที่ยงคืน ในปี พ.ศ. 2490

ปีที่เปลี่ยนแปลง
(พ.ศ.)
จำนวนนาที
ก่อนถึงเที่ยงคืน
เวลา
(นาฬิกา)
การเปลี่ยนแปลง สาเหตุ
2490 7 23:53 กำหนดเวลาครั้งแรกของนาฬิกา
2492 3 23:57 +4 สหภาพโซเวียตทดลองระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรก เป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการ
2496 2 23:58 +1 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตทดลองอุปกรณ์เทอร์โมนิวเคลียร์ห่างกันไม่ถึง 9 เดือน นับเป็นเวลาใกล้เที่ยงคืนมากที่สุดของนาฬิกาสิ้นโลกจนถึงปัจจุบัน
2503 7 23:53 -5 เพื่อสนองต่อการรับรู้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นและความเข้าใจสาธารณะของภัยอาวุธนิวเคียร์ (ตลอดจนการปฏิบัติทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยง "การแก้แค้นขนานใหญ่") สหรัฐและสหภาพโซเวียตร่วมือและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในความขัดแย้งภูมิภาค เช่น วิกฤตการณ์สุเอซ พ.ศ. 2499 นักวิทยาศาสตร์นานาประเทศช่วยสถาปนาปีธรณีฟิสิกส์ระหว่างประเทศ เป็นชุดวันสำคัญทั่วโลกที่มีการประสานงานระหว่างประเทศซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียต และการประชุมพักวอชว่าด้วยวิทยาศาสตร์และกิจการโลก (Pugwash Conferences on Science and World Affairs) ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์โซเวียตและอเมริกันมีอันตรกิริยากัน
2506 12 23:48 -5 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตลงนามสนธิสัญญาห้ามการทดสอบบางส่วน ซึ่งจำกัดการทดสอบนิวเคลียร์ในบรรยากาศ
2511 7 22:53 +5 เกิดสงครามภูมิภาค ได้แก่ สงครามเวียดนามที่ทวีรุนแรงขึ้น เกิดสงครามหกวันใน พ.ศ. 2510 และสงครามอินเดีย-ปากีสถาน พ.ศ. 2508 ที่เลวกว่านั้น ฝรั่งเศสและจีน สองชาติซึ่งไม่ลงนามสนธิสัญญาห้ามการทดสอบบางส่วน ได้และทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เพื่อยืนยันว่าตนเป็นผู้เล่นระดับโลกในการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์
2512 10 23:50 -3 ทุกชาติในโลก ข้อยกเว้นที่สำคัญคือ อินเดีย ปากีสถานและอิสราเอล ลงนามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
2515 12 23:48 -2 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับแรก และสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธทิ้งตัว
2517 9 23:51 +3 อินเดียทดลองระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรก การเจรจาสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับที่สองหยุดชะงัก ทั้งสหรัฐและสหภาพโซเวียตปรับยานกลับเข้ากำหนดเป้าหมายได้อิสระหลายเป้าหมาย (multiple independently targetable reentry vehicle) ให้ทันสมัย
2523 7 23:53 +2 หล่มในการเจรจาอเมริกา–โซเวียตที่ทำนายอนาคตไม่ได้ขณะที่สงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานยังดำเนินต่อ ผลของสงครามทำให้วุฒิสภาสหรัฐปฏิเสธไม่ให้สัตยาบันความตกลงสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับที่สองระหว่างสองชาติ และประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ถอนสหรัฐจากโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ในกรุงมอสโก รัฐบาลคาร์เตอร์พิจารณาหนทางซึ่งสหรัฐจะสามารถชนะสงครามนิวเคลียร์
2524 4 23:56 +3 มีการปรับนาฬิกาเมื่อต้น พ.ศ. 2524 สงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานทำให้ท่าทีนิวเคลียร์ของสหรัฐแข็งกร้าวขึ้น โรนัลด์ เรแกนเป็นประธานาธิบดี ล้มการเจรจาลดอาวุธกับสหภาพโซเวียตและแย้งว่าทางเดียวที่จะยุติสงครามเย็นคือต้องชนะ ความตึงเรียดระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียตส่งเสริมภัยการทำลายล้างด้วยนิวเคลียร์
2527 3 23:57 +1 ความตึงเครียดบานปลายขึ้นระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียต มีการปรับนาฬิกาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากสงครามอัฟกานิสถานที่กำลังดำเนินอยู่นั้นทำให้สงครามเย็นระอุขึ้น มีการวางกำลังขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยปานกลางเพอร์ชิง 2 ของสหรัฐและขีปนาวุธร่อนในยุโรปตะวันตก โรนัลด์ เรแกนผลักดันให้ชนะสงครามนิวเคลียร์โดยการเพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขันอาวุธระหว่างอภิมหาอำนาจ สหภาพโซเวียตและพันธมิตร (ยกเว้นโรมาเนีย) คว่ำบาตรโอลิมปิกในลอสแอนเจลิสเพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรที่มีสหรัฐนำใน พ.ศ. 2523
2531 6 23:54 -3 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตลงนามสนธิสัญญากำจัดขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง; ความสัมพันธ์สองประเทศดีขึ้น
2533 10 23:50 -4 การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและม่านเหล็ก ร่วมกับการสร้างเอกภาพเยอรมนี หมายความว่า สงครามเย็นใกล้สิ้นสุด
2534 17 23:43 -7 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตลงนามสนธิสัญญาลดอาวุธยุทธศาสตร์; สหภาพโซเวียตล่มสลาย สงครามเย็นถึงคราวสิ้นสุด; นับเป็นเวลาที่ห่างจากเที่ยงคืนมากที่สุดของนาฬิกาวันสิ้นโลก
2538 14 23:46 +3 รายจ่ายทางการทหารทั่วโลกยังอยู่ที่ระดับเมื่อสมัยสงครามเย็นท่ามกลางความกังวลด้านการเผยแพร่อาวุธและกำลังสมองนิวเคลียร์สมัยหลังโซเวียต
2541 9 23:51 +5 ทั้งอินเดียและปากีสถานต่างทดลองระเบิดปรมาณูของตนในการแสดงความคุกคามต่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นการตอบแทน; สหรัฐอเมริกาและรัสเซียประสบความยากลำบากในการลดคลังอาวุธเพิ่ม
2545 7 23:53 +2 การปลดนิวเคลียร์ทั่วโลกมีความคืบหน้าน้อย สหรัฐปกฺเสธชุดสนธิสัญญาควบคุมอาวุธและประกาศเจตนาถอนจากสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธทิ้งตัว ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการโจมตีของผู้ก่อการร้ายนิวเคลียร์ เนื่องจากปริมาณวัสดุนิวเคลีย์ระดับอาวุธที่ไม่ปลอดภัยและอธิบายไม่ได้ทั่วโลก
2550 5 23:55 +2 เกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ความทะเยอทะยานนิวเคลียร์ของอิหร่าน การเน้นการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทางทหารของอเมริกาที่ได้รับฟื้นฟู ความล้มเหลวในการทำให้วัสดุนิวเคลียร์ปลอดภัยเพียงพอ และการยังคงอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 26,000 อันในสหรัฐและรัสเซีย หลังประเมินภัยต่ออารยธรรมแล้ว มีการเพิ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการคาดการณ์การทำลายล้างด้วยนิวเคลียร์เป็นภัยคุกคามใหญ่ที่สุดต่อมนุษยชาติ
2553 6 23:54 -1 ความร่วมมือทั่วโลกในการลดคลังแสงนิวเคลียร์และจำกัดผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สหรัฐและรัสเซียให้สัตยาบันความตกลงการเจรจาลดอาวุธยุทธศาสตร์รอบใหม่และมีการวางแผนการเจรจาเพื่อลดอาวุธในคลังแสงอเมริกาและรัสเซียอีก การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2552 ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาและอุตสาหกรรมตกลงรับผิดชอบการปล่อยคาร์บอนเพื่อจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิทั่วโลกไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส
2555 5 23:55 +1 การขาดการปฏิบัติทางการเมืองทั่วโลกเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก คลังอาวุธนิวเคลียร์ โอกาสเกิดความขัดแย้งนิวเคลียร์ภูมิภาคและความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์
2558 3 23:57 +2 ความกังวลท่ามกลางการขาดการปฏิบัติเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่ยังดำเนินต่อ การปรับปรุงอาวุธนิวเคลียร์ให้ทันสมัยในสหรัฐและรัสเซีย และปัญหากากนิวเคลียร์
2560 2 1/2 23:57 1/2 + 1/2 ความรุ่งเรืองของชาตินิยมใหม่, ความเห็นของดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ต่ออาวุธนิวเคลียร์ ภัยคุกคามการแข่งขันอาวุธรอบใหม่ระหว่างสหรัฐและรัสเซีย และความไม่เชื่อในความเห็นพ้องทางวิยาศาสตร์เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของรัฐบาลทรัมป์ เป็นครั้งแรกที่ใช้เศษส่วน
2561 2 23:58 + 1/2 ความล้มเหลวของผู้นำโลกในการจัดการกับภัยคุกคามสงครามนิวเคลียร์และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ใกล้เข้ามา
2563 1 2/3 23:58 1/3 1/3 ความล้มเหลวของผู้นำโลกในการรับมือกับภัยคุกคามที่น่าจะเกิดขึ้นจากสงครามนิวเคลียร์ เช่นการสิ้นสุดของสนธิสัญญาระหว่างกองกำลังนิวเคลียร์ระดับกลาง (INF) ระหว่างสหรัฐฯและรัสเซียรวมถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านและต่อเนื่อง รวมถึงการไม่สามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2566 1+ 1/2

(90 s)

23:58:30  1/6

(−10 s)

สาเหตุหลักมาจากการรุกรานยูเครนของรัสเซียโดยรัสเซีย และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเพิ่มระดับนิวเคลียร์อันเนื่องมาจากความขัดแย้ง สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์ฉบับสุดท้ายที่เหลืออยู่ระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกา นิวสตาร์ท มีกำหนดจะหมดอายุในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569 [a] รัสเซียยังนำสงครามไปยังไซต์เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชอร์โนบิลและซาโปริซเซีย ซึ่งละเมิดระเบียบการระหว่างประเทศและเสี่ยงต่อการปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีในวงกว้าง วัสดุ. เกาหลีเหนือยังกลับมาใช้วาทศิลป์ด้านนิวเคลียร์อีกครั้ง โดยเปิดตัวการทดสอบขีปนาวุธพิสัยกลางเหนือญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และการพังทลายของบรรทัดฐานระดับโลกและสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและภัยคุกคามทางชีวภาพ เช่น เนื่องจากโควิด-19 มีส่วนทำให้การตั้งเวลาเกิดขึ้นด้วย[6]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

นาฬิกาวันสิ้นโลก ประวัตินาฬิกาวันสิ้นโลก อ้างอิงนาฬิกาวันสิ้นโลก แหล่งข้อมูลอื่นนาฬิกาวันสิ้นโลกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาษาอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เศรษฐศาสตร์มหัพภาคภักดีหาญส์ หิมะทองคำโรงเรียนนายร้อยตำรวจจังหวัดชุมพรอัสนี-วสันต์กองทัพ พีคเดือนยูฟ่ายูโรปาลีกวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยดาร์วิน นุญเญซรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กทะเลทรายสะฮาราศุภชัย โพธิ์สุรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยรายชื่อตัวละครในวันพีซเอาแล้วไง ยัยแฟนเก่าดันเป็นลูกสาวแม่ใหม่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติเร็ว..แรงทะลุนรก 10คิม จี-ว็อน (นักแสดง)จักรพรรดินโปเลียนที่ 1สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจังหวัดเลยสูตรลับตำรับดันเจียน.comฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพการฆ่าตัวตายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)ชานน สันตินธรกุลจีรนันท์ มะโนแจ่มปฏิจจสมุปบาทณราวิชญ์ เลิศรัตน์โกสุมภ์กองทัพอากาศไทยรัฐของสหรัฐสุทัตตา อุดมศิลป์เกย์ดวงใจเทวพรหมสงครามยุทธหัตถีบางกอกอารีนาศรีรัศมิ์ สุวะดีพรหมวิหาร 4ระบบสุริยะเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)ประเทศแคนาดาแมนสรวงไทใหญ่แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนจังหวัดตราดเสกสรรค์ ศุขพิมายตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรงสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ประเทศไต้หวันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดนครศรีธรรมราชปริญ สุภารัตน์ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022สุจาริณี วิวัชรวงศ์จังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดนครพนมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโหราศาสตร์ไทยรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จังหวัดหนองคายสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกปานปรีย์ พหิทธานุกรเกศริน ชัยเฉลิมพลสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดหมากรุกไทยเยือร์เกิน คล็อพสมณศักดิ์ชา อึน-อูประเทศอิหร่าน🡆 More